เดินงานหนังสือส่งท้ายปีที่ Union Mall กับงาน ‘นิยม นิยาย’ 26 พ.ย. – 5 ธ.ค. 64

จะมีอะไรดีไปกว่าอากาศที่เริ่มเย็นแล้วกับการได้ไปเดินดูและช้อปเหล่าหนังสือที่ชอบส่งท้ายปี หลังจากที่ชาวนักอ่านว่างเว้นจากงานหนังสือมาเสียนาน ‘นิยม นิยาย’ Presented by มหกรรมนิยายนานาชาติ คืองานที่เปรียบเสมือนทีเซอร์ของมหกรรมนิยายนานาชาติที่ปกติจัดอย่างใหญ่โต ถือว่าเป็นการอุ่นเครื่องก่อนไปพบกับงานเต็มรูปแบบในปีหน้า  ถึงงานนี้จะเป็นงานหนังสือขนาดเล็กแต่ก็ดีเลิศที่ในงานไม่ได้มีแค่นิยายอย่างเดียว แต่มีหนังสือคุณภาพดีมากมายจากเหล่าสำนักพิมพ์ทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นคอนิยาย คอสารคดี หรือคนที่อ่านทุกแนว ย่อมถูกใจแน่นอน นอกจากนี้ในงานยังมีมุมสนุกๆ อย่างไอเทมยอดนิยมของคนชอบจดโน้ต มุมมัดรวมนิยายเด็ดที่การันตีความปัง มุมมังงะ และจุดลุ้นโชครับของรางวัล ให้ไปเอนจอยกันด้วย เรียกว่ายังไงก็ต้องได้อะไรติดไม้ติดมือกลับไปแน่นอน เท่านั้นยังไม่พอ ในงานยังมีโปรโมชันพิเศษเป็นมิตรกับกระเป๋าตังค์ ลดราคาหนังสือตั้งแต่ 30%, 50% ไปจนถึง 70% ทีเดียว แถมข้อดีคือเดินทางง่าย ไปได้หลายวิธี ไม่ว่าจะ BTS MRT รถเมล์ และรถส่วนตัว ใครที่สนใจ ‘นิยม นิยาย’ Presented by มหกรรมนิยายนานาชาติ จัดตั้งแต่วันนี้ – 5 ธันวาคม 2564 ตั้งแต่เวลา 11.00 – 21.00 น. ที่ Union […]

รีโนเวต หอสมุดวังท่าพระ 57 ปี ให้เชื่อมบริบทท่าช้าง และเป็นแหล่งเรียนรู้ศิลปะกับโบราณคดี

ห้องสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากรในความทรงจำคุณเป็นแบบไหน? หากคุณเป็นชาวศิลปากร อาจจดจำภาพห้องสมุดเล็กๆ ที่นักศึกษาล้อมวงแน่นรอบโต๊ะ เต็มไปด้วยเสียงพูดคุยจอแจ ซึ่งบ่อยครั้งต้องแย่งชิงที่นั่ง และต่อคิวยืมหนังสือแต่ละเล่มที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ถ้าคุณเป็นผู้แวะเวียนมาใช้บริการเป็นครั้งคราว อาจพบว่าที่นี่คือสวรรค์ของคนรักหนังสือศิลปะ งานดีไซน์ สถาปัตยกรรม โบราณคดี และประวัติศาสตร์ ซึ่งเต็มไปด้วยมนตร์ขลังของบรรยากาศเก่าแก่ ไม่ว่าภาพจำจะเป็นแบบไหน แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไป ห้องสุดเก่าในมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งนี้ก็แปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ก่อนเป็น ‘หอสมุดวังท่าพระ มหาวิทยาลัยศิลปากร’ ห้องสมุดแห่งนี้เคยเปิดทำการครั้งแรกมาตั้งแต่ปี 2507 โดยตั้งอยู่ภายในอาคารบริเวณหลังลานอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ก่อนย้ายมาสร้างด้านหน้าสำนักงานอธิการบดีเมื่อปี 2518 จนถึงปัจจุบัน เดิมทีออกแบบโดย ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุริยา รัตนพฤกษ์’ เป็นสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์นที่เริ่มต้นไว้อย่างดี แต่ด้วยการปรับปรุงพื้นที่ตามกาลเวลา โดยไม่ได้มีแผนการพัฒนาชัดเจน จึงทำให้ภาพรวมการขยับขยายพื้นที่ค่อนข้างสะเปะสะปะ  ในปี 2558 นับตั้งแต่เริ่มโครงการปรับปรุงวิทยาเขตวังท่าพระของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งเป็นการปรับปรุงพื้นที่ทั้ง 4 คณะวิชา ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะโบราณคดี รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ ซึ่งหอสมุดเป็นหนึ่งในโปรเจกต์ที่ได้รับการยกเครื่องใหม่ ‘ผู้ช่วยศาสตราจารย์นันทพล จั่นเงิน’ หรือ ‘อาจารย์โอ๊ต’ ผู้อำนวยการสำนักหอสมุดกลาง ผู้ออกแบบหอสมุดวังท่าพระเวอร์ชันล่าสุด จึงตั้งใจที่จะพัฒนาและปรับปรุงให้อาคารหอสมุดมีภาพลักษณ์และภูมิทัศน์ที่ดีขึ้น […]

