Waiting for a Snake รถไฟฟ้ามาหานคร

พ.ศ. 2542 เป็นปีที่คนไทยได้สัมผัสกับระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่ในนาม ‘รถไฟฟ้า’ เป็นครั้งแรก ก่อนที่เวลาต่อมา มันจะซอกซอนและยืดเหยียดไปตามพื้นที่ต่างๆ ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล เหมือนงูยักษ์ที่เลื้อยไปตามถนน ย่าน และสถานที่สำคัญต่างๆ ของเมือง นอกจากจะทำหน้าที่ขนส่งมวลชนแล้ว ทุกที่ที่งูเหล่านี้เลื้อยผ่าน ยังทำให้ภูมิทัศน์ของเมืองเปลี่ยนแปลงไปทุกมิติทั้งเชิงบวกและลบ อาคารที่อยู่อาศัยแนวตั้งและอาคารพาณิชย์มากมายผุดขึ้นตามเส้นทางของมัน ที่ดินราคาสูงขึ้น และโอกาสในการทำงานของคนในพื้นที่ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าเช่าที่พักอาศัยในบริเวณนั้นก็มักจะสูงตาม อีกทั้งการก่อสร้างมันขึ้นมายังทำให้เกิดมลพิษทั้งทางน้ำและอากาศ โดยเฉพาะที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอาการขัดข้องและอุบัติเหตุจากระบบต่างๆ รวมถึงอัตราราคาที่ต้องจ่ายเพื่อใช้บริการมัน รถไฟฟ้าจึงเปรียบเสมือนงูใหญ่ที่มอบโอกาสในการเดินทาง และอสรพิษที่สามารถทำร้ายผู้คนได้ แม้จะไม่ได้ตั้งใจ แต่ไม่ว่าอย่างไร ชาวเมืองก็ยังจำเป็นต้องพึ่งพาเจ้างูตัวนี้ เพื่อการเดินทางที่มีความแน่นอนทางเวลา (หากระบบไม่รวน) รวมไปถึงความปลอดภัยเมื่อเทียบกับการเดินทางบนท้องถนน หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

New Year, Hit a New High เปิดโพยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นในปี 2023

ตั้งแต่ต้นปี 2022 อะไรๆ ก็ดูราคาแพงขึ้นไปหมด ตั้งแต่ราคาน้ำมันที่พุ่งกระฉูด ทำเอาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับขึ้นถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู ผักสด บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ค่าโดยสารสาธารณะ ไปถึงค่าไฟฟ้า ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาทำสถิติสูงสุดในรอบ 24 ปี สูงถึง 7.1 เปอร์เซ็นต์  แค่ปีนี้ค่าครองชีพยังเพิ่มสูงขนาดนี้ ไม่อยากคิดเลยว่าปีหน้าจะมีอะไรเพิ่มขึ้นอีกบ้าง เพราะขนาดยังไม่ทันก้าวขาขึ้นวันที่ 1 มกราคมอย่างเป็นทางการ ก็มีประกาศปรับราคาสิ่งของเครื่องใช้อุปโภคบริโภคและคาดการณ์เศรษฐกิจปีหน้ากันบ้างแล้ว คอลัมน์ City by Numbers จึงขอ Spoiler Alert เปิดโพยค่าครองชีพในปี 2023 ที่ Urban Creature คัดเลือกและเรียงเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นจากน้อยไปมากมาให้ทุกคน เพื่อเป็นแนวทางตั้งรับและวางแผนการเงินสำหรับปีหน้า เราจะได้ก้าวเข้าปีใหม่กันแบบสวยๆ ไม่ต้องมาหมุนเงินรัวๆ เพราะตั้งตัวกันไม่ทัน 📈 ดอกเบี้ยนโยบาย เพิ่มขึ้น 0.25 เปอร์เซ็นต์ คนทั่วไปอาจรู้จักคำว่า ‘ดอกเบี้ย’ กันอยู่แล้ว แต่สำหรับ ‘ดอกเบี้ยนโยบาย’ คนที่ไม่ได้คลุกคลีกับวงการการเงินคงเกิดคำถามในใจขึ้นว่า มันคืออะไรกันแน่ และการปรับเพิ่มขึ้นนี้จะส่งผลอะไรกับชีวิตเราบ้าง ดอกเบี้ยนโยบายคือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารกลางของแต่ละประเทศใช้เพื่อกำหนดนโยบายการเงินของชาติ […]

