วิพากษ์ศิลปะจากดินโคกหนองนากับ UN-EARTH Provenience Unfold ที่นัวโรว์อาร์ตสเปซ อุดรฯ วันนี้ – 15 ต.ค. 65

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ ‘โครงการโคกหนองนา’ และ ‘โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง’ โมเดลของภาครัฐที่มุ่งพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมผ่านการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญา เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้และมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน แต่โครงการเหล่านี้อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่ภาพวาดไว้ เพราะ ‘โคกหนองนา’ ถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน การใช้ พ.ร.บ.เงินกู้หลายพันล้านบาทเร่งทำโครงการในช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตโรคระบาดอย่างหนัก ไปจนถึงปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนไม่น้อยต้องพบเจออย่างผู้รับเหมาขุดปรับพื้นที่ไม่ตรงแบบหรือทิ้งงาน ความซับซ้อนของโมเดลเกษตรกรรมนี้ทำให้ ‘ส้มผัก-สุรสิทธิ์ มั่นคง’ ศิลปินจากอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จัดทำนิทรรศการศิลปะที่ชื่อว่า ‘UN-EARTH Provenience Unfold’ เพื่อถ่ายทอดมุมมองของเขาในฐานะคนท้องถิ่นที่ได้ใกล้ชิดกับโครงการเหล่านี้ “ย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว เรามีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ทำให้ได้เห็นวิธีการจัดการดินของชาวบ้านและคนในพื้นที่ที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นการขุดหน้าดินขาย เอาโฉนดที่ดินไปจำนำ หรือแม้แต่ปล่อยเช่าพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้และเอาตัวรอดในช่วงที่โรคระบาดรุนแรง เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากการจัดการพื้นที่ในสมัยก่อนที่มักใช้เพื่อผลิตพืชผลทางการเกษตร และกักเก็บน้ำไว้ใช้เลี้ยงสัตว์เป็นหลัก “ในช่วงเวลาเดียวกัน เราก็ได้เห็นรัฐนำโครงการต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ ทั้งโครงการโคกหนองนาและการจัดการปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเกิดจากการใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ประมาณ 4,800 ล้านบาท ทำให้เราตั้งคำถามว่าแทนที่จะเอาเงินมาให้ชาวบ้านขุดพื้นที่ทำโคกหนองนา รัฐควรนำงบประมาณเหล่านี้ไปแก้ปัญหาที่เร่งด่วนอย่างโรคระบาดให้เสร็จก่อนดีมั้ย นี่คือจุดเริ่มต้นของนิทรรศการศิลปะเชิงการเมืองครั้งนี้” ส้มผักได้ลงพื้นที่ทั่วภาคอีสานด้วยตัวเองเพื่อรวบรวมดินและวัสดุจากโครงการโคกหนองนาและโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ก่อนจะนำมารังสรรค์ชิ้นงานศิลปะเชิงเปรียบเปรยทั้งหมด 12 ชุด โดยแต่ละชุดใช้วัสดุและมีรูปแบบที่ต่างกันไป เช่น ป้ายเหล็กของโคกหนองนา แผ่นดินสลักพิกัดโครงการต่างๆ แท่งยางมะตอย แปลนโคกหนองนาในมุมมองของศิลปิน รวมไปถึงศิลปะผ้าใบที่เขียนด้วยดิน  […]

ชมเครื่องดูดฝุ่นสีทองดูดประชาธิปไตย ในนิทรรศการ ‘ฝ่าละออง’ วันนี้ – 28 ส.ค. 65 ที่ VS Gallery

