สำรวจเบื้องหลัง ‘หมาล่า’ ที่ไม่ได้แค่ทำให้เผ็ดลิ้นชา แต่มาพร้อมชุมชนจีนใหม่

‘เย็นนี้กินหมาล่าไหม’ เชื่อเถอะว่ารอบตัวของเราต้องมีเพื่อนอย่างน้อยหนึ่งคนที่ประกาศตัวเองเป็น ‘หมาล่าเลิฟเวอร์’ ชนิดที่ถ้า 1 สัปดาห์มี 7 วัน คนเหล่านี้จะกินหมาล่าไปแล้ว 6 วัน ร้านไหนที่เขาว่าดี ว่าอร่อย หรือเพิ่งเปิดใหม่ก็เคยบุกตะลุยไปจุ่มฟองเต้าหู้มาหมดแล้ว  นอกจากเทรนด์อาหารการกิน ปรากฏการณ์ ‘หมาล่า’ ฟีเวอร์ยังบอกอะไรกับเราอีกบ้าง วันนี้ Urban Creature ชวนมาแกะรหัส สำรวจเส้นทางหมาล่าไปพร้อมๆ กันในคอลัมน์ Report ตั้งแต่ต้นกำเนิดของเมนูนี้ มูลค่าทางเศรษฐกิจ ไปจนถึงมิติทางการเมืองที่มาพร้อมการคืบคลานของชาติที่ให้กำเนิดหมาล่า 01 | หมาล่าไม่ใช่ชื่ออาหาร แต่เป็นรสชาติความเผ็ดชา หันไปทางนู้นก็หมาล่า หันไปทางนี้ก็หมาล่า แต่ทุกคนรู้หรือไม่ว่า คำว่า ‘หมาล่า’ ที่เราใช้เรียกอาหารชนิดนี้กันจนติดปาก ไม่ใช่ชื่อเรียกของ ‘พริก’ แต่เป็นชื่อเรียก ‘รสชาติอาหาร’ ที่เราสัมผัสได้ในระหว่างการกินต่างหาก เพราะแท้จริงแล้ว คำว่าหมาล่าถูกถอดเสียงมาจากคำอ่านภาษาจีนกลางของอักษรทั้งหมด 2 ตัว ได้แก่ 麻 (má) อ่านว่า ‘หมา’ แปลว่า อาการชา และ […]

ส่อง 6 สนามกีฬาในเมืองหางโจว ที่ทั้งสวย โดดเด่น และดีต่อสิ่งแวดล้อม สถานที่จัดการแข่งขันเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19

ใกล้เข้ามาแล้วกับการแข่งขันกีฬาที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอย่าง ‘เอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 19’ หรือ ‘Hangzhou 2022 Asian Games’ ที่ปีนี้ได้เมืองหางโจว ประเทศจีน เป็นเจ้าภาพอย่างยิ่งใหญ่จนมีประเทศเข้าร่วมกว่า 45 ประเทศ ชิง 482 เหรียญทองใน 40 ประเภทกีฬา โดยระหว่างการจัดการแข่งขันที่เข้มข้น หางโจวยังมุ่งเน้นในเรื่องสิ่งแวดล้อม และพยายามลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ หรือเปลี่ยนพิธีงานแบบเดิมๆ ที่ใช้พลุมาเป็นการแสดงด้วยโดรนบนท้องฟ้าแทน นอกจากนี้ หนึ่งสิ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือการที่หางโจวเลือกใช้ ‘สนามกีฬา’ หลากหลายรูปแบบ ทั้งที่มีอยู่เดิมและออกแบบใหม่เพื่อส่งเสริมให้การแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ยังคงสอดแทรกวัฒนธรรมดั้งเดิมของเมืองหางโจวไว้ในสเตเดียมเหล่านี้ได้อย่างลงตัว ก่อนการแข่งขันเอเชียนเกมส์จะเริ่มต้นขึ้น คอลัมน์ Re-Desire ขออาสาพาทุกคนไปทำความรู้จักกับ 6 สนามกีฬาดีไซน์สวย ตอบโจทย์การใช้งาน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ที่เหล่านักกีฬานานาประเทศจะใช้เป็นสถานที่แข่งขันในวันที่ 23 กันยายน – 8 ตุลาคมที่จะถึงนี้ China Hangzhou E-sports Centerศูนย์กีฬาอีสปอร์ตที่รวมกีฬาและสวนสีเขียวไว้ด้วยกัน เริ่มกันที่ศูนย์กีฬามาตรฐานแห่งแรกสำหรับการแข่งขัน E-sports อย่าง ‘China Hangzhou […]

