ปัตตานีดีกว่าที่คิด! บรรยากาศการเรียนท่ามกลางเหตุการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ | คนย่านเดียวกัน EP.5

วรกันต์ ทองขาว หรือ หลวงกันต์ คือ ผู้ประกอบอาชีพ Artist Manager ที่คอยดูแลศิลปินทางดนตรีอย่าง Max Jenmana, O-Pavee, YEW, FREEHAND และอีกหลายวง  ครั้งนี้เขาไม่ได้มาเสนอศิลปินหน้าใหม่หรือคุยถึงเรื่องดนตรี แต่เป็นการมานั่งเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับช่วงวัยที่ร่ำเรียนในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในตอนที่เหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังถึงจุดเดือด จากชาวไทยพุทธที่เป็นชนกลุ่มใหญ่ในพัทลุง สู่การเป็นชนกลุ่มน้อยในจังหวัดปัตตานี สิ่งที่เปลี่ยนไปคืออาหาร วัฒนธรรม และผู้คนที่ต่างออกไป แต่นั่นไม่ได้ทำให้หลวงกันต์ตกหลุมรักจังหวัดนี้น้อยลง อะไรคือมนตร์เสน่ห์ของปัตตานี มาล้อมวงฟังไปพร้อมๆ กัน ติดตามฟัง คนย่านเดียวกัน ได้ทาง YouTube : https://youtu.be/O5KpD-3hw6U Spotify : https://bit.ly/3HWDgNU Apple Podcasts : https://bit.ly/3YJELVP Podbean : https://bit.ly/3vaWgkb

KIDS’ VIEW นิทรรศการภาพถ่ายฟิล์มครั้งแรกจากมุมมองเด็กสามจังหวัดชายแดนใต้

ปัตตานีเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่มีความสร้างสรรค์เป็นพลังช่วยเคลื่อนเมืองให้พ้นจากมุมมองและภาพจำเกี่ยวกับความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ ทุกวันนี้เราได้เห็นศิลปะ ดนตรี ภาพยนตร์ รวมถึงการเกิดขึ้นของพื้นที่สร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นทิศทางการพัฒนาเมืองที่ดีของจังหวัดทางใต้แห่งนี้  สำหรับชาวเมืองหลวงที่ยังไม่มีโอกาสไปปัตตานี เราอยากชวนไปงานอีเวนต์ของคนจากปัตตานีที่จัดแสดงอยู่ในกรุงเทพฯ ชื่อว่า ‘KIDS’ VIEW’ เป็นนิทรรศการภาพถ่ายผ่านมุมมองทางสายตาของน้องๆ นักเรียนชั้น ม.ปลาย ทั้งหมด 19 คน ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ ‘มูลนิธินูซันตาราเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา’ (Nusantara Patani) พวกเขาได้ถ่ายทอดมุมมองผ่านการจัดแสดงผลงานศิลปะภาพถ่ายกว่า 70 ภาพ เพื่อให้ผู้คนนอกพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนรายละเอียดวิถีชีวิต ความนึกคิด และสิ่งที่เด็กกำพร้าในสามจังหวัดชายแดนใต้มองเห็นได้อย่างลึกซึ้งมากขึ้น  ความน่าสนใจของภาพถ่ายในงานนี้คือ ‘การใช้กล้องฟิล์มครั้งแรก’ ของน้องๆ  “เอากล้องทอยให้น้องไปคนละตัวและให้ฟิล์มกันไปคนละม้วน” อำพรรณี สะเตาะ อาจารย์จากสาขาวิชาศิลปะภาพถ่ายชาวปัตตานี จากวิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต บอกเล่าถึงการดำเนินงานของนิทรรศการ KIDS’ VIEW ให้ฟัง  อาจารย์ใช้เวลาพูดคุยกับเด็กๆ รวมถึงจัดเวิร์กช็อปการใช้กล้องฟิล์ม 101 เล่าความรู้เบื้องต้นการถ่ายภาพให้กับน้องๆ เป็นเวลา 10 กว่าวัน จากนั้นก็ปล่อยให้เหล่าช่างภาพมือใหม่ลงสนามตามหาสิ่งที่อยากถ่าย โดยไร้ซึ่งคอนเซปต์ ไม่มีการตีกรอบทางความคิดใดๆ  หลังจากที่อาจารย์นำฟิล์มครั้งแรกของน้องๆ ไปล้างและอัดรูปแล้ว ภาพทั้งหลายที่ได้มาล้วนมีเอกลักษณ์และมุมมองที่หลากหลายแตกต่างกันออกไป เพราะจะถ่ายอะไรก็ได้ ทั้งในชุมชน […]