งานขายหนังสือมือสองประจำปีของห้องสมุด Neilson Hays 30 ต.ค. – 7 พ.ย. 64

ใครเป็นแฟนหนังสือมือสองเตรียมเงินเอาไว้ให้ดี เพราะตอนนี้งานขายหนังสือมือสองประจำปีของห้องสมุด Neilson Hays กลับมาแล้ว  หลังจากคลายล็อกดาวน์แล้ว ตอนนี้ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ก็พร้อมกลับมาเปิดให้บริการตามปกติ และกลับมาจัดงานขายหนังสือมือสองประจำปีอีกครั้ง โดยจะเริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม ถึง วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9:30 – 16:00 น. (ปิดวันจันทร์ที่ 1 พ.ย.) งานนี้มีทั้งหนังสือนิยาย หนังสือสารคดีอ้างอิงจากเรื่องจริง นิยายวิทยาศาสตร์ หนังระทึกสยองขวัญใหม่ล่าสุด ศิลปะ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และหนังสือเด็ก ซึ่งมีทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ตลอดจนหนังสือที่คัดสรรเป็นภาษาฝรั่งเศสและภาษาเยอรมัน ซึ่งเป็นหนังสือที่ผู้มีอุปการคุณบริจาคให้กับห้องสมุด และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากหนังสือของทางห้องสมุดเองที่หมดวาระการใช้งานแล้ว ซึ่งบางเล่มเป็นหนังสือหายากและล้วนผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี ราคาหนังสือก็น่ารักมากๆ เริ่มต้นแค่เพียง 20 บาทเท่านั้น ใครเป็นสายคุ้ย สายรื้อ และคิดถึงการซื้อหนังสือในกองต้องลองมารื้อที่เนียลสัน เฮส์กันสักครั้ง ที่พิเศษสุดในปีนี้คือ ทางห้องสมุดได้รับบริจาคซีดีและดีวีดีเพลงคลาสสิกเป็นคอลเลกชันจากนักวิจารณ์ดนตรีคลาสสิกที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ มาเป็นเวลานาน จึงมีการนำซีดีชุดนี้ออกมาจำหน่ายในงานขายหนังสือในปีนี้ด้วย สามารถขอดูรายชื่อซีดี 3,000 กว่าแผ่นได้ที่ [email protected] […]

