บรรเทาอาการปวดประจำเดือนด้วย ‘Myoovi’ อุปกรณ์ขนาดพกพาที่ส่งคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กผ่านผิวหนัง

ทุกๆ เดือน ผู้มีประจำเดือนต่างต้องประสบปัญหาความทรมานจากการปวดท้องประจำเดือนที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการทำงานหรือแม้แต่ทำกิจวัตรประจำวันทั่วๆ ไป จนต้องกินยาและนอนพักผ่อนเพื่อให้อาการทุเลาลง แต่บางครั้งอาการปวดท้องประจำเดือนก็ไม่สามารถบรรเทาได้ด้วยยาแก้ปวด หากใครมีอาการรุนแรงอาจต้องพึ่งพาอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเครื่องกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าผ่านผิวหนัง (TENS) ที่ได้รับการวิจัยและพิสูจน์แล้วว่าสามารถช่วยได้ แต่ด้วยขนาดที่เทอะทะและมีสายเกะกะ จึงทำให้ไม่สะดวกต่อการใช้งานเท่าไรนัก ‘Adam Hamdi’ แพทย์ชาวอังกฤษคิดค้นและพัฒนา Myoovi ผลิตภัณฑ์ลดอาการปวดประจำเดือนในรูปแบบอุปกรณ์ไร้สายและพกพาสะดวก ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกันกับเครื่อง TENS ในการส่งพัลส์ (Pulses) หรือสัญญาณไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้ความเจ็บปวดเดินทางไปยังสมองและช่วยบรรเทาอาการปวดให้ลดลง โดยผู้ใช้งาน Myoovi จะรู้สึกเหมือนถูกนวดเป็นจังหวะๆ นอกจากนี้ ตัวอุปกรณ์ยังใช้งานได้นานถึง 10 ชั่วโมงต่อการชาร์จไฟหนึ่งครั้ง มาพร้อมกับแผ่นรองสำหรับติดผิวหนังในจุดที่ปวด โดยตัวแผ่นรองนี้มีอายุการใช้งานประมาณ 20 – 30 ครั้งหรือนานกว่านั้นจนกว่าจะไม่เหนียวติดตัว หากเทียบระยะเวลาคร่าวๆ ก็อาจใช้งานได้นานถึงสองเดือนเลยทีเดียว Myoovi วางจำหน่ายในราคา 120 ปอนด์ หรือประมาณ 5,000 บาท สั่งซื้อได้ที่ myoovi.co.uk Sources:Dezeen | bit.ly/3IYnvWR Myoovi | myoovi.co.uk

‘นิทรรศกี’ นิทรรศการว่าด้วยเรื่องกีๆ ผลักดัน ‘ผ้าอนามัยฟรี’ เพื่อสุขภาพดีถ้วนหน้า

‘เมนส์ของตัวเอง ทำไมต้องให้รัฐรับผิดชอบ?’‘นโยบายนี้จะมีคนได้ประโยชน์สักกี่คน?’‘เอาเวลาไปแก้ปัญหาปากท้องดีกว่าไหม? แค่ผ้าอนามัยใครๆ ก็ซื้อได้’ คำถามเหล่านี้คือสิ่งที่เราเห็นอยู่บนโลกออนไลน์หลังเปิดตัว ‘นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ เมื่อวันที่ 8 มีนาคมที่ผ่านมา นิทรรศการนี้เปิดตัวในวันสตรีสากล ซึ่งในปีนี้มีธีมรณรงค์ว่า #BreakTheBias เพื่อปลดแอกอคติและการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับที่พรรคเพื่อไทยต้องการผลักดันในปัจจุบันจึงเกิดเป็นนิทรรศกีขึ้นมา เราถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็กว่า ‘ผ้าอนามัย’ เป็นของส่วนตัว ประจำเดือนเป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบด้วยตัวเอง ‘ผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ จึงเป็นเรื่องใหม่มากๆ ในสังคมไทยที่จะยกขึ้นมาเป็นสวัสดิการรัฐ และทำให้เรื่องกีๆ ที่มักจะถูกทำให้เป็นเรื่องต้องห้ามถูกนำมาถกเถียงกันมากขึ้น หากคุณเป็นผู้มีประจำเดือน หลายคนคงเคยมีประสบการณ์ในหลายๆ เรื่องที่ใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ประจำเดือนเลอะในที่สาธารณะ ต้องเจียดเงินไปซื้อผ้าอนามัยในวันที่ประจำเดือนมาฉุกเฉิน หรือให้ผ้าอนามัยเพื่อนฟรีๆ ทันทีที่มีคนขอ แต่สำหรับบางคน การมีประจำเดือนอาจไม่ใช่ประสบการณ์ที่ดีเท่าไร หลายคนอาจไม่เคยรู้ว่าในประเทศไทยยังมีผู้มีประจำเดือนกว่า 64.72% ที่เข้าไม่ถึงผ้าอนามัยเพราะความยากจน (Period Poverty) โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางอย่างผู้มีรายได้น้อย คนในวัยเรียน และคนในเรือนจำ ผู้มีประจำเดือนกลุ่มนี้จึงต้องใช้อย่างอื่นแทนผ้าอนามัย และจำใจเสี่ยงกับปัญหาสุขภาพเพราะไม่มีทางเลือกอื่น ผ้าอนามัย สวัสดิการรัฐ และอคติทางเพศ เกี่ยวข้องกันอย่างไร? เราจะพาไปแหวกประตูกีและดูความเป็นไปได้ของ ‘ผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ กับ ‘ปกป้อง-ชานันท์ ยอดหงษ์’ และ ‘จิน-สิรวิชญ์ […]

