รู้จักกับ ‘The Offline Club’ คอมมูนิตี้ที่พาทุกคนห่างไกลจากมือถือ และกลับไปใกล้ชิดกับตัวเองและคนใกล้ตัว

มนุษย์ปัจจุบันนี้ใช้เครื่องมือสื่อสารท่องโลกออนไลน์เป็นความเคยชิน จนบางทีเราติดกับการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานานโดยไม่ได้คำนึงถึงโลกภายนอก ‘The Offline Club’ คือคอมมูนิตี้สุดเจ๋งที่ ‘Ilya Kneppelhout’ และสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง ‘Valentijn Klok’ และ ‘Jordy van Bennekom’ ริเริ่มขึ้นในเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ พวกเขานิยามไอเดียของคอมมูนิตี้นี้ว่า ‘Swap screen time for real time.’ ที่หมายถึง เปลี่ยนเวลาที่อยู่หน้าจอให้เป็นเวลาในชีวิตจริง โดย The Offline Club จะนัดรวมตัวกันที่คาเฟ่ต่างๆ แล้วเบรกตัวเองจากการใช้โทรศัพท์มาลองทำกิจกรรมออฟไลน์อื่นๆ เช่น อ่านหนังสือ พูดคุยกับคนใหม่ๆ วาดภาพ เป็นต้น โดยกิจกรรมในแต่ละครั้งของ The Offline Club จะเริ่มจากการให้ผู้คนได้พูดคุยกันในตอนแรก ต่อด้วยการอยู่กับตัวเองภายใน 45 นาที และใช้เวลาอีก 1 ชั่วโมงให้เราเชื่อมต่อกับบรรยากาศของผู้คน รวมถึงใช้เวลาอยู่เงียบๆ กับตัวเองในช่วง 30 นาทีสุดท้าย เหล่าผู้ก่อตั้งคอมมูนิตี้นี้เชื่อว่า The Offline […]

ชวนมาอยู่ด้วยกัน ที่ “Noble Neighbor” กรุงเทพกรีฑา คอมมูนิตี้ใหม่ครบทั้ง work – life – nature

กรุงเทพฯ มีการขยายตัวของเมืองอยู่ตลอดเวลา ซึ่งในตอนนี้ก็เริ่มเข้าสู่การพัฒนาฝั่งตะวันออก ทำให้มีการเติบโตของเศรษฐกิจขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดตัวรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีส้ม รวมไปถึงธุรกิจต่างๆ ที่เริ่มขยับขยายมาเปิดตัวในโซนนี้เป็นจำนวนมาก ด้วยการเดินทางที่สะดวกสบาย เข้าสู่ใจกลางเมืองได้หลากหลายวิธี ทำให้ในอนาคตอันใกล้นี้ ย่านกรุงเทพกรีฑาอาจเป็นพื้นที่ในการใช้ชีวิตแห่งใหม่ของคนกรุงเทพฯ ก็เป็นได้ เตรียมมาเป็นชาว Nobler ด้วยกันในย่านกรุงเทพกรีฑา กับสองโครงการแรก อย่าง ‘Noble Norse’ และ ‘Nue Verse’ โครงการที่ออกแบบที่อยู่อาศัยตอบโจทย์กับกลุ่ม ‘Affordable Millennials’ ผู้มีไลฟ์สไตล์ชัดเจน และกำลังมองหาการลงทุนระยะยาวอย่างบ้านหลังแรกที่สามารถรองรับการใช้ชีวิตได้ตามที่ต้องการ กรุงเทพกรีฑา ย่านที่อยู่อาศัยแห่งอนาคต เมื่อการขยายตัวของเมืองเริ่มเข้าสู่โซนตะวันออก การเลือกทำเลที่อยู่อาศัยในย่านที่กำลังจะเติบโตอย่างกรุงเทพกรีฑาจึงเป็นการวางแผนอนาคตอย่างหนึ่ง ด้วยทำเลที่อยู่ติดกับถนนกรุงเทพกรีฑาตัดใหม่ จุดเด่นที่สังเกตได้ชัดเจนคือ โครงการหมู่บ้านระดับ Luxury จากผู้ประกอบการรายใหญ่มากมาย ถนนใหญ่ 8 เลน และทางด่วนที่พาเข้าเมืองได้อย่างง่ายดาย รวมไปถึงการมาของ Community ที่ผุดขึ้นอย่างรวดเร็ว และโรงเรียนนานาชาติชื่อดังที่ฮิตในหมู่พ่อแม่ผู้ปกครอง จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า คอมมูนิตี้ใหม่อย่าง Noble Neighbor นั้นตอบโจทย์กับการอยู่อาศัยในย่านนี้เป็นอย่างมาก มากไปกว่านั้น คอมมูนิตี้ Noble Neighbor ยังรายล้อมไปด้วยสถานที่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตในระยะยาว ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนนานาชาติ […]

