วิธีแยกขยะง่ายๆ ไม่มีถังแยกสีก็ทิ้งได้แบบไม่ต้องเทรวม

หลังจากที่กรุงเทพมหานครเปิดตัวโครงการ ‘ไม่เทรวม’ เพื่อรณรงค์การแยกขยะเมื่อปีที่แล้ว นโยบายถัดไปที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อช่วยจัดการขยะคือ การขึ้นค่าธรรมเนียมเก็บขยะจากบ้านที่ไม่คัดแยกขยะ โดยบ้านที่เข้าร่วมการคัดแยกขยะจะเสียค่าใช้จ่าย 20 บาทต่อเดือน ส่วนบ้านที่ไม่คัดแยกขยะนั้นจะเสียค่าใช้จ่าย 60 บาทต่อเดือน หวังเป็นส่วนหนึ่งที่กระตุ้นให้ครัวเรือนหันมาใส่ใจกับการแยกขยะมากขึ้น การแยกขยะนั้นไม่เพียงช่วยลดภาระการกำจัดขยะของเจ้าหน้าที่เท่านั้น แต่เรายังเรียนรู้กันมาตลอดว่าการแยกขยะเป็นหนึ่งวิธีที่ช่วยลดโลกร้อนได้ และด้วยความเคยชินที่ทิ้งขยะลงถังเดียวมาตลอดอย่างยาวนาน อาจทำให้การแยกขยะดูยุ่งยากไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ยากเกินกว่าจะลองทำ แน่นอนว่าภาพของการแยกขยะนั้นมักมาพร้อมกับถังขยะชนิดต่างๆ ที่แบ่งแยกด้วยสีสัน ช่วยให้จำง่าย แต่หลายๆ บ้านคงไม่ได้มีถังขยะสำหรับแยกขยะแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ทำให้เกิดความสับสนว่า หากมีถังขยะแค่ใบเดียวแล้วจะแยกขยะได้อย่างไร Urban Creature เลยจะมาบอกวิธีการแยกขยะที่ทำได้ง่ายๆ โดยแบ่งเป็นสองระดับคือ 1) การแยกขยะระดับเริ่มต้น เป็นการแยกขยะที่ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน เพียงแค่แยกขยะออกเป็นสองประเภทก่อนทิ้งลงถัง วิธีนี้จะสะดวกกับผู้เริ่มต้นแยกขยะ คนที่มีเวลาน้อย หรือพื้นที่บ้านน้อย แบ่งออกเป็น 🍪 ขยะอินทรีย์ ขยะประเภทเศษอาหารจากการทำอาหารหรือกินเหลือ โดยเทน้ำทิ้งให้เหลือแต่เศษอาหาร และแยกถุงเอาไว้ อาจใช้เป็นถุงสีใสให้มองเห็นได้ง่ายว่าเป็นขยะประเภทไหน ขยะประเภทนี้ควรทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมความสกปรกและกลิ่นเหม็นภายในบ้าน 🧃ขยะทั่วไป  ขยะแห้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษ ซองขนม รวมถึงขยะพลาสติก ซึ่งพลาสติกบางประเภท เช่น ถุงพลาสติกหรือกล่องที่ใส่อาหาร ควรล้างให้สะอาดและตากให้แห้งก่อนจะนำไปทิ้ง เพื่อเลี่ยงไม่ให้เศษอาหารปนเปื้อนกับขยะอื่นๆ จนขยะแห้งเหล่านี้หมักหมมความสกปรกเอาไว้ […]

‘Waste War’ บอร์ดเกมสอนแยกขยะแบบง่ายๆ ที่ทั้งสนุกและได้เรียนรู้เรื่องรีไซเคิลไปพร้อมกัน

