กาดหลวง มนตร์เสน่ห์จากวันวาน

“ยิ่งเก่า ยิ่งขลัง” เป็นคำพูดที่หลายคนคงได้ยินติดหูกันมานาน ช่วงเวลาผ่านเรื่องราวในอดีต หลงเหลือไว้เพียงความทรงจำที่ยังคงฝังมาจนถึงปัจจุบัน เวลานำพาเทคโนโลยีความทันสมัยต่างๆ เข้ามาจนไม่หลงเหลือความเป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิม ถึงอย่างนั้นก็ยังมีกลุ่มคนที่ยังคงหลงรักมนตร์เสน่ห์ของยุคเก่า ทั้งคอยเก็บสะสมและแลกเปลี่ยน ยิ่งของที่เก่ามาก ราคายิ่งสูงตาม โดยส่วนตัวเราเป็นคนที่ชอบของเก่า ถึงแม้จะเกิดไม่ทันในยุคสมัยนั้นก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นแนวการแต่งตัว หนัง และความชอบในการท่องเที่ยวดูสถานที่ที่ยังเหลือกลิ่นอายของยุคเก่า ทั้งที่มีมาตั้งแต่อดีตหรือที่เขาจัดแต่งขึ้นมาทีหลัง ‘กาดหลวง’ หรือ ‘ตลาดวโรรส’ คือตลาดที่ยามว่างเราชอบมาเดินเล่นกับกล้องหนึ่งตัว ถึงแม้จะไม่ได้อะไรติดไม้ติดมือกลับบ้านเลย แต่สิ่งที่ได้สัมผัสคือบรรยากาศที่เหมือนเคยได้สัมผัสมาก่อน จากการเดินสังเกตเรื่องราวของผู้คนราวกับหนังจอใหญ่ 4D เราพบว่าคนขายของมีหลากหลายเชื้อชาติ คนอินเดียบางคนที่เขาอยู่มานานพูดภาษาเหนือได้คล่อง ผู้คนพูดคุยทักทายกันเหมือนเคยรู้จักกันมาก่อน ระหว่างเดินและมองไปรอบๆ ภาพในอดีตสมัยเด็กๆ ล่องลอยขึ้นมาในหัวร่วมกับความรู้สึกที่ผสมปนเปกันไปหมด ทั้งความคิดถึง เหงา ตื้นตันใจ ความสุข และความรู้สึกอบอุ่น จนน้ำตาไหลออกมาแบบไม่รู้ตัว ได้แต่หวังว่าในอนาคตที่ปัจจุบันกำลังดำเนินไปจะยังคงหลงเหลือมนตร์เสน่ห์จากวันวานนี้อยู่ ติดตามผลงานของ วราลักษณ์ ใจเป็ง ต่อได้ที่ Instagram : laa_WJ และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Waiting for a Snake รถไฟฟ้ามาหานคร

พ.ศ. 2542 เป็นปีที่คนไทยได้สัมผัสกับระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่ในนาม ‘รถไฟฟ้า’ เป็นครั้งแรก ก่อนที่เวลาต่อมา มันจะซอกซอนและยืดเหยียดไปตามพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนงูยักษ์ที่เลื้อยไปตามถนน ย่าน และสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมือง นอกจากจะทำหน้าที่ขนส่งมวลชนแล้ว ทุกที่ที่งูเหล่านี้เลื้อยผ่าน ยังทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองเปลี่ยนแปลงไปทุกมิติทั้งเชิงบวกและลบ อาคารที่อยู่อาศัยแนวตั้งและอาคารพาณิชย์มากมายผุดขึ้นตามเส้นทางของมัน ที่ดินราคาสูงขึ้น และโอกาสในการทำงานของคนในพื้นที่ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเช่าที่พักอาศัยในบริเวณนั้นก็มักจะสูงตาม อีกทั้งการก่อสร้างมันขึ้นมายังทำให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ โดยเฉพาะที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอาการขัดข้องและอุบัติเหตุจากระบบต่างๆ รวมถึงอัตราราคาที่ต้องจ่ายเพื่อใช้บริการมัน รถไฟฟ้าจึงเปรียบเสมือนงูใหญ่ที่มอบโอกาสในการเดินทาง และอสรพิษที่สามารถทำร้ายผู้คนได้ แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่ว่าอย่างไร ชาวเมืองก็ยังจำเป็นต้องพึ่งพาเจ้างูตัวนี้ เพื่อการเดินทางที่มีความแน่นอนทางเวลา (หากระบบไม่รวน) รวมไปถึงความปลอดภัยเมื่อเทียบกับการเดินทางบนท้องถนน หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Harmony of Thai-Chinese ไทยจีนสัมพันธ์

