‘ของดีควรดู มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ’ พิพิธภัณฑ์จุฬาฯ เปิดนิทรรศการพิเศษ จัดแสดงสิ่งของน่ารู้จากคณะและหน่วยงานต่างๆ 2 ต.ค. – 27 ธ.ค. 67 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากเป็นสถานศึกษาแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีของเด็ดของดีอย่างเหล่าพิพิธภัณฑ์เจ๋งๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ภายในคณะต่างๆ แต่ด้วยข้อจำกัดของการเป็นสถานที่กึ่งปิดกึ่งเปิด ทำให้มิวเซียมเลิฟเวอร์หรือคนภายนอกไม่มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสมิวเซียมเหล่านี้เท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ได้จัดนิทรรศการพิเศษ ‘ของดีควรดู มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ’ ซึ่งเป็นการรวบรวมของดีจากพิพิธภัณฑ์ในจุฬาฯ มาจัดแสดงร่วมกันเพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าชม โดยเป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะและหน่วยงานหลายภาคส่วนภายในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น 1) สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม (พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน, พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์, เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, หอสมุดดนตรีไทย และหอศิลป์จามจุรี)2) คณะวิทยาศาสตร์ (พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ, พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา และพิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์)3) คณะทันตแพทยศาสตร์ (พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์ และพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์)4) ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค (พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งน่าน และพิพิธภัณฑ์ศิลป์-สินธรรมชาติ จ.สระบุรี)5) สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ (พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน)6) คณะเภสัชศาสตร์ (พิพิธภัณฑ์สมุนไพร)7) คณะสัตวแพทยศาสตร์ (พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์)8) คณะอักษรศาสตร์ (พิพิธพัสดุ์ ไท-กะได)9) คณะแพทยศาสตร์ (หอประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ) โดยการจัดแสดงภายในนิทรรศการนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ […]

‘Floating Glass Museum’ สร้างความตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนผ่านงานศิลปะที่หลอมรวมวัฒนธรรมเข้ากับสิ่งแวดล้อม

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันอยู่ในระดับสูงที่สุดในประวัติการณ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของสภาพภูมิอากาศ และส่งผลกระทบในหลายภาคส่วนทุกทวีปทั่วโลก ทั้งอากาศที่ปั่นป่วนอย่างรุนแรง รวมไปถึงระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น และอาจจะมากขึ้นกว่าเดิมในอนาคต Luca Curci สถาปนิกชาวอิตาลี เห็นว่าปัญหานี้ไม่สามารถมองข้ามต่อไปได้ จึงร่วมกับ Giulia Tassi Design และทีมสถาปนิกและนักออกแบบระดับนานาชาติ ทำโปรเจกต์ออกแบบ ‘Floating Glass Museum’ หรือ ‘พิพิธภัณฑ์แก้วลอยน้ำ’ ด้วยการเปลี่ยนผืนน้ำเป็นผืนผ้าใบในการแสดงผลงานศิลปะร่วมสมัย ในพื้นที่กว่า 3,800 ตารางเมตร เพื่อสร้างความตระหนักถึงความรุนแรงของสภาพอากาศที่อาจจะย่ำแย่กว่าเดิม หากมนุษย์เรายังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ได้แรงบันดาลใจมาจากวัฒนธรรมที่มั่งคั่งของเวนิส และงานฝีมือการทำแก้ว พวกเขาจึงนำทั้งสองสิ่งมาผสมผสานเข้ากับการออกแบบและการวิจัยเกี่ยวกับวัสดุและความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ให้เป็นตัวแทนของความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ศิลปะ ธรรมชาติ และประเพณีที่มาบรรจบกัน โครงการนี้มีแผนการนำไปจัดแสดงในหลายๆ เมืองที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ไม่ว่าจะเป็นดูไบ นิวยอร์ก ฮ่องกง สิงคโปร์ และปูซาน Sources :Designboom | tinyurl.com/4u8uz7rsLuca Curci | tinyurl.com/4f8hxz8a