เมื่อปี 2020 ‘จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์’ นักเขียนเจ้าของผลงานวรรณกรรมวิพากษ์วิจารณ์สังคมและการเมืองได้จัดนิทรรศการศิลปะ ‘คิดถึงคนบนฝ้า (Our Daddy Always Looks Down on Us)’ ที่ชวนคนปีนบันไดขึ้นไปชะโงกมองว่าข้างบนฝ้าเพดานที่คนมองแล้วซาบซึ้งจนน้ำตาไหลมีอะไรอยู่กันแน่ ครั้งนี้เขากลับมาอีกครั้งกับนิทรรศการ ‘ฝ่าละออง (From Dawn Till Dust)’ ที่กล่าวได้ว่าเป็นภาคต่อของความแสบสันนี้  โดยทั้งสองนิทรรศการต่างเป็นชื่อเรื่องสั้นของจิรัฏฐ์ที่จะตีพิมพ์ในชื่อหนังสือ ‘รักในลวง’ ช่วงปลายปี 2565 นี้ ‘ฝ่าละออง’ คือนิทรรศการที่สร้างจากเสี้ยวหนึ่งของเรื่องสั้นในชื่อเดียวกัน กล่าวถึงเจ้าหน้าที่รัฐผู้ขยันและซื่อตรงในหน้าที่ แต่สุดท้ายผลตอบแทนของความจงรักภักดีนั้นกลับกลายเป็นเรื่องราวน่าอดสูและสยองขวัญ นัยของนิทรรศการ คือการเน้นย้ำให้คนดูย้อนกลับมาสำรวจภูมิทัศน์หลายแห่งในกรุงเทพฯ ที่ถูกรัฐพยายามจะเปลี่ยนความหมาย รวมถึงทำลายมัน ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ล้วนเป็นอนุสรณ์สถานที่เชื่อมโยงไปยังคณะราษฎร เช่น ลานพระบรมรูปทรงม้าที่เคยมีหมุดคณะราษฎรวางอยู่ แต่ตอนนี้ถูกล้อมรั้วไปแล้ว หรือวงเวียนหลักสี่ที่เคยเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ แต่ตอนนี้ถูกรื้อทิ้งจนไม่เหลือเค้าเดิม กลายเป็นสถานีรถไฟฟ้า  จิรัฏฐ์บันทึกฟุตเทจเหล่านี้ด้วยการนำเครื่องดูดฝุ่นไปดูดตามสถานที่นั้นๆ และนำมาเล่าซ้อนกับเรื่องสั้น O-Robot ที่ล้อไปกับนิยายเรื่อง 1984 โดย จอร์จ ออร์เวลล์ อีกทีหนึ่ง โดยนำเสนอผ่านโทรทัศน์ 6 จอ ที่ล้อไปกับหลัก 6 […]

เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์ ผู้อยู่เบื้องหลัง Yala Stories ที่อยากขับเคลื่อนยะลาด้วยงานสร้างสรรค์

เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เราได้รู้จักกับ Yala Stories ผ่านโพสต์เฟซบุ๊กที่มิตรสหายคนทำงานสร้างสรรค์แชร์กัน ซึ่งโพสต์นั้นว่าด้วยการนำภาพของตัวอักษรบนป้ายร้านรวง ย่านสายกลาง จังหวัดยะลา มาเรียงกันเป็นคำว่า ‘ยะลา สตอรี่’  แน่นอนว่าความสวยเก๋ต้องไม่รองใคร เพราะจังหวัดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นหนึ่งในไม่กี่พื้นที่ที่ยังมีการวาดโปสเตอร์ภาพยนตร์ด้วยมืออยู่ ดังนั้น มั่นใจได้เลยว่าสุนทรียะในศิลปะการออกแบบป้ายต้องหรอยแรงอยู่แล้ว แต่ในอีกมุมหนึ่ง ภายใต้ตัวอักษรหรือฟอนต์ (Font) เหล่านี้ล้วนมีประวัติศาสตร์ของเมืองซุกซ่อนอยู่ ซึ่ง ‘Yala Stories’ ก็ได้พาเราไปทัวร์ชมฟอนต์เหล่านี้ผ่านหน้าจอไปด้วย หลังจากศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติม ทำให้เราทราบว่ากิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการเล่าเรื่องเมืองยะลาที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 – 29 พฤษภาคม 2565 ณ ย่านสายกลาง ซึ่ง ‘Yala Stories’ เป็นชื่อของนิทรรศการนี้นั่นเอง นับว่าเป็นครั้งแรกของจังหวัดยะลาที่มีการจัดงานเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ขึ้น โดยมีครบหมดตั้งแต่นิทรรศการบอกเล่าเมืองยะลา งานศิลปะ วงเสวนา ฉายหนังสั้น การแสดงสด คอนเสิร์ต งานคราฟต์ แฟชั่น ไปจนถึงอาหารกับกาแฟ  ด้วยความชอบใจและดีใจที่เห็นจังหวัดอื่นๆ เริ่มขยับตัวเคลื่อนไหวในแวดวงงานสร้างสรรค์ร่วมสมัยมากขึ้น ทำให้เราติดต่อขอพูดคุยกับกลุ่มคนผู้อยู่เบื้องหลัง ‘Yala Stories’ และได้พบกับ ‘บอล-เอกรัตน์ สุวรรณรัตน์’ หัวหอกของโปรเจกต์นี้ […]