ไม่เชื่อมาดูมิจิ เพื่อไทยจัด นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้านำร่องนโยบายและทลายอคติต่อผู้มีประจำเดือน

ไม่มีประจำเดือนก็ทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ ‘นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ คือนิทรรศการจากพรรคเพื่อไทยที่จัดในโอกาสวันสตรีสากล  นิทรรศกีคือ งานแสดงศิลปะและข้อมูลสำคัญที่ว่าด้วยเรื่องผ้าอนามัยและค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง ซึ่งมาพร้อมกับประกาศการศึกษาความเป็นไปได้ด้านนโยบายผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า ด้วยการเริ่มต้นนำร่องโปรเจกต์ในตึกเพื่อไทยเป็นที่แรก นิทรรศการนี้จะจัดวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งตรงกับวันสตรีสากล ในปีนี้วันสตรีสากลใช้แคมเปญ #breakthebias หรือการทำลายอคติ ตั้งแต่มายาคติเรื่องเพศ การเหมารวม (stereotype) การเลือกปฏิบัติ และอื่นๆ ที่มาพร้อมกับอคติทางเพศ  นิทรรศกีจึงนำแคมเปญ #breakthebias #IWD2022 มาประกาศการศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า ประกาศนำร่องโครงการในพรรคเพื่อไทย และจัดนิทรรศการเรื่องผ้าอนามัย จิ๋ม และความเป็นผู้หญิง เพื่อศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง และฝ่าอคติทางเพศไปพร้อมๆ กัน  ชานันท์ ยอดหงษ์ ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายของพรรค เล่าที่มาของความตั้งใจว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ นิทรรศการที่จะเกิดขึ้น ไม่เพียงพยายามฝ่าอคติทางเพศอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังใส่ใจเรื่องค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง  “หากค่าแรงขั้นต่ำเรายังอยู่ที่ราว 331 บาท/วัน แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายประจำเดือนของผู้หญิงอย่าง ‘ผ้าอนามัย’ อยู่ที่ 350 – 400 บาท/เดือน โดยตัวเลขนี้คำนวณจากจำนวนผ้าอนามัยที่ควรเปลี่ยนทุก 4 ชั่วโมง และผู้หญิงเป็นประจำเดือนที่ […]

#เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน แคมเปญปฏิวัติความเชื่อผิดๆ จาก ira รณรงค์ว่าประจำเดือนไม่ใช่สิ่งน่าอาย

ตอนเด็กๆ ใครเคยถูกล้อเวลามีประจำเดือน หรือไม่กล้าบอกเพื่อนว่าเป็น ‘วันนั้นของเดือน’ บ้าง?  จากการสำรวจผู้มีประจำเดือน 1,000 คน พบว่ากว่า 43 เปอร์เซ็นต์รู้สึกอายที่จะให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองมีเมนส์ และหลายคนยังต้องเจอกับมุกตลกเกี่ยวกับการมีประจำเดือน (Period Joke) เช่นการบุลลี่หรือพูดลับหลังว่า ‘สงสัยเมนส์มา’ นอกจากนี้ ผู้หญิงจำนวนมากยังต้องหลบๆ ซ่อนๆ เวลาซื้อหรือยื่นผ้าอนามัยให้กัน เพราะสังคมส่วนใหญ่ยังเชื่อว่าประจำเดือนคือสิ่งสกปรกและน่ารังเกียจ ในความเป็นจริงแล้วประจำเดือนเป็นเพียงกลไกทางชีวภาพของร่างกายกลไกหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าร่างกายสมบูรณ์ดี และพร้อมจะให้กำเนิดมนุษย์ต่อไป ดังนั้น เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมกันเปลี่ยนความคิดและพูดคุยให้เมนส์เป็นเรื่องปกติไปกับแคมเปญ #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน จากแบรนด์ผ้าอนามัย ira ช่วงวันสตรีสากล (International Women’s Day) ของปีนี้ ira ร่วมโปรเจกต์พิเศษกับ Inside the Sandbox นำเสนอผลิตภัณฑ์ผ้าอนามัยรุ่น Limited Edition #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน เพื่อปฏิวัติแนวคิดการตีตราประจำเดือน (Period Stigma) และเปิดพื้นที่พูดคุยเรื่องประจำเดือนในสังคม ผู้ที่สนใจซื้อผ้าอนามัยรุ่น #เป็นเมนส์ไม่เห็นต้องซ่อน ได้ที่ช่องทางโซเชียลมีเดียของ ira หรือเว็บไซต์ onperiod.iraconcept.com ในราคากล่องละ 131 บาท […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.