ขยะพลาสติกก็เปลี่ยนเป็นงานศิลปะได้ ชมผลงานที่น่าสนใจจากพลาสติกรีไซเคิลได้ที่งาน ‘คาโอ 60 ปี Saving Future Smiles’ มาพร้อมกับนวัตกรรมที่ใส่ใจโลก ใส่ใจคุณ

ในมุมมองของการรักษาสิ่งแวดล้อม ขยะพลาสติกมักถูกมองว่าเป็นผู้ร้ายในการทำลายระบบต่างๆ ไปจนถึงความยั่งยืนของธรรมชาติ แต่หากได้ทำความเข้าใจเรื่องของขยะพลาสติก จะเห็นได้ว่าขยะเหล่านี้สามารถเปลี่ยนรูปแบบเพื่อสร้างคุณค่าและให้ประโยชน์ในรูปแบบใหม่ๆ ได้ เช่นการนำมารีไซเคิลในรูปแบบใหม่ อย่างการเปลี่ยนให้เป็นผลงานศิลปะดีไซน์สวยจากเหล่าศิลปินรุ่นใหม่ที่เล็งเห็นถึงการสร้างคุณค่าให้พลาสติกและตระหนักถึงการสร้างความรู้ในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยมีศิลปะเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงและส่งต่อความเข้าใจออกไปให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้ด้วย เนื่องในโอกาสครบรอบ 60 ปี ‘คาโอ’ จึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความตระหนักรู้ให้กับคนในสังคม จากการดำเนินงานตามหลัก ESG (Environment, Society และ Governance) ที่แบรนด์ยึดถือมาโดยตลอด และพร้อมเดินหน้าสร้างความยั่งยืนทั้งการดำเนินชีวิตและสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปด้วยกัน ร่วมด้วยกับ 5 ศิลปิน ได้แก่ ‘Melt District’, ‘Benzilla’, ‘Shortbutveryverycute’ และ ‘Asazak’ ที่จะมาช่วยลดขยะพลาสติกด้วยการรีไซเคิลเปลี่ยนเป็นเครื่องใช้ที่มีดีไซน์ร่วมสมัย โดยทุกคนสามารถไปทำความเข้าใจพร้อมต่อยอดความรู้ และชมงานศิลปะจากขยะพลาสติกกันได้ในนิทรรศการ คาโอ ‘Saving Future Smiles’ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน – 5 ตุลาคมนี้ ที่สามย่านมิตรทาวน์ แต่หากใครอยากรู้เรื่องราวความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของ คาโอ ก่อนจะไปชมงานนิทรรศการแบบเต็มๆ คอลัมน์ Sgreen ขอพาไปดูกันว่า คาโอ ดำเนินงานตามหลัก ESG […]

Meltdistrict แบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลจากเชียงใหม่ ให้กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ที่ใช้งานได้ แถมยังเก๋ไก๋ชวนใจละลาย