แอบย่องสำรวจห้องนอนเด็กหญิงยินดี ในนิทรรศการครั้งแรกของ faan.peeti 9 ก.ค. – 4 ก.ย. 65 ที่ River City Bangkok

หลายคนน่าจะคุ้นตากับลายเส้นละเอียดอ่อน สีสันที่มองแล้วรู้สึกบอบอุ่นใจของ ‘ฟาน.ปีิติ’ นักวาดภาพประกอบเจ้าของหนังสือ ‘London Book Sanctuary’ และเคยร่วมงานกับแบรนด์ดังอย่าง Vespa, SMEG และ Estée Lauder ครั้งนี้เธอจะมีนิทรรศการเดี่ยวของตัวเองเป็นครั้งแรกในชื่อ เด็กหญิงยินดี ‘Yindee’s Mysterious Friends’ ‘ฟาน.ปีิติ’จะพาทุกคนไปรู้จักกับ ‘เด็กหญิงยินดี’ เด็กหญิงผู้ไม่เคยมีเพื่อน เธอใช้เวลาอย่างลำพังกับการเขียนไดอารีเล่มเดิมที่เปรียบเสมือนเพื่อนคนหนึ่งตลอดมา แต่โลกใบเก่ากลับเปลี่ยนไป เมื่อเด็กหญิงค้นพบว่าเธออาจไม่ได้มีเพื่อนเพียงแค่คนเดียว โดยสิ่งที่เด็กหญิงค้นพบจะอยู่ในนิทรรศการนี้ โดยฟาน.ปีติจะทำหน้าที่เป็นไกด์พาทัวร์ทั่ว ‘ห้องนอน’ ของเด็กหญิงยินดี และเดินสำรวจพื้นที่ส่วนตัวที่ตั้งอยู่ในสวนซึ่งแวดล้อมไปด้วยพรรณไม้ สถานที่ดังกล่าวที่ว่าช่างแสนลึกลับ มีเพียงยินดีเท่านั้นที่จะล่วงรู้  ในสถานที่แห่งนั้น พวกเราจะได้แอบอ่านไดอารีบนหัวเตียงของเด็กหญิง พบเจอเรื่องราวที่เด็กหญิงและครอบครัวเก็บซ่อนเอาไว้ และในดินแดนที่ประดับประดาด้วยร่มเงาของพรรณไม้ ทุกคนจะได้ทำความรู้จักกับบรรดาเพื่อนๆ ในจินตนาการของยินดี หลากหลายตัวละครที่หลบซ่อนรอพบมิตรภาพใหม่ๆ เช่น เจ้างูสามหัวชื่อ ‘ซามูเอล’, นักแสดงละครสัตว์ชำนาญการอย่าง ‘โทมัส’ และ ‘จูดี้’ ตุ๊กตานุ่มนิ่มที่เจ้าของรักมาก เป็นต้น นอกจากทุกคนจะได้ไปย้อนความทรงจำในวัยเยาว์ เข้าไปสำรวจห้องนอนของเด็กหญิงยินดีหมายเลข 248 ที่ชั้น 2 ของโรงแรมริเวอร์ ซิตี้ แบง็กค็อกแล้ว […]