สำรวจ ‘บางอ้อ’ ถึง ‘บางพลัด’ ชิมลางย่านสร้างสรรค์ ชุมชนแขกแพและสวนผลไม้

บางพลัด-บางอ้อ กำลังจะเป็นย่านสร้างสรรค์แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ คนเก่าคนแก่รู้จักย่านนี้ในฐานะสวนขนาดใหญ่เต็มพื้นที่ถึงแม่น้ำเจ้าพระยา ก่อนความเจริญต่างๆ เริ่มเข้ามาทีละน้อย ทั้งถนน สะพาน อาคารพาณิชย์ โรงไฟฟ้า และรถไฟฟ้า นานวันเข้าพื้นที่สีเขียวค่อยๆ หายไป และเปลี่ยนโฉมเป็นโซนที่อยู่อาศัยและการค้า บางพลัดเป็นเส้นทางผ่านที่ไม่ได้มีอะไรโดดเด่น และเป็นเหมือนม้านอกสายตาจากบรรดาย่านน่าสนใจอื่นๆ ของเมืองกรุง ทั้งที่ความจริงแล้วที่นี่ยังซ่อนสิ่งต่างๆ ไว้อีกมาก ไม่เพียงแต่พหุวัฒนธรรมพุทธและอิสลามที่อยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียว ความรุ่มรวยทั้งสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิตก็น่าสนใจ อีกทั้งยังมีภูมิปัญญาที่สืบทอดมาในชุมชนต่างๆ รวมถึงเรือกสวนแบบโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ แม้ไม่มากแต่ก็เป็นมรดกที่หาดูได้ยากแล้วในปัจจุบัน ยิ่งกว่านั้น ในเขตบางพลัดเริ่มมีสเปซของคนรุ่นใหม่ๆ ทยอยมาเติมแต่งให้อดีตย่านสวนฝั่งธนฯ นี้กลายเป็นพื้นที่ที่โอบรับสำหรับคนทุกวัย น่ามาเยือนและใช้ชีวิตด้วย คอลัมน์ Neighboroot ขอชวนไปเยี่ยมอีกย่านสร้างสรรค์ที่กำลังจะจัดกิจกรรมตลอดปีนี้ ย้อนดูอัตลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นย่านบางพลัด-บางอ้อ ไม่ว่าจะเป็นสวนดั้งเดิมอายุกว่า 100 ปี สวนใหม่เจียนเก่าจากความทรงจำของครอบครัว พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของคนในย่าน และมัสยิดศูนย์รวมจิตใจของชาวแขกแพ เหมือนกับหลายพื้นที่ในกรุงเทพฯ อดีตของบางพลัด-บางอ้อ คือพื้นที่สวนผลไม้ไกลสุดตา หากเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า ‘สวนในบางกอก สวนนอกบางช้าง’ สวนในย่านนี้ก็คือสวนหนึ่งของสวนในบางกอกที่มีอายุย้อนไปได้เป็นร้อยปี สวนผลไม้สัมพันธ์กับอีกอัตลักษณ์ของย่านคือ ความเป็น ‘บาง’ ที่มีลำคลองสายเล็กๆ จากแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมเข้ามายังพื้นที่สวนกว่าสิบสาย และกระจายเป็นโครงข่ายท้องร่องขนาดมหึมา หล่อเลี้ยงสวนป่าในพื้นที่ตอนในที่อยู่ถัดเข้าไป หากมองในระดับสายตาบนถนน ไม่มีทางรู้เลยว่าย่านนี้ยังมีสวนหลงเหลืออยู่ เพราะเต็มไปด้วยตึกรามห้องแถว […]

Galleries’ Nights เปิดแมป Gallery Hopping ยามค่ำคืน 10 – 11 พ.ย. 66 ทั่วกรุงเทพฯ ตลอด 2 เส้นทางหลัก

