‘สะพานเหล็ก’ ตลาดค้าของเล่นในความทรงจำ

หากมีสถานที่ไหนสักแห่งที่พาย้อนกลับไปวัยเด็กในโลกก่อนยุคดิจิทัล ท่องโลกตัวการ์ตูนหรือคาแรกเตอร์ในหนังผ่านโมเดลแบบต่างๆ ได้เลือกหาเครื่องเล่นและแผ่นเกมกลับบ้าน หรือฮีลใจด้วยการหาหุ่นฟิกเกอร์มาเติมเต็มตัวที่ยังขาดในคอลเลกชัน ‘สะพานเหล็ก’ น่าจะเป็นคำตอบที่แทรกอยู่ในความทรงจำของใครหลายคน แม้วันนี้ย้ายมาอยู่ในสถานที่ใหม่ ใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า แต่ย่านการค้าของเล่นระดับตำนานของประเทศยังคงกลิ่นอายความคลาสสิกแทบไม่ต่างกัน และยังคงเป็นสวรรค์ของคนรักของเล่นและนักสะสมเหมือนเคย ยิ่งตลอดปีนี้ อาร์ตทอยและกล่องสุ่มกำลังมาแรง เหล่าศิลปินต่างสร้างสรรค์ออกมาในรูปลักษณ์ต่างๆ จนผู้คนเลือกซื้อสะสมกันไม่หวาดไม่ไหว เป็นอีกกระแสใหม่ของวงการทอยบ้านเราที่ส่งผลกระเทือนถึงย่านสะพานเหล็กด้วย คอลัมน์ Neighboroot ชวนตะลุยสะพานเหล็ก อาณาจักรของเล่นใหญ่ในกรุงเทพฯ ย้อนวันวานไปกับชาวย่าน กลับไปหาต้นตอของร้านรวง แล้วข้ามถนนไป Mega Plaza อัปเดตเทรนด์ใหม่ๆ ของวงการของเล่นปัจจุบัน ด่านแรกของร้านของเล่นนำเข้า ก่อนจะไปสำรวจย่านสะพานเหล็ก ขอพาไปฟังที่มาที่ไปของปลายทางในฝันของเด็กๆ และเหล่านักสะสมกันก่อนว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมธุรกิจของเล่นถึงมาลงหลักปักฐานอยู่ในย่านวังบูรพาแห่งนี้ได้ ‘เจ็กสมชัย กวางทองพานิชย์’ นักประวัติศาสตร์ของย่านเยาวราช-สำเพ็ง เป็นหนึ่งในคนที่เรานึกถึง แม้จุดหมายในวันนี้อยู่เกือบชายขอบของชุมชนคนจีนใหญ่ของพระนคร แต่คิดว่าเจ็กน่าจะสัมผัสและพอรู้เรื่องราวในฐานะคนบ้านใกล้เรือนเคียงกับย่านนี้บ้าง ทว่าพอได้มานั่งคุยกับเจ็กที่ร้านในซอยวานิช 1 ก็ทำให้เรารู้สึกว่ามารบกวนไม่ผิดคน เพราะนอกจากเป็นพ่อค้าและนักประวัติศาสตร์ เจ็กสมชัยในวัย 60 กว่ายังพ่วงตำแหน่งนักสะสมของเล่นตัวยงด้วย “สำเพ็งเป็นศูนย์รวมทุกอย่าง ของเล่นยุโรปก็มี แต่ที่เจ็กโตมาคือของเล่นญี่ปุ่นกับฮ่องกง ของเล่นยุโรปเกิดไม่ทัน แต่ทันแมตช์บ็อกซ์ของฮ่องกง และทินทอยของญี่ปุ่น” นักประวัติศาสตร์ประจำย่านเท้าความถึงจุดกำเนิดร้านของเล่น ภาพจำสะพานเหล็กฉบับออริจินัล มาพร้อมกับภาพซอยเล็กๆ เบียดเสียด เนืองแน่นไปด้วยผู้คน […]

Creative Art District : TOYS  ธีสิสที่ใช้ ‘ของเล่น’ มาพัฒนาเมือง ให้สร้างสรรค์ผ่าน ‘ย่านสะพานเหล็ก’

การพัฒนาเมืองยังคงต้องเกิดขึ้นทุกวันไม่มีหยุด เพื่อปรับเปลี่ยนไปตามวิถีชีวิตของผู้อยู่อาศัย หลายสถานที่เป็นไปตามแบบแผน และอีกหลายพื้นที่ก็ยังคงเป็นปัญหา โดยเฉพาะปัญหาจากการเข้ามาของสิ่งใหม่ที่ผลักให้คุณค่าของความดั้งเดิมทั้งชุมชน วิถีชีวิต ภูมิปัญญา หรือวัฒนธรรมต่างๆ สูญหายไป ‘แนน-นภัสสร จันทรเสนา’ บัณฑิตจบหมาดๆ จากสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจการพัฒนาเมืองในเรื่องของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม ได้จัดทำผลงานวิทยานิพนธ์ชื่อว่า ‘โครงการฟื้นฟูบูรณะเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ย่านสะพานเหล็ก สู่ย่านของเล่นร่วมสมัย’ ขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นว่า การพัฒนาเมืองนั้นมีหลายวิธี และ ‘การพัฒนาย่านสร้างสรรค์’ เป็นหนึ่งวิธีที่ธีสิสนี้เลือกใช้ คอลัมน์ Debut วันนี้พาไปรู้จักวิทยานิพนธ์ดีเด่นด้านความคิดสร้างสรรค์จากเวที TOY ARCH Thailand ประจำปี 2566 กับไอเดียการพัฒนาเมืองที่มีแนวคิดจาก ‘ของเล่น ของสะสม’ จะนำไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ในรูปแบบไหนได้บ้าง ไปดูกัน ‘ของเล่น ของสะสม’สู่แนวคิดการพัฒนาย่านสร้างสรรค์ แนนมีบ้านเกิดอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เธอเลือกเข้ามาเรียนคณะสถาปัตยกรรมฯ ที่จุฬาฯ เพราะมีความชอบด้านงานศิลปะและการออกแบบเป็นทุนเดิม บวกกับที่เธอชอบการท่องเที่ยวและเป็นนักสำรวจพื้นที่ใหม่ๆ จากการได้มาใช้ชีวิตเรียนหนังสือในเมืองอย่างกรุงเทพฯ ทำให้ทุกๆ วันจะได้พบกับมุมมองที่ต่างออกไป ตลอดระยะเวลา 4 – 5 ปีของการศึกษา แนนพบว่าตัวเองนั้นอยากพัฒนาเมืองในเรื่องวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของชุมชนดั้งเดิม […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.