นอกจากวันแห่งความรัก เดือนนี้ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับชาวไทยเชื้อสายจีน เพราะมีวันตรุษจีนให้ระลึกถึงบรรพบุรุษที่จากไป มากไปกว่าตรุษจีนที่เป็นหนึ่งในประเพณีอันเป็นภาพแทนของความเป็นไทยเชื้อสายจีน ด้วยความใกล้ชิดสนิทสนมจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของกันและกันมาตั้งแต่อดีต จึงเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ที่เราจะพบเจอศิลปวัฒนธรรมจีนในไทย ตั้งแต่สเกลเล็กๆ อย่างบนร่างกายผู้คน ในอาคารสถานที่ ไปจนถึงระดับเมือง และหากให้นึกถึงพื้นที่ที่เป็นตัวแทนความเป็นจีนในกรุงเทพฯ ย่อมหนีไม่พ้นย่านเยาวราชอยู่แล้ว ในฐานะที่อดีตผมเคยเป็นคนในพื้นที่ ภาพของผู้คนที่พากันมาซื้อของและขนมที่ใช้ไหว้ในช่วงเทศกาล วัตถุต่างๆ ที่มีองค์ประกอบของฟอนต์ภาษาจีน รวมไปถึงสภาพแวดล้อมของอาคารและวิถีชีวิต ทั้งหมดที่กล่าวมานั้นนับว่าเป็นสิ่งที่เห็นจนชิน เมื่อเวลาผ่านมาจนผมเติบโตเป็นผู้ใหญ่ และได้กลับมาในบริเวณนี้อีกครั้งพร้อมกับกล้องถ่ายรูปคู่ใจ ผมย่อมรู้สึกต่างไปจากเมื่อก่อน จากเดิมที่เคยมองความเป็นจีนในไทยจนชินตา เมื่อเวลาผ่านไปกลับน่าสนใจยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในยุคที่อะไรก็หมุนไวไปหมด ทำให้อดไม่ได้ที่จะบันทึกเป็นภาพชุดนี้ขึ้นมา

หลงเหลือ เหนือกาลเวลา ตามหาร่องรอยเก่าในกรุงเทพฯ

ระหว่างแวะทานราดหน้าแถวบางโพ เราเหลือบไปเห็นแท่งเหล็กแท่งหนึ่งแปะข้างผนังตึกที่ถัดจากร้านนี้ไปประมาณ 2 – 3 คูหา จากรูปทรงเป็นเกลียวๆ ก็พอเดาได้ว่าเคยเป็นร้านทำผมมาก่อนแน่ๆ ทำให้นึกถึงตัวเองที่ชอบถ่ายรูปตามตึกต่างๆ ในเวลาว่าง อย่างล่าสุดช่วงปีใหม่ เราไปย่านประดิพัทธ์แล้วเจอใบปลิวอายุไม่ต่ำกว่า 50 ปีซ่อนอยู่ใต้ระแนงเหล็ก นี่เลยเป็นที่มาของ One Day Trip กับตัวเอง ที่พกกล้องไปตามหาตึกเก่าในกรุงเทพฯ ว่ามีร่องรอยอะไรหลงเหลืออยู่ โดยเฉพาะร่องรอยที่ดู ‘เหนือกาลเวลา’ แต่จะให้ตระเวนทั่วกรุงเทพฯ อาจจะไม่ไหว เลยจำกัดเอาเฉพาะย่านที่เคยไปบ่อยๆ อย่างเขตดุสิต บางซื่อ ถนนประดิพัทธ์ สวนมะลิ และตรอกโรงเลี้ยงเด็ก และนี่คือตัวอย่างภาพที่ได้จากการท้าทายตัวเอง ตามหาสิ่งของที่ยังหลงเหลืออยู่แต่ปัจจุบันนี้เลิกใช้ หรือร้านที่เลิกกิจการไปแล้วแต่คงเหลือไว้แค่รอยป้าย หรือป้ายที่ยังสภาพสมบูรณ์แต่แค่ซีดจางไปตามกาลเวลา สัญลักษณ์อะไรสักอย่างตรงทางเข้าชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า คาดว่าเป็นสัญลักษณ์ขององค์การทอผ้า เพราะเท่าที่พยายามค้นหาจาก Google ก็ไม่พบสัญลักษณ์ที่พอจะเทียบได้ พบเพียงแต่เอกสารพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การทอผ้า พ.ศ. 2498 จากเว็บไซต์ของคลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ (parliament.go.th) ไฟหมุนร้านทำผม ดูจากลักษณะของฟอนต์ที่กล่องเหล็กด้านหลังไฟหมุนนั้น คาดว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปี ติดอยู่ข้างร้านชำแห่งหนึ่งที่อยู่ถัดจากร้านราดหน้าบางโพไปประมาณ 3 – 4 คูหา […]