ใกล้เข้ามาแล้วกับงานที่จะเปลี่ยนกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืน กับ ‘Galleries’ Nights’ ที่จัดโดยสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ธีมปีนี้พิเศษกว่าครั้งไหนๆ เพราะเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 10 ปี Galleries’ Nights งานนี้จัดขึ้นทั่วกรุงเทพฯ ในวันที่ 10 – 11 พฤศจิกายน 2566 มีแกลเลอรีเข้าร่วมกว่า 80 แห่ง พร้อมผลงานสร้างสรรค์จากศิลปินกว่า 220 คน ใน 2 เส้นทางหลัก คือ ‘สีลม-สาทร-ริมแม่น้ำเจ้าพระยา’ ในวันที่ 10 และ ‘อารีย์-ปทุมวัน-สุขุมวิท’ ในวันที่ 11 งานนี้เข้าชมฟรี แถมยังมีบริการ ‘MuvMi’ รถตุ๊กตุ๊กไฟฟ้ากว่า 500 คัน ครอบคลุม 12 พื้นที่จัดงาน เพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่าคนรักงานศิลปะ รวมถึงสร้างประสบการณ์ Gallery Hopping ที่แปลกใหม่และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ทางผู้จัดงานยังได้จัดทำแผนที่ตั้งของแกลเลอรีและเส้นทางการเดินรถ MuvMi ในแต่ละวันไว้เพื่อความสะดวกของผู้เข้าร่วมด้วย ดังนี้ […]

พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น เปลี่ยนสำนักงานธนาคารเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ พื้นที่สาธารณะ แลนด์มาร์กใหม่ของคนขอนแก่น

หากพูดถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรืออีสาน จังหวัดแรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิดหลายคนคงหนีไม่พ้นจังหวัด ‘ขอนแก่น’ เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปวัฒนธรรมแห่งอีสานที่รอให้ผู้คนไปค้นหา โดยล่าสุดขอนแก่นยังมีพิพิธภัณฑ์ที่เปิดใหม่บริเวณใจกลางเมือง ซึ่งรายล้อมไปด้วยโรงเรียน ตลาด แหล่งชุมชน และที่อยู่อาศัย ที่ได้ ‘Plan Motif’ มาเป็นผู้ออกแบบนิทรรศการ ‘Plan Architect’ มาช่วยดูแลในส่วนงานสถาปัตยกรรมการปรับปรุงอาคาร และได้ ‘GLA Design Studio’ เข้ามาดูในส่วนของงานภูมิสถาปัตยกรรม จนออกมาเป็น ‘พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่น’ (The Treasury Museum Khonkaen) พิพิธภัณฑ์ธนารักษ์ขอนแก่นเกิดขึ้นหลังจากที่พื้นที่ถูกเปลี่ยนมือกลับสู่ ‘กรมธนารักษ์’ อีกครั้ง เนื่องจาก ‘ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ’ ที่ใช้พื้นที่อยู่เดิมได้ย้ายที่ตั้งสำนักงานไปยังบริเวณอื่น ทำให้ทางกรมธนารักษ์ที่ได้พื้นที่คืนมาตัดสินใจส่งต่อพื้นที่นี้ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับคนในเมืองขอนแก่นต่อไป ภายใต้ความตั้งใจของกรมธนารักษ์และ Plan Architect ที่ต้องการเปลี่ยนอาคารสำนักงาน บ้านพักพนักงาน และแผนกธนบัตรที่ถูกรื้อถอนเดิม ให้กลายเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ พื้นที่จัดแสดง ศาลาอเนกประสงค์ สวนสาธารณะ และสำนักงานที่สามารถรองรับกิจกรรมต่างๆ ที่จะรับรองการใช้ชีวิตของผู้คนในเมืองขอนแก่นให้ได้มากที่สุด ซึ่งแต่ละส่วนถูกออกแบบใหม่โดยใช้ลักษณะเฉพาะของท้องถิ่นผสมผสานกับเอกลักษณ์ของยุคสมัยใหม่ เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ของขอนแก่นที่ไม่ใช่แค่การฟื้นฟูอาคารเดิมให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง แต่ผู้ใช้งานยังต้องได้รับคุณค่าทางประวัติศาสตร์ผ่านการใช้งานด้วย โดยในอาคารหลักบริเวณชั้น 1 ได้รื้อผนังทึบสูงเดิมออกเพื่อให้แสงธรรมชาติเข้าสู่อาคารได้มากขึ้น เพื่อรองรับการเป็นพื้นที่ส่วนกลางและโซนห้องสมุด […]

‘Dadu’ พิพิธภัณฑ์เด็กเพื่อการเรียนรู้แห่งกาตาร์ ออกแบบจากเค้าโครงหมู่บ้านในประวัติศาสตร์

