Beitang Street Section of the Grand Canal สร้างความผูกพันระหว่างคลองและผู้คน ด้วยทางเดินสีฟ้าริมน้ำยาว 3.6 กิโลเมตร

เดี๋ยวนี้เรามักเห็นหลายๆ เมืองเริ่มปรับปรุงพื้นที่ริมน้ำให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะแนวยาว เพื่อดึงดูดใจให้ผู้คนออกมาใช้ชีวิตริมน้ำกันมากขึ้น เช่นเดียวกับ ‘Beitang Street Section of the Grand Canal’ ทางเดินสีฟ้ายาว 3.6 กิโลเมตรบนถนนเป่ยถังที่ขนานไปกับตัวคลอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับปรุงและยกระดับคลองขนาดใหญ่ปักกิ่ง-หางโจว ในส่วนของเมืองอู๋ซี เมืองอุตสาหกรรมเก่าในมณฑลเจียงซู ประเทศจีน เพื่อเชื่อมสวนสาธารณะเป่ยเจี้ยนและเขตสวนสาธารณะตามคูน้ำของเมืองโบราณเข้าไว้ด้วยกัน Beitang Street Section of the Grand Canal ประกอบไปด้วยทางเดินสีฟ้าและต้นไม้สีเขียวที่ให้ความรู้สึกเย็นสบายตลอดสองข้างทาง ออกแบบมาอย่างเป็นมิตรต่อเมือง และผู้สูงอายุ เพื่อให้ทุกคนใช้งานพื้นที่ได้อย่างเพลิดเพลิน บริเวณท่าจอดเรือสำหรับขนถ่ายสินค้าขนาดเล็กที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร ก็ได้รับการออกแบบใหม่ให้ผสมผสานเข้ากับพื้นที่สำหรับทำกิจกรรมระหว่างพ่อแม่และลูก อย่างลานออกกำลังกายริมน้ำ สนามเด็กเล่น และพื้นที่สำหรับพักผ่อน ที่คำนึงถึงความรู้สึกและความต้องการของผู้ใช้งานด้วย รวมไปถึงมีการออกแบบพื้นที่บางส่วนที่ยื่นเข้าไปในคลองหรือยกตัวขึ้นจากความสูงปกติ เพื่อเป็นจุดชมวิวที่จะทำให้คุณรู้สึกเพลิดเพลินไปกับวิวริมน้ำที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ของพื้นที่ ในขณะที่พื้นที่ใกล้ๆ ยังมีป้ายให้ความรู้ที่เปรียบเหมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดเล็กคอยให้ข้อมูลประวัติของพื้นที่แห่งนี้อีกด้วย ทางผู้ออกแบบหวังว่า พื้นที่สาธารณะแห่งนี้จะเพิ่มความน่าดึงดูดใจของพื้นที่ริมน้ำด้วยภูมิทัศน์ที่เป็นมิตร จนทำให้เกิดการสนทนากับชุมชนโดยรอบ ไปจนถึงช่วยสร้างความผูกพันระหว่างคลองใหญ่และผู้คนได้ Source : ArchDaily | t.ly/LoY6k

‘ศิลปะบนฝาท่อ’ คืนพื้นที่ทางเดินเท้าด้วยฝีมือคนในชุมชนและนักออกแบบกลุ่มเมืองยิ้ม

การนำศิลปะเข้าไปรวมอยู่กับสิ่งเล็กๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจของเมืองให้มากขึ้น ยกตัวอย่าง ‘ศิลปะบนฝาท่อ’ ของประเทศญี่ปุ่น ที่หยิบเอาสถานที่หรือสัญลักษณ์ในประเทศมาออกแบบและสื่อถึงเอกลักษณ์สำคัญๆ บนฝาท่อ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวที่น่าสนใจของย่านหรือเมือง จนเป็นเหมือนแบรนด์ดิงของพื้นที่นั้นๆ ที่ชวนให้นักท่องเที่ยวได้สนุกกับการเดินเท้า มองหาศิลปะตามเส้นทาง และใช้เวลาเอนจอยกับระหว่างทางมากขึ้น ในขณะเดียวกัน กรุงเทพฯ เองก็เคยมีศิลปะบนฝาท่อในย่านคลองโอ่งอ่างมาก่อนหน้านี้ และในตอนนี้มีอีกหนึ่งพื้นที่อย่างบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ที่เราอาจนึกไม่ถึงว่านอกจากตลาดโบ๊เบ๊ที่เป็นสถานที่ใกล้เคียงแถวนั้นแล้ว จะมีสิ่งที่น่าสนใจอย่างฝาท่อสีสันสดใสวางเรียงรายตามทางเท้าด้วย คอลัมน์ Art Attack ขออาสาพาทุกคนไปเดินชมฝาท่อที่ถูกแต่งแต้มด้วยศิลปะจากจินตนาการและการใช้ชีวิตของเด็กๆ ที่อาศัยอยู่ในบริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ผ่านความร่วมมือระหว่าง ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ และกรุงเทพมหานคร ที่ต้องการพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น และคืนพื้นที่ทางเท้าให้กับผู้คนในย่านได้ออกมาใช้ชีวิตร่วมกันมากกว่าเดิม กลุ่มนักออกแบบที่อยากมอบรอยยิ้มให้ผู้คน ‘กลุ่มเมืองยิ้ม’ เกิดจากการรวมตัวกันของสามสมาชิกที่ทำงานด้านการออกแบบหลากหลายแขนง ได้แก่ ‘ดิว-วรรธนะ ทรงเพ็ชร์มงคล’ นักวิจัยผังเมืองและนักออกแบบ, ‘ธาม ศรีเพริศ’ นักออกแบบภายใน และ ‘ลอนทราย กังขาว’ สถาปนิก ทั้งสามสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมาด้วยกัน แต่ด้วยความที่เรียนคนละสาขา ทำให้ตลอดระยะเวลาการเรียนพวกเขายังไม่เคยมีโอกาสร่วมงานกันมาก่อน หรือกระทั่งเข้าสู่ช่วงทำงานแล้วทั้งหมดก็ยังไม่เคยลงมือทำโปรเจกต์ใดๆ ด้วยกันเลย ถึงจะเรียนคนละสาขา และต่างคนต่างมีหน้าที่การงานที่ถนัดของตัวเอง ทั้งสามคนก็มีความสนใจร่วมกันอยู่ นั่นคือ การสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่สามารถมอบรอยยิ้มให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนำมาสู่การรวมตัวกันและเป็นที่มาของชื่อกลุ่มเมืองยิ้มที่เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ปี […]