‘หางโจว’ เมืองโบราณที่พัฒนาเป็นฮับเศรษฐกิจดิจิทัลของจีน

หากพูดถึงประเทศในเอเชียที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูงสุด ชื่อของ ‘ประเทศจีน’ ต้องติดอยู่ในลิสต์ด้วยแน่นอน หากต้องเจาะไปที่ตัวเมือง หลายคนอาจนึกถึงเซี่ยงไฮ้ เมืองหลวงที่อัดแน่นไปด้วยเทคโนโลยีแบบครบวงจร ทว่าจีนไม่ได้มีแค่เซี่ยงไฮ้เท่านั้นที่เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมสุดล้ำ แต่ยังมีอีกหลายเมืองทั่วประเทศที่เต็มไปด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หนึ่งในเมืองสำคัญคือ ‘หางโจว’ เมืองทางภาคตะวันออกของจีนที่ได้รับการพัฒนาอย่างสูงสุด จนกลายเป็นเมืองแห่งเทคโนโลยีล้ำสมัยที่ไม่แพ้เมืองหรือประเทศอื่นๆ ทั่วโลก หางโจวเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดในมณฑลเจ้อเจียง ที่ไม่ได้มีความสำคัญแค่ในระดับมณฑลเท่านั้น แต่หางโจวยังเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญในระดับประเทศ และยังเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีขั้นสูง จนได้รับฉายาว่าเป็น ‘Silicon Valley’ ของจีนเลยทีเดียว เชื่อว่าหลายคนก็คงจะคุ้นหูกับชื่อเมืองนี้เป็นอย่างดี แต่อาจจะยังไม่รู้จักหางโจวมากเท่าไรนัก Urban Creature ขอพาไปทำความรู้จักหนึ่งในเมืองที่มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนผ่านบทความนี้กัน เมืองเศรษฐกิจสำคัญของประเทศจีน หางโจวเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต เพราะเป็นเส้นทางการคมนาคมทางน้ำที่ใช้ขนส่งสินค้า และเป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่ตั้งแต่สมัยราชวงศ์สุย แต่ในยุคปัจจุบัน ประเทศจีนเปิดรับการลงทุนทั้งจากภายในและภายนอกประเทศมากขึ้น ทำให้ทั่วประเทศรวมถึงเมืองหางโจวเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด ภาครัฐจึงวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจในแต่ละด้านของหางโจวให้แข็งแกร่งโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมเดิมของเมือง ด้วยการกำหนดเขตเศรษฐกิจใหม่ขึ้นมา ซึ่งเขตที่สำคัญต่อการพัฒนาหางโจว ได้แก่ – เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีแห่งหางโจว (Hangzhou Economic & Technological Development Zone : HETDZ) ศูนย์กลางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มีเป้าหมายในการเป็นฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูงของจีน – เขตพัฒนาการส่งออกแห่งหางโจว (Hangzhou Export Processing […]

Liuzhou Forest City จีนสร้าง ‘เมืองป่าไม้’ เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ลดมลพิษทางอากาศและช่วยเพิ่มพลังงานหมุนเวียน