กาตาร์คือหนึ่งในประเทศที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสนับสนุนให้เด็กทุกคน รวมถึงเด็กที่มีความต้องการพิเศษด้านการศึกษาและผู้พิการ ได้เรียนรู้ผ่านการเล่น สนุกสนาน รวมถึงสร้างความผูกพันกับครอบครัวและเพื่อนๆ จึงผลักดันแนวคิดนี้ผ่านการพัฒนา ‘Dadu’ พิพิธภัณฑ์เด็กแห่งกาตาร์ สถานที่แห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษย์ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม Dadu ตั้งอยู่ข้าง Al Bidda Park สวนสาธารณะขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของโดฮา เปิดให้บริการมาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 โดยปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาด้วย สำหรับชื่อ Dadu นี้เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การเล่น ที่ใช้ชื่อนี้เพราะว่าการเล่นเป็นสัญชาตญาณตามธรรมชาติในเด็ก ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของวัยเด็กมาโดยตลอด กาตาร์จึงตั้งใจทำให้พิพิธภัณฑ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทาง ที่อนาคตของชาติจะได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ผ่านการเล่นแบบปลายเปิด การสำรวจ และการทดลอง โดยทางพิพิธภัณฑ์ได้ ‘UNStudio’ บริษัทสถาปัตยกรรมจากเนเธอร์แลนด์ มาออกแบบตัวอาคารให้เป็นพื้นที่ที่มีบล็อกเชื่อมต่อกันและวางเรียงเป็นวงกลม โดยได้แรงบันดาลใจมาจากเค้าโครงของหมู่บ้านประวัติศาสตร์ในโดฮา ส่วนลานตรงกลางระหว่างอาคารจะกลายเป็นพื้นที่ให้เด็กๆ เล่นได้อย่างปลอดภัย ส่วนพื้นที่รอบลานส่วนกลางจะมีทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ ห้องกิจกรรม และแกลเลอรีตามแต่ละธีมที่จะจัดแสดงนิทรรศการแบบอินเทอร์แอ็กทีฟตามหัวข้อต่างๆ เช่น วิทยาศาสตร์ ความยั่งยืน และประวัติศาสตร์ของโดฮา ‘Essa Al Mannai’ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์เด็กแห่งกาตาร์กล่าวว่า ภารกิจสำคัญของพิพิธภัณฑ์คือการบ่มเพาะความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ […]

Bronx Children’s Museum เปลี่ยนโรงไฟฟ้าเก่าเป็นพิพิธภัณฑ์เด็ก หลังจากดำเนินการโดยไม่มีอาคารมากว่า 10 ปี

หลังจากที่ ‘Bronx Children’s Museum’ พิพิธภัณฑ์สำหรับเด็กบนรถบัสสีม่วงสดใส ได้เคลื่อนตัวไปทั่วนิวยอร์กโดยไม่มีอาคารจัดแสดงเป็นหลักเป็นแหล่งมานานกว่า 10 ปี ในที่สุดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมปีที่แล้ว ทางพิพิธภัณฑ์ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวอาคารที่ตั้งอย่างเป็นทางการที่ริมแม่น้ำฮาร์เล็มในเขต South Bronx Bronx Children’s Museum แห่งนี้กินพื้นที่ขนาด 13,650 ตารางฟุตในชั้นสองของโรงไฟฟ้าเก่าที่สร้างขึ้นในปี 1925 อยู่ห่างไปเพียงไม่กี่ก้าวจาก Bronx Terminal Market, Yankee Stadium และสถานีรถไฟใต้ดินใกล้เคียง จุดมุ่งหมายของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ ต้องการให้เด็กๆ ในเมืองมีส่วนร่วมกับวัฒนธรรมของเมืองและธรรมชาติ ผ่านการออกแบบโดยสตูดิโอ ‘O’Neill McVoy Architects’ ที่เชื่อมต่อรูปทรงเรขาคณิตเข้ากับภูมิทัศน์ริมแม่น้ำ แผ่นกั้นห้องและเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ภายใน Bronx Children’s Museum สร้างขึ้นจากผนังพาร์ติชันไม้ลามิเนต (CLT) แบบโค้งดัดได้และแผ่นอะคริลิกรีไซเคิลโปร่งแสง ให้ความรู้สึกเหมือนภายในมีความเชื่อมต่อกันระหว่างที่เราเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีการใช้โคมไฟ LED ระบบเซนเซอร์ที่เพิ่มหรือลดแสงภายในพิพิธภัณฑ์ให้สอดคล้องไปกับแสงแดดจากภายนอกอย่างเหมาะสม หน้าต่างที่ช่วยให้ระบายอากาศได้ดีขึ้น รวมไปถึงติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับอุณหภูมิ ที่ช่วยลดการใช้พลังงานของระบบเครื่องปรับอากาศภายในตัวอาคาร ปัจจุบัน Bronx Children’s Museum เปิดให้เข้าชมสัปดาห์ละ […]

