Imaginary Objects สตูดิโอออกแบบที่เชื่อในพลังของสนามเด็กเล่นกับการสร้างเมืองและมนุษย์ที่ดี

ภาพของเด็กๆ วิ่งเล่นชุลมุน ส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวเฮฮา บนเครื่องเล่นสีสันสดใส คือบรรยากาศที่เราสัมผัสได้เสมอเมื่อไปเยี่ยมเยือนสนามเด็กเล่น สนามเด็กเล่นคือพื้นที่แห่งความสุขของเด็ก เป็นพื้นที่ที่พวกเขา (และเราในอดีต) ได้ใช้เวลากระโดดโลดเต้นกับเพื่อนฝูงโดยไม่ต้องคิดอะไรมาก นอกเสียจากจะเล่นอย่างไรให้สนุกที่สุด มองแบบผิวเผิน เหมือนว่าสนามเด็กเล่นจะเป็นแค่พื้นที่ให้เด็กเล่นสนุก ปลดปล่อยพลังอันเหลือล้นจนเหนื่อยหอบ แต่ ‘ญารินดา บุนนาค’ และ ‘โรเบร์โต้ เรเกโฮ เบเล็ตต์’ (Roberto Requejo Belette) กลับมองว่าสนามเด็กเล่นมีประโยชน์และมีหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่มากกว่านั้น และมันคือองค์ประกอบสำคัญในการสร้างเมืองที่น่าอยู่ ญารินดาและโรเบร์โต้ คือสองสถาปนิกผู้ก่อตั้ง Imaginary Objects ออฟฟิศออกแบบที่ทำงานหลากหลายรูปแบบ นอกจากผลงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายใน พวกเขายังเชื่อมั่นกับการออกแบบสนามเด็กเล่น และฝากผลงานออกแบบไว้มากมาย เช่น Play Objects ต้นแบบสนามเด็กเล่นสำหรับชุมชนในงาน Bangkok Design Week 2020, Thawsi Playground สนามเด็กเล่นที่โรงเรียนทอสี หรือ Kitblox ผลงานเครื่องเล่นตัวต่อหลากสีหลายรูปทรงสำหรับเด็ก ในมุมมองของพวกเขา สนามเด็กเล่นจะช่วยสร้างเมืองที่น่าอยู่ได้อย่างไร นอกจากการเป็นสถานที่เล่นสนุก สนามเด็กเล่นมีประโยชน์อะไรอีกบ้าง และไอเดียเบื้องหลังการสร้างสนามเด็กเล่นของพวกเขาคืออะไร มาโลดแล่นไปในบทสนทนาและค้นหาคำตอบพร้อมกันในบทความนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนเด็กๆ คุณเติบโตมากับสนามเด็กเล่นแบบไหน […]

Atelier Gardens HAUS 1 อาคารสำนักงานสีเหลืองสดใสในกรุงเบอร์ลิน ที่ทำให้การฟื้นฟูอาคารแบบยั่งยืนสนุกขึ้นได้