10 ห้องสมุดทั่วกรุงเทพฯ ที่น่าไปอ่านหนังสือช่วงวันหยุด

วันหยุดแล้วไปหาที่นั่งอ่านหนังสือด้วยกันไหม? หากใครอยากออกจากบ้านหรือหาที่พักผ่อน แต่ยังต้องการความสงบและไม่อยากไปสถานที่คนพลุกพล่าน คอลัมน์ Urban Guide จะพาไปปักหมุดและสำรวจห้องสมุดกรุงเทพฯ เพื่อหาที่เงียบๆ อ่านหนังสือกัน เดี๋ยวนี้ห้องสมุดหลายที่ไม่ได้มีแค่โซนอ่านหนังสือเท่านั้น แต่ยังมีโซนคาเฟ่ โซนพักผ่อน จะนั่งดูหนัง หรือฟังเพลงเงียบๆ คนเดียวก็ได้ หรือจะหาที่นั่งทำงานเปลี่ยนบรรยากาศ Work From Home ก็มีตัวเลือกหลากหลายเช่นกัน บางที่ก็เพิ่งรีโนเวตใหม่สดๆ ร้อนๆ มีทั้งห้องสมุดดีไซน์ ห้องสมุดศิลปะ ห้องสมุดหนังสือต่างประเทศ หรือห้องสมุดเด็กสำหรับคนที่อยากพาลูกหลานออกไปเปลี่ยนบรรยากาศนอกบ้าน ใครอยู่ย่านไหนก็ลองหาห้องสมุดใกล้บ้านได้ในย่านนี้ เราบอกพิกัดทั้ง 10 ที่ไว้ให้หมดแล้ว 01 | ดรุณบรรณาลัย ห้องสมุดเด็กปฐมวัย บ้านโบราณสีเขียวอ่อน 2 ชั้นที่มีบันไดสายรุ้งในย่านเจริญกรุงหลังนี้ คือห้องสมุดที่เปิดมาตั้งแต่ พ.ศ. 2557 เนื่องในวโรกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ 60 พรรษา ที่นี่คือห้องสมุดสำหรับเด็กปฐมวัยแห่งแรกของประเทศไทย เพื่อให้บริการเด็กปฐมวัยและกลุ่มพิเศษของสถาบันราชานุกูล  ภายในห้องสมุดมีพื้นที่กว้างขวาง หนังสือภาพและนิทานสำหรับเด็กถูกจัดวางไว้ตามชั้นต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ ส่วนภายนอกก็มีสนามหญ้าขนาดกลางที่ร่มรื่นและดูอบอุ่น สำหรับจัดกิจกรรมให้เด็กๆ อย่างเช่น การอ่านหนังสือนิทาน […]

วาดหวังหนังสือ: หนังสือเด็กที่วางรากฐานความคิดและไม่เป็นพิษกับเยาวชน

‘ปลุกปั่น ล้างสมอง ทำให้แตกแยก’ นี่คือมุมมองของรัฐที่มีต่อ วาดหวังหนังสือ หนังสือนิทานสำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเล่าถึงความฝัน ความแตกต่าง คุณค่าของตัวเอง ความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสร้างสรรค์  ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา หลายหน่วยงานพร้อมใจกันเรียกสอบผู้ผลิตหนังสือชุดนี้ เพื่อที่จะ ‘แบน’ หนังสือนิทานที่รัฐมองว่าเป็นภัยต่อเด็ก ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กระทรวงศึกษาธิการ ไปจนถึงผู้ใหญ่อีกหลายคนที่ร้อนรนเมื่อได้เห็นเนื้อหาในหนังสือเหล่านี้ ข่าวนี้จึงเป็นตัวกระตุ้นให้หนังสือนิทานกว่า 17,000 เล่ม ขายหมดในไม่กี่วัน มีผู้อ่านที่ต้องพลาดโอกาสอีกจำนวนมาก และทีมงานยังไม่มีวี่แววจะผลิตเพิ่มเร็วๆ นี้ เพราะยังต้องสะสางกับเรื่องวุ่นๆ ที่เกิดขึ้นอยู่  การที่หนังสือเด็กเกือบสองหมื่นเล่มขายหมดสต็อกอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วัน ไม่ใช่เรื่องง่ายของผู้ผลิตหนังสือในยุคนี้ และเราเชื่อว่าผู้ซื้อเองก็ไม่ได้ซื้อเพราะความเห็นใจ แต่เป็นเพราะเห็นความหวังดีที่หนังสือมีให้กับอนาคตของเด็กๆ เสียมากกว่า  ปกหลังของวาดหวังหนังสือเขียนว่า ‘วาดหวัง เติมพลังด้วยหนังสือดี ที่บอกเล่าถึงความจริง ความงาม ท่ามกลางความเป็นไป’ หนังสือนิทานทั้ง 8 เล่ม จึงเปรียบเสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ของสังคมและการเมืองไทย ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านนักเขียนมากประสบการณ์ที่หวังอยากเห็นเมืองไทยดีขึ้นทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่ และบอกเล่าเรื่องราวผ่านตัวการ์ตูนที่วาดโดยนักวาดภาพประกอบไทยฝีมือดีหลายคน  หนังสือทั้ง 8 เล่มนี้สอดแทรกเรื่องพลังพลเมือง และหลักสิทธิมนุษยชนด้วยวิธีการที่เข้าใจง่าย เป็นหนังสือดีที่อ่านได้ทุกเพศทุกวัย ไม่ได้มีพิษภัยอย่างที่รัฐกล่าวหา และเป็นหนังสือดีที่น่าจะอยู่ในห้องสมุดโรงเรียนเสียด้วยซ้ำ เพื่อให้เด็กๆ เติบโตไปเป็นพลเมืองที่เคารพทั้งตัวเองและผู้อื่น […]

