ลดแสงจ้า แก้ทางมืด สร้างเมืองน่าเที่ยว ทำความเข้าใจ Lighting Master Plan กับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’

ชีวิตคนเมืองกำลังถูกรบกวนด้วยมลภาวะทางแสงโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นแสงจากป้ายโฆษณา แสงจากอาคาร หรือแม้แต่ไฟจากถนน แน่นอนว่าข้อดีของแสงไฟเหล่านี้คือตัวช่วยให้เรามองเห็นในยามที่ท้องฟ้ามืดมิด แต่ก็ต้องยอมรับว่าบางครั้งความสว่างเหล่านี้กำลังรบกวนการใช้ชีวิตของเราและสรรพสัตว์ในเมืองโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน แล้วจะดีกว่าไหมถ้าเราสามารถกำหนดแนวทางการออกแบบแสงสว่างในเมืองได้ โดยการเลือกใช้สีของแสงให้เข้ากับบรรยากาศในพื้นที่ต่างๆ ของเมือง กำหนดความสว่างให้ไม่รบกวนสายตาทั้งในเขตที่อยู่อาศัยและย่านการค้า ซึ่งนอกจากความสวยงามที่ส่งเสริมอัตลักษณ์และกระตุ้นการท่องเที่ยวของเมืองแล้ว ยังช่วยด้านมิติสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย คอลัมน์ Think Thought Thought วันนี้พาไปพูดคุยทำความเข้าใจเรื่องแสงในเมืองกับ ‘ผศ. ดร.จรรยาพร สไตเลอร์’ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมการส่องสว่าง (LRIC) คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หนึ่งในนักออกแบบแสงสว่าง (Lighting Designer) ว่า Lighting Master Plan คืออะไร และทำไม ‘แสงสว่าง’ ที่ส่งผลกับการใช้ชีวิตของเราในทุกมิติ ถึงควรถูกให้ความสำคัญทั้งจากภาครัฐและเอกชน ถอดบทเรียนแสงสว่างจากฝรั่งเศส พลิกโฉมอยุธยา กระตุ้นการท่องเที่ยวในเมืองเก่า ย้อนไป 20 ปีก่อน จรรยาพรเริ่มสนใจเรื่อง Lighting Master Plan การกำหนดแผนแม่บทหรือแนวทางการออกแบบแสงสว่างชุมชนเมือง ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่ยังไม่ถูกเห็นความสำคัญในประเทศไทย จากการได้ทุนศึกษาปัญหาใน ‘เมืองเก่าอยุธยา’ ที่แม้จะเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของไทย และรายล้อมไปด้วยสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งเป็นพื้นที่มรดกโลกที่รับรองโดย UNESCO แต่กลับมีจำนวนนักท่องเที่ยวในเวลากลางคืนไม่มากเท่าที่ควรจะเป็น […]