เปิดหูเปิดตา ฟังเสียงกลุ่มชาติพันธุ์ในไทย ในนิทรรศการ ‘Sound of the Soul’ 19 – 31 ก.ค. 65 ที่หอศิลปกรุงเทพฯ

เดือนกรกฎาคมนี้ หอศิลปกรุงเทพฯ (BACC) ชวนมางาน ‘Sound of the Soul’ นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย ว่ากันด้วยเรื่องเสียงที่ไม่ค่อยถูกได้ยินในสื่อกระแสหลัก เพื่อมุ่งหวังให้ระยะห่างของผู้คนใกล้กันมากขึ้น  นิทรรศการครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์ในการฟัง พูด คุย รับรู้ความเป็นไปและการมีอยู่ เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้วัฒนธรรมพื้นถิ่นอันเป็นวิถีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างหลากหลายและห่างไกลของผู้คนจากผืนดินอื่น อาทิ กลุ่มปกาเกอะญอ กลุ่มไทดำ กลุ่มไทกะเลิง กลุ่มกะเหรี่ยงโปว์ กลุ่มมูเซอ กลุ่มอาข่า กลุ่มอูรักลาโว้ย ฯลฯ ภายในงานมีกิจกรรมที่ชวนเปิดผัสสะผ่าน Visual Performance ฟังและมองดูสิ่งต่างๆ ที่บันทึกจากการไปสัมผัสถิ่นที่อยู่จริง โดยกลุ่มศิลปิน 3 สาขา ได้แก่ – ‘Hear&Found’ กลุ่มคนทำงานที่ใช้ดนตรีเพื่อลดการแบ่งแยกในสังคม ประกอบด้วย ‘เม-ศิรษา บุญมา’ กับ ‘รักษ์-ปานสิตา ศศิรวุฒิ’ ที่ตั้งใจสร้างพื้นที่ส่งเสียงความหลากหลายทางวัฒนธรรมออกไปให้ผู้คนได้รับรู้ ผ่านการใช้ความถนัดคือ เสียง ดนตรี และการสื่อสาร – ‘ศุภชัย เกศการุณกุล’ ช่างภาพผู้โดดเด่นเรื่องการถ่าย Portrait […]

‘แรงงานข้ามเส้น’ โดยศิลปินหญิงและเควียร์ นิทรรศการที่ยืนหยัดว่าทุกคนคือคนทำงาน วันนี้ – 16 ก.ค. 65 ที่ SAC Gallery

ที่ผ่านมา ภาพจำของแรงงานที่ปรากฏในสื่อกระแสหลักของบ้านเรามักฉายแต่เพียงภาพของผู้ใช้แรงกายที่เป็นคนชนชั้นรากหญ้า ทว่าเมื่อไม่นานมานี้ ขบวนการประชาธิปไตยที่เบ่งบานในไทยก็พยายามส่งเสียงเรียกร้องและสร้างความเข้าใจใหม่ว่า แท้จริงแล้ว ‘พวกเราทุกคนคือคนทำงาน’ ต่อให้คุณใช้ฝีมือ ไอเดีย หรือกระทั่งทำสิ่งที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้ยอมรับว่าเป็นงาน แต่ทั้งหมดนั้นล้วนแลกมาด้วยหยาดเหงื่อ แรงกาย แรงใจ และค่าเสียโอกาสด้วยทั้งสิ้น นิทรรศการ ‘Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น’ คือนิทรรศการที่นำเสนอเรื่องราวหลากหลายแง่มุมของผู้ใช้แรงงาน ซึ่งมักไม่ปรากฏในสื่อกระแสหลัก โดยร้อยเรียงเป็นเรื่องราวผ่านการข้ามเส้นแบ่งทั้งทางกายภาพและนามธรรม นำเสนอผ่านผลงานหลากหลายรูปแบบจาก 6 ศิลปินหญิงและเควียร์ เมนส์ ภาระค่าใช้จ่ายของคนทำงานที่เป็นผู้มีประจำเดือน การกดทับของคนทำอาชีพ Sex Worker ความพร่าเลือนของเส้นความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบ้านเป็นเวลานาน ความทรงจำของชาวจีนโพ้นทะเลที่อพยพเข้าสยามที่เลือนหายไปตามกาลเวลา การตั้งคำถามถึงการบวชเป็นพระที่สงวนให้แต่เพศชายตามกำเนิดเท่านั้น เหล่านี้คือตัวอย่างของประเด็นที่เหล่าศิลปินเลือกมาถ่ายทอดผ่านชิ้นงานอย่างคอลลาจ เซตภาพถ่าย งานจัดวาง เป็นต้น ใครที่สนใจนิทรรศการ ‘Crossing the Lines: แรงงานข้ามเส้น’ เปิดให้เข้าชมที่อาคารหอศิลป์ ชั้น 2 เอส เอ ซี แกลเลอรี กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันนี้ – 16 กรกฎาคม 2565 เปิดบริการทุกวันอังคาร-เสาร์ […]

