ทำไมบางเมืองถึงยอมแลกความเจริญกับการถูกถอดออกจากมรดกโลก

‘รักษาสิ่งเก่า’ หรือ ‘พัฒนาไปสู่สิ่งใหม่’ ถ้าสองอย่างนี้สามารถดำเนินไปด้วยกันได้คงจะดี แต่บางครั้งเราก็จำเป็นต้องเลือก โดยเฉพาะยามที่มีเรื่องผลประโยชน์ของส่วนรวมเข้ามาพัวพันด้วย ‘เมืองอยุธยาเสี่ยงจะถูกถอดออกจากมรดกโลกเพราะรถไฟความเร็วสูง’ หากมองจากสายตาคนนอก คงเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับโบราณสถานที่มีอายุมากกว่าหลายร้อยปี แต่ในสายตาของคนท้องถิ่น คนจำนวนไม่น้อยต้องการความเจริญอย่างรถไฟความเร็วสูงมากกว่าการเป็นมรดกโลก และสิ่งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นแค่ในไทย ก่อนอื่นขออธิบายก่อนว่า ‘แหล่งมรดกโลก’ คือพื้นที่ทางธรรมชาติหรือสิ่งก่อสร้างรวมไปถึงเมือง ที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่นๆ ซึ่งได้รับการปกป้องคุ้มครองทางกฎหมายตามอนุสัญญาว่าด้วยเรื่อง ‘มรดกโลก’ ของยูเนสโก เพื่อให้ประชาชนเกิดการตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ให้คงอยู่สืบทอดต่อไป และที่สำคัญคือ การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์จะนำรายได้ไม่น้อยมาให้ท้องถิ่นและชุมชน ทุกอย่างเหมือนจะดูดี แต่เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอ บางครั้งกฎเกณฑ์ที่มากเกินไปอาจทำให้การพัฒนาพื้นที่ทำได้ยากกว่าเดิม จึงมีบางประเทศเลือกที่จะยอมถูกถอดออกจากมรดกโลกเพื่อต้องการพัฒนาเมืองให้ดีกว่าเดิม ยกตัวอย่าง เมืองลิเวอร์พูล (Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมืองเดรสเดิน (Dresden) ประเทศเยอรมนี ที่ชาวเมืองสนับสนุนการพัฒนาเมืองมากกว่าการเป็นเมืองมรดกโลก หรือมรดกโลกอาจขัดขวางการพัฒนาเมือง จากความจริงที่ว่า ‘เมืองไม่เคยหยุดนิ่ง’ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและเม็ดเงินที่ไหลเวียนเข้ามา ย่อมนำมาซึ่งการขยับขยายพัฒนาเมืองเพื่อตอบโจทย์ชาวเมือง ปฏิเสธไม่ได้ว่า การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกทำให้เมืองไม่สามารถขยับตัวพัฒนาในบางจุดได้เท่าที่ควร และในเมื่อต้องเลือกเพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง หนึ่งในเมืองที่ขึ้นทะเบียนเมืองมรดกโลกอย่าง ‘ลิเวอร์พูล’ จึงเลือกหันหลังให้มรดกโลกเพื่อแลกกับความเจริญ ‘ลิเวอร์พูล มาริไทม์ เมอร์แคนไทล์ ซิตี’ (Maritime Mercantile City) […]

จากโรมันถึงวันนี้ ‘เวโรนา’ เมืองที่เก็บรักษาโครงสร้างความโรแมนติกได้อย่างไม่เคยหมดรัก

‘เวโรนา’ คือหนึ่งในเมืองแห่งความโรแมนติกที่เราอาจเคยได้ยินชื่อจากวรรณกรรมชื่อก้องโลก Romeo and Juliet ‘วิลเลียม เชกสเปียร์’ เลือกเมืองนี้เป็นท้องเรื่อง เพราะด้วยสถาปัตยกรรมทรงเสน่ห์ที่เมืองยังคงอนุรักษ์ไว้ตั้งแต่สมัยโรมันไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ทำให้หลายคู่รักเลือกเดินทางไปย้อนเวลากลายเป็นเจ้าชายเจ้าหญิงเหมือนในนิยาย ท่ามกลางบรรยากาศสุดแสนโรแมนติก เวโรนา อารีนา (Verona Arena), สะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra), มหาวิหารซานเซโน (Basilica of San Zeno) หรือแม้แต่บ้านจูเลียต (Juliet’s House) คือตัวอย่างสถาปัตยกรรมโบราณขึ้นชื่ออันโดดเด่นที่เหล่านักท่องเที่ยวต่างหลงใหลในเสน่ห์แห่งเวโรนา แต่ในความจริงทุกอย่างไม่ได้สวยงามดั่งความรักของโรเมโอและจูเลียต เมืองเวโรนาเคยผ่านการล้มลุกคลุกคลานจากสงครามที่ทำลายเมืองไปกว่าครึ่ง แต่ว่าสิ่งไหนกันที่ทำให้ ‘เวโรนา’ ยังคงเสน่ห์และความสวยงามได้อย่างไม่เคยหมดรัก ตามไปอ่านได้ในบทความนี้ ชุบชีวิตเมืองที่ถูกทำลายจากสงคราม ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เมืองเวโรนาคือหนึ่งในเมืองที่ได้รับความเสียหายจากการทิ้งระเบิดมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี บ้านกว่า 7,000 หลังคาเรือนถูกทำลายราบคาบ จึงไม่แปลกที่สถาปัตยกรรมโบราณจะได้รับความเสียหายเช่นเดียวกัน หนึ่งในนั้นคือสะพานหินปงเต ปิเอตรา (Ponte Pietra) ที่ถูกทำลายและไม่ได้รับการฟื้นฟู แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ผู้มีอำนาจในเมืองเวโรนาได้เริ่มวางแผนชุบชีวิตเมืองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง ในปี 1946 ‘Piero Gazzola’ ประธานสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (ICOMOS) ได้มีส่วนสำคัญอย่างมากในแผนการฟื้นฟูโครงสร้างของเมืองเวโรนา […]