Neighborhood เปลี่ยนตึกเก่า 3 ชั้นย่านช้างม่อย ให้กลายเป็นสเปซกิน-ดื่มสุดชิกของเมืองเชียงใหม่

ถนนช้างม่อยเป็นถนนเส้นที่เราคุ้นเคยตั้งแต่สมัยเป็นนักศึกษา เพราะทุกครั้งที่เดินทางมาหาซื้อของฝากที่กาดหลวง (ตลาดวโรรส) หาอะไรกินแถวตลาดสันป่าข่อย หรืออยากมานั่งปล่อยใจริมแม่น้ำปิง เราย่อมต้องขับผ่านถนนเส้นนี้ และภาพจำที่เรามีต่อช้างม่อยคือย่านที่คลาคล่ำไปด้วยนักท่องเที่ยว ร้านอาหาร และร้านขายงานคราฟต์ของคนในชุมชน จากที่เคยคึกคักอยู่แล้ว หลายปีมานี้ช้างม่อยคึกคักกว่าที่เคย เพราะมีร้านรวงใหม่ๆ ผุดขึ้นมาเรียกนักท่องเที่ยวและคนในท้องที่ให้มาเตวแอ่ว เช็กอิน อัปสตอรีกันไม่หวาดไม่ไหว ร้านขายของชำที่รวมของดีๆ จากท้องถิ่นไทย The Goodcery หรือร้านหนังสือสีเขียวที่มีแมวสามตัวเฝ้าอยู่อย่าง Rare Finds Bookstore and Cafe คือตัวอย่างที่เราเคยไป และบอกได้เลยว่าทีเด็ดของช้างม่อยยังไม่หมดเท่านี้หรอก เพราะตอนนี้ช้างม่อยมีร้านใหม่ที่ดึงดูดให้เราแวะไปอีกร้าน อันที่จริงจะใช้คำว่าร้านก็ไม่ถูกนัก เพราะ Neighborhood เป็นคอมมูนิตี้สุดชิกที่รวมร้านอาหาร ร้านกาแฟ บาร์ เวิร์กสเปซ และพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมไว้ในที่เดียว ซึ่งในฐานะคนเชียงใหม่ ไม่บ่อยนักที่เราจะเห็นสเปซแบบนี้เกิดขึ้น ลมหนาวที่เชียงใหม่กำลังพัดเย็นสบาย เป็นอีกครั้งที่เราเดินเลียบถนนช้างม่อยในยามสาย แล้วมาหยุดอยู่ตรงหน้าคอมมูนิตี้สเปซแห่งนี้ ท่ามกลางเสียงเครื่องทำกาแฟและกลิ่นพิซซาเตาฟืนหอมกรุ่น ‘เดียร์’ และ ‘พิม’ สองสาวผู้เป็นหุ้นส่วนของที่นี่กำลังนั่งรอเราอยู่บนชั้นสอง เปลี่ยนตึกเก่าเป็นคอมมูนิตี้ Neighborhood ไม่ได้เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของสองสาวเท่านั้น แต่หุ้นส่วนที่นี่มีอีกสี่คน ได้แก่ ‘เจมส์’ ‘เจมี่’ ‘อู๋’ และ […]

Co-Cave ถ้ำของคนทำงานสร้างสรรค์ ที่เป็นคอมมูนิตี้และ One-stop Service เพื่อซัพพอร์ตสายงานสร้างสรรค์ในไทย

