ชวนอ่าน ‘วัตถุสร้างชาติ : 50 ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ ที่รวบรวมสิ่งละอันพันละน้อยที่สะท้อนความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ไทย

เวลาจะย้อนไปดูความเป็นมาของชาติ นอกจากคนและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าถึงบริบทของสังคมที่ผ่านมา ‘สิ่งของ’ ก็เป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่นำมาใช้ศึกษาที่มาที่ไป เบื้องหลังความคิดการออกแบบ หรือกระทั่งอุดมการณ์ในการมีอยู่ของมัน ‘วัตถุสร้างชาติ : 50 ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ คือหนังสือที่ปรับจากงานวิจัยเรื่อง ‘ศิลปะไทยสมัยใหม่กับความเปลี่ยนแปลงของสังคมทศวรรษ 2470 – 2520’ โดยคณะผู้เขียน ได้แก่ ‘วิชญ มุกดามณี’, ‘ชาตรี ประกิตนนทการ’, ‘วิจิตร อภิชาติเกรียงไกร’ และ ‘กฤติยา กาวีวงศ์’ ซึ่งโครงการนี้เป็นงานวิจัยระยะยาว 3 ปี ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2565 เป้าหมายของโครงการนี้คือ เพื่อศึกษา รวบรวม และคัดเลือกผลงานศิลปะ งานสร้างสรรค์ หรือวัตถุชิ้นสำคัญที่ส่งผลและสะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์และสังคมในยุครัตนโกสินทร์ เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดแสดงนิทรรศการและจัดทำองค์ความรู้ทางศิลปะของประเทศไทยตามโครงการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ศิลปกรรมแห่งชาติ เนื้อหาภายในหนังสือต้องการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างงานศิลปะกับความเปลี่ยนแปลงทางสังคมระหว่างทศวรรษ 2470 – 2520 และเพื่อรวบรวมงานศิลปะชิ้นสำคัญที่ส่งผลต่อสังคมไทยในช่วงเวลาเดียวกัน โดยเน้นศึกษาที่ตัวชิ้นงานศิลปะเป็นศูนย์กลาง และวิธีการศึกษาทางประวัติศาสตร์เป็นหลัก จนออกมาเป็น 50 ผลงานที่บอกเล่าบริบทในช่วงเวลาต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช […]

‘สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ จิตแพทย์ผู้ใช้ ‘เลโก้จิ๋ว’ ผลักดันศิลปวัฒนธรรมไทย