‘ศรีเทพ’ ได้ขึ้นเป็นมรดกโลก แต่ ‘เวนิส’ เสี่ยงหลุดจากลิสต์ เหตุเพราะน้ำท่วมและนักท่องเที่ยว

ในวันที่ ‘เมืองศรีเทพ’ ของไทยได้รับประกาศจากองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นเมืองมรดกโลกแห่งล่าสุด ในช่วงเวลาเดียวกัน ‘เวนิส’ ได้รับคำเตือนว่าอาจจะขึ้นบัญชีดำที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกถอดออกจากรายชื่อมรดกโลก ที่เป็นเช่นนั้นเพราะรัฐบาลอิตาลีและการปกครองท้องถิ่นเวนิสไม่ได้มีมาตรการหรือกลไกที่ผลักดันการปกป้องความอ่อนไหวของการมีสถานภาพเป็นเมืองมรดกโลก ที่ให้คนเข้าไปศึกษา ชื่นชม และเรียนรู้ จนอาจทำให้เกิดการสูญเสียความเป็นแก่นแท้ของสถานที่ นอกจากนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมของยูเนสโกก็ยังเสนอให้นำเมืองเวนิสไปอยู่ในลิสต์ของการเป็นมรดกโลกที่เสี่ยงต่อการถูกทำลายอย่างไม่สามารถกู้คืนกลับมาได้ในสถานภาพของการเป็นมรดกโลก โดยมีเหตุผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศในปี 2019 ที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในเวนิส ไปจนถึงการเกิดปรากฏการณ์ Overtourism หรือปัญหานักท่องเที่ยวล้นทะลัก ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม และสภาพการเป็นเมืองมรดกโลก ถ้าย้อนไปดูตั้งแต่ปี 1987 ที่เวนิสได้รับการประกาศให้เป็นเมืองมรดกโลก ยูเนสโกได้ส่งคำเตือนถึงประเด็นนี้เป็นครั้งที่ 2 แล้วจากการพัฒนาเมืองที่มากเกินไปเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว และผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมที่ทำให้อาคารเก่าแก่ทั้งหลายมีความเสี่ยงถูกทำลาย รวมถึงการท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ที่ผ่านมารัฐบาลอิตาลีและเมืองเวนิสได้พยายามออกนโยบายและสร้างแผนการปกป้องเมืองด้วยการจำกัดไม่ให้เรือขนาดใหญ่แล่นผ่านคลองของเมือง เปิดใช้งานกำแพงกันน้ำท่วมอย่างเต็มรูปแบบเมื่อปี 2020 และมีแผนเก็บค่าธรรมเนียมการเดินทางของนักท่องเที่ยวด้วย แต่ถึงอย่างนั้น ยูเนสโกก็มองว่าทั้งหมดนี้ยังไม่เพียงพอต่อการรักษาสภาพของการเป็นเมืองมรดกโลกตามมาตรฐาน และจากปัญหานักท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อการอยู่อาศัย ทำให้คนเวนิสจำนวนไม่น้อยย้ายออกไปจากเมืองจนตอนนี้เหลือคนในพื้นที่เพียงห้าหมื่นคนเท่านั้น ซึ่งนั่นย่อมสั่นคลอนต่อสถานภาพการเป็นเมืองมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่ยังมีชีวิตอยู่ของเวนิส Sources :APOLLO | tinyurl.com/2y7zwe4eBBC | tinyurl.com/283cvvg5Podcast : ‘เมือง-หมา-นุด’ EP.51 Venice กับความเสี่ยงถูกถอนออกจากเมืองมรดกโลก | tinyurl.com/2xwdvvwfTravel and […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.