‘Pata ini ภูมิทัศน์ปราศจากเสียง’ วิกฤตธรรมชาติของอ่าวปัตตานีที่ตื้นเขิน

ภูมิทัศน์ปราศจากเสียง (Pata ini) คือผลงานศิลปะภาพถ่ายจากการลงพื้นที่สำรวจภูมิทัศน์บริเวณอ่าวปัตตานี นำเสนอสิ่งที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี

กำปงกู พื้นที่สาธารณะที่ทำโดยประชาชน ไม่มีเวลาเปิดปิด ไม่จำกัดกิจกรรม และเติบโตไปพร้อมผู้ใช้งาน

แดดสี่โมงเย็นของยังคงส่องแสงแรงกล้า ช่วงเวลาที่ตะวันยังไม่คล้อยต่ำ บรรยากาศของเมืองปัตตานีมีลมพัดเป็นระลอก ที่ลานสเก็ตก็มีเพียงหนุ่มน้อยจากชุมชนบือตงกำปงกูสามนาย ที่มาพร้อมกับสเก็ตบอร์ดหนึ่งแผ่นเดินเข้ามาทักทาย บอกว่าเดี๋ยวอาจารย์อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ที่นัดกันไว้ก็จะมาแล้ว  คุยไปไถเล่นไปโชว์ลีลาไปไม่นานเท่าไหร่ เสียงเครื่องยนต์ที่คุ้นเคยก็ดังขึ้นจากทางเข้ากำปงกู นักกีฬาสามคนหมดความสนใจสเก็ตอันจิ๋ว วิ่งไปเปิดท้ายรถซีดานสีเขียวแก่อย่างคุ้นเคยก่อนจะช่วยขนทั้งสเก็ตบอร์ด เซิร์ฟสเก็ต หรือโรลเลอร์เบลดออกมาคอยท่าเพื่อนๆ  ตัวเล็กเหล่านี้จะรู้จักกำปงกูกันในฐานะลานสเก็ตประจำชุมชน ที่ข้างในเป็นห้องสมุดเปิดให้เข้าไปอ่านหนังสือ นั่งเล่น นอนเล่นกันได้ แต่เราขอนิยามที่นี่ว่าเป็นพื้นที่สาธารณะที่จัดทำโดยประชาชนดีกว่า เป็นที่สาธารณะที่ไม่ได้มีไว้เพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจผู้ใช้งาน ไม่มีเวลาเปิด-ปิด ไม่มีค่าใช้จ่าย จะมาใช้งานตอนไหนก็ไม่ว่ากัน  01 ชุมชนบือตงกำปงกู เวลาผ่านไปไม่นานนัก ชาวแก๊งมากันเต็มลาน บางคนเหมือนจะเพิ่งเริ่มหัดยืนบนกระดานได้ไม่นาน บางคนดรอปอินลงมาจากแลมป์อย่างคล่องแคล่ว ส่วนบางคนก็ถนัดที่จะดูเพื่อนมากกว่า หลังจากทักทายและเซย์ฮายกันเรียบร้อย เราชวน อ.อาร์ม เข้าร่มไปยังบริเวณห้องสมุดที่ยังอยู่ในสภาพกึ่งทางการ คือบางมุมก็เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางจุดก็ยังรอการจัดการอยู่ “ทีแรกเป็นร้านชาบูมาก่อน เสร็จแล้วพอโควิดมันเล่นงานคนเช่าก็เลยเลือกที่จะเปลี่ยนลุคใหม่ไปเลย แล้วตอนนี้เขาก็เลิกทำไปก่อน ทุบทั้งหมดออกแล้วเหลือเศษกระจกไว้ให้เราดูต่างหน้า (ยิ้ม) ทีแรกเราตั้งใจทำแค่ลานสเก็ตข้างหลังนี้แหละ ก็เลยเริ่มจากการเคลียร์พื้นที่ด้านหลังที่เคยเป็นป่ามาก่อน กะว่าจะลาดปูนเฉยๆ เพราะเท่านี้ก็ไถสเก็ตได้แล้ว แล้วถ้าเกิดว่างๆ ก็อาจจะมาทำตลาดทำอะไรก็ว่าไป เราคิดแค่นั้นเอง “แต่ว่าในช่วงที่เราเข้ามาดูพื้นที่กันก็เห็นคนเข้ามาซื้อขายยาเสพติด ทั้งที่เราก็ยืนอยู่ตรงนั้นนะแต่เขาก็ทำธุรกรรมกันได้ (หัวเราะ) เราก็รู้สึกว่ามันทำให้พื้นที่ตรงนี้ฮาร์ดคอร์เกินไปหน่อย ก็เลยคุยกับทางทีมดีไซเนอร์แล้วบอกให้เขาออกแบบลานสเก็ตให้เป็นเรื่องเป็นราวไปเลยดีกว่า บังเอิญว่าคนออกแบบก็เล่นไม่เป็นด้วย […]