ปัญหาอาคารที่พบได้บ่อยคงไม่พ้นเรื่องความเสื่อมโทรมของตึกเก่า ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของการปล่อยคาร์บอนฟุตพรินต์ และขณะเดียวกันก็อาจสร้างความเบื่อหน่ายให้กับผู้คนในเมืองด้วยรูปร่างโครงสร้างอาคารที่หน้าตาเป็นบล็อกๆ เหมือนกันไปหมด แต่สำหรับอาคาร ‘HAUS 1’ ที่ตั้งอยู่ภายในพื้นที่ ‘Atelier Gardens’ ของสตูดิโอภาพยนตร์ในเมืองเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี กลับแตกต่างออกไป ด้วยฝีมือการออกแบบของสตูดิโอ Hirschmüller Schindele Architekten และ MVRDV เนื่องจากทางสตูดิโอได้เปลี่ยน HAUS 1 จากอาคารสำนักงานเก่าล้าสมัยที่สร้างขึ้นในปี 1990 ให้เป็นอาคารสำนักงานใหม่ที่ยั่งยืนมากขึ้น โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แทนการรื้อถอน และใช้สีเหลืองสดใสเพื่อชุบชีวิตอาคารหลังนี้ให้กลับมามีชีวิตชีวามากขึ้น อีกทั้งตัวอาคารเองยังต่อเติมบันไดสีเหลืองซิกแซ็กแบบไดนามิกบริเวณด้านหน้าอาคาร และเมื่อเดินตามบันไดขึ้นไปบนจุดสูงสุด ก็จะพบกับดาดฟ้าบนอาคารที่มีจุดชมวิวล้อมรอบทิวทัศน์ของเมืองเบอร์ลิน อีกทั้งพื้นที่ชั้นบนของดาดฟ้ายังมีอาคารกระจกสำหรับนั่งทำงานซึ่งสร้างขึ้นจากไม้รีไซเคิล และสวนสีเขียวที่ช่วยลดความร้อนในฤดูร้อน รวมไปถึงให้ความรู้สึกดีต่อสุขภาพจิต นอกจากนี้ ภายใน HAUS 1 ยังเป็นสถานที่นั่งทำงานของสตูดิโอ Atelier Gardens ที่ตกแต่งผนังและเพดานจากดินเผา ซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติที่นำกลับมารีไซเคิลเพื่อยืดอายุการใช้งานของอาคาร แถมยังมีคาเฟ่คอยให้บริการแก่ชาวออฟฟิศที่อ่อนล้าจากการทำงาน HAUS 1 แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงอาคารสามารถทำไปพร้อมๆ กับการรักษาสิ่งแวดล้อมให้มีความยั่งยืนได้ ด้วยการนำโครงสร้างเก่ากลับมาใช้ใหม่ให้ได้มากที่สุด รวมถึงการให้ความสำคัญกับวัสดุทางชีวภาพที่ทั้งทนทานและมีคุณสมบัติรีไซเคิลได้ด้วย Sources : ArchDaily | t.ly/ZPCAIMVRDV | […]

Healthy Space Forum ทีมนักออกแบบที่อยากดีไซน์พื้นที่เมืองให้คนแข็งแรง และย่านคึกคัก

เราได้ยินชื่อ Healthy Space Forum หรือศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง ครั้งแรกจากพอดแคสต์ Unlock the City ที่ ‘รศ. ดร.พนิต ภู่จินดา’ ผู้อำนวยการและผู้เชี่ยวชาญด้านการวางผังภาคและเมืองเป็นโฮสต์เจ้าประจำ ด้วยความเข้าใจว่า Healthy Space Forum คือหน่วยงานที่ต่อยอดมาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งอาจารย์พนิตเป็นหนึ่งในผู้สอน เพื่อให้ผู้เรียนมีสนามฝึกปรือฝีมือ นำความรู้ที่ใช้มาออกแบบงานเพื่อใช้งานจริงๆ ไม่ผิดไปจากความเข้าใจเท่าไหร่ สิ่งที่เซอร์ไพรส์คือ เมื่อเราได้นั่งคุยกับอาจารย์พนิตและทีมนักออกแบบของ Healthy Space Forum ความเข้าใจว่าพวกเขาออกแบบพื้นที่ออกกำลังกายเพื่อความ ‘เฮลตี้’ ของคนเมือง จริงๆ ถูกผลักเพดานไปไกลกว่านั้น  สิ่งที่พวกเขาทำนับตั้งแต่ Day 1 ในปี 2554 ไม่เพียงแต่ออกแบบพื้นที่ให้ตอบโจทย์ผู้ใช้งานมากที่สุด แต่ยังหมายรวมถึงการตีความพื้นที่ในแบบใหม่ๆ ไปจนถึงการบริหารจัดการชุมชนให้คึกคักขึ้นมา  บรรทัดต่อจากนี้คือเรื่องราวการเดินทางตลอด 12 ปีของ Healthy Space Forum และความเชื่อเบื้องหลังการออกแบบของพวกเขาที่ล้วนเป็นไปได้ภายใต้หนึ่งเป้าประสงค์ นั่นคือการผลักดันให้ทุกคนมีคุณภาพชีวิตที่ดี พื้นที่ที่ไม่ได้มีไว้เพื่อบริหารร่างกายเท่านั้น 12 ปีก่อน Healthy Space […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.