‘เบียร์เป็นมากกว่าความมึนเมา’ อ่าน Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์

ย้อนกลับไปในวัยของนักดื่มผู้ไร้เดียงสา วันนั้นเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่เพื่อนพ้องน้องพี่ทุกคนจะจับกลุ่มรวมกันเพื่อสังสรรค์และกระทำการรื่นเริง อาหารและกับแกล้มคือสิ่งที่ต้องมี ส่วนที่ขาดไปไม่ได้เลยในปาร์ตี้ก็คือ ‘เบียร์’ (จำนวนหลายลัง) และวันนั้นไม่ว่าจะดื่มไปเท่าไหร่ก็ไม่มีวันหมดสิ้น ยิ่งกินยิ่งสนุก บางคนเสียงดังขึ้น บ้างเริ่มหยอกล้อเพื่อนด้วยการตบหัว กระแทกไหล่ หรือบางคนก็เริ่มพูดความจริงในใจออกมา ส่วนใครบางคนเช่นเรา เมื่อดื่มด้วย กินด้วย เวลาผ่านไปทุกอย่างก็พวยพุ่งออกมาเป็นเศษซากเนื้อย่างจำนวนมหาศาล ทุกครั้งที่ร่างกระตุกเกร็งเพื่อขย้อนของที่กินออก การนอนเล่นอ้วกแบบนั้นเป็นความรู้สึกที่แสนทรมาน และเมื่อตื่นเช้าขึ้นมาความแฮงก็ตามมาราวีจวบจนครึ่งค่อนวันก็ยังไม่หายดี  เมื่อเติบโตมีการงานและทำเงินได้มากขึ้น เราจึงได้รู้ว่าเบียร์ที่มีขายตามร้านสะดวกซื้อหรือร้านขายของชำในหมู่บ้านที่เคยดื่มด่ำเมื่อวันวานเป็นเพียงเสี้ยวเล็กๆ ของประเภทเบียร์บนดาวดวงนี้ และคำกล่าวที่บอกว่า ‘กินอะไรก็เมาเหมือนกัน’ เป็นความจริงแบบหนึ่ง ทว่าเราสามารถออกแบบความเมาและรับรู้ความเมาได้ เมื่อเราพบประเภทและรสชาติเบียร์ที่ต่างออกไปจากสองสามยี่ห้อที่พบเจอเป็นปกติของระบบทุนผูกขาด ปัจจุบันเสรีภาพในการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในประเทศไทยขยายขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น มีผู้ผลิตรายย่อยเพิ่ม มีการต่อสู้เรียกร้อง มีเทศกาลงานเบียร์และสุราให้เลือกดื่มด่ำกับรสชาติแปลกใหม่ รวมถึงการส่งต่อองค์ความรู้ให้กับผู้ชื่นชอบการดื่มได้สัมผัสประสบการณ์ที่แตกต่างออกไป  คอลัมน์ อ่านอะไร ขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับหนังสือ ‘Writer’s Taste ดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ สำราญรสเบียร์’ ฉบับพิมพ์ครั้งที่สองในรอบสิบปีของ ‘อุทิศ เหมะมูล’ นักเขียนผู้ลุ่มหลงในรสชาติเบียร์ที่ตระเวนชิมไปทุกสารทิศทั่วโลก ซึ่งเราคิดว่านี่คือคัมภีร์หรือคู่มือที่เหมาะยิ่งแก่การเปิดอ่านประกอบการดื่มด่ำนานารสชาติ  “ทุกครั้งที่ดมกลิ่น จิบรส และดื่ม เราเอาวิวัฒนาการและประวัติศาสตร์ของเบียร์เข้าไปในกระแสเลือดด้วย” คือสิ่งที่ผู้เขียนคิดและเราเองก็คิดเห็นเช่นนั้นไม่ต่างกัน ขอชวนพลิกหน้ากระดาษพร้อมจิบเบาๆ ท่องไปในความสุนทรีย์แห่งเบียร์กับหนังสือเล่มนี้กัน Writer’s Tasteดื่มประวัติศาสตร์ จิบวิวัฒนาการ […]

ความสัมพันธ์และอำนาจภายใต้เถ้าถ่านความรักใน ‘WALTZ เต้นรำในวอดวาย’