ถ้าให้ย้อนถึงความทรงจำที่ประทับใจในวัยเด็ก เชื่อว่าหลายคนคงหวนนึกถึงกิจกรรมที่เคยเล่นสนุกจนลืมเวลา รวมไปถึงงานอดิเรกที่เคยหลงใหลและมีสมาธิกับมันมากๆ ไม่ว่าจะเป็นการวาดภาพการ์ตูน การเล่นดนตรี การเล่นกีฬา ไปจนถึงการเล่นเกมสารพัดรูปแบบ สำหรับบางคน สิ่งเหล่านี้ยังกลายเป็นแพสชันที่ติดตัวพวกเขาไปจนโต หรือไปไกลถึงขั้นทำเป็นอาชีพก็มี  ‘อิกคิว-สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช’ ชายหนุ่มท่าทางอารมณ์ดีคนนี้ คือหนึ่งในนั้น  เรารู้จักอิกคิวผ่านโพสต์ประชาสัมพันธ์เวิร์กช็อป ‘ตามาญโญในตัวต่อจิ๋ว’ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในงาน ‘เสาร์สนามไชย Saturday Happening’ ที่มิวเซียมสยาม เวิร์กช็อปนี้สะดุดตาเราเป็นพิเศษ เพราะเป็นการสอนต่อ ‘เลโก้จิ๋ว (Miniblock)’ จากผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของมาริโอ ตามาญโญ สถาปนิกชาวอิตาเลียนผู้ออกแบบตึกมิวเซียมสยาม เช่น สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง สถานีรถไฟสวนจิตรลดา พระที่นั่งอนันตสมาคม และสถานีรถไฟกรุงเทพ พูดง่ายๆ ว่าเป็นการย่อไซซ์อาคารไทยให้กลายเป็นโมเดลจิ๋วสีสันน่ารักที่สาวกตัวต่อกับของกุ๊กกิ๊กต้องตาเป็นประกายวิบวับแน่นอน เมื่อลองหาข้อมูลเพิ่มเติม เราก็พบว่าอิกคิวคือจิตแพทย์ที่มาเป็นวิทยากรเฉพาะกิจให้เวิร์กช็อปนี้ เนื่องจากความหลงใหลในศาสตร์และศิลป์ของการต่อเลโก้มาตั้งแต่เด็ก จนได้พัฒนางานอดิเรกให้มีความออริจินัลและจริงจังมากขึ้นผ่านการออกแบบเลโก้จิ๋วจากสถาปัตยกรรมไทยและต่างประเทศ โดยเขาได้รวบรวมผลงานทั้งหมดไว้ในเพจ Qbrick Design  เรานัดหมายกับอิกคิวเพื่อพูดคุยทำความรู้จักเจ้ามินิบล็อกเหล่านี้ให้มากขึ้น ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบอันซับซ้อน ไปจนถึงการต่อประกอบให้สำเร็จ คุณค่าของตัวต่อจิ๋วในมุมมองของเขาเป็นแบบไหน อะไรที่ทำให้เขามีแพสชันและมิชชันต่อตัวประกอบจิ๋วขนาดนี้ เราขอชวนทุกคนไปฟังคำตอบพร้อมกัน ปัดฝุ่นเลโก้วัยเด็ก อิกคิวเริ่มต้นด้วยการเล่าย้อนไปถึงช่วงเวลาหลังจากเรียนจบคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาได้กลับไปทำงานเป็นจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส บ้านเกิดของตัวเอง  ในเวลาว่างจากงานประจำช่วงนั้น […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

ชีวิตที่ไม่ง่ายของคนทำละครไทยในอเมริกา สู่ Thai Theatre Showcase โชว์เคสที่เปิดให้พวกเขาได้โชว์ของ

บิ๊ก-รักษ์ศักดิ์ ก้งเส้ง คือคนทำละครเวทีไทยที่ใช้ชีวิตอยู่ในอเมริกามาตั้งแต่ปี 2557 รักษ์ศักดิ์เป็นคนนครศรีธรรมราช ชอบเล่นละครเวทีมาตั้งแต่มัธยมฯ หลังเรียนจบปริญญาตรีสาขาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เธอบินลัดฟ้าไปปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความฝันที่อเมริกาเพราะเห็นโอกาสเติบโตที่มากกว่า  ที่นั่น รักษ์ศักดิ์ได้พบรัก แต่งงาน และได้เรียนต่อปริญญาโทด้านบริหารจัดการศิลปะ ปัจจุบันเธออาศัยอยู่ในเมืองที่รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์ของบรอดเวย์และละครเวทีอย่างนิวยอร์ก เริ่มทำงานจากตำแหน่ง Arts Administrator อย่างที่เรียนมา จนตอนนี้กลายเป็น Asistant Director of Grantmaking Programs หรือรองผู้อำนวยการฝ่ายโปรแกรมทุนของ Theatre Communications Group องค์กรที่ตามหาและแจกจ่ายทุนให้คนละครเวทีในดินแดนแห่งเสรีภาพได้สานฝันในการทำละครของตัวเอง ช่วงปี 2561 รักษ์ศักดิ์และเพื่อนในแวดวงได้ก่อตั้ง Thai Theatre Foundation หรือ TTF เพื่อสนับสนุนและเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ละครเวทีไทยร่วมสมัย และในวันที่ 23 – 24 กรกฎาคมนี้ TTF จะจัดโชว์เคสครั้งแรกของพวกเขา ความพิเศษของงานนี้คือการรวบรวมศิลปินละครเวทีไทยในสหรัฐอเมริกามาโชว์ของ ซึ่งมีทั้งตัวท็อปและหน้าใหม่ในวงการที่คนไทยอาจไม่คุ้นชื่อ แต่คนดูชาวอเมริกันคุ้นชินกับพวกเขาเป็นอย่างดี และนี่เป็นครั้งแรกที่ศิลปินไทยเหล่านี้ได้มีพื้นที่ในการเปล่งเสียง โชว์ความเป็นไทยของตัวเอง แบบที่ไม่เคยได้แสดงที่ไหน เช้าวันแดดร่มวันหนึ่งที่ไทย เราต่อสายหารักษ์ศักดิ์ในอีกซีกโลกหนึ่งที่ท้องฟ้ากำลังระบายสีครึ้ม เพื่อพูดคุยกันถึงโชว์เคสครั้งสำคัญ […]