ความงามเป็นของทุกคน Celine เครื่องสำอางฮาลาลที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงมุสลิม

Urban Creature x UN Women คนจะงาม งามที่ใจใช่ใบหน้า ทำไมสุภาษิตไทยช่างไม่เข้าใจแล้วก็ใจร้ายใจดำกับพวกเราได้ขนาดนี้ ยิ่งในยุคปัจจุบันก็ต้องบอกว่าเราเชื่อเหลือเกินว่า ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิงหรือใครคนใดก็ตาม ย่อมมีสิทธิ์ที่จะดูดีในแบบของตัวเองทั้งนั้น และสำหรับญาญ่า-สุไรยา แวอุเซ็ง เจ้าของแบรนด์เครื่องสำอางฮาลาล Celine และบรรดาสาวงามทั้งสามจังหวัดชายแดนใต้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ถ้าได้ความสวยงามที่มาพร้อมความสบายใจ ก็คงไม่ได้ขออะไรไปมากกว่านี้อีกแล้ว Celine คือเครื่องสำอางที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์คนสามจังหวัดโดยแท้จริง อย่างแรกคือผลิตมาแบบหลักศาสนาจะได้ใช้งานกันอย่างสบายใจ อย่างที่สองคือตอบโจทย์ด้านสภาพภูมิอากาศที่ร้อนจัดในเวลากลางวัน และหนาวเย็นในเวลากลางคืน ทำให้เหมาะกับพื้นที่มากกว่าเครื่องสำอางยี่ห้ออื่นตามท้องตลาด “เราปิดหน้าแต่ก็ยังปัดแก้ม ทาปาก แต่งหน้าอยู่นะ” ญาญ่าเล่าให้ฟังอย่างอารมณ์ดี และบอกว่าสำหรับเธอสิ่งสำคัญที่สุดของ Celine อาจจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงมุสลิมลุกขึ้นมาดูแลตัวเองมากกว่าเรื่องของธุรกิจเสียอีก แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าธุรกิจของ Celine เป็นเรื่องธรรมดา ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง Celine มีตำราธุรกิจที่เข้ากับพื้นที่อย่างมาก เพราะมีวิธีการขายแบบสามจังหวัดชายแดนใต้ แบบฉบับที่เต็มไปด้วยความอบอุ่นและใกล้ชิด แถมธุรกิจนี้ยังช่วยสร้างอาชีพให้กับเหล่าแม่บ้านมุสลิม และส่งออกไปยังประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามอีกมากมาย  มาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะกำลังสงสัยว่า เครื่องสำอางก็มีมาตรฐานฮาลาลเหมือนอาหารด้วยหรือ หรือว่าทำไมผู้หญิงที่ใส่ฮิญาบต้องแต่งหน้าด้วย เราชวนมาทำความเข้าใจบริบทนี้ไปพร้อมกัน ด้วยเนื้อหาข้างล่างนี้เลย  สาวงามสามจังหวัด หญิงสาวในผ้าคลุมฮิญาบเล่าให้พวกเราฟังว่า ย้อนกลับไปราว 10 ปีที่แล้ว เครื่องสำอางที่มีตราฮาลาลยังไม่มีวางขายตามท้องตลาด มีแต่สินค้าประเภทเคาน์เตอร์แบรนด์ ซึ่งไม่ทราบว่ามีส่วนผสมอะไรบ้าง และไม่มั่นใจว่าจะถูกต้องตามหลักศาสนาหรือเปล่า […]