Arcade Game Center จากตู้เกมอาเขตในตำนานสู่ Game Center

เด็กรุ่นใหม่คงไม่คุ้นชินกับคำว่าอาเขต แต่สำหรับคนรุ่นเราแล้ว อาเขตถือเป็นความเจริญขั้นสุดในยุคนั้น เพราะเป็นสถานที่ที่อัดแน่นไปด้วยสินค้าและบริการมากมาย รวมถึงเป็นพื้นที่ตู้เกมค่อนข้างใหญ่ น่าตื่นตา หรือที่ปัจจุบันเรียกว่าเกมโซนหรือเกมเซ็นเตอร์ อีกทั้งยังมีการเปลี่ยนจากคำว่าอาเขตเป็นห้างสรรพสินค้า ดังนั้นภาพจำที่เกี่ยวกับอาเขตของเราจึงมีภาพตู้เกมอยู่ด้วยเสมอ แม้ว่าสมัยรุ่นๆ เราจะไม่เคยสนใจตู้เกมในอาเขตเลย แต่เมื่อเริ่มถ่ายภาพก็พบว่าเกมโซนในห้างฯ คือทำเลทองในการบันทึกภาพความทรงจำอย่างแท้จริง ทั้งเหล่าตู้เกมหน้าตาแปลกประหลาด บรรยากาศที่มืดสลัว ดูลึกลับ จนเหมือนหลุดเข้าไปในอีกมิติ แสงสีที่กะพริบระยิบระยับน่ามอง เสียงเพลงดังสนั่น เสียงกดปุ่มไม่ยั้ง หรือแม้แต่เสียงคนพูดคุยกันอึกทึกครึกโครม แต่สำหรับตากล้องมือใหม่อย่างเรา เสน่ห์ที่ดึงดูดให้เข้าไปมากที่สุดก็คือผู้คนที่อยู่ในพื้นที่เหล่านั้น ไม่มีใครสนใจใคร ต่างก็ปลดปล่อยความเป็นเด็กในตัวออกมา และทุกวันนี้เกมเซ็นเตอร์หลายๆ แห่งก็ไม่ได้มีแค่เด็กนักเรียนที่แอบไปเล่นเกมเท่านั้น เพราะ Game Zone ได้กลายเป็น Family Zone ไปแล้ว พื้นที่แห่งนี้จึงเต็มไปด้วยคนทุกเพศทุกวัย ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต เด็กตัวโต และคนที่เคยผ่านช่วงวัยเด็กมาเนิ่นนาน ทุกคนล้วนเข้ามาหาความสุข ขณะที่หลายคนก็มาเพื่อย้อนคิดถึงวันวานอีกครั้ง เรารู้สึกว่าถ้าเก็บภาพเหล่านี้ไว้ตั้งแต่ตอนนี้ ในอีกหลายสิบปีข้างหน้าที่ปัจจุบันกลายเป็นอดีต และเรื่องเล่าของคนในยุคนั้น หากมีบันทึกภาพถ่ายเอาไว้ก็น่าจะช่วยให้พวกเขาเห็นภาพและรู้สึกถึงช่วงเวลาที่ไม่เคยมีโอกาสได้สัมผัส *หมายเหตุ คำว่า ‘อาเขต’ มาจาก Arcade ซึ่งหมายถึงทางเดินที่มีหลังคาช่องโค้งเรียงรายโดยต่อกันเป็นแถวยาว หรือทางเดินภายในอาคารที่มีร้านรวงต่างๆ ข้างทาง และคนสมัยก่อนก็นิยมเรียกห้างสรรพสินค้าที่มีลักษณะนี้ว่าอาเขต เช่น […]

