London Cycling Campaign ประท้วงของนักปั่นจักรยานในกรุงลอนดอน เพื่อทวงคืนถนนที่ปลอดภัยสำหรับผู้หญิง

เป็นเวลากว่า 90 นาทีที่กลุ่มนักปั่นจักรยานกว่า 100 คนในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ รวมตัวกันปั่นจักรยานประท้วงเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2566 เพื่อรณรงค์และทวงคืนเส้นทางจักรยานที่ปลอดภัยสำหรับนักปั่นเพศหญิงในเมืองเนื่องในวันสตรีสากล ภายใต้แคมเปญที่ชื่อว่า ‘London Cycling Campaign (LCC)’ London Cycling Campaign เกิดขึ้นจากความร่วมมือขององค์กร ‘Women’s Network’, ‘The Joyriders Women’s Cycling Organisation’ และ ‘Londra Bisiklet Kulübü’ หลังจากพบว่าการขี่จักรยานในเพศหญิงหลายครั้งมักเกิดอันตรายจากความไม่ปลอดภัยในเส้นทาง รวมไปถึงการก่อกวนและคุกคามจากปัจจัยภายนอก การออกมาประท้วงเดินขบวนในครั้งนี้จึงเป็นเหมือนการส่งสารจากผู้ใช้ถนนจริง ไปถึงนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอน เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในอนาคต  โดยเหล่านักปั่นเริ่มเดินขบวนผ่านสถานที่สำคัญในเมืองตั้งแต่ Marble Arch, Buckingham Palace, Palace of Whitehall ไปจนถึง Trafalgar Square ก่อนจะวนกลับมาที่จุดเริ่มต้น เป็นภาพที่สร้างความสนใจให้แก่ผู้พบเห็นเพราะนักปั่นหลายคนต่างแต่งตัวด้วยชุดแปลกตา พร้อมพาสัตว์เลี้ยงสุดน่ารักไม่ว่าจะเป็นสุนัขหรือแมวนั่งในตะกร้าหน้ารถจักรยานมาด้วย หลังการประท้วงจบลง Sadiq Khan นายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตนเองต้องการให้ผู้หญิงรู้สึกปลอดภัยไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในลอนดอนเช่นกัน […]

Fietsenstalling Stationsplein เปลี่ยนใต้น้ำให้เป็นอาคารจอดจักรยาน จอดฟรี 24 ชม. และจอดได้สูงสุด 11,000 คัน

เมื่อนึกถึงการเดินทางด้วยจักรยาน ภาพเมืองอัมสเตอร์ดัมในประเทศเนเธอร์แลนด์มักจะผุดขึ้นตามมา นั่นเพราะว่าผู้คนในเมืองแห่งนี้นิยมปั่นจักรยาน เพื่อลดการใช้รถยนต์บนท้องถนนซึ่งเป็นสาเหตุหลักของมลภาวะทางอากาศนั่นเอง  เมื่อทางการรณรงค์ให้ผู้คนเลือกใช้จักรยานมากขึ้น และที่ทางบนพื้นดินก็ดูเหมือนจะจัดสรรได้ยากในปัจจุบัน เนเธอร์แลนด์จึงขยายพื้นที่จอดรถและจักรยานไปยังพื้นที่ใต้ดิน เพื่อแก้ปัญหาการจอดจักรยานบนท้องถนนที่ดูเกะกะตาหรือสร้างความไม่เป็นระเบียบให้กับเมือง ถัดมาในปี 2019 เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์แดนจักรยานก็ได้เริ่มสร้างโปรเจกต์อาคารจอดจักรยานใต้น้ำ เพื่อเปิดพื้นที่แห่งใหม่เป็นตัวช่วยจัดการพาหนะหลักของชาวเมืองอีกหนึ่งแรง โดยอาคารจอดจักรยานแห่งนี้ชื่อว่า ‘Fietsenstalling Stationsplein’ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานีกลาง ‘Amsterdam Central Station’ ซึ่งเป็นสถานีสำหรับขนส่งสาธารณะอย่างรถไฟฟ้าและรถใต้ดิน  อาคารจอดจักรยานใต้น้ำจะแบ่งเป็นสองส่วนหลักๆ เปิดใช้ส่วนแรกไปเมื่อมกราคมที่ผ่านมา และส่วนที่สองก็กำลังมีแผนเปิดให้บริการในปลายเดือนกุมภาพันธ์นี้ และหากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง อาคารจอดจักรยานทั้งสองจะสามารถช่วยรองรับจักรยานของชาวเมืองได้ถึง 11,000 คัน โดยสตูดิโอ ‘wUrck Architecture’ ที่รับหน้าที่ออกแบบอาคารแห่งนี้บอกว่า แรงบันดาลใจนั้นมาจากหอยนางรม เสมือนว่าชาวเมืองกำลังพาจักรยานคันโปรดไปตามบันไดเลื่อนผ่านโค้งเลี้ยวลงไปจอดรถในหอยยักษ์ใต้น้ำ เมื่อเข้ามาสู่ด้านในหอยยักษ์หรือตัวอาคาร จะพบกับโถงขนาดใหญ่ที่แบ่งแถวจัดเรียงแนวจอด และแบ่งกติกาต่างๆ ไว้อย่างเป็นระเบียบ โดยพื้นผิวด้านในที่แห่งนี้จะใช้โทนขาวนวลของไข่มุกมาเป็นแสงสีหลักในพื้นที่ ส่วนด้านบนเพดานถูกออกแบบให้มีกระจกโค้งมนที่ใช้สีฟ้าประดับตกแต่งให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ใต้น้ำ แต่ไม่อึดอัดเพราะพื้นที่ด้านในยังถูกดีไซน์ให้รู้สึกสว่างไสว มองเห็นความเรียบง่ายที่กว้างขวางและให้ความรู้สึกนุ่มนวลเย็นสบาย โรงจอดจักรยานใต้น้ำแห่งนี้สามารถมาจอดได้ฟรี 24 ชั่วโมง หรือถ้าใครมีธุระต้องจอดข้ามวันจะคิดค่าจอดวันละ 1.35 ยูโร (ประมาณ 50 บาท) และนอกจากจะเป็นพื้นที่จอดจักรยานของประชาชนทั่วไปแล้ว ที่จอดจักรยานแห่งนี้ยังเริ่มต้นทดลองบริการจักรยานส่วนกลาง (OV-Fiets Bikeshares) เพื่อให้ทุกคนใช้ขี่สัญจรไปมายังที่ต่างๆ […]