พาทัวร์อีเวนต์ไพรด์ Bangkok Pride: Rainbowtopia 17 – 19 มิ.ย. 65 ที่ BACC และ Siam Square

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ได้มีการเดินไพรด์พาเหรดในงาน ‘นฤมิตไพรด์’ เฉลิมฉลองความหลากหลาย และเรียกร้องเรื่องความเท่าเทียมทางเพศไปอย่างยิ่งใหญ่ในกรุงเทพฯ คราวนี้ถึงคิวของ ‘Bangkok Pride 2022: Rainbowtopia’ อีเวนต์ไพรด์อีกงานที่จัดเต็มทั้งศิลปะ เวิร์กช็อป เสวนา มาร์เก็ต และคอนเสิร์ต เพื่อร่วมเฉลิมฉลองคอมมูนิตี้ LGBTQ+  เทศกาลนี้จัดขึ้นโดย SPECTRUM ทีมสื่อที่ทำงานและสื่อสารเรื่องเพศมาอย่างยาวนาน โดยร่วมมือกับหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มนักกิจกรรม กลุ่มผู้ทำงานศิลปะ คลินิกสุขภาพทางเพศ วงการภาพยนตร์ หรือศิลปินนักดนตรี โดยมีเป้าหมายที่จะเห็นโลกแห่งความเท่าเทียมที่ทุกคนเคารพซึ่งกันและกัน ธีมของงานใช้ชื่อว่า ‘Rainbowtopia’ เนื่องจากต้องการชวนทุกคนมาวาดฝันและจินตนาการถึงโลกแห่งความเท่าเทียม ที่คนทุกเพศ ทุกเชื้อชาติ และทุกช่วงวัย ได้มีพื้นที่ปลอดภัยในเป็นตัวของตัวเอง รวมถึงได้รับสิทธิ สวัสดิการอย่างเท่าเทียมกัน  ภายในงานได้มีการแบ่งโซนกิจกรรมออกเป็นหลากหลายรูปแบบตามธีมย่อยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากสีทั้ง 6 บนธงไพรด์ โดยแบ่งพื้นที่จัดกิจกรรมออกมาเป็น 2 แห่ง ได้แก่ ภายในหอศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพฯ (BACC) และ สยามสแควร์ บล็อก I  บรรยากาศงานเป็นยังไงบ้าง สนุกสุดต๊าชแค่ไหน มีกิจกรรมใดที่ไม่ควรพลาด Urban Creature […]

‘ร้อยปีตึกเรา’ มหกรรมเปิดบ้านฉลองครบรอบ 100 ปี อาคารมิวเซียมสยาม กิจกรรมตลอดปีตั้งแต่ เม.ย. – พ.ย. 65

