‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ เกมทางเลือกที่อยากให้สังคมเข้าใจความกลัวของผู้หญิงทุกคน

ทุกครั้งที่ต้องแยกทางกับเพื่อนโดยเฉพาะช่วงกลางคืน เชื่อว่าผู้หญิงหลายคนคงไม่ลืมที่จะกำชับและเตือนกันว่า ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วย’ จนประโยคนี้แทบจะกลายเป็นอีกหนึ่งคำบอกลาที่ติดปากไปแล้ว บางคนอาจจะไม่เข้าใจว่าทำไมประโยคเหล่านี้ถึงกลายเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้หญิงหลายๆ คน ทำไมต้องอยากรู้ว่าเพื่อนถึงบ้านแล้วหรือยัง หรือทำไมถึงบ้านแล้วต้องบอกให้คนอื่นรับรู้ด้วย ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ อาจจะดูเป็นประโยคธรรมดาๆ แต่ความจริงแล้วแฝงไปด้วยความห่วงใย และสะท้อนถึงความอันตรายจากการเดินทางในเมืองนี้ เพราะการบอกให้อีกฝ่ายรับรู้ว่าตัวเอง ‘ถึงบ้านแล้ว’ เป็นการแสดงให้เห็นว่าเราปลอดภัยและกลับถึงบ้านโดยสวัสดิภาพ จากความเป็นห่วงเป็นใยในชีวิตประจำวันที่กลายเป็นความคุ้นชิน ‘ต้า-พิมพิศา เกือบรัมย์’ นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ สาขานิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงเลือกทำธีสิสที่ชื่อว่า ‘ถึงบ้านแล้วบอกด้วยนะ’ ซึ่งมาในรูปแบบของ ‘เกมทางเลือก’ ที่จำลองสถานการณ์การกลับบ้านคนเดียวในช่วงเวลากลางคืน โดยผู้เล่นต้องตัดสินใจแทนตัวละครเมื่อเผชิญเหตุการณ์ต่างๆ ท้ายที่สุดเกมนี้จะทำให้ผู้เล่นตระหนักและเข้าใจถึงความกังวลใจของผู้หญิงหลายๆ คนที่ต้องเดินทางกลับบ้านคนเดียว ไม่ว่าจะในช่วงเวลาไหนก็ตาม วันนี้ คอลัมน์ Debut ขอชวนทุกคนไปพูดคุยกับต้าถึงจุดเริ่มต้นของโปรเจกต์นี้ รวมไปถึงความตั้งใจที่จะทำให้ผู้คนในสังคมเข้าใจและตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามที่ผู้หญิงทุกคนต้องเจอ ปัญหาการคุกคามไม่ได้เกิดจากเหยื่อ “อยากลองทำอะไรสักอย่างให้สังคมได้พูดถึงปัญหาการคุกคามทางเพศหรืออันตรายของการเดินทางคนเดียวมากขึ้น อยากให้สังคมเลิกโทษเหยื่อและเข้าใจว่าการถูกคุกคามไม่ได้เกิดขึ้นจากเหยื่อ” ต้าเล่าถึงจุดเริ่มต้นของเกมนี้ซึ่งเกิดจากประเด็นเรื่อง ‘ความปลอดภัยของผู้หญิง’ ที่กลายเป็นปัญหาในสังคมของเรามานาน เนื่องจากประเทศไทยมีอาชญากรรมและความรุนแรงเกิดขึ้นอยู่รอบตัวทุกวัน และส่วนใหญ่เหยื่อจะเป็นเพศหญิง ทำให้เด็กและผู้หญิงส่วนใหญ่ถูกปลูกฝังให้ระมัดระวังตัวกันมาโดยตลอด แต่ไม่ว่าจะระวังตัวแค่ไหน เหตุการณ์อันตรายก็ยังสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างไรก็ตาม สังคมของเราอาจยังมีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้าใจความกลัวและความกังวลเหล่านี้ ไม่ว่าจะในสื่อหลักหรือสื่อออนไลน์ เราเชื่อว่าข่าวที่ถูกหยิบมานำเสนอบ่อยครั้งคือเหตุการณ์ที่หญิงสาวถูกคุกคามทางเพศ ในสถานการณ์และสถานที่ที่ต่างกันไป แต่แทนที่จะตั้งข้อสงสัยกับการลงมือของคนร้าย สังคมกลับมักตั้งคำถามถึงการแต่งกายของผู้เสียหายก่อนเป็นอย่างแรก ทำให้ต้าเล็งเห็นถึงปัญหาและความไม่เข้าใจของคนในสังคมว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร […]

HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา รวมเรื่องสั้นที่อยากชวนให้ทุกคนเลิกเหยียดและคุกคามกันได้แล้ว

โดนพ่อแม่ลงรูปถ่ายในเฟซบุ๊กโดยไม่ขออนุญาต เพื่อนพากันแซวและนินทารูปร่างหน้าตาเราในรูปที่โพสต์ลงโซเชียลมีเดีย เจอใครไม่รู้มาปล่อยเฟกนิวส์เราในอินเทอร์เน็ต ทั้งหมดนี้คือเหตุการณ์ที่เหล่านักเขียนหยิบเอามาสร้างเป็นเรื่องแต่ง (ที่หลายคนอาจเจอในชีวิตจริง) ในรวมเรื่องสั้น ‘HARSHTAG #ให้ไซเบอร์บูลลี่จบที่รุ่นเรา’ ของสำนักพิมพ์แซลมอน หนังสือเล่มนี้เป็นเสมือนบันทึกที่ถ่ายทอดความเจ็บปวดแห่งยุคสมัย โดยได้รับแรงบันดาลใจจากสัญญาใจที่ชวนให้ผู้คนหยุดการไซเบอร์บุลลี่ ตั้งแต่การวิจารณ์รูปร่าง การคุกคามทางเพศ การเหยียดเพศ ไปจนถึงการละเมิดความเป็นส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสั้นว่าด้วยบทสนทนาที่ลูกสาวไม่พอใจที่ครอบครัวโพสต์รูปเธอบนเฟซบุ๊ก โดย นริศพงศ์ รักวัฒนานนท์ หญิงสาวที่สงสัยว่าคนใกล้ตัวปลอมแอ็กเคานต์ในแอปฯ เป็นเธอ โดย โชติกา ปริณายก ข้อขัดแย้งของคนในครอบครัวที่มีต่อคุณยายที่เปิดแชนเนลเล่าเรื่องเสียว โดย จิรัฏฐ์ ประเสริฐทรัพย์ นิยายแชตที่บอกเล่าความรุนแรงของการปล่อยคลิปหลุดโดยที่เจ้าตัวไม่ยินยอม โดย ตัวแม่* ไปจนถึงการ์ตูนสะท้อนความเจ็บปวดของอินฟลูเอนเซอร์ที่ได้รับคอมเมนต์รุนแรงหยาบคาย โดย สะอาด หลังอ่านจบ เราพบว่ามีหลายส่วนของหลายเรื่องสั้นที่ทำให้เรานึกย้อนกลับไปถึงพฤติกรรมของตัวเองและคนที่เคยพบเจอ ว่าเราเคยทำอะไรแบบนี้กับใครไหม หรือเราเคยโดนใครไซเบอร์บุลลี่บ้างหรือเปล่า แล้วตอนนี้เรายังทำแบบนั้นอยู่หรือไม่ ทั้งที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจให้ใครเจ็บปวดก็ตาม ขณะเดียวกัน แม้ว่าหนังสือเล่มนี้คนอ่านจะเป็นใครก็ได้ แต่สำหรับเรามองว่าคนอ่านวัยรุ่นน่าจะอินหรือรู้สึกแทงใจเป็นพิเศษ และคงดีไม่น้อยถ้าพวกเขาอ่านแล้วตระหนักถึงความรุนแรงของการกระทำเหล่านี้ รวมถึงพยายามชักชวนกันให้หยุดการไซเบอร์บุลลี่ในสังคม ทำความเข้าใจเรื่องไซเบอร์บุลลี่ผ่านเรื่องสั้นอ่านสนุกได้ที่ salmonbooks.net/book/harshtag/ (200 บาท)

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.