โลกหลังกำแพง ลูกกรง ลวดหนาม ที่กักขังความฝันให้ต้องทิ้งชีวิตเอาไว้ใน ‘วัยหนุ่ม 2544’

นับตั้งแต่หนังอย่าง 4 Kings ทั้งสองภาคออกฉาย สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนในสไตล์งานของผู้กำกับ ‘พุฒิพงษ์ นาคทอง’ คือการมีท่าทางเป็นบทเรียนสอนใจผู้ชมด้วยบริบทปัญหาเรื่องราวในสังคมไทย หากว่าเป็นหนังเรื่องอื่น ด้วยท่าทีเช่นนี้ผู้ชมหลายคนอาจรู้สึกเหมือนกำลังถูกชี้หน้าสั่งสอน หรือรับชมละครคุณธรรมที่มีคติสอนใจในตอนจบ แต่กับงานที่ผ่านมาตั้งแต่ 4 Kings ทั้งสองภาค จวบจนมาถึง ‘วัยหนุ่ม 2544’ นั้นกลับดูกลายเป็นเสน่ห์ของหนังที่ทำมาด้วยความซื่อตรง จริงใจ และมีความรู้สึกร่วมส่วนตัวแฝงอยู่จนผู้ชมสามารถสัมผัสได้ ด้วยน้ำเสียงที่ไม่มากไปไม่น้อยไปแบบนี้นี่เอง ทำให้ท่าทีของการสั่งสอนผู้ชมกลายเป็นการเชื้อเชิญไปร่วมสัมผัสประสบการณ์ช่วงหนึ่งในช่วงชีวิตของคนที่พลาดพลั้ง และไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้ไปเกิดขึ้นกับใคร หรือกระทั่งเป็นการยับยั้งไม่ให้คนที่กำลังหลงทางไปก่อกรรมทำเข็ญแก่ชีวิตผู้อื่นดั่งบรรดาตัวละครสมมุติในเรื่อง และในขณะเดียวกัน ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งเป็นผลงานลำดับที่สามของผู้กำกับก็ดูเหมือนยังคงย่ำอยู่กับคอนเซปต์เดียวกันกับผลงานหนังสองภาคก่อนหน้า แค่ที่ต่างจากเดิมคือบริบทสถานที่ จากสถาบันช่างกลมาสู่ภายในรั้วของเรือนจำ และตัวละครเด็กช่างกลที่ทำผิดพลาดในชีวิต ซึ่งครั้งนี้ไม่อาจหลีกหนีผลของการกระทำของตัวเองได้เหมือนในผลงานก่อน วัยหนุ่ม 2544 จึงคล้ายวางตัวเป็นเรื่องราวภาคต่อจาก 4 Kings ได้อย่างกลายๆ ราวกับนี่คือหนังปิดไตรภาคของเรื่องราวเด็กช่างของผู้กำกับคนนี้ และนำไปสู่การสานต่อเรื่องราวว่า ความผิดพลาดทั้งหลายที่ช่วงวัยหนุ่มก่อขึ้นอาจนำไปสู่ปลายทางอันดำมืดภายหลังได้เพียงใด นอกจากเรื่องราวที่เข้มข้นจริงจังลึกลงไปยังมุมมืดแล้ว ด้านฝีมือการกำกับของผู้กำกับคนนี้ยังพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด ด้วยการนำเสนอภาพที่ปล่อยให้ผู้ชมเห็นห้วงเหตุการณ์ชั่วขณะโดยไม่ต้องมีบทพูดอธิบาย และการตามติดตัวละครโดยไม่จำเป็นต้องเล่าเรื่อง ทำให้ได้ความรู้สึกเหมือนร่วมสังเกตเหตุการณ์ชีวิตคนคนหนึ่งมากกว่าชมภาพยนตร์ที่มีเซตติ้งซีเควนซ์ชัดเจน มากไปกว่าการถ่ายทอดภาพชีวิตในคุกที่ดูสมจริง เป็นธรรมชาติ และเต็มไปด้วยความหดหู่ที่ดูเป็นความโดดเด่นของหนัง ซึ่งได้มาจากการไปถ่ายทำกันในสถานที่จริง อีกหนึ่งสิ่งสำคัญคือ บรรดาเหล่านักแสดงทั้งหลายที่ปรากฏตัวบนจอ แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่โดดเด่นแตกต่างกันไป แต่ทุกคนล้วนทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างยอดเยี่ยม เพราะถ้าใครคนใดคนหนึ่งทำพลาดไปแม้สักนิดเดียว อาจส่งผลให้หนังทั้งเรื่องเสียรูปไปเลยก็ได้ […]