รู้ไหมว่าตึกมิวเซียมสยามจะมีอายุครบ 100 ปีในวันที่ 12 ตุลาคม 2565 นี้แล้วนะ ทางพิพิธภัณฑ์จึงถือโอกาสฉลองครบรอบหนึ่งศตวรรษ ผ่านการเปิดบ้านและกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แนวคิด ‘ร้อยปีตึกเรา’ เพื่อให้ผู้คนเข้าใจและตระหนักถึงคุณค่าของมรดกภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชาติ อีกทั้งยังมีแรงบันดาลใจในการรักษาอาคารทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมอันสวยงามของไทยอย่างยั่งยืนด้วย กิจกรรมหลักที่จะเกิดขึ้นภายใต้มหกรรมเฉลิมฉลอง ‘ร้อยปีตึกเรา’ ที่มิวเซียมสยามจะจัดขึ้นตลอดปี ได้แก่  นิทรรศการ ‘ตึกเก่า เล่าใหม่ New Take on Old Building’ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมาร่วมร้อยเรื่องราว เล่าเรื่องตึก รื้อฟื้นความทรงจำ และรำลึกการเปลี่ยนผ่านก่อนจะมาเป็นตึกมิวเซียมสยามในปัจจุบัน  โดยนิทรรศการเปิดให้เข้าชมทุกวันอังคาร–วันอาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.00 – 18.00 น. และทุกวันเสาร์ที่จัดงาน ‘เสาร์สนามไชย Saturday Happening’ เวลา 10.00 – 20.00 น. ตั้งแต่วันนี้ – เดือนธันวาคม 2565 เสาร์สนามไชย Saturday Happening ถือเป็นไฮไลต์กิจกรรมชุดใหญ่ ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ด้วยกิจกรรมหลากหลายที่เหมาะสมกับคนทุกช่วงวัย และมีความรื่นรมย์ที่มิวเซียมสยามทุกวันเสาร์ต้นเดือน […]

Guarding The Art นิทรรศการในบัลติมอร์ งานศิลปะที่คัดสรรโดย รปภ. พิพิธภัณฑ์ เปลี่ยนผู้ดูแลงานให้เป็น Curator

ใครไปพิพิธภัณฑ์บ่อยๆ คงเคยสังเกตเห็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่ยืนตามจุดต่างๆ ของพื้นที่จัดแสดง หน้าที่หลักของพวกเขาคือเคลื่อนย้ายและดูแลงานศิลปะที่จัดแสดง รวมไปถึงอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าชม ซึ่งยามรักษาการณ์เหล่านี้ถือเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่คุ้นเคยและใกล้ชิดกับงานศิลปะมากกว่าคนทั่วไป  เพราะเหตุนี้ Baltimore Museum of Art พิพิธภัณฑ์ในเมืองบัลติมอร์ รัฐแมริแลนด์ สหรัฐอเมริกา จึงปิ๊งไอเดียจัดนิทรรศการ ‘Guarding the Art’ เพื่อแสดงงานศิลปะ 25 ชิ้นที่คัดสรรโดย 17 เจ้าหน้าที่จากแผนกรักษาความปลอดภัยของพิพิธภัณฑ์ มีทั้งอดีตเจ้าหน้าที่และคนที่ปัจจุบันยังทำงานอยู่ เจ้าหน้าที่ทั้ง 17 คนได้มีส่วนร่วมรังสรรค์นิทรรศการนี้เกือบทุกขั้นตอน ทั้งกระบวนการคัดเลือกผลงานที่ใช้เวลานานกว่า 2 ปี การออกแบบการจัดวาง (Installation) การผลิตเนื้อหาสำหรับเอกสารและสื่อประเภทอื่นๆ รวมไปถึงการออกแบบทัวร์นิทรรศการสำหรับผู้เข้าชมด้วย ผลงานที่ถูกคัดเลือกจัดแสดงใน Guarding the Art มีความหลากหลาย ทั้งในด้านยุคสมัยของผลงาน ประเภท หมวดหมู่ และเนื้อหาที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ เช่น การเคลื่อนไหวต่อต้านการเหยียดสีผิวและเชื้อชาติ ‘Black Lives Matter’ การระบาดของโควิด-19 รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าหน้าที่กับงานของพวกเขา Guarding the Art เกิดขึ้นจากไอเดียของเอมี่ เอเลียส […]

มองสติกเกอร์ให้เป็นมากกว่าแผ่นลอก-ติด ไปกับนิทรรศการ Whatever Sticker ที่ XXXYYY Cafe วันนี้ – 30 เม.ย. 65

