กฎหมายทำแท้งเปลี่ยนแล้ว แต่ทำไมการทำแท้งปลอดภัยยังเข้าถึงยาก คุยกับ ‘กลุ่มทำทาง’

ในฐานะคนที่สนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนและความเท่าเทียมทางเพศ ชื่อของ กลุ่มทำทาง ผ่านหูผ่านตาเราหลายหน เราเคยเห็นข่าวคราวของการรณรงค์เรื่องทำแท้งปลอดภัย เคยอ่านบทความที่ออกมาแชร์ประสบการณ์จริงของผู้หญิงที่เคยทำแท้งจากเว็บไซต์และเพจของพวกเธอ และเคยฟังพอดแคสต์ที่ชวนคิดชวนคุยในหัวข้อเดียวกันนี้มาบ้าง กระทั่งเมื่อต้นปีที่แล้ว ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยที่ชี้ว่าประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 301 ซึ่งกำหนดความผิดแก่หญิงที่ทำให้ตนเองแท้งว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ นำมาซึ่งการแก้ไขกฎหมายให้สามารถทำแท้งได้ภายในอายุครรภ์ 12 สัปดาห์โดยไม่ถือว่ามีความผิดทางอาญา นอกจากนี้ยังแก้กฎหมายอาญา มาตรา 305 ให้หญิงที่มีอายุครรภ์ 12 – 20 สัปดาห์สามารถยุติการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน แต่ต้องตรวจและรับคำปรึกษาจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่น การแก้ไขกฎหมายเรื่องนี้นำมาซึ่งเสียงวิพากษ์วิจารณ์หลายขั้วจากคนในสังคม แม้จะล่วงเลยเวลามานานกว่าหนึ่งปีก็ยังเป็นที่พูดถึงบนหน้าไทม์ไลน์ฉันเสมอ ในวาระที่กลุ่มทำทางเพิ่งจัดงาน ‘Bangkok Abortion กรุงเทพทำแท้ง’ เสร็จไปหมาดๆ เราเลยไม่พลาดที่จะนัดคุยอัปเดตสถานการณ์เรื่องนี้กับพวกเธอ น่าสนใจที่เมื่อเราถามความรู้สึกของ ‘นิศารัตน์ จงวิศาล’ หนึ่งในสมาชิกที่มานั่งคุยกับเราวันนี้ต่อกฎหมายยุติการตั้งครรภ์ข้อปัจจุบัน เธอบอกว่า ‘ยังไม่แฮปปี้’ และการปรับเปลี่ยนข้อกฎหมายก็ไม่ได้แปลว่าผู้ที่อยากยุติการตั้งครรภ์เข้าถึงการรับการบริการมากขึ้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น-ให้บทสนทนาในบรรทัดถัดไปเล่าให้ฟัง ​​ทำไมคุณถึงยังไม่แฮปปี้กับกฎหมายทำแท้งที่เพิ่งอัปเดต เราว่าการเปลี่ยนข้อกฎหมายมันก็ดี ในแง่ที่ทำให้ผู้ให้บริการสบายใจขึ้น และผู้รับบริการรู้สิทธิ์ตัวเอง มันดีหมดแหละ แต่สิ่งที่เราอยากได้จริงๆ ตั้งแต่แรกคือการยกเลิกมาตรา 301 ไปเลย คนที่ทำแท้งต้องไม่มีความผิดทุกกรณี อันนี้คือจุดมุ่งหมายแรกของเรา Pain Point ที่กลุ่มทำทางเจอคือการไม่มีสถานที่บริการทำแท้ง ซึ่งถึงจะแก้กฎหมายแล้วก็ไม่ได้ดีขึ้น […]

เปิดกว้างและเข้าใจการทำแท้งมากขึ้น กับงาน Bangkok Abortion ที่สวนครูองุ่น ทองหล่อ 25 ก.ย. 65