We have to MELT because the world is MELTING. หากจะถามว่า Meltdistrict คือใครและทำอะไร ประโยคนี้บนหน้าเว็บไซต์พวกเขาเล่าความตั้งใจของพวกเขาได้ดี Meltdistrict เป็นแบรนด์ที่หลอมพลาสติกรีไซเคิลให้เป็นสินค้าใหม่ โดยสร้างสรรค์จากพลาสติก 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถรีไซเคิลต่อได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ก่อตั้งโดย ‘โบ-สลิลา ชาติตระกูลชัย’ และ ‘ฟ้า-ขวัญชีวา พงศ์สิมภากรณ์’ สองสาวที่พบกันด้วยความสนใจเรื่องความยั่งยืนที่ตรงกัน พวกเธอจึงขอใช้ขยะพลาสติกส่วนหนึ่งจากโรงงานรับขยะของครอบครัวขวัญชีวา ลองผิดลองถูกกับการรีไซเคิลอยู่พักใหญ่ ก่อนจะผลิตเป็นบอร์ดพลาสติกที่แปรรูปเป็นสินค้าได้อเนกประสงค์ ดีไซน์สนุก ใช้งานได้จริง กิ๊บติดผม เฟอร์นิเจอร์ กระเบื้องตกแต่งคาเฟ่ นี่คือตัวอย่างของสินค้าที่บางคนอาจจะไม่เคยคิดว่าพลาสติกรีไซเคิลก็ทำได้ คอลัมน์ Sgreen ตอนนี้ ขอพาคุณบุกเชียงใหม่ ไปสืบความลับของการหลอมพลาสติกให้กลายเป็นสินค้าหน้าตาน่าใช้ ฟังสองสาวเจ้าของแบรนด์เล่าความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งที่จะสร้างสินค้าไลฟ์สไตล์ที่เก๋และยั่งยืนไปพร้อมกัน โรงงานขยะ ครอบครัวของขวัญชีวาทำธุรกิจแปรรูปพลาสติกมาเนิ่นนาน ภาพที่เธอคุ้นชินตั้งแต่ยังเด็กจึงเป็นภาพโรงงานรับซื้อขยะของพ่อแม่ในอำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ กับกระบวนการป่นพลาสติกชิ้นใหญ่ให้เป็นเม็ดเล็กๆ แล้วส่งให้โรงหลอมเพื่อรีไซเคิลต่อ เมื่อโตขึ้น ขวัญชีวารับช่วงต่อแล้วขยายธุรกิจรับซื้อสิ่งของเหลือใช้มาที่อำเภอสันป่าตอง Meltdistrict ก็เกิดขึ้นที่นั่นเช่นกัน “เราซึมซับการรีไซเคิลมาตั้งแต่เด็ก และทำเรื่องรณรงค์ไฟป่าหรือเรื่องลดหลอดมาตั้งแต่สมัยเรียน […]

Rumba Bor แบรนด์ที่อยากกระชากสิ่งของเชยๆ ให้กลับมามีชีวิต ด้วยการใช้วัสดุรีไซเคิล 

“สิ่งที่เราทำคือการกระชากเก้าอี้จีนเชยๆ ที่คนอาจมองข้ามไป ให้หันมามองสิ่งของใน Everyday Life ในมุมมองใหม่ๆ ที่ Sustainable มากขึ้น” ‘รัมภา ปวีณพงษ์พัฒน์’ เจ้าของแบรนด์ Rumba Bor บอกถึงความตั้งใจของเธอในการเริ่มต้นทำแบรนด์สิ่งของเครื่องใช้รักษ์โลก ที่มีจุดเด่นคือการดึงเอาของใช้ในชีวิตประจำวันมาผสมผสานความครีเอทีฟ โดยใช้วัสดุที่รีไซเคิลเป็นหัวใจหลัก หญิงสาวเล่าว่า จุดเริ่มต้นของ Rumba Bor เกิดขึ้นเมื่อเธอเรียนจบด้าน Fine Arts มาได้สักพัก และเริ่มรู้สึกอยากเริ่มทำแบรนด์เป็นของตัวเองด้วยการนำสิ่งที่เรียนมาใช้ทำงานให้สนุก นอกจากแพสชันส่วนตัว ในช่วงที่เรียนอยู่ที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย รัมภามักเห็นคนทิ้งสิ่งของเครื่องใช้อย่างเฟอร์นิเจอร์อยู่บ่อยๆ โดยเธอมักจะเดินไปดูว่ามีอะไรน่าสนใจและหยิบจับไปใช้ในงานออกแบบของตัวเองได้บ้าง ตรงนี้เองที่ส่งผลให้รัมภาซึมซับเรื่องสิ่งของมือสอง ตระหนักเรื่องสิ่งแวดล้อม และเข้าใจการใช้ชีวิตในแบบที่ไม่ต้องซื้อของใหม่บ่อยๆ หลังจากลองผิดลองถูกอยู่นาน ผลงานชิ้นแรกภายใต้แบรนด์ Rumba Bor ของรัมภา ก็ออกมาเป็น ‘เฌย (Choei)’ เก้าอี้จีนรูปลักษณ์คุ้นเคยที่ลูกหลานคนจีนคุ้นตาดี ซึ่งหญิงสาวนำมาตีความใหม่ และใช้พลาสติกโพลีโพรไพลีนรีไซเคิล (PP Recycle) ในการทำ “มันเกิดจากการที่เรามีโอกาสไปเดินดูโรงงาน แล้วเจอเก้าอี้ที่ลวดลายเชยๆ สีม่วงแดง ทำมาจากพลาสติก PVC ย่อยสลายไม่ได้ ขายไม่ออก […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.