พ่อก็คือพ่อ Waseda สร้างห้องสมุด Haruki Murakami 

เดือนพฤศจิกายน 2563 สถาปนิก Kengo Kuma ได้ออกแบบห้องสมุดสาธารณะที่มหาวิทยาลัย Waseda โตเกียว ซึ่งในอดีตนักเขียนชื่อดัง Haruki Murakami เคยเป็นนักศึกษาเอกการละครสมัยเรียนปริญญาตรี ห้องสมุดที่ว่านี้ชื่อ Murakami หรือชื่อทางการ Waseda International House of Literature  ห้องสมุดนี้จัดเก็บเอกสารส่วนตัว แผ่นเสียงนับหมื่นของมุราคามิ รวมถึงหนังสือและต้นฉบับงานเขียน นอกจากนี้ยังมีสำเนาการศึกษา พร้อมด้วยโต๊ะ หนังสือ และเครื่องเล่นแผ่นเสียง แถมยังมีคาเฟ่ดำเนินกิจการโดยนักศึกษาซึ่งให้บริการกาแฟคั่วเข้มที่มุราคามิชื่นชอบ และ Audio Room ที่แผ่นเสียงบางส่วนถูกประทับตรา Petercat ชื่อแจ๊สบาร์ที่มุราคามิเป็นเจ้าของหลังเรียนจบ (คาเฟ่นี้มีอีกชื่อว่า ‘แมวส้ม’ ด้วย) คุมะได้รับแรงบันดาลใจการออกแบบจากเรื่องราวของมุราคามิ ผู้เข้าชมจะได้เข้าไปในอุโมงค์ ซึ่งบริเวณชั้น B1 มีชั้นวางหนังสือไม้โค้งขนาดใหญ่ คุมะตีความว่าคือการปลุกอารมณ์ตัวละครของนักเขียนรุ่นใหญ่ที่เล่าเรื่องระหว่างความจริงและความเหนือจริง มุราคามิเล่าในงานแถลงข่าวห้องสมุดนี้ว่า เขาหวังจะเห็นสถานที่ทำนองนี้ถูกสร้างขึ้นหลังตัวเองตายมากกว่า เขาจะได้พักผ่อนอย่างสงบ และมีคนมาดูแลสิ่งของเหล่านี้ต่อไป ซึ่งมุราคามิรู้สึกประหม่าเล็กน้อย เมื่อได้เห็นห้องสมุดของตัวเองในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ Source : LITHUBPhoto : Kisa Toyoshima

เมื่อกฎหมายกลายเป็นเครื่องมือทำร้ายคน : สำรวจและเข้าใจ ม.112 ผ่าน INTRODUCTION TO NO.112

คุณคิดว่าตัวอักษร 153 ตัวทำอะไรได้บ้าง? อาจจะนึกออกยากสักหน่อย เราเลยอยากยกข้อความหนึ่งให้เห็นภาพ “ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี” สำหรับคนที่อ่านแล้วรู้สึกคุ้นๆ ข้อความเหล่านี้คือเนื้อหาของ ‘กฎหมายมาตรา 112’ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายหมิ่นพระมหากษัตริย์ กฎหมายหมิ่นเบื้องสูง กฎหมายหมิ่นฯ หรือชื่อใดๆ ก็ตามที่แต่ละคนจะสะดวกเรียก หากสื่อความหมายเดียวกัน ไม่นานมานี้ กระแสการพูดถึงกฎหมายมาตรา 112 นี้ลุกลามและเข้มข้นเคียงคู่ไปกับความร้อนระอุทางการเมืองที่ซัดกระหน่ำมากขึ้นทุกวัน  อาจเพราะมีผู้คนมากมายถูกตีตราต้องโทษ ไปจนถึงจองจำด้วยกฎหมายนี้ ด้วยเพราะสิ่งที่พวกเขาทำคือการเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงเพื่อชีวิตที่ดีกว่า อาจเพราะความผิดแผกแปลกเพี้ยนของการตีความและการบังคับใช้ ที่หลายๆ ครั้งดูเป็นการตั้งใจปิดปากคนที่พูดเรื่องที่คนส่วนหนึ่งไม่อยากได้ยิน  อาจเพราะชุดตัวอักษรที่มีความยาวเพียง 2 บรรทัดเมื่อถูกพิมพ์ลงบนกระดาษ และสั้นกว่าหลายๆ สเตตัสเฟซบุ๊ก หรือทวีตในทวิตเตอร์ ได้กลายเป็นเครื่องมือกดขี่ ทำร้ายและทำลายชีวิตของใครหลายๆ คนอย่างไม่อาจหวนคืน เมื่อสิ่งที่เคยหลบซ่อนและตั้งอยู่บนที่สูงถูกหยิบยกขึ้นมาตั้งคำถาม การทำความเข้าใจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นยิ่ง ดังนั้นแล้ว ทาง iLaw จึงจัดทำหนังสือ Introduction to No.112 : 12 คำถามเพื่อทำความเข้าใจกฎหมายอาญา […]