‘Stump’ โคมไฟบนเกาะ Møn ที่ช่วยลดมลภาวะทางแสง ทำให้ชาวเดนมาร์กเห็นดาวชัดขึ้น

‘มลภาวะทางแสง (Light Pollution)’ ที่เกิดจากแสงประดิษฐ์โดยมนุษย์ในเวลากลางคืน เป็นอีกหนึ่งมลภาวะที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของเราไม่น้อย นั่นเป็นเพราะแสงเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตและทำให้กิจกรรมทางดาราศาสตร์อย่างการดูดาวเสียหาย ไม่ต่างกับเกาะ Møn ทางตอนใต้ของเดนมาร์ก ที่ถูกจัดให้เป็นชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืด (Dark Sky Communities) ที่มีการรักษาและสงวนท้องฟ้าในเวลากลางคืนให้เหมาะสมต่อการสังเกตเห็นดาวเคราะห์ ดาวฤกษ์ กลุ่มดาว กระจุกดาว เนบิวลา หรือทางช้างเผือกได้ด้วยตาเปล่า ก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้เช่นเดียวกัน เพื่อคงความสวยงามของท้องฟ้ายามค่ำคืนและรักษาความเป็นชุมชนอนุรักษ์ท้องฟ้ามืดเอาไว้ จึงเกิดการร่วมมือกันของนักออกแบบ ‘Peter Bysted’ และ ‘Icono’ บริษัทไฟจากเดนมาร์ก เพื่อพัฒนา ‘Stump’ โคมไฟภายนอกสำหรับเกาะนี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ ไม่ใช่แค่โคมไฟภายนอกที่มีขนาดใหญ่โตและให้แสงสว่างไสวในที่มืด แต่ Stump มีจุดมุ่งหมายที่ต้องการผสมผสานตัวเองเข้ากับสภาพแวดล้อมกลางแจ้งโดยไม่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกสะดุดตา ขณะเดียวกันยังสามารถให้แสงสว่างตามทางเดินทั้งในพื้นที่กลางแจ้งส่วนตัวและพื้นที่สาธารณะในปริมาณเพียงพอ ไม่มากเกินไปจนเกิดเป็นมลภาวะทางแสง ที่เป็นเช่นนี้เพราะภายใน Stump ประกอบด้วยระบบไฟที่ใช้พลังงานต่ำ ซึ่งจะปล่อยแสงที่นุ่มนวลโทนสีอบอุ่นเมื่อเปิดใช้งาน และส่งออกมาผ่านกระจกแบบโปร่งใสที่ทำให้เกิดแสงและเงาที่สวยงาม โดยไม่กลบแสงดาวบนท้องฟ้าให้หายไปเหมือนในเมืองใหญ่ที่เต็มไปด้วยไฟจากหลอด LED นอกจากนี้ ตัวฐานของโคมไฟยังสร้างขึ้นจากตอไม้ที่แข็งแรงเพียงพอที่จะเปลี่ยนตัวเองให้กลายเป็นเก้าอี้ ให้คนที่ผ่านมาใช้งานในระยะสั้นพักพิงหรือนั่งมองดูดาวในช่วงกลางคืนได้อีกด้วย Sources : Dezeen | t.ly/_ctiYanko Design | t.ly/c-Oq

มลพิษแสงไฟ LED สว่างปลอดภัยหรือรบกวนสายตา?

เป็นเหมือนกันไหม เวลาเดินผ่านตึกที่มีป้ายไฟหรือหน้าจอ LED ขนาดยักษ์ เรามักจะโดนแสงไฟเจิดจ้าสาดใส่จนรู้สึกแสบตา แถมทุกวันนี้กรุงเทพฯ ยังมีป้ายหรือหน้าจอโฆษณาขนาดเล็กใหญ่เต็มไปหมด เดินไปทางไหนก็ต้องเห็นแสงสีจากไฟ LED แทงตาอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนั้นเรียกว่า ‘แสงไฟประดิษฐ์’ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสร้างความสว่างในตอนกลางคืน สำหรับคนมองแสงไฟจากระยะไกล อาจรู้สึกสว่างปลอดภัยและเพลิดเพลินกับแสงสี ในมุมกลับกัน คนที่ใกล้ชิดกับแสงไฟทุกๆ วัน แสงสว่างเหล่านี้กลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของพวกเขาอย่างหนัก หรือเรียกว่า ‘มลพิษทางแสง’ หรือแสงไฟประดิษฐ์ที่ฟุ้งกระจายออกมาอย่างไร้การควบคุมและเกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตตามมา  ปัญหาแสงไฟ กระทบคน สัตว์ และพืช  ในประเทศไทยเคยมีเคสมลพิษทางแสงที่เป็นประเด็นในสังคม เช่น แสงป้ายไฟในย่านทองหล่อ โดยเหตุการณ์มีอยู่ว่า ผู้อยู่อาศัยในอาคารพาณิชย์ได้รับผลกระทบทางแสงจากป้ายโฆษณา LED ที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ตัวป้ายมีขนาดใหญ่กว้าง 8 เมตร ยาว 32 เมตร เปิดทุกวันตั้งแต่หกโมงเช้าถึงเที่ยงคืน รวมประมาณ 18 ชั่วโมง/วัน จะเห็นว่ากรณีดังกล่าว ป้าย LED ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงเป็นอย่างมาก เนื่องจากแสงไฟที่ส่องสว่างมากเกินพอดีในตอนกลางคืนทะลุเข้ามาในบ้าน ไม่เพียงสร้างมลพิษทางสายตา แต่ชาวบ้านยังต้องลำบากหาผ้ามาบังแสงไฟ ซึ่งก็ทำให้บังลมและต้องเปิดแอร์มากกว่าเดิมด้วย นอกจากมลพิษทางแสงจะเป็นปัญหาในการใช้ชีวิต จริงๆ แล้วก็มีผลต่อร่างกายด้วยเหมือนกัน […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.