จินตนาการจากผ้าปาเต๊ะ ธีสิสเย็บปักถักร้อยจากชีวิตสาวปักษ์ใต้ผู้คิดถึงบ้าน

ชวนดูศิลปนิพธ์ของสาวใต้จากจิตรกรรมฯ ศิลปากร ผู้หยิบผ้าปาเต๊ะมาสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งชวนหลงใหลบรรยากาศแดนใต้

ถกความเป็นไปได้กับก้าวต่อไปของศิลปะไทย | Social Impact EP.1

ปีที่แล้วภาพยนตร์อย่าง Parasite กวาดรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในเวทีออสการ์ ปีนี้ โคลอี้ เจา ผู้กำกับหญิงเชื้อสายเอเชียก็ได้รับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมอีก นี่คือตัวอย่างของศิลปวัฒนธรรม ที่นอกจากทำหน้าที่ส่งต่อความสวยงามจรรโลงใจ แต่ยังส่งต่อแรงบันดาลใจสร้างมูลค่าได้อีกด้วย หรือเราจะเห็นว่าจริงๆ แล้วบางครั้งศิลปะก็เป็นเชื้อเพลิงขับเคลื่อนสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า กลับมามองที่บ้านเรา ศิลปะไทยอยู่ในข้อถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน เรื่องการนำมาประยุกต์ใช้ในหลายมิติ เราพอจะมีทางเขยิบขึ้นไปในอีกมิติการรับรู้คุณค่าของศิลปะอย่างเท่าเทียมกันได้รึเปล่า เป็นไปได้ไหมที่เราจะนำศิลปะมาแสดงออกหลากหลายด้านมากกว่าความสวยงาม แล้วทำอย่างไรประเทศไทยและศิลปะจะเติบโตไปอย่างสอดประสานกัน ชวนมาถกถามหาคำตอบใน Social Impact EP.1 ศิลปะไทยไปได้ไกลกว่าที่เป็น?

กระถางวัดอรุณฯ ผลงานดีไซเนอร์รุ่นใหม่ Mo Jirachaisakul

พระปรางค์วัดอรุณฯ ตั้งตระหง่านริมแม่น้ำเจ้าพระยา ภาพจำกรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าคนชาติไหนก็ต้องตั้งใจเดินทางมาให้เห็นกับตาสักครั้ง ยิ่งถ้าใครเดินทางด้วยเรือด่วนเจ้าพระยาเป็นประจำ ทุกครั้งที่นั่งเรือผ่านจะต้องหันไปชื่นชมความงามจนเรือแล่นลับสายตา แต่สิ่งที่น่าเสียดายคือคนส่วนใหญ่มักตื่นตะลึงกับความยิ่งใหญ่อลังการ จนมองข้ามรายละเอียดสุดประณีตโดยฝีมือช่างไทยโบราณที่บรรจงรังสรรค์ผลงานศิลปะอันยากจะเลียนแบบ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.