ช่วงนี้สายผลิตหรือกลุ่มคนทำงานสร้างสรรค์กำลังบูมสุดๆ โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ที่ไม่ว่าใครก็ค้นพบคนทำงานสร้างสรรค์เจ๋งๆ ได้ผ่านแฮชแท็กหรือการแนะนำของคนอื่นๆ อีกทั้งในโลกออฟไลน์ก็เริ่มมีพื้นที่จัดแสดงงานหรืออีเวนต์ที่เปิดโอกาสให้สายผลิตปล่อยของกันมากขึ้น แต่ในความบูมนั้น Pain Point หนึ่งที่ตามมาของคนทำงานสร้างสรรค์หน้าใหม่ที่ต้องการยืนระยะอยู่ในเส้นทางนี้ได้ยาวๆ คือ การมีเครือข่ายชุมชนที่สนับสนุนกันและกัน รวมไปถึงการเสาะหาคนทำงานสายงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานให้ออกมาสำเร็จได้อย่างมีคุณภาพ ตั้งแต่คนสร้างสรรค์คอนเทนต์ นักออกแบบ นักพิสูจน์อักษร โรงงานผลิต เป็นต้น ด้วยความที่มีประสบการณ์อยู่ในวงการนักสร้างสรรค์มาก่อน ‘อ้น-อาภัสพร สุภาภา’ มองเห็นปัญหาเหล่านี้มาตลอด เธอจึงได้ไอเดียสร้างแพลตฟอร์ม Co-Cave ขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นคอมมูนิตี้ที่คอยซัพพอร์ตสายสร้างสรรค์ ทั้งฝั่งของคนทำงานเองและคนที่ต้องการใช้งานสร้างสรรค์ “อาจเรียกได้ว่าเว็บไซต์นี้เป็นกึ่งๆ Matchmaker ระหว่างผู้ว่าจ้างและคนทำงาน ในช่วงแรกเริ่มเรายึดการสร้างกลุ่มจากการทำหนังสือเป็นหลักเพราะเป็นสิ่งที่ถนัด ทำให้มีฟรีแลนซ์ในกลุ่มของการทำหนังสืออยู่มาก ทั้งบรรณาธิการ นักพิสูจน์อักษร นักวาด ฯลฯ แต่ต่อไปเมื่อ Co-Cave ขยายขึ้นเรื่อยๆ นักเขียนเองจะกลายเป็นอีกหนึ่งกลุ่มที่สายงานต่างๆ สามารถเข้ามาเฟ้นเลือกคนที่ตรงใจไปร่วมงานกันได้ “ส่วนจุดเด่นของ Co-Cave ที่ทำให้หลายคนสนใจน่าจะเพราะเป็น One-stop Service ของคนทำงานสร้างสรรค์ ซึ่งเราออกแบบเว็บไซต์ให้มีความเรียบง่าย ใช้งานง่าย เน้นสีขาวดำเพื่อให้หน้าโปรไฟล์ของชาว Co-Cave โดดเด่นกว่า และเรามีพื้นที่สำหรับทุกกลุ่มการใช้งาน ประกอบกับโซเชียลมีเดียยอดนิยมก็ลดเอนเกจเมนต์ บ้างก็มีการเปลี่ยนแปลงรายวัน หลายๆ […]