‘Liuzhou Forest City’ หรือ ‘เมืองป่าไม้’ เป็นโครงการนวัตกรรมที่มีเป้าหมายเพื่อต่อสู้กับมลพิษทางอากาศ ทั้งยังเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติกันใหม่ เพื่อความเป็นไปอย่างยั่งยืน โดยเมืองใหม่แห่งนี้จะเกิดขึ้นบริเวณตอนเหนือของจังหวัดที่อยู่ทางใต้ของประเทศจีนอย่างหลิ่วโจว (Liuzhou) ซึ่งได้บริษัทสถาปนิกชื่อดังจากอิตาลี ‘Stefano Boeri Architetti’ มาร่วมออกแบบภาพเมืองในฝัน โครงการนี้เป็นการขยายขอบเขตของการทดลองที่ประสบผลสำเร็จจากโปรเจกต์แรกเมื่อปี 2014 กับต้นแบบอาคารป่าแนวตั้ง Bosco Verticale ในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลี ที่นำเสนอและพัฒนารูปแบบที่อยู่อาศัยของเมือง เพื่อมุ่งหวังช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นๆ จากการวางผังเมืองของเทศบาลหลิ่วโจวพบว่า โครงการเมืองป่าไม้นี้จะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1,750,000 ตารางเมตรตามแนวแม่น้ำหลิ่วเจียง นอกจากเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนประมาณ 30,000 คนแล้ว เมืองใหม่แห่งนี้ยังเอื้อต่อสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบายสำหรับพืชและต้นไม้ที่มีอยู่ในอาคารทุกหลัง โดย Liuzhou Forest City จะมีต้นไม้ประมาณ 40,000 ต้น บวกรวมกับเหล่าพืชพรรณอีกกว่าหนึ่งล้านต้นที่มีความแตกต่างทางสายพันธุ์กว่า 100 ชนิด ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตที่ Stefano Boeri Architetti ได้ออกแบบและนำมาพัฒนาเมืองใหม่ในหลิ่วโจว เปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่ผลิตความยั่งยืนออกมา เพราะความเป็นเมืองป่านี้สามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 10,000 ตัน และฝุ่นละอองอนุภาคละเอียดอีก 57 ตันทุกปี […]

‘Déjà Vu Recycle Store’ ร้านหนังสือและเสื้อผ้ามือสองในเซี่ยงไฮ้ ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังเลือกซื้อผักผลไม้

เคยสังเกตกันไหมว่าทำไมร้านขายของมือสองถึงมักมีบรรยากาศบางอย่างที่แค่มองจากภายนอกตัวร้านก็รับรู้ได้เลยในทันทีว่า ที่นี่ขายของมือสองชัวร์! เพราะอยากเปลี่ยนภาพจำของร้านประเภทนี้ให้แตกต่างออกไป ‘Offhand Practice’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติจีน จึงออกแบบ ‘Déjà Vu Recycle Store’ ร้านขายหนังสือและเสื้อผ้ามือสองบนถนน Anfu เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ด้วยการดีไซน์หน้าร้านและการจัดวางหนังสือภายในร้านให้มีรูปแบบที่ไม่ซ้ำเดิม เพื่อให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ใหม่ตั้งแต่อยู่นอกร้าน อาคารสามชั้นรูปร่างแปลกตาที่ผนังภายนอกร้านทำจากวัสดุรีไซเคิลอย่างกระเบื้องโมเสกสีครีมและแผ่นไม้สีน้ำตาล ดึงดูดให้คนที่ผ่านไปผ่านมาเกิดความสนใจในตัวสถาปัตยกรรม และอยากเดินลอดผ่านทางเดินเล็กๆ เข้าไปภายในตัวร้านที่ตกแต่งด้วยกระเบื้องโมเสกสีครีมเช่นเดียวกัน แต่น่ามองมากขึ้นด้วยการตัดกับสีเขียวของกระเบื้องโมเสกที่ใช้เป็นกรอบช่องหน้าต่างขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นรูปแบบการตกแต่งภายในของเซี่ยงไฮ้ในปี 1970 ชั้นหนึ่งของร้าน Déjà Vu Recycle Store เป็นพื้นที่แกลเลอรีจัดแสดงประวัติศาสตร์ของแบรนด์และกระบวนการปรับปรุงร้านกับสินค้ามือสองภายในร้านให้กลับมามีสภาพสวยงามอีกครั้ง เพื่อสร้างการรับรู้ให้ลูกค้าที่มาเยี่ยมชม ก่อนจะไปพบกับหนังสือมือสองในชั้นถัดไป เมื่อขึ้นไปยังชั้นสอง คุณจะพบกับบรรดาหนังสือมือสองสภาพเหมือนใหม่ ที่เรียงไว้อย่างสวยงามในลังไม้และลังพลาสติกทั่วทั้งชั้น เพื่อสร้างบรรยากาศให้ลูกค้ารู้สึกเหมือนกำลังเดินเลือกซื้อของสดอยู่ในซูเปอร์มาร์เก็ต ก่อนเดินขึ้นไปที่ชั้นสาม เพื่อเลือกซื้อเสื้อผ้าที่ถูกใจจากทั้งหมดกว่า 2,000 ชิ้น ติดไม้ติดมือกลับบ้านไปพร้อมกับหนังสือในชั้นก่อนหน้า “พวกเราพยายามที่จะทำลายภาพลักษณ์ของร้านมือสองแบบเดิมๆ และลบล้างความเชื่อที่ว่า ร้านหนังสือจะต้องอัดแน่นไปด้วยชั้นหนังสือเต็มความสูงของร้าน” Offhand Practice บอกเล่าถึงแนวคิดในการทำร้านของตน แอบคิดเล่นๆ ว่า ถ้ามีร้านหนังสือมือสองลักษณะนี้ในไทยบ้างคงดีไม่น้อย นอกจากจะได้ลดค่าหนังสือต่อเดือนลงอีกหน่อย ยังได้พื้นที่สวยๆ บรรยากาศดีๆ ให้ไปหาแรงบันดาลใจอีกด้วย Sources […]