‘สติกเกอร์’ มีความหมายและมีบทบาทในชีวิตของพวกคุณอย่างไรบ้าง? สติกเกอร์ (Sticker) มีคำแปลเป็นภาษาไทยว่า ‘รูปลอก’ หรือที่เรารู้จักกันดีในรูปแบบแผ่นลอก-ติด-แปะ ที่มีหลากหลายลวดลายและสีสัน พบได้ทั่วไปในบ้านของเราเอง ร้านค้า ร้านอาหาร รวมไปถึงสถานที่สาธารณะ หากสังเกตดีๆ จะพบว่าแผ่นลอกเหล่านี้แฝงตัวอยู่รอบตัวพวกเรามานานหลายปีแล้ว ช่วงวัยเด็กหลายคนคงคุ้นเคยกับการซื้อสติกเกอร์การ์ตูนจากร้านเครื่องเขียนใกล้โรงเรียน หรือรถพุ่มพวงขายสติกเกอร์ที่ขับผ่านหน้าบ้าน บางคนมีสมุดสติกเกอร์เป็นของตัวเองไว้สะสมหรือเก็บไว้แลกรางวัล โตขึ้นมาหน่อยก็จะรู้จักสติกเกอร์สะสมความดี สติกเกอร์คำหยาบ และสติกเกอร์คำคมติดหลังรถ เมื่อเทคโนโลยีล้ำสมัยมากขึ้น สติกเกอร์ก็กลายร่างสู่รูปแบบดิจิทัล มีม และสารพัดอีโมจิ ที่ผู้คนซื้อขายกันตามโซเชียลมีเดีย ส่วนการใช้งานของสติกเกอร์ก็หลากหลาย ชนิดที่ว่าไม่มีข้อจำกัดหรือข้อกำหนดใดๆ ทั้งการใช้งานเพื่อตกแต่ง สื่อสาร เป็นของที่ระลึก หรือแม้แต่ในสถานการณ์โรคระบาด การใช้สติกเกอร์ยังเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของพวกเราเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เช่น การติดสติกเกอร์ไว้ที่ตัวหลังวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้าพื้นที่สาธารณะเพื่อเป็นการบอกว่าเราสบายดี หรือการใช้สติกเกอร์กำหนดพื้นที่เพื่อรักษาระยะห่างทางสังคม ความหลากหลายทั้งด้านการใช้งานและการสื่อความหมายของสติกเกอร์จึงเป็นที่มาของ Whatever Sticker นิทรรศการที่ชวนผู้คนจากหลากหลายแวดวงผลิตชิ้นงาน ‘สติกเกอร์’ ในมุมมองของตัวเอง นอกเหนือจากสติกเกอร์ที่มีรูปแบบแผ่นลอก-ติด โดยมีศิลปิน ครีเอเตอร์ นักออกแบบ นักสื่อสาร และนักรณรงค์ ร่วมจัดแสดงผลงานถึง 26 คน Whatever Sticker จัดแสดงสติกเกอร์ที่มีรูปแบบแปลกตา ฟังก์ชันล้ำ แถมยังซ่อนข้อความของผู้ออกแบบไว้ด้วย […]

8 อีเวนต์ทั่วกรุงเทพฯ ที่น่าเที่ยว ชม ช้อป ตลอด มี.ค. – เม.ย. 65

หน้าร้อนนี้ ใครอยากออกจากบ้านไปเที่ยว ชม ช้อปในหลายบรรยากาศบ้าง? Urban Creature อยากชวนทุกคนไปใช้ชีวิตนอกบ้านกับ 8 อีเวนต์ หลายหมวดกิจกรรมที่เราได้คัดสรรมา มีตั้งแต่งานแฟร์ใหญ่ๆ เอาใจคนรักการอ่านและการออกแบบ เช่น งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ บ้านและสวนแฟร์ ไปจนถึงงานแสดงศิลปกรรมไฟประจำปีของ Time Out ที่จะพาทุกคนเดินดูแสงไฟยามราตรี และซึมซับสถาปัตยกรรมของย่านเก่าที่เรารัก ตั้งแต่เจริญกรุง ตลาดน้อย เยาวราช ไปจนถึงซอยนานา มากไปกว่านั้น เรายังรวบรวมนิทรรศการที่จะพาคุณไปทำความรู้จักศิลปะ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมอย่างหลากมิติ มีทั้งการจัดแสดงงานศิลปะต่อต้านสงคราม ศิลปะสะท้อนชีวิตและสังคมในชายแดนใต้ กิจกรรมจำลองการแต่งงานเกาหลีแบบโบราณ และกิจกรรมบรรยายพิเศษเกี่ยวกับตลาดศิลปะดิจิทัล (NFT) รับรองว่าในแต่ละงาน คุณจะได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่แบบไม่ซ้ำกันแน่นอน อีเวนต์ที่เราเลือกมามีทั้งงานที่เริ่มจัดแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ใครสนใจงานไหนตามไปอ่านรายละเอียดและปักหมุดไว้ได้เลย! 01| งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 20 ไม่ต้องกลัวว่าปีนี้จะล่ม เพราะได้รับการยืนยันมาแล้วว่างานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 50ฯ จัดแน่นอน! ใครที่คิดถึงกลิ่นอายของงานสัปดาห์หนังสือฯ ไม่ว่าจะเป็นการเดินเลือกหนังสือท่ามกลางบูทหนังสือมากมายที่มีแทบทุกสำนักพิมพ์ในประเทศไทยในงานเดียว การหยุดนั่งพักเปิดหนังสือที่เพิ่งซื้อมา ก่อนที่จะรวบรวมพลังแล้วเดินหยิบหนังสือเข้ากระเป๋าอีก […]

รีโนเวตสวนลุมฯ ครั้งใหญ่ฉลอง 100 ปี ร่วมชมนิทรรศการโครงการปรับปรุงสวน วันนี้ – 20 มี.ค. 65 ที่ศาลาภิรมย์ภักดี

หลังจากที่สวนเบญจกิติได้อัปเกรดและรีโนเวตพื้นที่จนเปิดให้บริการแก่ประชาชนไปแล้วเมื่อช่วงต้นปี คราวนี้ถึงทีของสวนสาธารณะแห่งแรกของประเทศไทยอย่างสวนลุมพินีกันบ้าง ซึ่งการรีโนเวตสวนลุมฯ ครั้งนี้เกิดขึ้นเนื่องในโอกาสฉลองครบ 100 ปีสวนลุมฯ ในปี 2568 เป้าหมายของการปรับปรุงสวนลุมฯ ในวาระครบ 100 ปี คือการทำให้ที่นี่เป็นต้นแบบของสวนสาธารณะที่เป็นมากกว่าสวนสาธารณะ โดยมีแนวคิดหลักในการออกแบบทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ การคงคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศ ผสานความหลากหลายทางวัฒนธรรม เป็นพื้นที่สำหรับกิจกรรมนันทนาการยุคใหม่ และมีการออกแบบเพื่อคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานะ การรีโนเวตแบ่งออกเป็น 2 เฟส เฟสแรกเริ่มต้นโครงการที่บริเวณถนนแกนกลางสวนฯ ประกอบด้วย งานปรับปรุงภูมิทัศน์ถนน และงานก่อสร้างถังเก็บน้ำใต้ดิน เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ บรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง และงานก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์สวนลุมพินี 100 ปี ส่วนเฟสที่ 2 ได้แก่ การปรับปรุงพื้นที่ส่วนที่เหลือของสวนลุมพินีทั้งหมด โดยแบ่งพื้นที่การใช้งานออกเป็นส่วนต่างๆ ประกอบด้วย สวนน้ำช่วยเมือง สวนป่าและกิจกรรมยุคใหม่ จุดเชื่อมต่อสะพานเขียว ลานรอบอาคารบันเทิง สวนจีน โรงอาหารและสวนผักในเมือง สวนเพื่อการเรียนรู้ และชมรมกับกิจกรรมนันทนาการ ทั้งนี้ ยังมีการดำเนินการปรับปรุงภูมิทัศน์ และพื้นที่กายภาพต่างๆ รวมถึงก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ เช่น […]

1 3 4 5 6 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.