07:00 AM สภากาแฟและอาหารเช้า

ในช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม จากการพยากรณ์อากาศพบว่ามีฝนตกมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่แทบทุกวัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างผมมันเป็นปัญหาไม่ใช่น้อยกับการต้องเดินทางไปทำงานยังสถานที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการหาอาหารเช้าทาน ด้วยช่วงเวลาอันเร่งรีบบางครั้งก็ทำให้เราไม่มีตัวเลือก จนต้องจำใจกดแอปพลิเคชันสั่งอาหารผ่านร้านเดิมๆ เมนูเดิมๆ กลายเป็นช่วงเวลาที่แสนน่าเบื่อหน่ายไปในที่สุด อนึ่งปัญหาของผมกับการสั่งอาหารเช้านั้นมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาเสาะหาเลือกร้านและเมนูอาหาร เพราะด้วยตัวเลือกที่เยอะ ทำให้ผมนั่งๆ นอนๆ ไถหน้าจอมือถืออยู่นานจนไม่สามารถตัดสินใจได้สักทีว่าจะกดสั่งอะไรดี ไหนจะปริมาณอาหารที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหวในตอนเช้า และปัญหาสุดท้ายที่หนักหนาสาหัสสำหรับผมก็คือ เมื่อรับอาหารจากไรเดอร์มาแล้ว ผมก็ทำได้เพียงแค่นำมันขึ้นมานั่งทานบนห้องเงียบๆ คนเดียว โดยมีรัฐสภาและการจราจรบนท้องถนนเป็นฉากนอกหน้าต่าง ทำหน้าที่เป็นวิวทิวทัศน์เพียงอย่างเดียวที่ผมสามารถใช้พักสายตาได้ ผมใช้ชีวิตซ้ำไปซ้ำมาจนเป็นกิจวัตร ความเบื่อหน่ายและความเหงาค่อยๆ กัดกินไปเรื่อยๆ จนในที่สุดผมก็ตัดสินใจที่จะคุยกับใครสักคน ผมกดเบอร์โทรศัพท์อย่างคุ้นเคย…ปลายสายรับสาย “ฮัลโหล ว่าไงวิน… “ทำไมไม่ลองหาเวลาออกจากคอนโดฯ ไปพวกร้านกาแฟหรือร้านอาหารเช้าดูล่ะ มันก็มีนะที่ไม่ไกลจากคอนโดฯ เอ็ง” เสียงแนะนำจากปลายสายแนะนำอย่างต่อเนื่อง และกระตือรือร้นเมื่อได้ฟังรูทีนชีวิตที่แสนน่าเบื่อของผม “สมัยก่อนตอนเอ็งเรียนอยู่ประถมฯ หลังจากไปส่งที่โรงเรียนเสร็จ ป๊าก็นั่งรถเมล์สาย 56 ไปร้านหนึ่งที่อยู่ตรงแยกวิสุทธิกษัตริย์ ‘ร้านเฮี้ยะไถ่กี่’ เป็นร้านเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว สมัยก่อนตอนป๊าทำงานธนาคารแถวนั้นก็แวะไปนั่งกินประจำ เมื่อก่อนร้านนี้ถือว่าเป็นสภากาแฟเลยนะ เพราะหลายครั้งที่พวกคอลัมนิสต์มานั่งคุยกันเรื่องนู้นเรื่องนี้ และถกเถียงกันเรื่องข่าวสารหรือการเมือง “อีกร้านคือ ‘ร้านหน่ำเฮงหลี’ ตรงแยกหลานหลวง เอ็งจำได้ไหมว่าสมัยก่อนเวลาที่เอ็งเดินไปซื้อหนังสือการ์ตูนของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ร้านเขาจะอยู่แถวนั้น เอ็งเดินมานิดหนึ่งก็เจอเลย อยู่ตรงแยกพอดี ร้านนี้สังขยาอร่อยลองไปกินดู […]