การแยกขยะ เป็นการกระทำหนึ่งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่าจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมของเราให้ยั่งยืนได้ แต่ขณะเดียวกัน หลายคนก็มองว่าการแยกขยะมีวิธีที่ซับซ้อนและทำได้ยาก ทำให้อาจมองข้ามการคัดแยกขยะก่อนทิ้งไป ‘ก้อง-ชณัฐ วุฒิวิกัยการ’ หรือ ‘KongGreenGreen’ คอนเทนต์ครีเอเตอร์สายสิ่งแวดล้อมที่ให้ความรู้และรณรงค์เรื่องการคัดแยกขยะมานาน ร่วมมือกับ ‘ไจ๋-ธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์’ นักออกแบบและเจ้าของแบรนด์ ‘Qualy’ ในการทำ ‘Waste War’ บอร์ดเกมที่จะทำให้การแยกขยะเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และนอกจากจะเป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์กับคนรอบตัวแล้ว ยังสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องของขยะอีกด้วย ก้องเล่าให้เราฟังว่า บอร์ดเกมนี้เป็นการต่อยอดเนื้อหาจากช่อง KongGreenGreen ที่ต้องการทำให้การรักษ์สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่สนุก เข้าใจง่าย และทำตามได้จริง ผ่านหลักคิดที่ว่า ‘แค่เราปรับเพียงนิดหน่อยก็ช่วยโลกได้มาก’ ซึ่งเอกลักษณ์ของช่องคือ การแนะนำวิธีการแยกขยะเบื้องต้น การให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการรีไซเคิลขยะประเภทต่างๆ ผ่าน The Recycle Series รายการที่นำเสนอเรื่องราวตั้งแต่กระป๋องที่ถูกใช้งาน จนผ่านกระบวนการรีไซเคิลต่างๆ กลับมาเป็นกระป๋องที่สามารถนำมาบรรจุเครื่องดื่มได้อีกครั้ง นอกจากนั้น ด้วยความที่เขายังเป็นผู้นำกระบวนการเวิร์กช็อปเรื่องแยกขยะตามหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงเรียน มหาวิทยาลัย หรือองค์กรที่สนใจเรื่อง Zero Waste ทำให้ต้องคิดเกมหรือกิจกรรมเพื่อที่ผู้ร่วมกิจกรรมจะได้สนุกสนานพร้อมกับได้รับความรู้ไปด้วย ก้องจึงนำเอาประสบการณ์จากการทำกิจกรรมเหล่านั้นมาปรับใช้เป็นบอร์ดเกมชิ้นนี้ ที่แม้จะดูเป็นสื่อการสอนที่ดี แต่ก็อยากให้เป็นเกมที่เล่นได้ยามว่าง เพราะ Waste War […]

กทม.เปิดโครงการ #ไม่เทรวม ชวนแยกขยะก่อนทิ้งแบบง่ายๆ แค่แยกขยะทั่วไปและเศษอาหาร

การแยกขยะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ทำเองได้ไม่ยาก กับนโยบายใหม่ของกรุงเทพมหานครอย่าง #ไม่เทรวม โครงการที่ชวนประชาชนทุกคนเริ่มต้นแยกขยะแบบง่ายๆ ก่อนทิ้ง เพื่อรณรงค์การแยกและการจัดการขยะอย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างความเคยชินกับการแยกขยะให้แก่ผู้คนด้วย  วิธีแยกขยะตามนโยบายใหม่นี้ทำได้ง่ายแสนง่าย เพียงแค่แยก ‘ขยะทั่วไปหรือขยะแห้ง’ ลงใน ‘ถุงดำ’ และ ‘ขยะเศษอาหาร’ ลงใน ‘ถุงใสหรือถุงเขียว’ ซึ่งบนรถขยะเองก็จะติดตั้งถังขยะสำหรับใส่ขยะเศษอาหารแยกไว้ด้วย มั่นใจได้เลยว่าขยะที่ทุกคนช่วยกันแยกเอาไว้จะไม่ถูกเทรวมกันที่ปลายทาง  การแยกขยะแบบนี้จะช่วยให้จัดการกับขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการส่งขยะไปรีไซเคิล, ทำปุ๋ยหมัก หรือทำเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) และช่วยลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาทางสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ตามมา โดยโครงการ #ไม่เทรวม นี้จะเริ่มเส้นทางทดลองใน 3 เขตนำร่อง ได้แก่ เขตหนองแขม เขตปทุมวัน และเขตพญาไท แต่ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่เขตไหนหรือจังหวัดใด ทุกคนสามารถเริ่มแยกขยะแบบง่ายๆ ตามแนวทางของ กทม. ได้ทันที ไม่แน่ว่าในอนาคต ประเทศไทยอาจเปลี่ยนให้การแยกขยะกลายเป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนอย่างที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นๆ ก็เป็นได้ ที่สำคัญ กรุงเทพมหานครยังมีคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจการแยกขยะฉบับมือใหม่กันด้วย ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่ bit.ly/3x0qPdJ และ bit.ly/3CWuoW2 ติดตามรายละเอียดโครงการ #ไม่เทรวม และกิจกรรมอื่นๆ […]

สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นลดใช้พลาสติก เลิกใช้ฝาและใช้แก้วสำหรับดื่มในร้าน เริ่ม 18 เม.ย. 65 กว่า 113 สาขา

ปีนี้สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นเอาจริงกับการลดพลาสติกแล้วนะ! สตาร์บัคส์ญี่ปุ่นเพิ่งจะประกาศมาตรการใหม่ 4 ข้อในการลดใช้พลาสติกในร้าน เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรที่ต้องการลดขยะลงจากเดิมให้ได้ถึง 50% ภายในปี 2030 โดยจะเปลี่ยนมาใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ใช้ภาชนะที่ใช้ซ้ำได้ เพื่อลดจำนวนขยะประเภทถ้วย ฝาปิด และช้อนส้อมแบบใช้แล้วทิ้งให้ได้มากที่สุด  มาตรการ 4 ข้อในการลดขยะของสตาร์บัคส์ญี่ปุ่น มีดังนี้1. เสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นด้วยแก้วสำหรับลูกค้าที่ดื่มในร้าน2. เครื่องดื่มเย็นสำหรับสั่งกลับบ้านจะเสิร์ฟแบบไม่มีฝาพลาสติก3. บางสาขาจะมีบริการให้ ‘เช่า’ กระบอกน้ำแบบใช้ซ้ำได้4. ช้อนส้อมจะเปลี่ยนเป็นแบบใช้ซ้ำได้ และมีแบบที่ทำจากวัสดุจากพืช 100% ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 2565 เป็นต้นไป ร้านสตาร์บัคส์ 106 แห่งในญี่ปุ่นจะเริ่มให้บริการเสิร์ฟเครื่องดื่มเย็นในแก้วสำหรับลูกค้าที่ดื่มในร้าน โดยจำหน่ายสำหรับขนาด Small และ Tall (บริการนี้รวมเมนูปั่นด้วย) ส่วนขนาด Grande และ Venti จะมีให้เลือกแค่บางสาขาเท่านั้น แต่หากลูกค้าท่านใดต้องการใช้แก้วแบบใช้แล้วทิ้งก็ยังสามารถขอพนักงานได้ตามปกติ  นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน 65 เป็นต้นไป ร้านสตาร์บัคส์ 113 แห่งทั่วประเทศญี่ปุ่นจะเริ่มให้บริการเครื่องดื่มเย็นโดยไม่แจกฝาพลาสติก (ยกเว้นเครื่องดื่มสำหรับเด็ก) โดยมาตรการนี้จะนำไปใช้กับเครื่องดื่มเย็นทั้งหมด […]

เบื้องหลังโรงงานรีไซเคิลของ ‘พี่โหมว’ มือปราบขยะ

เคยคิดไหม ? ขวดน้ำที่อยู่ในมือเราตอนนี้เมื่อดื่มหมดแล้ว ขวดพลาสติกเปล่าที่เราเพิ่งทิ้งลงถังขยะจะเดินทางไปไหน ระหว่างบ่อขยะ เตาเผาขยะ หรือโรงงานรีไซเคิล เราสืบเสาะมาจนถึงปลายทางของบรรดาขวดพลาสติกผู้โชคดี ที่ได้มาอยู่โรงงานรีไซเคิลในจังหวัดปทุมธานี รอการรีไซเคิลนำกลับไปใช้ประโยชน์อีกครั้ง

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.