Still Light – Still Life แสงอาทิตย์ยังคงอยู่

‘Still Light – Still Life (II) (แสงอาทิตย์ยังคงอยู่ (II)), 2022’ เป็นบันทึกภาพถ่ายในชีวิตประจำวันในช่วงเวลาหนึ่งของฉัน โดยพัฒนามาจากผลงาน ‘แสงอาทิตย์ยังคงอยู่ (I), 2021’ ทว่าในภาพถ่ายชุดที่ 2 นี้เป็นการเริ่มต้นขยายขอบเขตความเข้าใจเกี่ยวกับแสงอาทิตย์ ซึ่งการมีอยู่ของมันทำให้ฉันมีความหวัง ที่ผ่านมาฉันได้ทำความเข้าใจความสัมพันธ์อันหลากหลาย ที่ทำให้เกิดทั้งความรู้สึกสบายใจเหมือนมีแสงอาทิตย์คอยเยียวยา ความรู้สึกหดหู่ใจเหมือนโดนเงามืดของแสงกลืนกิน และการไม่รู้สึกถึงอะไรจนเหมือนทุกอย่างหยุดนิ่ง ทั้งหมดเป็นผลมาจากสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ฉันตั้งใจพาตัวเองเข้าไป รวมถึงปล่อยให้สถานการณ์นำพาให้ไปพบเจอกับความสัมพันธ์นั้นเอง หากลองขยายมุมมองให้กว้างขึ้น นอกจากเป็นความหวัง แสงอาทิตย์ก็ยังมีเงาเป็นอีกด้านของความสว่าง ทำให้ฉันนึกถึงบางเวลาที่ใช้ชีวิตอยู่ในความมืด แสงเปลี่ยนผ่านจากสิ่งหนึ่งไปสู่สิ่งหนึ่ง ท้ายที่สุดแล้ว แสงอาจไม่ได้สะท้อนแค่ความหวังจนทำให้ฉันยึดติดอยู่กับการไขว่คว้ามันมาเพียงอย่างเดียว แต่ยังสะท้อนมุมมองในแบบอื่นๆ ที่ทำให้ฉันเดินไปข้างหน้า พร้อมหันหลังกลับไปมอง และแสงยังช่วยสร้างความเข้าใจเรื่องการมีชีวิตอยู่มากขึ้น จากบทเรียนนี้ ทำให้ฉันอยากเล่าเรื่องความรู้สึกที่ได้เผชิญในตอนนั้นผ่านชุดภาพถ่าย บันทึกห้วงความทรงจำ โดยไล่เรียงเป็นเส้นของความรู้สึกที่ไร้จุดจบ จนก่อเกิดมาเป็นผลงานแสงอาทิตย์ยังคงอยู่ทั้ง 2 ชุด ถือเป็นผลผลิตที่ได้จากการมองหาและทำความเข้าใจเรื่องราวชีวิตในระหว่างที่ฉันเป็นนักศึกษา ซึ่งปัจจุบันฉันยังคงถ่ายภาพต่อไปตามช่วงวัยที่เติบโตขึ้นภายใต้สถานการณ์และดวงอาทิตย์ที่เป็นแสงให้แก่โลกใบนี้ ติดตามผลงานของ ศิริน ม่วงมัน ต่อได้ที่ Instagram : perthsirin และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ […]

TW w/o HM

จากหนังสือ The World Without US ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ขอให้นึกภาพโลกที่จู่ๆ มนุษย์เราก็หายไป พรุ่งนี้เลย ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงอยู่ตามเดิม แซะออกไปแต่มนุษย์ ลบเราออกไป แล้วดูสิ่งที่เหลืออยู่ถูกปลดปล่อยจากความเครียด ธรรมชาติจะฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมกลับสู่สภาพสวนอีเดนอีกครั้ง” จุดเริ่มต้นของผลงานนี้มาจากสถานการณ์โลกที่เพิ่งผ่านมา พื้นที่สาธารณะต่างถูกจำกัดห้ามทำกิจกรรมเพื่อหยุดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จนทำให้ช่วงหนึ่งโลกของเราดูเหมือนไร้มนุษย์ แต่เมื่อโลกผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ฝุ่น PM 2.5 ก็เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในประเทศไทย ซึ่งมลพิษที่อันตรายไม่แพ้ไวรัสร้ายที่เพิ่งจบลง ทั้งสองสิ่งนี้ล้วนเกิดจากฝีมือมนุษย์เราที่ทำร้ายบ้านหลังนี้และตัวเราเองให้แย่ลงเรื่อยๆ ในปัจจุบันสิ่งที่เกิดขึ้นจากความรู้ของพวกเราอย่าง AI ที่กำลังเข้ามาเป็นผู้ช่วยสำคัญในการสรรค์สร้างสิ่งต่างๆ จนมีทฤษฎีที่ว่า หากเราไม่ทำความเข้าใจและจำกัดความสามารถของมัน ปัญญาประดิษฐ์จะเป็นสิ่งที่มาแทนที่พวกเราในอนาคต อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำงานชิ้นนี้คือ ผมมีชีวิตวัยเด็กที่เติบโตมากับสวนยางของพ่อที่  อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นสถานที่ที่เงียบสงบที่สุดสำหรับผม พ่อสอนให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติมาตลอด เพราะต้นยางเป็นทั้งร่มเงาให้หลบแดดร้อน และน้ำยางก็หล่อเลี้ยงครอบครัวผมมาตลอด จนผมได้เข้ามาใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ที่มีแต่ตึกสูงๆ มันก็ชวนให้คิดถึงบ้านอยู่เรื่อยๆ ทว่า TW w/o HM ยังไม่ใช่ชื่ออย่างเป็นทางการของโปรเจกต์นี้ เป็นเพียงแค่ Code Name ที่เอามาจากหนังสือที่ผมใช้อ้างอิงให้กับผลงานชุดนี้ ได้แก่ The World Without US, […]