Melayu Living กลุ่มคนเปลี่ยนปัตตานีให้ดีด้วยศิลปะ l Somebody Ordinary EP.7

“เราต้องการสื่อภาพออกไปว่า เมืองเราก็เป็นเมืองเมืองหนึ่งที่มีเหตุการณ์ปกติ ใช้ชีวิตปกติได้ ไม่ได้มีเหตุการณ์ร้าย” นี่คือเสียงจากกลุ่มพี่ๆ น้องๆ ‘Melayu Living’ ที่อยากบอกว่าทลายภาพจำ สามจังหวัดที่ว่า “พกระเบิดมาด้วยหรือเปล่า ที่นู่นเขายังใช้ชีวิตปกติเหรอ” เริ่มตั้งแต่แนวคิดของชื่อ ‘Melayu Living’ มีแฝงความหมายไม่ได้เจาะจงศาสนา แต่มันคือเรื่องราวของพื้นที่ ซึ่ง Somebody Oridinary EP นี้ จะพาทุกคนไปสนุกกับ Melayu Living กลุ่มคนเปลี่ยนปัตตานีให้ดีด้วยศิลปะ บอกเลยว่าคุณจะได้เห็นภาพที่เติมเต็มความรู้สึกที่ไม่เคยเห็นจากสื่อกระแสหลัก และพร้อมส่งต่อความรู้สึกเมืองเหล่านี้ก็น่ารัก และรอโอกาสให้คุณมาสัมผัส : ) #UrbanCreature  #ReinventTheWayWeLive #SomebodyOrdinary #Melayu #MelayuLiving #3จังหวัดชายแดนใต้ #ปัตตานี

ฟังเสียง 17 ปีความเจ็บปวดของคนสามจังหวัดชายแดนใต้

วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นวันครบรอบ 17 ปี ของเหตุการณ์สลายการชุมนุมที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส หนึ่งในโศกนาฏกรรมความรุนแรงที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งสร้างแรงกระเพื่อมให้กับชีวิตของผู้คนมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นเวลากว่า 17 ปีแล้ว ที่สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ยังคงคุกรุ่นเสมอมา และ 17 คือจำนวนปีทั้งหมดที่รัฐไทยตัดสินใจใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ ก่อนปรับเป็นการประกาศพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พุทธศักราช 2548 ซึ่งยังคงถูกบังคับใช้ และต่ออายุทุกๆ 3 เดือนจนกระทั่งปัจจุบัน และช่วงเวลาอันยาวนานนี้เองที่ผู้คนในพื้นที่สามจังหวัดฯ ไม่เคยได้เลือกกำหนดชีวิตตัวเอง และอยู่ภายใต้ความ ‘ผิดปกติ’ จนกลายเป็นเรื่อง ‘ปกติ’ นำมาสู่คำถามสำคัญที่ว่าเราทุกคนเคยรู้ไหมว่า #คนที่สามจังหวัดเป็นยังไงบ้าง ในมุมมองของคนเมืองอย่างเราๆ สิ่งที่นึกถึงเมื่อพูดถึงพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือคำว่า ‘ความรุนแรง’ ที่เกือบทั้งหมดระบุไม่ได้ชัดเจนว่า ความรุนแรงนี้เกิดจากใคร? ฝ่ายใดเป็นผู้กระทำผิด? หรือควรมีทางออกร่วมกันอย่างไร? ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้จึงอยู่ภายใต้พื้นที่สีเทาที่คลุมเครือ เพื่อให้สิ่งที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ถูกพูดถึง ทำความเข้าใจ และร่วมหาทางแก้ไขมากขึ้น ศูนย์ความร่วมมือทรัพยากรสันติภาพ (Peace Resource Collaborative; PRC) จึงอยากให้ทุกคนเริ่มต้นรับฟัง […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.