Checkmate ซุ้มหมากรุก

‘ไม่ดูตาม้าตาเรือ’ สำนวนสุภาษิตไทยที่เราทุกคนคุ้นเคยและได้ยินกันบ่อยๆ มักใช้กับการตำหนิคนที่ไม่รอบคอบและไม่ระมัดระวัง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าที่มาของสำนวนนี้จะมาจากกีฬาหมากรุก ซีรีส์ภาพถ่าย Lost and Found ประจำสัปดาห์นี้ ขอพาไปพบกับงานอดิเรกที่ทุกคนรู้จักกันดี และเมื่อก่อนเราสามารถพบเห็นกิจกรรมเหล่านี้ได้ตามพื้นที่ต่างๆ ของชุมชน แต่ปัจจุบันเรากลับเห็นภาพนี้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อก่อนตอนมีเวลาว่าง ด้วยความที่เป็นลูกชายคนเดียวของบ้านและไม่มีเพื่อนบ้านที่เป็นรุ่นราวคราวเดียวกันในละแวกนั้นเลย กิจกรรมของผมส่วนใหญ่คือการเดินออกไปที่สะพานเหล็กเพื่อซื้อแผ่นเกม และเดินกลับบ้านมาเล่นเกม ผมใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันไปกับการเล่นเกม ต้องยอมรับเลยว่าการเล่นเกมนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมไปแล้ว แต่บางครั้งความเหงาก็ก่อกำเนิดขึ้นในจิตใจ เพราะไม่ได้พบเจอ พูดคุยกับเพื่อน หรือกระทั่งเล่นกับเพื่อนตามช่วงชีวิตของเด็กในวัยนั้นที่ควรมี ต้องบอกก่อนว่าในอดีตบ้านของผมที่สำเพ็งเป็นอาคารพาณิชย์สูงห้าชั้น ด้านล่างแบ่งให้ร้านขายผ้าเช่า ผมจึงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ชั้นสามของบ้านเท่านั้น ด้วยความเหงาและอยากหาเพื่อนคุยเล่น ผมตัดสินใจเดินลงไปที่ชั้นหนึ่งของบ้าน และขอร่วมวงเล่นหมากรุกกับพี่ๆ ที่ทำงานอยู่ในร้านขายผ้าตอนนั้น นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมมีประสบการณ์มีเพื่อนต่างวัยเป็นครั้งแรกของชีวิต เวลาล่วงเลยมาเกือบยี่สิบปีที่ผมไม่ได้เล่นหมากรุกเลย ด้วยสภาพสังคมที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป มีกิจกรรมทางเลือกมากขึ้น กิจกรรมที่ผมทำทดแทนการเล่นหมากรุกคือการเล่น Trading Card Game เพียงแค่พกสำรับการ์ดติดตัวเราก็สามารถไปร่วมเล่นและทำความรู้จักกับคนอื่นๆ ในสถานที่ใหม่ๆ ที่มีอย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ผมมองว่ากีฬาหมากรุกก็ไม่ต่างจาก Trading Card Game เท่าไรนัก เพียงแค่ในปัจจุบันพื้นที่ที่ถูกจัดให้เล่นหมากรุกมีน้อยลงจากเมื่อก่อน ด้วยความสงสัยและอยากเล่นอีกครั้ง ผมได้หาข้อมูลจนไปเจอซุ้มหมากรุกสองซุ้มที่น่าสนใจและไม่ไกลจากคอนโดฯ ที่พักอาศัยมากนัก ที่แรกที่ผมเลือกเดินทางไปคือซุ้มใต้สะพานพระราม 8 ในวันนั้นผมเดินทางถึงจุดหมายเวลาประมาณบ่ายสามกว่าๆ สิ่งที่พบเจอคือภาพคุณน้าคุณลุงนั่งเล่นหมากรุกกันอย่างเอาจริงเอาจัง ห้อมล้อมไปด้วยบริเวณด้านข้างที่มีร้านรถเข็นขายอาหารและเครื่องดื่มอยู่พอสมควรตามขนบของสวนสาธารณะที่ต้องมีทุกที่ […]

