หยุดด้อยค่า เสียงของแรงงาน l Urban Sound Check

‘ไม่ว่าคุณจะทำงานอะไร คุณคือคนทำงาน’ Urban Creature ขอพาคุณร่วมขบวนส่งพลังเนื่องในวันแรงงานสากลที่ผ่านมา แสดงพลังเสียงของคุณ หยุดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบ สวัสดิการต่างๆที่แรงงานควรจะได้ ‘เพราะคนที่สำคัญที่สุดในองค์กร ในที่ทำงาน คือพวกเรา’ มีแค่เจ้าของ มีแค่นายทุน บริษัทไปต่อไม่ได้  ร่วมแสดงพลังของคุณไปพร้อมกับเราผ่าน Urban Soudcheck มนุษย์-สิทธิ-ความเท่าเทียมอยู่ตรงไหน? #urbancreature #ReinventTheWayWeLive #วันแรงงานสากล #แรงงาน #รัฐสวัสดิการ #สวัสดิการ 

FYI

Worker and the City เมืองในฝันของ ‘คนทำงาน’

เราอยากชวนแรงงานทุกคนตั้งคำถามว่า ในขณะที่พวกเราทำงานสร้างความเจริญให้เมือง แล้วเมืองให้อะไรตอบแทนเราบ้าง ไม่ว่าเมืองไหนย่อมต้องการประชากรที่มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถ และทำงานได้ดี เพื่อเป็นฟันเฟืองในการพัฒนาเมืองให้ก้าวไปข้างหน้า แต่ในขณะเดียวกัน จะมีสักกี่เมืองที่นึกถึงคนทำงานหรือแรงงานอย่างครอบคลุมทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นความเป็นธรรมในการทำงาน นโยบายค่าจ้างที่สอดคล้องกับการใช้ชีวิต สวัสดิการ หรือกระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของคนทำงานเองก็ตาม  เนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศที่ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับคนทำงานแห่งนี้ เราจึงชวนแรงงานหลากหลายอาชีพมาบอกเล่าถึงภาพเมืองในฝันที่เป็นมิตรต่อพวกเขา  เพราะท้ายที่สุดแล้ว เราทุกคนคือคนทำงาน และเราทุกคนควรมีสิทธิ์เรียกร้องคุณภาพชีวิตที่ดีในเมืองที่อาศัยอยู่ จงอย่าลืมว่าเราเป็นหนึ่งใน 99 เปอร์เซ็นต์ของประเทศนี้ การที่ทำงานหนักแล้วอยากให้เมืองเห็นคุณค่าของคนทำงานบ้าง นั่นคือความชอบธรรมของเราทุกคน มารุต ปุริเสอาชีพ : พนักงานจัดเรียงสินค้า และสมาชิกสหภาพคนทำงาน “เมืองในฝันของผมคือ มีที่อยู่อาศัยฟรีสำหรับทุกคน ใช้ที่ดินทุกตารางนิ้วอย่างมีคุณค่า มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรี มีรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าคอยแบกรับประชาชนในยามลำบาก มีสิทธิแรงงานดีๆ ที่คุ้มครองเรา ทำพื้นที่กิจกรรมสาธารณะให้ผู้คนได้แสดงออกและคิดเห็นโดยไร้การแทรกแซง รวมถึงทำขนส่งมวลชนให้ดีๆ ลดค่าครองชีพ เพิ่มรายได้ขั้นต่ำเป็นหกร้อยห้าสิบบาทต่อวัน เพื่อที่คนทำงานจะได้มีเงินเก็บ มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นบ้าง “เพราะคนทำงานในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นคนหาเช้ากินค่ำ พวกเขาคิดว่าเมืองหลวงจะเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก แต่สุดท้ายกลับต้องมานั่งวินมอเตอร์ไซค์ออกจากบ้าน นั่งรถสองแถวออกจากซอย เพื่อมารอรถเมล์ ทานอาหารราคาถูกๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่รัฐไม่สนับสนุน อย่างผมเองต้องเดินไปทำงานเพื่อให้เหลือเงินกินข้าวเที่ยง ระหว่างทางที่เดินก็พบเจอมลพิษและทางเท้าที่แคบ มีสิ่งกีดขวางมากมาย จนบางทีก็คิดว่า […]

