‘ของดีควรดู มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ’ พิพิธภัณฑ์จุฬาฯ เปิดนิทรรศการพิเศษ จัดแสดงสิ่งของน่ารู้จากคณะและหน่วยงานต่างๆ 2 ต.ค. – 27 ธ.ค. 67 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นอกจากเป็นสถานศึกษาแล้ว จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีของเด็ดของดีอย่างเหล่าพิพิธภัณฑ์เจ๋งๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ภายในคณะต่างๆ แต่ด้วยข้อจำกัดของการเป็นสถานที่กึ่งปิดกึ่งเปิด ทำให้มิวเซียมเลิฟเวอร์หรือคนภายนอกไม่มีโอกาสได้เข้าไปสัมผัสมิวเซียมเหล่านี้เท่าไหร่ ด้วยเหตุนี้ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาฯ ได้จัดนิทรรศการพิเศษ ‘ของดีควรดู มิวเซียมน่ารู้ในจุฬาฯ’ ซึ่งเป็นการรวบรวมของดีจากพิพิธภัณฑ์ในจุฬาฯ มาจัดแสดงร่วมกันเพื่อให้ผู้สนใจได้เข้าชม โดยเป็นความร่วมมือระหว่างพิพิธภัณฑ์ต่างๆ ที่อยู่ภายใต้การดูแลของคณะและหน่วยงานหลายภาคส่วนภายในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็น 1) สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม (พิพิธภัณฑ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน, พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์, เรือนไทยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, หอประวัติจุฬาฯ, หอสมุดดนตรีไทย และหอศิลป์จามจุรี)2) คณะวิทยาศาสตร์ (พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาฯ, พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีทางภาพ, พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา และพิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์)3) คณะทันตแพทยศาสตร์ (พิพิธภัณฑสถานวาจวิทยาวัฑฒน์ และพิพิธภัณฑ์ร่างกายมนุษย์)4) ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค (พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งน่าน และพิพิธภัณฑ์ศิลป์-สินธรรมชาติ จ.สระบุรี)5) สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ (พิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถาน)6) คณะเภสัชศาสตร์ (พิพิธภัณฑ์สมุนไพร)7) คณะสัตวแพทยศาสตร์ (พิพิธภัณฑ์กายวิภาคศาสตร์ทางสัตวแพทย์)8) คณะอักษรศาสตร์ (พิพิธพัสดุ์ ไท-กะได)9) คณะแพทยศาสตร์ (หอประวัติคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ) โดยการจัดแสดงภายในนิทรรศการนั้นจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ […]

FYI

‘โตโยต้า’ มอบทุนการศึกษาแก่นิสิตจุฬาฯ เป็นปีที่ 51 ขับเคลื่อนสังคมไทยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ปัจจุบันนี้ ธุรกิจต่างๆ ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการเติบโตของบริษัทอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเล็งเห็นถึงการเติบโตของสังคมผ่านการดำเนินธุรกิจของตนเองด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนา ช่วยเหลือ หรือขับเคลื่อนสังคมไทยให้ไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่นเดียวกันกับ ‘บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด’ ก็เป็นหนึ่งในบริษัทรถยนต์ ที่ไม่ได้ใส่ใจแค่เพียงคุณภาพของรถยนต์เท่านั้น แต่ยังดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมไทยให้ไปสู่ความยั่งยืน ด้วยการตระหนักถึงการศึกษา ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญที่จะพาให้เยาวชนของไทยเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ อย่างการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นิสิต นักศึกษาที่มีผลการเรียนและความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ สำหรับปีการศึกษา 2566 นี้ นับเป็นครั้งที่ 51 แล้ว ที่ทางโตโยต้า ได้มอบทุนสนับสนุนแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาตั้งแต่ พ.ศ. 2516 รวมทั้งสิ้น 1,615 ทุน เป็นมูลค่า 21,522,000 บาท โดย ปีนี้ ‘นายโนริอากิ ยามาชิตะ’ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย‘นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ’ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และ ‘นายสุรภูมิ อุดมวงศ์’ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้มอบทุนการศึกษาให้กับนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี […]

ชวนแลกเปลี่ยนเรื่องเพศแบบสับๆ ที่งาน GENDER FAIR 2023 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 12 ก.พ. 66

ในมิติของความหลากหลายเรื่อง ‘เพศ’ คงไม่ใช่ทุกคนที่รู้และเข้าใจได้เป็นอย่างดี แต่ถ้าคุณมีความสนใจและอยากเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ‘GENDER FAIR 2023’ เป็นอีกหนึ่งงานที่ไม่ควรพลาด GENDER FAIR 2023 คืองานแฟร์ที่รวบรวมเรื่องเกี่ยวกับเพศเอาไว้ เพื่อเป็นพื้นที่ให้ทุกคนได้มาเรียนรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องเพศในประเด็นต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน ผ่าน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ นอกจากนี้ ภายในงาน GENDER FAIR 2023 ยังมีกิจกรรมเวิร์กช็อปให้เข้าร่วมอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้เรื่องเพศ, SOGIE Study, ตกแต่งหน้าคุกกี้เจนเดอร์ หรือบูทจากองค์กรที่ทำงานเพื่อสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ GENDER FAIR 2023 จะจัดขึ้นในวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 – 16.30 น. ณ สโมสรนิสิตรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยผู้เข้าร่วมงานสามารถ Walk-in เข้าร่วมงานได้ฟรี  สำหรับใครที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมหลักอย่างการโต้วาที พูดคุยเรื่องเพศ และตอบคำถามชิงเงินรางวัล สามารถสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ตั้งแต่วันนี้ – 12 กุมภาพันธ์ […]