‘Gooutride’ ปั่นหาเส้นทาง มุมมองบนอานจักรยาน

“จักรยานและภาพถ่าย คือสิ่งที่เราเรียกได้ว่าเป็นผลงานศิลปะที่สื่อสารและถ่ายทอดความคิดในแบบของตัวเอง” ตอนที่อยู่บนอานจักรยาน ทุกสิ่งรอบตัวดูช้าไปหมด ผมมีสมาธิมากขึ้น อยู่กับตัวเองมากขึ้น ขณะเดียวกันมันทำให้เรารู้สึกถึงเพื่อนร่วมทางและวิวทิวทัศน์ข้างทางมากกว่าการเดินหรือขี่มอเตอร์ไซค์ อาจเพราะเราต้องใช้แรงกายแรงใจในการโฟกัสกับการเดินทางก็ได้ นอกจากชอบปั่นจักรยานแล้ว ผมยังชอบถ่ายภาพด้วย สองสิ่งนี้ดูเหมือนจะทำไปพร้อมๆ กันได้ไม่ง่ายในสายตาคนทั่วไป แต่ตัวผมสามารถพกกล้อง ปั่นจักรยาน และถ่ายภาพไปพร้อมๆ กันได้โดยไม่เป็นอุปสรรคเลย  Gooutride เป็นชุดภาพถ่ายที่นำเสนอการเดินทางด้วยจักรยาน กับการปั่นหาเส้นทาง สถานที่ใหม่ๆ ในชนบท ทั้งหมดอัดแน่นไปด้วยเรื่องราวของเพื่อนร่วมทาง สิ่งของ หรืออะไรก็ตามที่เราอยากให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้ร่วมเดินทางไปกับเรา ติดตามผลงานของ ชาคริสต์ เจือจ้อย ต่อได้ที่ Instagram : bombaychakrist และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

คอร์สออนไลน์ฟรีจาก ม.อัมสเตอร์ดัม สอนสร้างเมืองให้เป็นมิตรต่อคนเดินเท้าและจักรยาน