เพราะหนังสือคือการเมือง การแปลจึงเป็นการเคลื่อนไหว : คุยกับแรงงานอักษรจาก Soi Squad

เราอยู่ในยุคสมัยแห่งความย้อนแย้ง ในขณะที่การตื่นตัวทางการเมืองเบ่งบาน วงการหนังสือคึกคักไปด้วยผู้คนที่สงสัยใคร่อ่านงานเขียน #เบิกเนตร ส่งให้บรรดาหนังสือประวัติศาสตร์การเมือง และหนังสือแปลแนววิชาการที่เคยเงียบเหงา กลายเป็นหนังสือขายดีที่พบได้ในมือวัยรุ่นหรือคนทำงานทั่วไป ไม่น่าเชื่อว่าในระนาบเวลาเดียวกัน กลับมีข่าวตำรวจบุกเข้าไปยังสำนักพิมพ์ เพื่อยึดหนังสือที่อ้างว่า ‘มีเนื้อหาผิดกฎหมาย’ (เล่มเดียวกับที่ขายดีนั่นแหละ) และมีหนังสือหลายเล่มถูกห้ามเผยแพร่แจกจ่ายในราชอาณาจักร ย้อนแย้งจริงไหมเล่า  หากประชาชนขวนขวายที่จะอ่าน รัฐบาลจะสั่งห้ามไปทำไม หน่วยงานที่มีอำนาจมากมายจะกลัวอะไรกับแค่หนังสือ ‘หนังสือ การแปล และถ้อยคำสัมพันธ์ สำคัญอย่างไรกันแน่กับการเมือง?’ เราทดคำถามนี้ไว้ในใจ  “ทีมซอยมองเห็นร่วมกันว่าการแปลและการตีพิมพ์เป็นการขับเคลื่อนทางสังคมรูปแบบหนึ่ง การนำความคิดหรือตัวบทในภาษาหนึ่งมาพูดในอีกภาษามันได้พาเราข้ามผ่านพื้นที่ทางการเมืองในหลายมิติ” เป็นประโยคนี้ของเจน-จุฑา สุวรรณมงคล บรรณาธิการบริหารของซอย ที่ทำให้เรามั่นใจว่านี่แหละกลุ่มคนที่จะตอบคำถามให้เราได้! เราจึงรีบจดประโยคจากงานเสวนา บทจTalk ของสำนักพิมพ์บทจร แล้วอีเมลไปขอคุยกับทีมซอยทันที โชคดีของเราที่คำตอบของพวกเขาคือตกลง เรารู้จัก ‘ซอย | soi’ หรือ soi squad ครั้งแรกผ่านหนังสือ แด่การผลัดทิ้งซึ่งหญิงชาย แด่ความลื่นไหลที่ผลิบาน (Beyond the Gender Binary) ผลงานเล่มบางๆ ที่พาคนอ่านไปครุ่นคิดเรื่องบรรทัดฐานทางเพศให้ลึกซึ้งผ่านเรื่องเล่าของผู้คนหลากหลาย ผลงานของ สำนักพิมพ์ซอย สำนักพิมพ์ซึ่งตีพิมพ์หนังสือแปลในประเด็นแสบๆ คันๆ ที่เป็นวาระสำคัญของยุคสมัย อย่างความหลากหลายทางเพศ […]

‘กลิ่นหนังสือ’ ร้านหนังสือออนไลน์เปิดยืมหนังสือฟรี เสียแค่ค่าส่ง!