‘การทำแท้ง’ ถือเป็นประเด็นทางกฎหมายและสังคมที่ผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลกออกมาเรียกร้องกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พวกเธอมีสิทธิ์ในร่างกายของตัวเอง  ประเทศไทยมี ‘กฎหมายการทำแท้งฉบับใหม่’ เมื่อปี 2564 ที่อนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ถ้ามีอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ หากทำแท้งเกินช่วงเวลาดังกล่าว ต้องจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้กฎหมายจะปรับให้เนื้อหาก้าวหน้ากว่าเดิม แต่ดูเหมือนว่าจำนวนการทำแท้งในไทยก็ยังไม่เพิ่มมากขึ้นเท่าไหร่นัก สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะผู้หญิงส่วนใหญ่ยังไม่รู้ข้อมูลและเข้าไม่ถึงการทำแท้งที่ปลอดภัย ขณะเดียวกันโรงพยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยก็ยังมีอคติต่อการทำแท้ง มองว่าเป็นเรื่องบาปหรืออาจทำให้เสียภาพพจน์ได้ เพราะเชื่อว่าการทำแท้งไม่ใช่ทางเลือกที่อันตรายหรือเรื่องน่าอาย กลุ่มทำทาง ​(คุยกับผู้หญิงที่ทำแท้ง) เครือข่ายทำแท้งปลอดภัย และกลุ่ม NGO จึงจัดงาน ‘Bangkok Abortion – กรุงเทพทำแท้ง : ทำแท้งทำได้ ปลอดภัย ไม่ตายนะเธอ’ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้คนได้แลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้เรื่องสิทธิการทำแท้ง ผ่านเสวนาและกิจกรรมที่น่าสนใจ เช่น  – เสียงจากประสบการณ์ของผู้หญิงที่ทำแท้ง – สิทธิประโยชน์ในการให้บริการหลังกฎหมายทำแท้งฉบับใหม่ ที่คนกรุงเทพฯ ก็เข้าถึงได้– ความก้าวหน้าของกฎหมายกับช่องว่างและทิศทางในการติดตามของภาคประชาชน– ประชาธิปไตยกับการทำแท้ง– สิทธิแรงงานกับสิทธิการเข้าถึงบริการทำแท้งใน กทม.– เสียงจาก LGBTQIA+ กับการทำแท้ง ภายในงานยังมีการแสดงดนตรีสดและมีวิทยากรเข้าร่วมพูดคุยมากมาย รวมถึงกิจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ […]

ผู้หญิงต้องมีสิทธิในร่างกายตัวเอง โคลอมเบียผ่านกฎหมายทำแท้ง หากอายุครรภ์ไม่เกิน 6 เดือน

โคลอมเบียคือประเทศล่าสุดที่ผ่านกฎหมายทำแท้ง บรรดาผู้หญิงและกลุ่มนักเคลื่อนไหวหลายร้อยคนต่างโห่ร้องดีใจและโบกธงฉลองวันแห่งชัยชนะบนท้องถนนในกรุงโบโกตา หลังจากพวกเธอต่อสู้เพื่อสิทธิในร่างกายของสตรีมานานหลายปี การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 หลังศาลรัฐธรรมนูญของโคลอมเบียมีมติเสียงข้างมาก 5 ต่อ 4 เสียง ผ่านกฎหมายให้ผู้หญิงขอยุติการตั้งครรภ์หรือทำแท้งได้ทุกกรณีโดยไม่ถูกดำเนินคดีอาญา ถ้ามีอายุครรภ์ไม่เกิน 24 สัปดาห์ หรือ 6 เดือน ส่งผลให้โคลอมเบียเป็นประเทศที่สามในภูมิภาคลาตินอเมริกา ต่อจากเม็กซิโกและอาร์เจนตินา ที่ผ่านกฎหมายการทำแท้งในช่วง 14 เดือนที่ผ่านมา การทำแท้งได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ถือเป็นก้าวสำคัญของโคลอมเบีย ประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก และมีค่านิยมแบบอนุรักษนิยม เพราะก่อนหน้านี้โคลอมเบียอนุญาตให้ผู้หญิงทำแท้งได้ภายใต้สามเงื่อนไขเท่านั้น ได้แก่ ชีวิตและสุขภาพของผู้หญิงตกอยู่ในความเสี่ยง ทารกในครรภ์มีรูปร่างผิดปกติทำให้ดำรงชีวิตไม่ได้ และการตั้งครรภ์เป็นผลมาจากการข่มขืนหรือร่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง ซึ่งในอดีต ผู้หญิงและแพทย์ที่ทำแท้งนอกเหนือจากสามเงื่อนไขที่กล่าวมา อาจได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ 16 – 54 เดือน ภายใต้ประมวลกฎหมายอาญาภายในประเทศ ข่าวดีสำหรับเด็กผู้หญิงและผู้หญิงกว่า 50 ล้านคนในโคลอมเบียเกิดขึ้นหลังจากพันธมิตรของกลุ่มสนับสนุนการทำแท้ง Causa Justa ฟ้องร้องให้โคลอมเบียลบการทำแท้งออกจากประมวลกฎหมายอาญา โดยแย้งว่า การกำหนดให้การทำแท้งนอกเหนือจากทั้งสามเงื่อนไขเป็นอาชญากรรม ส่งผลให้แพทย์ที่ทำแท้งและผู้ป่วยถูกสังคมตีตรา  Causa Justa ยังเปิดเผยอีกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของการทำแท้งในโคลอมเบียเกิดขึ้นอย่างลับๆ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.