ทำไมเขาไม่รักฉัน ทำไมความสัมพันธ์ของเราจึงเปลี่ยนแปลงไป เหตุใดถึงคบใครไม่ได้นาน ทำไมโสด พอมีคนเข้ามาก็ไม่ถูกใจ ทำไมเธอคบเผื่อเลือก นอกใจเป็นเรื่องควบคุมได้หรือเปล่า ชู้รักคือหอกแหลมคมหรือหยาดน้ำวาบหวาม แล้วอะไรบันดาลให้สองคนอยู่ด้วยกันจนแก่เฒ่า ทำอย่างไรให้ความสัมพันธ์ระยะยาวไม่น่าเบื่อเกินทน  เพราะอะไรจึงต่างสร้างบาดแผลให้กันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ทำไมผู้เป็นพ่อมีอำนาจเหนือทุกคนในบ้าน ทำไมจึงใช้ความรุนแรง ความรักเป็นประชาธิปไตยหรือเผด็จการ และหรือสถาบันย่อยอย่างครอบครัวบ่มเพาะปูดปมลึกร้าวเพียงใดในการสร้างคนออกสู่สังคม แล้วสังคมล่ะ-โครงสร้างของมันกดทับอะไรบ้างในความสัมพันธ์ คำถามทั้งหมดข้างต้นเป็นเพียงคำถามที่คิดออกอย่างฉับพลัน ซึ่งเชื่อว่าหากได้ลองนั่งคุยกับใครสักคนเกี่ยวกับปัญหาในแง่มุมต่างๆ ของความสัมพันธ์ทุกรูปแบบ เราคงได้คำถามชนิดที่ไม่หวาดไม่ไหวจะนับ นั่นคือเหตุผลหนึ่งที่พาผมเดินทางมาพบ เติร์ก-บริษฎ์ พงศ์วัชร์ ผู้เขียนหนังสือรวมเรื่องสั้น WALTZ เต้นรำในวอดวาย ผลงานจากสำนักพิมพ์ที่ประกาศกร้าวยืนหนึ่งเรื่องความสัมพันธ์ P.S. Publishing เริ่มบรรเลง หนึ่งในสิ่งซึ่งชวนแปลกใจ หรืออาจเรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติของมนุษย์ คือต่อให้ผ่านความเจ็บร้าวปวดแปลบมากเพียงใด ก่อกำแพงในใจสูงลิ่วแค่ไหน เมื่อแผลสดสมานกลายเป็นแผลเป็น ไม่มากก็น้อย แนวโน้มที่คนเราจะสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่งแบบใดขึ้นใหม่ก็ยังไม่เท่ากับศูนย์ WALTZ เต้นรำในวอดวาย จะพาผู้อ่านไปสำรวจฟลอร์ของเรื่องราวความสัมพันธ์ ที่แก่นแกนอาจกล่าวได้ว่ามักเคลือบหวานที่ท่อนแรกเริ่ม แต่ซ่อนขมตรมที่ปลายเพลง นิยามของบ้านภายในจิตใจ และการเผาไหม้ใครสักคนจนวายวอดในขณะที่บทเพลงเต้นรำบรรเลงถึงโน้ตตัวสุดท้าย  จริงอยู่-ถึงที่สุดแล้วไม่มีความสัมพันธ์ใดเทียบเคียงกันได้ ด้วยความซับซ้อนของมนุษย์ กระนั้น หลังจากอ่านหน้าสุดท้าย เรื่องราวแต่ละเรื่องในหนังสือก็ชวนให้ขยับถอยออกมามองหาทุกโครงสร้างที่มีผลต่อความสัมพันธ์ เมื่อเราต่างไม่อาจเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับใครสักคน-สักรูปแบบ จะเป็นไปได้ไหม-ที่การเต้นรำจะมอบเปลวไฟอบอุ่นแก่เรา โดยไม่ผลาญทำลาย หรือหากต้องผลาญทำลาย-จะมีบ้างไหม บางสิ่งซึ่งยังเหลือในกองเถ้าถ่าน ผมนึกถึงหลายคำถาม […]

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี บันทึกรักษาโรคซึมเศร้าที่ทำให้เข้าใจผู้อื่นมากขึ้น

อยากตาย แต่ก็อยากกินต๊อกบกกี (죽고 싶지만 떡볶이는 먹고 싶어) คือชื่อหนังสือที่เมื่อได้อ่านครั้งแรกช่างตอบความรู้สึกที่ว่า ของอร่อยเยียวยาใจ ได้อย่างเห็นภาพ หากแต่ในหนังสือปกสีส้มอมแดงที่ออกแบบภาพประกอบโดยอาร์ทติสไทย S U N T E R นั้นกลับเป็นบันทึกสนทนาระหว่าง แบ็กเซฮี (백세희) ตัวผู้เขียนกับจิตแพทย์ระหว่าง ‘การรักษาโรคซึมเศร้า’ ที่พาคนอ่านลิ้มรสชาติอย่างแช่มช้า และค่อยๆ ละเลียดตัวหนังสือเพื่อซึมซับ

“ถ้ารัฐใส่ใจพัฒนาประชาชน ทุกคนจะเข้าถึงหนังสือ” – เพจรองขาโต๊ะ

เปิดเล่มความคิดเรื่องการเข้าถึงหนังสือกับแอดมิน ‘รองขาโต๊ะ’ เพจรีวิวหนังสือที่เกิดจากความขี้เล่นแกมเสียดสีของนักอ่านตัวยง ผู้รีวิวความน่าอ่านตามความน่านำไปรองขาโต๊ะ แม้วิธีการให้คะแนนหนังสืออาจดูใช้ความรู้สึกส่วนตัวเป็นที่ตั้ง แต่เขากลับมองวงการหนังสือไปถึงภาพกว้างระดับสังคม ด้วยความเชื่อที่ว่า “นิสัยรักการอ่านควรเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ที่บ้าน ไปจนถึงนโยบายส่งเสริมอย่างทั่วถึงจากภาครัฐ”

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.