มนต์รักรถไขว่คว้า ลิเกเร่ที่อยากผลักดันให้รถไฟฟ้าเป็นบริการสาธารณะของทุกคน

ช่วงสองเดือนที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครดูจะมีกิจกรรมให้ชาวเมืองได้ร่วมสนุกกันอยู่ตลอด ทั้งดนตรีในสวนในเดือนมิถุนายน และเทศกาลหนังกลางแปลงในเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้ผู้คนได้ออกจากบ้าน มีกิจกรรมใหม่ๆ นอกจากเดินห้างฯ อีกทั้งยังช่วยให้เมืองมีชีวิตชีวาและคึกคักยิ่งกว่าเดิม  อีเวนต์เหล่านี้ถือเป็นกิจกรรมเพื่อประชาชน ที่อยากให้คนเมืองมีส่วนร่วมมากที่สุด เพราะส่วนใหญ่จัดขึ้นตามพื้นที่ต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ ที่ชาวกรุงเข้าถึงได้แบบชิลๆ ด้วยรถโดยสารสาธารณะอย่างรถเมล์ ไปจนถึงรถไฟฟ้าและรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับคนที่ต้องการความรวดเร็ว ทว่าแม้จะเป็นกิจกรรมที่เปิดให้เข้าร่วมฟรี แต่ก็ยังมีคนอีกหลายกลุ่มที่ไม่สามารถเข้าถึงกิจกรรมเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะด้วยเพราะอยู่ในพื้นที่ที่ห่างจากตัวเมือง หรือแม้แต่การเดินทางที่ไม่สะดวกก็ตาม ต้องยอมรับว่าการโดยสารรถไฟฟ้านั้นช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางได้มากพอสมควร ไม่ต้องเสียสุขภาพจิตไปกับการเอาแน่เอานอนไม่ได้ในเมืองที่เต็มไปด้วยการจราจรติดขัดและปัญหาบนท้องถนน เราเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เลือกใช้รถไฟฟ้าในวันที่เร่งรีบ หรือไม่อยากเสี่ยงกับรถติด แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่ใช้ชีวิตในเมืองจะสามารถใช้บริการรถไฟฟ้าได้อย่างที่ต้องการ เพราะความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน ‘กลุ่มดินสอสี’ จึงเข้าร่วมโครงการสนับสนุนข้อเสนอและการรณรงค์เรื่องรถไฟฟ้าในชื่อ ‘ขนส่ง ขนสุข สาธารณะ’ ร่วมกับสภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ในการจัด ‘ลิเกเร่เตร็ดเตร่ชุมชน’ เพื่อให้ ‘กลุ่มคนชายขอบ’ หรือกลุ่มคนจนเมืองที่เรียกได้ว่าเป็น ‘เส้นเลือดฝอย’ ได้มีโอกาสสนุกกับลิเกที่จะเข้าไปเล่นตามชุมชนของพวกเขากันบ้าง และกิจกรรมนี้ยังเป็นกระบอกเสียงเรื่องสิทธิและการเข้าถึงรัฐสวัสดิการอย่างเท่าเทียมให้แก่กลุ่มคนที่เป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเมือง แต่แทบไม่ได้มีโอกาสใช้รถไฟฟ้าในฐานะรถสาธารณะเลย คณะลิเกเร่จะเข้าไปในบรรดาชุมชนที่ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการรถไฟฟ้า หรืออาจจะน้อยจนนับครั้งได้ แม้ว่าจะอยู่ไม่ไกลก็ตาม แต่ด้วยราคาค่าบริการที่ค่อนข้างสูง ทำให้บางกลุ่มที่มีรายได้ต่ำไม่สามารถเข้าถึงบริการเหล่านี้ได้ รถไฟฟ้าเป็นของทุกคน “รถไฟฟ้าเป็นการเดินทางที่สะดวกของคนชนชั้นกลาง แต่ในความเป็นจริงแล้ว รถไฟฟ้าควรจะมีไว้เพื่อทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนชนชั้นไหนก็ตาม เราอยากให้ทุกคนใช้บริการรถไฟฟ้าได้ อยากให้เข้าถึงทุกคน ไม่มีความเหลื่อมล้ำ” โซ่-ปริตอนงค์ […]