สัมผัสวิถีชนบทในเมืองหลวงที่ ‘ชุมชนวัดจำปา’

ภาพจำของหลายคนที่มองมายังกรุงเทพฯ คือเหล่าตึกสูงระฟ้า รถราติดหนึบ และมลพิษจากย่านใจกลางเมือง แต่จริงๆ แล้ว กรุงเทพฯ ยังมีส่วนของชานเมืองรอบนอกที่ยังคงสภาพวิถีชีวิตดั้งเดิม เป็นชาวสวนผลไม้ที่ผูกพันกับสายน้ำลำคลอง อากาศสดชื่น และบรรยากาศที่แทบไม่ต่างอะไรกับต่างจังหวัด  ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ ‘ตลิ่งชัน’ หนึ่งในเขตชานเมืองทางฟากตะวันตกของกรุงเทพฯ ที่หลายคนอาจคุ้นหูจากการเป็นทางผ่านลงภาคใต้ทางถนนเพชรเกษม หรืออาจพอได้ยินมาบ้างจากการเป็นแหล่งรวมคาเฟ่และร้านอาหารบนถนนบรมราชชนนีและถนนราชพฤกษ์ แต่ถัดเข้ามาจากถนนใหญ่หลายสายที่ตัดผ่านเขตนี้ ยังมีชุมชนเล็กๆ กลางสวนและบ้านจัดสรร ที่ยังคงเสน่ห์และวิถีชีวิตดั้งเดิมมากว่าร้อยปี จากเงาของตึกสูงที่ตกลงมาบนถนนใหญ่ใจกลางเมือง เปลี่ยนเป็นร่มเงาต้นไม้ที่ทาบลงบนถนนสายเล็กๆ ของชุมชนและบนผิวน้ำในคลองที่ใสสะอาด เรือหางยาววิ่งเสียงดังลั่นคุ้งน้ำเป็นสัญญาณต้อนรับ เหนือยอดไม้แทบไม่เห็นตึกสูง ฉากหลังของบ้านเรือนไทยเป็นท้องฟ้าสีสดใส ไร้ทัศนะอุจาดรบกวนเหมือนในเมือง ท่ามกลางเสียงจากธรรมชาติที่ได้ยินอยู่ตลอดเวลา เชื่อหรือไม่ว่าภาพเช่นนี้เห็นได้ด้วยการเดินทางจากในเมืองมาไม่นานนัก บรรยากาศของที่นี่ไม่ต่างอะไรจากสวนที่พบเจอได้ในจังหวัดอื่นๆ ผิดแต่ว่าที่นี่อยู่ในเขตของกรุงเทพฯ เมืองหลวงของประเทศที่นับวันจะหาพื้นที่สีเขียวได้ยากขึ้นทุกที หลักฐานความเจริญของย่านตลิ่งชันที่ ‘วัดจำปา’  เราเดินเข้าสู่รั้ววัดจำปา พบกับ ‘พี่ดุ่ย-ทวีศักดิ์ หว่างจันทร์’ ตามนัดหมาย ประธานชุมชนวัดจำปาต้อนรับขับสู้ด้วยไมตรีจิต ก่อนนำเราตรงไปยังอุโบสถวัดจำปา พร้อมทั้งเล่าสารพัดเรื่องราวของวัดโบราณคู่ชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะเหล่าของดีมีราคา และของจากในราชสำนัก “หน้าบันอุโบสถประดับอ่างล้างหน้างานยุควิกตอเรีย สมัยรัชกาลที่ 4 ตอนนี้พบสองที่คือวัดจำปากับพระนครคีรี ที่นู่นสีเขียว ที่นี่สีชมพู อาจจะก่อนหรือหลังรัชกาลที่ 4” พี่ดุ่ยชวนเราเงยหน้ามองที่สิ่งอันซีนอย่างแรก เมื่อเข้าไปด้านในอุโบสถก็พบกับของอีกชิ้นหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กัน นั่นคือลูกกรงเหล็กสีทองด้านหน้าพระประธานในอุโบสถ […]

เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนในงาน Night at the Museum เข้าฟรี 16 – 18 ธ.ค. 65 ที่จุฬาฯ

ใครที่ประสบปัญหาไปเที่ยวพิพิธภัณฑ์ทีไรต้องรีบไปให้เร็วทุกครั้ง เพราะกลัวว่าจะมีเวลาซึมซับบรรยากาศไม่มากพอ หรือกระทั่งคนที่อยากลองใช้เวลาอยู่ในพิพิธภัณฑ์ยามค่ำคืนแบบหนังเรื่อง Night at the Museum คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดให้แล้ว กับกิจกรรม Night at the Museum 2022 ที่เตรียมเปิดเหล่าแหล่งเรียนรู้ในรั้วคณะให้ทุกคนได้เข้าไปสำรวจยามตะวันตกดิน ครั้งนี้ ทางคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เปิดบ้านยาวไปถึงช่วงกลางคืนเพื่อขยายเวลาให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนได้เข้าชมฟรี ภายใต้คอนเซปต์ ‘Night Life สีสันแห่งธรรมชาติยามค่ำคืน’ ประกอบด้วย 4 พิพิธภัณฑ์และอีก 1 นิทรรศการพิเศษ ได้แก่ 1) พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาฯ 2) พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ 3) พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา  4) พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์  5) นิทรรศการพิเศษ ‘เพนกวินและแมวน้ำ’ สนับสนุนโดย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล และสถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กิจกรรม Night at the Museum […]

เมืองบรัสเซลส์อนุญาตให้จิตแพทย์จ่ายใบสั่งยาให้ผู้ป่วยเข้าพิพิธภัณฑ์ฟรี เพื่อฟื้นฟูจิตใจและบรรเทาอาการซึมเศร้า

ให้ศิลปะช่วยเยียวยาจิตใจของคุณผ่านการรักษาแบบพิเศษในเมืองบรัสเซลส์ ที่จิตแพทย์สามารถจ่ายใบสั่งยาจากพิพิธภัณฑ์ให้กับผู้ป่วยที่มีสภาวะทางจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นอาการซึมเศร้า ความเครียด หรืออาการวิตกกังวลก็ตาม ได้เข้าไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์พร้อมกับเพื่อนหรือสมาชิกในครอบครัว 2 – 3 คนได้ฟรี ปัจจุบันผู้ป่วยสามารถเข้าพิพิธภัณฑ์ภายใต้การดูแลของทางการฟรี 5 แห่ง ไม่ว่าจะเป็นพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์เมือง (Brussels City Museum), ศูนย์ศิลปะร่วมสมัย (Centre for Contemporary Art), พิพิธภัณฑ์แฟชั่นและลูกไม้ (Fashion & Lace Museum), พิพิธภัณฑ์ท่อระบายน้ำ (Sewer Museum) หรือจะเป็นพิพิธภัณฑ์ห้องเสื้อผ้าของ แมนเนเกน พิส (Manneken Pis)  โดยทาง Delphine Houba รองนายกเทศมนตรีบรัสเซลส์ ที่ได้เสนอแนวคิดนี้เมื่อปี 2021 เชื่อว่านี่คือโครงการแรกในยุโรปที่จะช่วยฟื้นฟูสุขภาพจิตของผู้ป่วยจากความเครียดและความวิตกกังวล รวมถึงยังช่วยฟื้นฟูพิพิธภัณฑ์หลังจากการระบาดของ Covid-19 โดยได้แรงบันดาลใจจากโครงการในแคนาดาที่แพทย์จ่ายใบสั่งยาให้กับพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์มอนทรีออล (Montreal Museum of Fine Arts) มาตั้งแต่ปี 2018 โครงการนี้จะนำร่องในระยะเวลา 6 เดือน […]

