‘สามย่านมิตรทาวน์’ 5 ปีของการเป็นพื้นที่แห่งความเป็นมิตรของคนเมือง และพร้อมเติบโตคู่ชุมชนสามย่าน

การพัฒนาของเมืองไม่มีวันหยุดนิ่ง เพราะทุกๆ ส่วนของเมืองมีการเติบโตอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นย่านเก่าหรือย่านใหม่ ย่อมต้องเปลี่ยนแปลงไปในสักวัน เพียงแต่การพัฒนาโครงการต่างๆ นั้นจะทำอย่างไรให้ตัวพื้นที่ยังคงอยู่คู่กับประวัติศาสตร์พื้นที่ต่อไปได้พร้อมๆ กับการเข้ามาของสิ่งอำนวยความสะดวกรูปแบบใหม่ๆ  เหมือนที่ ‘Frasers Property’ ออกแบบโครงการที่มาเติมเต็มย่านสามย่านให้สมบูรณ์แบบ โดยที่ยังไม่ทิ้งความเป็น ‘สามย่าน’ ไป ‘สามย่านมิตรทาวน์’ คือ Mixed-use ที่เต็มไปด้วยความพร้อมในการให้บริการหลากหลายรูปแบบ จัดสรรให้ครบทุกความสะดวกสบายที่ชาวเมืองต้องการ แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมที่จะรักษาความเป็นสามย่านในอดีตเอาไว้ในพื้นที่ต่างๆ ของโครงการแห่งนี้ ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา สามย่านมิตรทาวน์ได้มอบประสบการณ์มากมายให้กับผู้คนที่เข้าไปใช้บริการ คอลัมน์ Re-desire ขอพาทุกคนย้อนกลับไปดูจุดตั้งต้นของโครงการมิกซ์ยูสแห่งนี้ ที่ทำให้ที่นี่เป็นเมืองแห่งมิตรที่เติบโตมาในย่านเก่าแก่ แต่ยังคงความเป็นสามย่านเอาไว้ได้ สามย่าน ย่านเก่าที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวาและความคึกคัก หากพูดถึงสามย่าน นอกจากความเป็นย่านเก่าแล้ว เรายังนึกถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบของชุมชนที่เต็มไปด้วยความคึกคักจาก ‘ตลาดสามย่าน’ ตลาดใหญ่ที่เชื้อเชิญให้เหล่าพ่อบ้านแม่บ้านมาเลือกซื้อสินค้าทั้งอาหารสดและอาหารแห้ง รวมถึงผู้คนที่ตบเท้ากันมาอุดหนุนร้านอาหารภายในตลาด เพราะเมื่อตลาดสดปิด ตลาดอาหารก็จะเปิด ทำให้พื้นที่แห่งนี้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นการสร้างจุดเด่นและสีสันให้กับตลาดสามย่านได้เป็นอย่างดี ในพื้นที่นี้ไม่ได้มีเพียงแค่ตลาดที่ทำให้ย่านมีผู้คนเดินกันขวักไขว่เท่านั้น แต่ยังแวดล้อมไปด้วยภัตตาคารชื่อดัง โรงภาพยนตร์ โรงเรียน ธนาคาร คาเฟ่ และอีกหลายสถานที่ที่อยู่กับสามย่านมาอย่างยาวนาน ด้วยความที่การเดินทางสะดวกสบาย ก็ยิ่งตอกย้ำความคึกคักของสามย่านที่เปิดรับผู้คนจากทั่วทุกพื้นที่ให้เข้ามาใช้บริการต่างๆ ภายในย่าน และเมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไป ภายในย่านมีการพัฒนาพื้นที่ให้ทันสมัยมากขึ้น […]

ชวนดูเทศกาลศิลปะการแสดง ยามเย็น ‘สามย่าน ละลานใจ’ 2 – 3 เม.ย. ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาฯ

ในยุคที่ ‘ย่าน’ กลายเป็นหมุดหมายในการท่องเที่ยวของคนรุ่นใหม่ พวกเขาไม่ได้ปักหมุดแค่สถานที่ที่เป็นจุดหมายเพียงแห่งเดียวเท่านั้น ทว่ารวมสถานที่แห่งอื่นๆ สภาพแวดล้อม และโครงสร้างอย่างทางเท้า อาคาร สิ่งก่อสร้าง สวนสาธารณะ ฯลฯ เข้าไปด้วย ย่านไหนที่ป็อป มีความหลากหลาย เดินง่าย มีเอกลักษณ์ มักจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ นอกจากการบอกเล่าปากต่อปากแล้ว สิ่งที่จะทำให้ผู้คนลองไปเดินทางสำรวจ ทำความรู้จักพื้นที่กับเรื่องราวเบื้องหลังอย่างจริงจัง คงหนีไม่พ้นการจัดอีเวนต์สนุกๆ ขึ้นเหมือนที่ย่านเจริญกรุงทำได้ ซึ่งครั้งนี้ก็เป็นคราวของ ‘สามย่าน’ ย่านที่มีประวัติความเป็นมาหลายยุคสมัยบ้าง ‘สามย่าน ละลานใจ’ คือ เทศกาลศิลปะการแสดงที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้ทั้งปิกนิกในสวน ชมการแสดงหลายรสชาติ อิ่มใจกับบรรยากาศยามเย็น และอร่อยกับอาหารจากร้านค้าชื่อดังรอบบริเวณงาน ที่อุทยาน 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและร้านอาหารใกล้เคียง ในวันที่ 2 – 3 เมษายน 2565 ตั้งแต่เวลา 14.00 – 20.30 น. การแสดงภายในงานประกอบด้วย  – ‘เจ้าขุนทอง 2099’ นิทานหุ่นโดยเจ้าขุนทองและผองเพื่อน – ‘ฉิ่งฉับสลับร่าง’ ละครชาตรีร่วมสมัยโดยกลุ่มละครอนัตตา […]

‘IM Project’ โครงการจากนิสิตจุฬาฯ ที่ช่วยร้านอาหารชุมชนให้อยู่ได้ในวิกฤตโควิด-19

เชื่อว่าไม่น้อยเลยที่จะเห็นร้านอาหารเล็กๆ ที่คุ้นเคยบริเวณชุมชนหรือที่พักปิดตัวไปเพราะภาระทางเศรษฐกิจในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดเป็นต้นมา บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็คล้ายกับพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ที่บริเวณภายในและรอบๆ เต็มไปด้วยร้านอาหาร ร้านกาแฟ สำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษาและคนทำงานที่แวะเวียนมาในพื้นที่ แต่วันนี้ผู้คนกลับลดจำนวนลงมากเพราะมาตรการเรียนออนไลน์ นั่นทำให้ร้านอาหารรายเล็กบริเวณนั้นต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเท่าเดิม แต่รายรับลดฮวบ เมื่อนิสิตกลุ่มหนึ่งรับประทานอาหารที่ร้านในพื้นที่ชุมชนสามย่านและได้รับฟังปัญหาที่ร้านต้องเจอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘IM Project’ หรือ ‘อิ่มโปรเจกต์’ โครงการที่ริเริ่มโดยกลุ่มนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ตั้งใจช่วยเหลือร้านอาหารชุมชนให้อยู่รอดได้ในช่วงวิกฤต เพราะกว่าที่สถานการณ์ทุกอย่างจะกลับไปเป็นปกติ ร้านอาหารที่เรารักและเคยผูกพันอาจจะล้มหายตายจากไปจากย่านนี้เสียก่อน ‘อนวัช มีเพียร’ หนึ่งในทีมงานของ ‘อิ่ม’ เล่าให้เราฟังว่าร้านอาหารแรกที่โครงการช่วยเหลือคือ ‘ก๋วยเตี๋ยวตี๋ใหญ่ต้มยำ’ ที่ซอยจุฬาฯ 48 ร้านเปิดขายในพื้นที่สามย่านมากว่า 14 ปี และเรียกติดปากจากผู้คนบริเวณนั้นว่า ‘ก๋วยเตี๋ยวกัญชา’ ทว่าทางร้านไม่ต้องการรับความช่วยเหลือเป็นตัวเงินโดยตรงแต่เป็นการรับทำอาหารแทน ดังนั้นสิ่งที่อิ่มโปรเจกต์ทำคือจับคู่ร้านอาหารเข้ากับสถานที่ องค์กร หรือมูลนิธิที่ต้องการสั่งข้าวกล่อง และเปิดรับบริจาคจากผู้ที่พร้อมสนับสนุน  สำหรับอนาคตว่าจะอยู่หรือไปของ ‘ก๋วยเตี๋ยวกัญชา’ อนวัชบอกว่าสิ้นเดือนมกราคมนี้เป็นเส้นตายที่ต้องช่วยทางร้านจ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้เพียงพอกับจำนวนที่ต้องจ่าย หากไม่ครบตามเป้าทางร้านก็ต้องโยกย้ายไปพื้นที่ใหม่สำหรับประกอบการ  นี่อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากอีกหลายร้านที่พบความยากลำบากในช่วงวิกฤตนี้ ทาง ‘อิ่ม’ มองเห็นปัญหาและไม่ได้นิ่งนอนใจ “เราอยากพัฒนาโครงการที่ยั่งยืนและช่วยร้านค้าในวงกว้างขึ้นและได้ผลประโยชน์ทุกร้านอย่างเท่าเทียมกัน และช่วยให้ร้านโลคอลที่ไม่ได้มีใครซัปพอร์ต เป็นพ่อค้าแม่ค้าหาเช้ากินค่ำให้อยู่รอดได้ด้วยตัวเองในพื้นที่สามย่าน” อนวัชทิ้งท้ายกับเรา สำหรับใครที่อยากช่วย #saveก๋วยเตี๋ยวกัญชา ติดตาม ‘IM […]

‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการที่ชวนตั้งคำถามถึงการพัฒนาสามย่านที่สวนทางกับชุมชน

ที่ผ่านมากรุงเทพฯ เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมือง อย่างเช่น ‘ชุมชนสามย่าน’ บริเวณถนนพระราม 4 การพัฒนาทำให้พื้นที่บริเวณสามย่านมีค่าเช่าสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจบางส่วนแบกรับไม่ได้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้มากว่า 20 ปี จึงเปลี่ยนประสบการณ์และความทรงจำที่มีกับชุมชนในสามย่านซึ่งพยายามปรับตัวให้ทันระบบทุนนิยมและการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ด้วยการตั้งคำถามที่ว่า ‘ทำไมเราถึงถูกทิ้งไว้ข้างหลัง’ ในงานนิทรรศการแสร้งเสมือนจริง ‘บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู’ นิทรรศการนี้ไม่ใช่แค่นำเสนอเรื่องราวให้ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด แต่นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้จินตนาการผ่านกระบวนการดิจิทัล คล้ายๆ การเล่นเกมที่มีองค์ประกอบของภาพและเสียงจริงๆ สอดแทรกอยู่  นับเป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยความร่วมมือระหว่างศิลปินกับศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) เจ้าของพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมสำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่างๆ ในสามย่าน  นิทรรศการจะเปิดให้เข้าชมในเว็บไซต์ faamai.wpcomstaging.com/home/ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน นี้

9 แกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์สุดเจ๋ง ใจกลางเมืองย่านปทุมวัน

เปิดประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงศิลปะและวัฒนธรรมกับ Pathumwan Art Routes (PARs Project) หรือจะเรียกเล่นๆ แบบคนสนิทว่า ‘PARs’ ที่จะพาทุกคนไปรู้จักกับ 9 แหล่งรวมผลงานศิลปะเจ๋งๆ ใจกลางปทุมวัน สามย่าน และบรรทัดทอง

‘‘ราชเทวี – สามย่าน’ ย่านที่ไม่เคยหลับ ไลฟ์สไตล์เมืองแห่งอนาคต

‘ราชเทวี – สามย่าน’ เป็นพื้นที่ที่ไม่เคยตกเทรนด์ ครบทุกด้านไลฟ์สไตล์ และเป็นที่อยู่อาศัยที่ตอบโจทย์คนทุกวัย ไม่ว่าวัยเรียน วัยงาน หรือครอบครัว ด้วยการ เดินทางถึงกันได้เพียงไม่กี่นาทีด้วยรถไฟฟ้า ทำให้ใครๆ อยากมาใช้ชีวิตในย่านนี้ ซึ่งในวันนี้เราจะพาทุกคนไปส่องย่าน ‘ราชเทวี – สามย่าน’ ว่าปัจจุบันมีอะไรอัปเดตกันบ้าง และย่านนี้มีอะไรน่าสนใจ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.