‘คุก’ พื้นที่ไร้สิทธิที่ไม่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเมืองในมุมมอง ‘รุ้ง ปนัสยา’

รุ้ง-ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล แกนนำนักศึกษาหญิงจากแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯ ถูกจองจำในเรือนจำมาแล้ว 3 ครั้ง ส่วนอีก 1 ครั้งหลังคือ การใส่กำไล EM จำกัดพื้นที่ในเคหสถาน ถ้าย้อนกลับไปเกือบสามปีก่อน เราคงจินตนาการไม่ออกเลยว่าการเรียกร้องประชาธิปไตยจะมาไกลและมีการพูดถึงปัญหาตรงไปตรงมาอย่างในตอนนี้ แต่การกล้าตั้งคำถาม การเสนอแนวทางให้สถาบันปรับตัว และการขับไล่เผด็จการ ก็ต้องแลกมาด้วยพันธนาการผู้เรียกร้องครั้งแล้วครั้งเล่า  จากการติดตามข่าวคราวของรุ้งและแกนนำคนอื่นๆ ช่วงที่อยู่ในเรือนจำ เราสังเกตเห็นว่าข่าวเหล่านี้ถูกเล่าในวงจำกัด มีการนำเสนอเฉพาะกลุ่มบนโซเชียลมีเดีย จากบุคคลหรือสำนักข่าวเจ้าเดิมๆ ส่วนสื่อกระแสหลัก หรือสื่ออนุรักษนิยม เราไม่เคยได้รับข้อมูลที่ตีแผ่ความเป็นจริงส่วนนี้เลย ช่วงเกือบสิ้นปีที่แล้ว ก่อนรุ้งเข้าเรือนจำเป็นครั้งที่สาม เราถามเธอ จากข้อสังเกตส่วนตัวว่า คิดยังไงที่ ‘ทัณฑสถาน’ หรือ ‘คุก’ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองที่แทบไม่เคยถูกพูดถึง และแน่นอน มันเป็นพื้นที่ลับแลที่คนส่วนหนึ่งไม่แยแสว่ามีปัญหามากมายสะสม นั่นหมายถึงคุณภาพชีวิตต่ำเตี้ยเรี่ยดินของผู้ต้องขังที่ไม่เคยถูกยกระดับ และกระบวนการยุติธรรมบิดเบี้ยวที่ไม่เคยได้รับการแก้ไข คุก : พื้นที่ห่างไกลเมืองและศิวิไลซ์  “คุก ส่วนใหญ่อยู่ไกลจากพื้นที่ชุมชน โดยเฉพาะคุกที่เกิดขึ้นใหม่ หรือคุกในต่างจังหวัด เพื่อให้ตั้งอยู่ไกลจากเมือง และเพื่อให้มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เขาคงไม่อยากให้คุกอยู่ในชุมชน แต่ถ้าคุกอยู่ไกลชุมชนมากๆ ก็จะทำให้ผู้ต้องขังลำบากมาก เพราะทนายความและญาติไปเยี่ยมได้ยาก สิ่งนี้สำคัญต่อผู้ต้องขังมาก ถ้าขาดตัวกลางนี้ไปก็แปลว่าคนข้างในจะไม่ได้รู้เรื่องข้างนอกเลย “มันจะทำให้คนข้างในมีความเครียดสูงขึ้นมากๆ […]

Anstalten ดีไซน์เรือนจำให้เป็นมิตร เพื่อเยียวยาผู้ต้องขังกลับสู่สังคม

Schmidt Hammer Lassen (SHL) ออกแบบ ‘Anstalten’ เรือนจำที่มีความปลอดภัยสูงสุดในเกาะกรีนแลนด์ให้เหมือนหมู่บ้านขนาดย่อมที่รองรับนักโทษได้ 76 คน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว