WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

ไม่ใช่แค่ไทยที่ต้นไม้ขายดี คนเช็กก็หันมาทำสวนและใช้ศิลปะจากต้นไม้เยียวยาจิตใจช่วงกักตัว

ช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนไม่ได้ออกไปเจอโลกภายนอก สายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงคนกับวัฒนธรรม สิ่งมีชีวิตและธรรมชาติค่อยๆ ขาดหาย แต่ ‘Alexandra Strelcova’ เจ้าของร้านดอกไม้คนหนึ่ง ณ กรุงปราก เชื่อว่าด้วยพลังเห็นพืชพรรณจะช่วยเยียวยาจิตใจของผู้คนให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้และเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติให้กลับมาแน่นแฟ้นอีกครั้งหนึ่ง Alexandra ได้ตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชื่อ ‘Haenke’ ขึ้นร่วมกับสามีของเธอ Julian Antih ทั้งสองคนมีความตั้งใจที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวของผู้คน โดยผลงานแรกที่องค์กรของเธอร่วมมือกับสถาปนิกอย่าง Juras Lasovsky ส่งเข้าประกวด ณ จัตุรัสกลางของกรุงปรากคือ ผลงานศิลปะขนาดใหญ่จากไม้กระถาง โดยเธออยากให้ผลงานนี้เป็นเหมือนที่ผ่อนคลายของผู้คนแทนพื้นที่จัตุรัสโล่งๆ  ต่อมาเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นทั่วโลก องค์กรของเธอก็ได้ให้ความช่วยเหลือบ้านพักคนชราโดยการนำพืชกระถางพันธุ์ต่างๆ เข้าไปช่วยชุบชูจิตใจที่เหี่ยวเฉาของผู้คนเมื่อต้องกักตัว เพราะเธอเชื่อว่าพืชนั้นช่วยบำบัดเยียวยาจิตใจได้  ความเชื่อนี้ของ Alexandra มีข้อสนับสนุนมากมายจากตัวเลขของพืชพรรณที่ขายออกไปในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสถิติจากราชสมาคมพืชสวนแห่งสหราชอาณาจักร ยืนยันว่ายอดขายพืชกระถางเพิ่มขึ้นถึง 225% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และในสหรัฐอเมริกามีผู้เริ่มมาทำสวนเป็นครั้งแรกเพิ่มขึ้นถึง 7% จากสถิติของ National Gardening Association เชื่อว่าไม่ใช่แค่สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และกรุงปราก ที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับต้นไม้และการทำสวนมากขึ้น แต่ในประเทศไทยเองผู้คนก็เริ่มสนใจพืชกระถางและการทำสวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน หวังว่าการได้อยู่กับพืชพรรณต่างๆ จะช่วยใครหลายๆ คนคลายเหงาและบรรเทาความเครียดไปได้บ้างในช่วงที่โรคระบาดยังไม่ซา Source : Bloomberg […]

ผจญไพรในวันที่ป่าไร้ผู้คนกับ ‘อาเฌอ’ ช่างภาพผู้พิทักษ์ป่าแห่งทุ่งกะมัง ซาฟารีเมืองไทยถิ่นชัยภูมิ

Urban Creature ของอาสาพาทุกคนเข้าป่า ผจญไพรผ่านตัวหนังสือไปพร้อมกับ ‘พี่วุธ-ประสิทธิ์ คำอุด’ ช่างภาพและผู้พิทักษ์ป่าแห่งทุ่งกะมัง จังหวัดชัยภูมิ เจ้าของเพจ ‘อาเฌอ’ ที่จะขอเป็นเจ้าถิ่นบอกเล่าเรื่องราวในวันที่ป่าไร้ผู้คน พร้อมฝากภาพถ่ายแทนความห่วงใย จากเหล่าสรรพสัตว์ให้คนเมืองได้หายคิดถึง | เมื่อชีวิตโหยหาธรรมชาติการเดินทางจึงเริ่มต้นอีกครั้ง บ่ายวันหนึ่งกลางเดือนเมษายนที่แสนจะร้อนอบอ้าว แต่ก็เทียบไม่ได้กับความร้อนรุ่มที่มันสุมอยู่ในใจ เมื่อคนที่หลงใหลการเดินทางอย่างเราต้องติดเเหง็กออกไปไหนไม่ได้ ใช้ชีวิตอยู่แต่ในพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ กับกิจวัตรประจำวันเพียงไม่กี่อย่าง ไม่ว่าจะ กิน นอน ทำงาน เป็นอย่างนี้มาตลอดทั้งเดือน ทำให้เราเบื่อหน่าย จนชีวิตแทบหมดไฟ… เมื่อออกไปไหนไม่ได้ทางเดียวที่เราสามารถเข้าใกล้ธรรมชาติได้มากที่สุด คือการท่องเที่ยวผ่านโลกออนไลน์  ขับเคลื่อนด้วยเมาส์ เลี้ยวซ้ายแลขวาดูธรรมชาติผ่านภาพถ่ายของคนโน้นที คนนี้ที จนวันหนึ่งเราไปสะดุดตากับโพสต์ของช่างภาพคนหนึ่ง ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการโดนกักตัวอยู่ในป่า พร้อมกับเหล่าสิงสาราสัตว์ผ่านเพจเฟซบุ๊กชื่อว่า ‘อาเฌอ’   | ‘อาเฌอ’ ผู้ใช้ภาพถ่ายเชื่อมโยงคนกับธรรมชาติ ทันทีที่ปลายสายกดรับโทรศัพท์ สิ่งแรกที่เราได้ยินกลับมาไม่ใช่เสียงของพี่เขา แต่เป็นเสียงของนกน้อยใหญ่นานาชนิดเซ็งแซ่ทักทายเข้ามาก่อนที่เราจะเริ่มต้นบทสนทนาเสียอีก ในที่สุดก็ได้คุยกับ ‘พี่วุธ –  ประสิทธิ์ คำอุด’ นักสื่อความหมายธรรมชาติ ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และยังเป็นช่างภาพผู้หลงใหลการถ่ายภาพสัตว์ป่าเป็นชีวิตจิตใจ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ‘อาเฌอ’ ที่คอยถ่ายทอดเรื่องราวของสัตว์ป่าผ่านภาพถ่ายมากว่า […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.