สหภาพคนทำงานชวนแสดงพลัง May Day 1 พ.ค. 65 รวมพลังคนทำงาน เดินขบวนแยกราชประสงค์

วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เป็นวันแรงงานสากลหรือวัน ‘May Day’ หลายประเทศกำหนดให้เป็นวันหยุดนักขัตฤกษ์ เพื่อให้ทุกคนได้รำลึกถึงความสำคัญของแรงงาน เนื่องจากเมื่อราว พ.ศ. 2432 ได้มีแรงงานในสหรัฐอเมริกาลุกขึ้นมาชุมนุมเรียกร้องรัฐให้กำหนดชั่วโมงทำงานสูงสุดไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง รวมถึงทบทวนสิทธิของแรงงานตามความเหมาะสม จนเกิดการปะทะกันระหว่างแรงงานและตำรวจส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งสองฝ่าย ในยุคสมัยที่สังคมไทยตื่นตัวกับเรื่องสิทธิและเสรีภาพ หัวข้อความเป็นธรรมของแรงงานมักถูกนำมาถกเถียงกันอยู่บ่อยครั้ง ขณะเดียวกันก็มีกลุ่มคนที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องนี้อย่างจริงจัง หนึ่งในนั้นคือ ‘สหภาพคนทำงาน’ #เราทุกคนคือคนทำงาน คือแนวคิดที่สหภาพคนทำงานต้องการสื่อสารแก่แรงงานทุกคน ใครที่ใช้ฝีมือ มันสมอง เวลา และกำลังกาย เพื่อแลกค่าจ้าง คุณคือคนทำงาน และถ้าหากทุกคนรวมตัวกันก็จะสร้างอำนาจต่อรองและสถาปนาประชาธิปไตยในทุกระดับ สหภาพคนทำงานจึงเลือกใช้วันที่ 1 พฤษภาคมนี้ จัดกิจกรรม ‘MAY DAY รวมพลังคนทำงาน’ เพื่อตอกย้ำความตั้งใจที่อยากเห็นคนทำงานรวมตัวแสดงพลังกัน โดยเริ่มต้นกิจกรรมที่แยกราชประสงค์ฝั่ง CentralWorld เวลา 16.00 น. ก่อนจะเดินขบวนไปยังหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) เพื่อเริ่มการปราศรัยและกิจกรรมต่างๆ ผู้ที่สนใจสมัครสมาชิกและติดตามสหภาพคนทำงานได้ที่ www.linktr.ee/WorkersUnionTH นอกจากนี้ ที่เชียงใหม่ก็มีการจัด Sex work Fashion week ครั้งแรกในประเทศไทย […]

ยิ่งหยุดพัก งานยิ่งปัง?

วันศุกร์ทีไร ‘มนุษย์แรงงาน’ ดี๊ด๊าทุกที เพราะเป็นวันสุดท้ายของการทำงานในสัปดาห์! เพื่อชาร์จพลังกลับไปลุยงานต่อวันจันทร์ ว่าแต่การหยุดพัก 2 วันหลังจากเคร่งเครียดกับงานมายาวๆ 5 วันนั้นช่วยให้สมองและร่างกายเราพร้อมกลับไปทำงานจริงหรือเปล่า เพราะยังว่ากันว่าหลังจากได้พักยาวๆ แล้ว เมื่อกลับไปทำงานอีกครั้ง ประสิทธิภาพของคนทำงานจะดีขึ้น จนผลงานที่ออกมาเต็มไปด้วยคุณภาพ เรื่องนี้จริงหรือมั่ว ชัวร์หรือไม่ คอลัมน์ Curiocity ชวนค้นคำตอบฉลองวันแรงงานกัน  ทำ 5 พัก 2 มาจากไหน ย้อนกลับไปศตวรรษที่ 19 สมัยที่ยังไม่มีกฎหมายแรงงาน ทำให้นายจ้างกำหนดเวลาเข้า-ออกงาน รวมถึงชั่วโมงทำงานอย่างไรก็ได้ บางที่ดีหน่อยให้หยุดพัก 1 วัน ไม่เสาร์หรืออาทิตย์ขึ้นอยู่กับวันประกอบพิธีของแต่ละศาสนา แต่บางที่ก็แย่เกินใครเพราะไม่มีวันหยุด และให้พนักงานโหมทำงานมากถึง 14 ชั่วโมง/วัน เนื่องจากงานหนักจนคนทำงานทนไม่ไหว จึงเกิดการนัดหยุดงานเพื่อออกมาประท้วง ท้ายที่สุดพี่น้องแรงงานเลือดนักสู้ก็ได้เวลาทำงานวันละ 8 ชั่วโมง และหลายประเทศบรรจุเข้าข้อกฎหมาย ประกอบกับปัญหาการขอหยุดงานไม่ตรงกันของแต่ละศาสนาที่ยากต่อการจัดการ และประสิทธิภาพการทำงานตกลง จึงมีข้อกำหนดเพิ่มเติมให้วันเสาร์-อาทิตย์เป็นวันหยุดงานประจำสัปดาห์ไปโดยปริยาย  ปี 1926 ‘เฮนรี ฟอร์ด’ เจ้าของฟอร์ด มอเตอร์ ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอเมริกา คือนายทุนแรกที่ทดลองให้คนงานทำงานแค่ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.