อร่อยได้มือไม่ต้องเปื้อน! จีนผลิตไอศกรีมทนความร้อน ไม่ละลาย แม้อยู่ในอุณหภูมิ 31 องศาฯ

การกินไอศกรีมแบบไม่ต้องเลอะมือ ถือเป็นปัญหาใหญ่สำหรับชาวเมืองร้อนอย่างประเทศไทยเหลือเกิน เพราะแค่จะหยิบเอาไอศกรีมที่ซื้อออกจากถุง ไอความร้อนจากทุกสารทิศก็ถาโถมเข้ามาจนละลายเลอะมือไปหมด โชคร้ายหน่อยก็หยดเลอะขากันไปตามๆ กัน แต่ปัญหาไอศกรีมละลายนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศเราเท่านั้น แต่ไม่ว่าประเทศไหนๆ หรือแม้แต่ประเทศจีนที่ฤดูหนาวก็หนาวจนติดลบ ก็ยังต้องเผชิญกับปัญหานี้เช่นกัน เพราะปัญหาที่มาคู่กับขนมหวานแช่แข็งนี้  Zhong Xue Gao บริษัทผลิตไอศกรีมยักษ์ใหญ่สุดหรูระดับพรีเมียมของประเทศจีน ที่ถูกขนานนามว่าเป็น ‘Hermès of Ice Cream’ ต้องกระโดดลงมาดึงส่วนแบ่งทางตลาดและความสนใจของสาธารณะ ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ไอศกรีมราคา 10 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 360 บาท ที่มีจุดเด่นคือ ‘ละลายช้า’  ละลายช้าชนิดที่ว่ามีชาวเน็ตในเวย์ปั๋ว (Weibo) นำไอศกรีมดังกล่าวไปวางไว้ในอุณหภูมิที่สูงถึง 31 องศาเซลเซียสนานถึง 1 ชั่วโมงแต่เจ้าไอศกรีมตัวนี้ก็ยัง ‘ไม่ละลาย’ สร้างความฮือฮาจนกลายเป็นไวรัลมีผู้เข้าชมคลิปวิดีโอกว่า 500 ล้านครั้ง จนชาวเน็ตจีนออกมาตั้งคำถามถึงความปลอดภัยในการบริโภคไอศกรีมดังกล่าว ร้อนถึงบริษัท Zhong Xue Gao ที่ต้องออกมาแถลงด้วยบัญชีโซเชียลมีเดียอย่างเป็นทางการว่า ผลิตภัณฑ์ของตนปฏิบัติตามแนวทางคุณภาพอาหารของจีนในมาตรฐานระดับสูง ด้านส่วนผสมหลักที่ทำให้ไอศกรีมละลายช้าก็คือ ‘คาร์ราจีแนน’ (Carrageenan) สารสกัดจากสาหร่ายทะเลที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในไอศกรีมและเครื่องดื่มประเภทเย็นทั่วไปอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสามารถมั่นใจในความปลอดภัยระหว่างการกินได้เลย Sources :DesignTAXI | […]

Y จีน ? สาววายเต็มเมือง แต่ทำไมจีนยังคงปิดกั้น

ชวนทุกคนมาหาคำตอบ ว่าทำไมชาวจีนถึงชอบดูซีรีส์วาย ทั้งยังผลิตสื่อออกมามากมายแม้รัฐจะแบนก็ตาม

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.