สภาพเศรษฐกิจปัจจุบันทำให้ต้องคิดหนักขึ้น หากอยากซื้อสิ่งจรรโลงใจอย่าง ‘หนังสือ’ สักเล่ม แต่โชคดีที่มีร้านหนังสือออนไลน์ใจดีอย่าง ‘กลิ่นหนังสือ’ ที่นอกจากจะมีกิมมิกน่ารักๆ อย่าง ‘Blind date with a book’ ให้ลูกค้าเลือกซื้อหนังสือซึ่งห่อปกจริงด้วยกระดาษน้ำตาลพร้อมคำโปรยสั้นๆ แล้ว ยังมี ‘ห้องสมุดออนไลน์’ ที่รวบรวมหนังสือรวมเรื่องสั้น วรรณกรรม ไปจนถึงนิยายเก่าและใหม่ทั้งของไทยและต่างประเทศให้หยิบยืมได้ฟรี เสียเฉพาะค่าส่ง  โดยทางร้านจะมีรอบจัดส่งให้ผู้ยืมเดือนละ 2 ครั้ง คือวันจันทร์ที่ 2 และที่ 4 ของเดือน ซึ่งสามารถยืมได้นาน 1 เดือน และยืมได้มากกว่า 1 เล่มต่อครั้งอีกด้วย เรื่องราวดีๆ แบบนี้คนรักหนังสือพลาดไม่ได้แล้ว เยี่ยมห้องสมุดร้านกลิ่นหนังสือได้ที่ https://t.co/W88x5JNIUm?amp=1 หรือสนใจเข้าเยี่ยมชมหนังสือของร้านกลิ่นหนังสือ ก็สามารถเข้าได้ที่ https://klinnangsue.co/shop/ Source : ร้านกลิ่นหนังสือ | https://twitter.com/klinnangsue/status/1402567853295816704

อ่าน E-book ฟรี! หอสมุดแห่งชาติ เปิดบริการหนังสือหาดูยากเกือบ 100 ปี ไปจนถึงหนังสือทั่วไปกว่า 2,300 เรื่อง

อ่าน E-book ฟรี! เวลาทองสำหรับเหล่าหนอนหนังสือ! เพื่อสนับสนุนคนไทยใช้เวลาว่างตอนกักตัวอยู่บ้านอ่านหนังสือในช่วงที่ COVID-19 กลับมาระบาดระลอกใหม่

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี บันทึกรักษาโรคซึมเศร้าที่ทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี (죽고 싶지만 떡볶이는 먹고 싶어) คือชื่อหนังสือที่เมื่อได้อ่านครั้งแรกช่างตอบความรู้สึกที่ว่า ของอร่อยเยียวยาใจ ได้อย่างเห็นภาพ หากแต่ในหนังสือปกสีส้มอมแดงที่ออกแบบภาพประกอบโดยอาร์ทติสไทย S U N T E R นั้นกลับเป็นบันทึกสนทนาระหว่าง แบ็กเซฮี (백세희) ตัวผู้เขียนกับจิตแพทย์ระหว่าง ‘การรักษาโรคซึมเศร้า’ ที่พาคนอ่านลิ้มรสชาติอย่างแช่มช้า และค่อยๆ ละเลียดตัวหนังสือเพื่อซึมซับ

ตามกลิ่นกระดาษ เข้า ‘ร้านหนังสือเก่า’ ย่านวังบูรพา

บางคนชอบกลิ่นฝน หลงใหลกลิ่นดิน เสพติดกลิ่นต้นหญ้าเวลาฝนตก แต่สำหรับเรา ‘กลิ่นหนังสือ’ ก็มีเสน่ห์ไม่แพ้กัน ในคราวนี้คอลัมน์ Urban Guide จะพาทุกคนย้อนวันวานตามกลิ่นกระดาษ เข้า 5 ร้านหนังสือเก่าย่านวังบูรพา ไปสวัสดีเหล่าคุณตาคุณยาย พร้อมพูดคุยว่าตอนนี้ย่านที่ในอดีตเคยเต็มไปด้วยศูนย์การค้า โรงหนัง โรงเรียน และร้านหนังสือมาว่าวันนี้เป็นอย่างไร

1 3 4 5 6

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.