ชัชชาติหารือราคา BTS สายสีเขียว เก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยาย เสนอตั๋วเดือน ร่วมหาทางออกให้คนเมือง

ปัจจุบันคนกรุงเทพฯ ต้องแบกรับค่าโดยสารระบบขนส่งสาธารณะที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะ ‘รถไฟฟ้าสายสีเขียว’ หรือ ‘BTS’ ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ที่ยกเลิกโปรโมชันบัตรโดยสารรายเดือนไปตั้งแต่ปลายปี 2564 ทำให้ประชาชนที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายนี้ต้องจ่ายค่าโดยสารรายเที่ยวที่มีราคาแพงกว่าแทน ทั้งนี้ ค่าเดินทางรถไฟฟ้า BTS อาจมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เพราะล่าสุดกรุงเทพมหานครมีแนวคิดเก็บค่ารถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 2 เส้นทางที่เปิดให้บริการฟรีมานานหลายปี เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สินค่าจ้างเดินรถที่ กทม.ต้องจ่ายให้กับบริษัทผู้ให้บริการรถไฟฟ้า BTS  Urban Creature เชื่อว่าผู้ใช้ BTS หลายคนคงสนใจและอยากรู้ว่าอัตราค่าโดยสารจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางไหน เราจึงสรุปความคืบหน้าเกี่ยวกับประเด็นนี้ให้ทุกคนติดตามกัน ความเคลื่อนไหวที่เพิ่งเกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้ 27 มิถุนายน 2565 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวว่าจะต้องสรุปความคืบหน้าร่วมกับศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุมา ประธานกรรมการบริหารบริษัท กรุงเทพธนาคม ภายใน 1 เดือน อีกประเด็นสำคัญที่ชัชชาติจะเร่งดำเนินการก็คือ การคิดราคาค่าโดยสารสายสีเขียวส่วนต่อขยายส่วนที่ 2 ได้แก่ ‘แบริ่ง-เคหะสมุทรปราการ’ และ ‘หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต’ ที่เปิดให้บริการฟรีมานานหลายปีโดยไม่มีการเก็บค่าโดยสาร ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการอยู่ 27 เปอร์เซ็นต์ […]

สภาองค์กรของผู้บริโภคชวนประชาชนร่วมกันลงชื่อทวงคืนตั๋วเดือนจาก BTS

ทุกวันนี้คุณจ่ายค่า BTS เดือนละกี่บาท?และหลังจากที่ BTS ยกเลิกตั๋วรายเดือนคุณต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกเท่าไหร่? หากคุณคือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการที่บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ได้ประกาศยกเลิกตั๋วเที่ยวเดินทางแบบ 30 วัน ทุกประเภท โดยให้เหตุผลว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมการเดินทางของผู้โดยสารเปลี่ยนไปจากเดิม และผู้โดยสารไม่สามารถวางแผนการเดินทางล่วงหน้าได้เหมือนเมื่อก่อน  สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) จึงชวนผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบจาก ‘การยกเลิกตั๋วเดือน BTS’ ร่วมทำแบบสำรวจ เพื่อรวบรวมจำนวนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกจำหน่ายบัตรโดยสารรายเดือนของ BTS ครั้งนี้ เนื่องจาก สอบ. มองว่าการกระทำดังกล่าวคือการเอาเปรียบผู้บริโภคที่ไม่มีอำนาจต่อรอง เมื่อผู้บริโภคไม่มีตัวเลือกอื่น พวกเขาก็ต้องจำใจยอมใช้บริการที่แพงต่อไป และนโยบายนี้ยังส่งผลกระทบให้ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าเดินทางเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว อีกทั้งยังเป็นการตัดโอกาสในการเข้าถึงระบบคมนาคมของประชาชนด้วย สภาองค์กรของผู้บริโภค จึงเปิดให้ร่วมลงชื่อเรียกร้องเพื่อยื่นต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ามากำกับดูแลปัญหาเรื่องราคารถไฟฟ้าให้มีความเหมาะสมและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ ร่วมกันลงชื่อและทำแบบสำรวจได้ที่นี่ t.ly/9l2MW  *แบบสำรวจนี้จะต้องลงชื่อเข้าใช้ผ่าน Gmail เพื่อกรอกแบบฟอร์ม Source : สภาองค์กรของผู้บริโภค | t.ly/7pMK

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.