จุฬาฯ เปลี่ยนกิจกรรมวันแรกพบนิสิตใหม่ ไม่มีผู้นำเชียร์ คทากร กลุ่มเชิญพระเกี้ยว ต่อต้านสิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี

ในยุคที่สังคมไทยให้ความสำคัญและขับเคลื่อนประเด็นเรื่องสิทธิและความเท่าเทียมมากขึ้นเรื่อยๆ หลายหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนจึงต้องกลับมาพิจารณาและเปลี่ยนแปลงกิจกรรมขององค์กรที่อาจส่งต่อวัฒนธรรมการเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นหนึ่งต้นตอของความไม่เท่าเทียมในสังคม หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2565 องค์การบริหารสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (อบจ.) ได้โพสต์เฟซบุ๊กแจ้งเปลี่ยนแปลงกิจกรรมวันแรกพบนิสิตใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยประจำปี 2565 (CU First Date 2022) ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 พร้อมระบุว่าในวันงานจะไม่มีกิจกรรมใดๆ จากกลุ่มผู้นำเชียร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Cheerleader) จุฬาฯ คทากร (The Drum Major of Chulalongkorn University) และกลุ่มผู้อัญเชิญพระเกี้ยวแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Coronet) อบจ. ระบุว่า ความเคลื่อนไหวนี้เกิดขึ้นหลังจากนิสิตจำนวนมากและสาธารณชนตั้งคำถามเกี่ยวกับปัญหาทางสังคมต่างๆ โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง ‘สิทธิพิเศษของคนหน้าตาดี’ (Beauty Privilege) ที่เอื้อให้คนหน้าตาดีตรงตาม ‘มาตรฐานความงาม’ (Beauty Standard) มีโอกาสในสังคมมากขึ้น  ดังนั้น อบจ. จึงต้องการแสดงจุดยืนและหยุดส่งวัฒนธรรมการกดขี่และการเลือกปฏิบัติต่อผู้อื่นที่เกิดจากอคติทางรูปร่าง หน้าตา สีผิว เชื้อชาติ และเพศ เพื่อทำให้ทุกคนเท่าเทียมกันตามปฏิญญาการต้อนรับนิสิตใหม่แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยข้อที่ 2 […]

‘IM Project’ โครงการจากนิสิตจุฬาฯ ที่ช่วยร้านอาหารชุมชนให้อยู่ได้ในวิกฤตโควิด-19

เชื่อว่าไม่น้อยเลยที่จะเห็นร้านอาหารเล็กๆ ที่คุ้นเคยบริเวณชุมชนหรือที่พักปิดตัวไปเพราะภาระทางเศรษฐกิจในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดเป็นต้นมา บริเวณจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็คล้ายกับพื้นที่การศึกษาอื่นๆ ที่บริเวณภายในและรอบๆ เต็มไปด้วยร้านอาหาร ร้านกาแฟ สำหรับนักเรียน นิสิตนักศึกษาและคนทำงานที่แวะเวียนมาในพื้นที่ แต่วันนี้ผู้คนกลับลดจำนวนลงมากเพราะมาตรการเรียนออนไลน์ นั่นทำให้ร้านอาหารรายเล็กบริเวณนั้นต้องแบกรับค่าใช้จ่ายเท่าเดิม แต่รายรับลดฮวบ เมื่อนิสิตกลุ่มหนึ่งรับประทานอาหารที่ร้านในพื้นที่ชุมชนสามย่านและได้รับฟังปัญหาที่ร้านต้องเจอ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘IM Project’ หรือ ‘อิ่มโปรเจกต์’ โครงการที่ริเริ่มโดยกลุ่มนิสิตจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ตั้งใจช่วยเหลือร้านอาหารชุมชนให้อยู่รอดได้ในช่วงวิกฤต เพราะกว่าที่สถานการณ์ทุกอย่างจะกลับไปเป็นปกติ ร้านอาหารที่เรารักและเคยผูกพันอาจจะล้มหายตายจากไปจากย่านนี้เสียก่อน ‘อนวัช มีเพียร’ หนึ่งในทีมงานของ ‘อิ่ม’ เล่าให้เราฟังว่าร้านอาหารแรกที่โครงการช่วยเหลือคือ ‘ก๋วยเตี๋ยวตี๋ใหญ่ต้มยำ’ ที่ซอยจุฬาฯ 48 ร้านเปิดขายในพื้นที่สามย่านมากว่า 14 ปี และเรียกติดปากจากผู้คนบริเวณนั้นว่า ‘ก๋วยเตี๋ยวกัญชา’ ทว่าทางร้านไม่ต้องการรับความช่วยเหลือเป็นตัวเงินโดยตรงแต่เป็นการรับทำอาหารแทน ดังนั้นสิ่งที่อิ่มโปรเจกต์ทำคือจับคู่ร้านอาหารเข้ากับสถานที่ องค์กร หรือมูลนิธิที่ต้องการสั่งข้าวกล่อง และเปิดรับบริจาคจากผู้ที่พร้อมสนับสนุน  สำหรับอนาคตว่าจะอยู่หรือไปของ ‘ก๋วยเตี๋ยวกัญชา’ อนวัชบอกว่าสิ้นเดือนมกราคมนี้เป็นเส้นตายที่ต้องช่วยทางร้านจ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้เพียงพอกับจำนวนที่ต้องจ่าย หากไม่ครบตามเป้าทางร้านก็ต้องโยกย้ายไปพื้นที่ใหม่สำหรับประกอบการ  นี่อาจเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากอีกหลายร้านที่พบความยากลำบากในช่วงวิกฤตนี้ ทาง ‘อิ่ม’ มองเห็นปัญหาและไม่ได้นิ่งนอนใจ “เราอยากพัฒนาโครงการที่ยั่งยืนและช่วยร้านค้าในวงกว้างขึ้นและได้ผลประโยชน์ทุกร้านอย่างเท่าเทียมกัน และช่วยให้ร้านโลคอลที่ไม่ได้มีใครซัปพอร์ต เป็นพ่อค้าแม่ค้าหาเช้ากินค่ำให้อยู่รอดได้ด้วยตัวเองในพื้นที่สามย่าน” อนวัชทิ้งท้ายกับเรา สำหรับใครที่อยากช่วย #saveก๋วยเตี๋ยวกัญชา ติดตาม ‘IM […]

สตาร์ทอัปไทย กับการก้าวไปให้ทันโลก | ความรู้รอดตัว EP.4 ‘Start-up Class’

สตาร์ทความคิดใหม่ๆ กับ ‘Start-up Class’ Start ความคิด Up ชีวิตสู่จุดสุดยอด ! คลาสที่จะชี้ให้เห็นโอกาสของสตาร์ทอัปไทยที่ยังไปได้อีกไกล หากช่วยแก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น โดยมี ‘คุณโจ้-รังสรรค์ พรมประสิทธิ์’ ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน QueQ สตาร์ทอัปที่แก้ปัญหาการรอคิวได้อย่างตรงจุด และ ‘ผศ. ดร. กวิน อัศวานันท์’ อาจารย์ภาควิชาพาณิชย์ศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาเผยเบื้องลึกสตาร์ทอัปว่าคืออะไรกันแน่ แล้วตอนนี้สตาร์ทอัปในบ้านเราไปได้ไกลแค่ไหน เพื่อมองทิศทางของสตาร์ทอัปไทยว่าควรก้าวต่อไปอย่างไรให้อยู่ยั้งยืนยง

โลกปัจจุบันกับการสร้างสรรค์คอนเทนต์ กับ ปั๋น-ดริสา และอ.ดร.เจษฏา l ความรู้รอดตัว EP.2

จริงหรือเปล่ากับคำถามที่ว่า ในยุคที่ทุกคนสามารถเป็นผู้สร้างสรรค์คอนเทนต์ ‘ใครๆ ก็เป็นสื่อได้ ?’ หนึ่งในคำถามชวนคิด ผ่านบทสนทนาของ ปั๋น-ดริสา การพจน์ ศิลปินที่พ่วงตำแหน่ง content creator และ อ.ดร.เจษฏา ศาลาทอง อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ รวมไปถึงแลกเปลี่ยนคำถามกับผู้ร่วมคลาส เพื่อแบ่งปันหลากหลายแนวคิดให้แก่กันและกัน ตั้งแต่การจัดการในวันที่มีทั้งคนรักและคนชัง ไปจนถึงสื่อควรมีหน้าที่แบบไหนกันแน่ระหว่างชี้นำสังคม หรือสะท้อนสังคม เราขอชวนทุกคนมาร่วมหาคำตอบด้วยกันใน Better Living Room ห้องว่างให้เล่า กับซีรีส์ ‘ความรู้รอดตัว’ EP.2 ‘Content is Now’

เมื่อจุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’

เมื่อวันนี้จุฬาฯ สวมบทบาทเป็น ‘ผู้สร้างเมือง’ ด้วยตัวเอง ร่วมพูดคุยกับ ‘รศ.ดร. วิศณุ ทรัพย์สมพล’ รองอธิการบดี ด้านการจัดการทรัพย์สินและกายภาพ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถึงแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่บริเวณสามย่านให้เป็นเมืองต้นแบบอัจฉริยะ

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.