เปลี่ยนศาลาว่าการ กทม. เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ

สืบเนื่องจากนโยบายของชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่มีแผนย้ายศาลาว่าการ กทม. จากเสาชิงช้าไปย่านดินแดง และเปลี่ยนอาคารหลังเก่านี้ให้เป็นพิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ พื้นที่สาธารณะและพื้นที่สร้างสรรค์แห่งใหม่ของเมืองในอนาคต ด้วยพื้นที่อาคารขนาดใหญ่ประมาณ 7 ไร่ และลานคนเมืองประมาณ 6.5 ไร่ ตีเลขกลมๆ ทั้งหมดเกือบ 14 ไร่ หรือเทียบเท่าพื้นที่ 3 สนามฟุตบอลเลยทีเดียว คอลัมน์ Urban Sketch จึงขออาสาเปิดพื้นที่รวบรวมไอเดียว่า ศาลาว่าการ กทม. ควรเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์แบบใดจึงจะตอบโจทย์คนเมืองอย่างแท้จริง ผ่านการสัมภาษณ์ตัวแทนในแวดวงต่างๆ เช่น คนรักพิพิธภัณฑ์จากกลุ่ม ‘ไปพิพิธภัณฑ์แล้วหัวใจเบิกบาน’, คนชื่นชอบศิลปะดิจิทัลจากเพจ ‘NFT Thailand’, ตัวแทนกระบอกเสียงคนพิการจากเพจ ‘ThisAble.me’ และเยาวชนที่สนใจเรื่องเมืองจาก ‘เยาวชนริทัศน์บางกอก (ReThink Urban Spaces – RTUS)’ ที่มาช่วยกันดีไซน์พิพิธภัณฑ์ในแต่ละมุมมองที่น่าสนใจ ถ้าพร้อมแล้ว เราขอพาทุกคนไปทัวร์พิพิธภัณฑ์เมืองกรุงเทพฯ ในฝันพร้อมกันตอนนี้เลย! Bangkok Time Machine Museumพิพิธภัณฑ์ท่องประวัติศาสตร์ ย้อนเหตุการณ์กรุงเทพฯ พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ ควรเล่าเนื้อหาประวัติศาสตร์ที่ครอบคลุมทั้งเมืองและเข้าถึงคนทุกกลุ่ม […]

Guarding The Art นิทรรศการในบัลติมอร์ งานศิลปะที่คัดสรรโดย รปภ. พิพิธภัณฑ์ เปลี่ยนผู้ดูแลงานให้เป็น Curator

ใครไปพิพิธภัณฑ์บ่อยๆ คงเคยสังเกตเห็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ยืนตามจุดต่างๆ ของพื้นที่จัดแสดง หน้าที่หลักของพวกเขาคือเคลื่อนย้ายและดูแลงานศิลปะที่จัดแสดง รวมไปถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าชม ซึ่งยามรักษาการณ์เหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่คุ้นเคยและใกล้ชิดกับงานศิลปะมากกว่าคนทั่วไป  เพราะเหตุนี้ Baltimore Museum of Art พิพิธภัณฑ์ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา จึงปิ๊งไอเดียจัดนิทรรศการ ‘Guarding the Art’ เพื่อแสดงงานศิลปะ 25 ชิ้นที่คัดสรรโดย 17 เจ้าหน้าที่จากแผนกรักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ มีทั้งอดีตเจ้าหน้าที่และคนที่ปัจจุบันยังทำงานอยู่ เจ้าหน้าที่ทั้ง 17 คนได้มีส่วนร่วมรังสรรค์นิทรรศการนี้เกือบทุกขั้นตอน ทั้งกระบวนการคัดเลือกผลงานที่ใช้เวลานานกว่า 2 ปี การออกแบบการจัดวาง (Installation) การผลิตเนื้อหาสำหรับเอกสารและสื่อประเภทอื่นๆ รวมไปถึงการออกแบบทัวร์นิทรรศการสำหรับผู้เข้าชมด้วย ผลงานที่ถูกคัดเลือกจัดแสดงใน Guarding the Art มีความหลากหลาย ทั้งในด้านยุคสมัยของผลงาน ประเภท หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวต่อต้านการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ ‘Black Lives Matter’ การระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับงานของพวกเขา Guarding the Art เกิดขึ้นจากไอเดียของเอมี่ เอเลียส […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.