2023 Chinese Opera บันทึกเรื่องงิ้วปี 2566

เสียงการแสดงงิ้วจากเทปคาสเซ็ตที่ถูกเปิดโดยอากงของผมดังมาจากชั้นสองของบ้านในทุกๆ เช้าจนเป็นกิจวัตร ภาพของการปิดถนนเส้นเยาวราชจนถึงสำเพ็งเพื่อจัดงานฉลองเทศกาลตรุษจีน ขนมสาคูที่ต้มด้วยน้ำตาลกรวดและเปลือกส้มของเหล่าบรรดาแม่ยกที่ทำมาจากบ้าน เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับคนที่มาร่วมงานศาลเจ้า ทั้งหมดนี้คือความทรงจำของผมที่มี ‘งิ้ว’ เป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ ตั้งแต่ที่ผมย้ายออกจากบ้านที่สำเพ็งไปในช่วงวัยสิบสามปีก็ไม่เคยได้มีประสบการณ์ร่วมกับงิ้วอีกเลย จนกระทั่งปี 2563 ที่ทาง Documentary Club นำภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ที่แสดงนำโดยเลสลี จาง มาฉาย ผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าชมในตอนนั้น หลังออกมาจากโรงภาพยนตร์ก็เกิดคำถามขึ้นกับตัวเองมากมาย หนึ่งในคำถามนั้นคือ การแสดงงิ้วในไทยที่เราเคยเห็นเมื่อ 15 ปีก่อนตอนยังเป็นเด็ก ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่ไหม เวลาผ่านไปสามปี ประจวบเหมาะกับแผนการทำโปรเจกต์พิเศษ Lost & Found ผมจึงถือโอกาสนี้มาหาคำตอบคลายความสงสัยของตัวเองที่ติดค้างมานาน ก่อนอื่นเลยผมต้องขอบคุณ ‘ท็อบ’ โปรดิวเซอร์หน้ามนคนรามคำแหงของ Urban Creature ที่คอยช่วยผมหาคณะงิ้วที่ยังอยู่และเป็นธุระติดต่อให้ และ ‘พี่พงษ์’ จากเพจใจรักงิ้วที่คอยแนะนำหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับงิ้วให้ผม ในช่วงเย็นวันหนึ่ง ผมนั่งมอเตอร์ไซค์จากคอนโดฯ ไปที่ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ย่านสี่พระยา เพื่อไปดูการแสดงงิ้วของคณะซิงอี่ไล้เฮง เมื่อผมมาถึง คนแรกที่ได้เจอคือพี่พงษ์จากเพจใจรักงิ้วที่กำลังง่วนกับการประกอบโทรศัพท์เข้ากับขาตั้ง เพื่อเตรียมบันทึกการแสดงสดของวันนั้น ผมพูดคุยกับพี่พงษ์ได้ไม่นานเท่าไร ‘เจ๊กี’ เจ้าของคณะงิ้ว […]

FYI

theCOMMONS Cloud 11 คอมมูนิตี้แห่งใหม่ย่านสุขุมวิทใต้ เติมเต็มทุกความคิดสร้างสรรค์ของเหล่าครีเอเตอร์

เหล่าคอนเทนต์ครีเอเตอร์เตรียมตัวให้พร้อม เพราะอีกไม่นานกรุงเทพฯ จะมีพื้นที่แห่งใหม่ที่ช่วยเติมเต็มการทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจของนักสร้างสรรค์ทุกคน ‘theCOMMONS Cloud 11’ คือคอมมูนิตี้แห่งใหม่ที่มาพร้อมคอนเซปต์ ‘Creators’ Backyard’ หรือ ‘สวนหลังบ้านสำหรับครีเอเตอร์’ ซึ่งเกิดจากการผสมผสานจุดแข็งของ theCOMMONS คอมมูนิตี้สเปซที่นำเสนอ Wholesome Community หรือการใช้ชีวิตอย่างสมดุลทั้งการดูแลตัวเองและผู้อื่น ร่วมกับแนวคิด Empowering Creators ของโครงการ Cloud 11  โดย theCOMMONS Cloud 11 ตั้งใจเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์การทำงานและการพักผ่อนหย่อนใจของบรรดาคอนเทนต์ครีเอเตอร์ พร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจในย่านสุขุมวิทใต้ให้เป็นย่านนวัตกรรมแห่งใหม่ของเอเชีย ควบคู่กับการรับผิดชอบสิ่งแวดล้อม ชุมชน และสังคมอย่างต่อเนื่อง ระบบนิเวศที่ทำให้การสร้างสรรค์คอนเทนต์สมบูรณ์ขึ้น หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมโครงการที่มุ่งมั่นจะเป็นศูนย์กลางของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่ใหญ่สุดในเอเชียอย่าง Cloud 11 ถึงเลือก theCOMMONS มาเป็นพาร์ตเนอร์ นั่นเพราะ theCOMMONS คือคอมมูนิตี้ที่มีวิสัยทัศน์และพันธกิจทางธุรกิจไปในทิศทางเดียวกันกับ Cloud 11 การจับมือร่วมกันครั้งนี้จึงถือเป็นการเติมเต็มระบบนิเวศการสร้างสรรค์คอนเทนต์ให้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เพื่อยกระดับวงการสร้างสรรค์คอนเทนต์ของไทย ช่วยให้วิสัยทัศน์ Empowering Creators แข็งแกร่งมากขึ้น รวมถึงช่วยให้วงการนักสร้างสรรค์ของไทยไปยืนอยู่ในเวทีระดับโลกได้ ‘วิชรี วิจิตรวาทการ’ ผู้บริหารคินเนสท์ กรุ๊ป […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.