เมื่อครึ่งศตวรรษก่อน เนเธอร์แลนด์เคยเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญกับการใช้รถยนต์เป็นสำคัญ ในปี 1971 แค่ปีเดียว เกิดอุบัติเหตุทางถนนทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3,300 คน และเป็นเด็กและเยาวชนกว่า 400 คน การสูญเสียที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เกิดการรณรงค์เคลื่อนไหวเพื่อผลักดันให้เกิดเมืองเป็นมิตรต่อคนเดินเท้ารวมทั้งการใช้รถจักรยาน จนวันนี้เนเธอร์แลนด์มีทางจักรยานมากถึง 35,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ และใน ‘เมืองหลวงของจักรยาน’ อย่างอัมสเตอร์ดัมนั้นมีสัดส่วนผู้ใช้จักรยานเป็นพาหนะมากถึง 38 เปอร์เซ็นต์ นี่จึงเป็นที่มาของ ‘Unraveling Cycling City’ (เสาะสำรวจเมืองจักรยาน) คอร์สออนไลน์จากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม (University of Amsterdam) ที่เปิดให้เรียนฟรีในเว็บไซต์ Coursera  คอร์สเรียนที่เป็นผลจากการวิจัย เก็บข้อมูลและการตกตะกอนจากคณาจารย์ในมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัม จะพาเราสำรวจทั้งแง่มุมทางประวัติศาสตร์ การออกแบบเมือง แง่มุมทางสิ่งแวดล้อม รวมทั้งนโยบายสาธารณะที่จะชวนหาคำตอบว่าการออกแบบเมืองที่ดี เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คนเดินเท้า และพาหนะที่ไม่ทิ้งภาระต่อสิ่งแวดล้อมอย่างจักรยานนั้นเป็นอย่างไร ต้องผ่านอะไรมาบ้าง  คอร์สเรียนเป็นภาษาอังกฤษที่มีซับไตเติลรองรับ 5 ภาษา (แต่ยังไม่มีภาษาไทยนะ) รวมทั้งมีสื่อประกอบการเรียนตลอดทั้งคอร์สตั้งแต่คลิปวิดีโอ บทความ หนังสือที่แนะนำให้อ่าน รวมทั้งแบบฝึกหัดที่ชวนคิด ชวนหาคำตอบตลอดคอร์สเรียน  คอร์สเปิดให้เรียนฟรีตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป หากใครสนใจ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่เลย : https://bit.ly/3MLuano […]

มิลานสร้างทางจักรยาน 750 กม. ครอบคลุมการเดินทางทั่วเมือง ช่วยสุขภาพ ลดค่าใช้จ่ายระยะยาว

มิลานวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่กับโปรเจกต์ Cambio เครือข่ายทางจักรยานระยะทาง 750 กิโลเมตร ที่วางแผนว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2035 ที่จะยกระดับให้การใช้จักรยานเป็นรูปแบบการคมนาคมท้องถิ่นที่สะดวกที่สุด ครอบคลุมการใช้งานของประชากร 86 เปอร์เซ็นต์ของเมือง และเชื่อมต่อบริการต่างๆ ทั้งโรงพยาบาล โรงเรียน ในระยะ 1 กิโลเมตรนับจากทางจักรยานมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์  เมืองเอกแห่งอิตาลีคาดว่าเมื่อเครือข่ายทางหลวงสำหรับจักรยานทั้ง 24 สายจะเปิดให้บริการ การคมนาคมในเมือง 20 เปอร์เซ็นต์จะเป็นการใช้จักรยาน ซึ่งแนวคิดนี้เป็นส่วนหนึ่งในเป้าหมายใหญ่ของมิลานที่ต้องการเข้าถึงการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2050 สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ในความตกลงปารีส “การปั่นจักรยานจะเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนาเมือง เป็นส่วนผสมของการปกป้องสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และการพัฒนาเศรษฐกิจ” สภาเมืองมิลานยังหวังว่านอกจากการลดก๊าซเรือนกระจก การสร้างทางปั่นจักรยานสีเขียวที่แยกออกมาอย่างชัดเจน จะทำให้การเดินทางปลอดภัยมากขึ้นสำหรับจักรยานทุกประเภท และการเดินทางประเภทนี้ยังส่งผลดีต่อสุขภาพประชากรด้วย  เครือข่าย Cambio มีลักษณะเป็นวงกลม 4 ชั้นที่ค่อยๆ ขยายตัวออกจากศูนย์กลางของเมือง และตัดด้วยเส้นรัศมีอีก 16 เส้นในลักษณะที่คล้ายกับใยแมงมุม เพื่อให้การเข้าถึงทุกส่วนของเมืองทำได้ง่ายขึ้น นอกจากนั้นสภาเมืองยังวางแผนจัดทำจุดจอดจักรยานโดยเฉพาะ มีป้ายระบุแบบชัดเจนทั้งแบบแอนะล็อกและดิจิทัลที่อาศัยการชาร์จไฟในตอนกลางวันและส่องสว่างเวลากลางคืนเพื่อประหยัดพลังงานด้วย  โครงการดังกล่าวมีมูลค่า 250 ล้านยูโร แต่สภาเมืองมิลานได้คาดการณ์ออกมาแล้วว่า Cambio จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในอนาคตได้มากถึง 1,000 […]

นักปั่นสายติ่งและสายตื๊ดไม่ควรพลาด

ข่าวดีสัปดาห์นี้สำหรับสายปั่นในร่ม Indoor Cycling
RYDE Cycling Bangkok จัดคลาสใหม่ และคลาสพิเศษ เอาใจนักปั่นกันแบบเอาให้มันกันไปข้าง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.