Colors of Everyday Life in Bangkok สีสันรายวันของกรุงเทพฯ

เราชอบดูงานศิลปะมาก ไม่ว่าจะเป็นงานภาพถ่าย ภาพวาด งานจิตรกรรม หรืองานแขนงอื่นๆ แต่ในทุกครั้งจะมีองค์ประกอบหนึ่งที่ผมสนใจเป็นพิเศษคือเรื่องของ ‘สี’ เพราะสีเป็นสิ่งหนึ่งที่ให้อารมณ์ที่หลากหลาย เช่น สนุก เศร้า ผ่อนคลาย มีความหวัง ทั้งยังสื่อสารกับความรู้สึกของผู้คนได้ ด้วยเหตุนี้ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านผมจะพกกล้องคอมแพคตัวเล็กๆ ติดตัวไว้ตลอดเวลา เพื่อถ่ายภาพสิ่งต่างๆ ที่เจอในชีวิตประจำวัน โดยจะนำเสนอผ่านสไตล์ที่ผสมผสานกัน นั่นคือ Minimal, Abstract, Art และให้ ‘สี’ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ภาพดูน่าสนใจและสนุกมากขึ้น ด้วยความที่เมืองไทยเป็นเมืองแห่งสีสัน ไม่ว่าเดินไปทางไหนเราจะพบเจอตึกรามบ้านช่อง พาหนะ การแต่งกายของผู้คน ที่ล้วนแล้วแต่น่าสนใจและมีความงามซ่อนอยู่ในทุกๆ ที่ จากมุมมองนี้ทำให้ผมคิดว่า ไม่ว่าเราจะเจอเรื่องดีหรือไม่ดี สุขหรือเศร้า อย่างน้อยก็เป็นสีสันของชีวิต หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Bloom in My Mind ผลิบานในจินตนาการ

ผลงานภาพถ่ายเซตนี้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตของฉันผ่านต้นเฟื่องฟ้า ช่วงชีวิตที่เติบโตและเบ่งบานตั้งแต่วัยเยาว์จนเป็นฉันในทุกวันนี้ วัยมัธยมฯ ที่ชีวิตเหมือนเติบโตอยู่ในกระถาง ผลิบานแต่หันไปทางไหนก็เหมือนกันไปหมด ช่วงมหาวิทยาลัยที่ได้เห็นความหลากหลายของผู้คน ทั้งเบ่งบาน กำลังเบ่งบาน หรือมีบ้างที่ร่วงโรยไปตามกระแสสังคม และกระทั่งช่วงเวลาที่ชีวิตมืดมน ฉันก็ยังเห็นดอกไม้บานท่ามกลางความรู้สึกเหล่านี้ จนเมื่อถึงเวลาที่ออกไปจากความมืดมนตรงนั้นและต้องเติบโตอีกครั้ง ฉันก็เชื่อว่าต่อจากนี้ไม่ว่าจะอยู่แห่งหนใด ฉันจะเบ่งบานได้ด้วยตัวของฉันเอง ถึงแม้สุดท้ายเฟื่องฟ้านี้จะต้องร่วงโรยในสักวันหนึ่งก็ตาม หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.