‘คลองแม่ข่า’ สายน้ำเน่าที่กำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นอนาคตของเมืองเชียงใหม่ หรือจะถอยหลังลงคลอง

หากเอ่ยถึง ‘คลองแม่ข่า’ ในปัจจุบัน หลายคนน่าจะนึกถึงทางเดินเลียบคลองสวยๆ แหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ในตัวเมืองเชียงใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ขณะนี้ และเพิ่งได้รับสมญาใหม่ว่าเป็น ‘คลองโอตารุ’ ของจังหวัดเชียงใหม่ แต่หากย้อนกลับไปถามคนเชียงใหม่เมื่อไม่กี่ปีที่แล้ว ทุกคนจะนึกถึงคลองแม่ข่าว่าเป็นแหล่งน้ำเน่าเสีย นั่นคือภาพลักษณ์ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมาสำหรับคนเชียงใหม่  เพราะตลอดหลายปีนั้น ชาวเชียงใหม่ต่างคุ้นเคยกับการได้เห็นและได้ยินการหาเสียงของผู้สมัครรับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีนครเชียงใหม่ที่ทุกครั้งจะต้องมีนโยบายทำคลองแม่ข่าให้กลับมาใสอยู่ด้วยเสมอ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเป็นรูปธรรม หลายคนจึงอดไม่ได้ที่จะหมดหวังได้เห็นคลองแม่ข่ากลับมาใส จนกระทั่งปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์คลองแม่ข่าใหม่ให้สวยงาม ด้วยภาพสะอาดสะอ้านแปลกใหม่ที่ถูกนำเสนอออกมา ทำให้คลองแห่งนี้กลับมาได้รับความสนใจจากคนเชียงใหม่จำนวนมาก ก่อนจะขยายไปถึงคนจังหวัดอื่นๆ ที่เดินทางมาเที่ยวเดินถ่ายรูปเล่นที่คลองแห่งนี้ ซึ่งทางจังหวัดเชียงใหม่เองก็พยายามจัดให้มีกิจกรรมภายในพื้นที่แห่งนี้อยู่สม่ำเสมอ ชาวเชียงใหม่หลายคนที่ได้มาเดินเล่นที่นี่ ต่างแสดงความยินดีที่คลองแม่ข่ากลับมาเป็นคลองน้ำใส ไม่เน่าเสียอีกแล้ว…แต่น่าเสียดายที่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะพื้นที่ที่มีการปรับภูมิทัศน์ให้เดินเล่นกันนั้นเป็นเพียงแค่ระยะ 756 เมตร จากระยะทั้งหมด 11 กิโลเมตรของคลองแม่ข่าในเขตเมืองเชียงใหม่ที่ยังคงเน่าเสีย มีปัญหา และรอคอยการแก้ไขพัฒนาต่อไป จึงทำให้มีเสียงค่อนขอดขึ้นมา ตั้งแต่ความพยายามเป็นญี่ปุ่นทั้งที่เชียงใหม่ก็มีวัฒนธรรมเอกลักษณ์ของตนเอง จังหวัดพยายามนำเสนอแต่ภาพลักษณ์ดีๆ ของพื้นที่คลองบริเวณนี้เพื่อซุกปัญหาคลองแม่ข่าในส่วนอื่นๆ อีกจำนวนมากไว้ใต้ภาพสวยงาม หรือแม้แต่ตำหนิว่านี่เป็นการถอยหลังลงคลอง อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระยะ 756 เมตรของคลองแม่ข่าครั้งนี้ก็ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่แสดงให้เห็นว่ากำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงต่อไป และเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นก็แสดงให้เห็นว่าแม่ข่าเกี่ยวโยงกับผู้คน และมีคนจำนวนไม่น้อยกำลังให้ความสนใจกับลำน้ำสายนี้ คลองแห่งนี้มีความสำคัญต่อเชียงใหม่อย่างไร ทำไมถึงมีหลายองค์กรหลายผู้คนพยายามปรับปรุงให้มันกลับมาดีอีกครั้งตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา  ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของแม่น้ำสายนี้ คอลัมน์ Report ขอนำเสนอเรื่องราวหลากหลายมิติที่สายน้ำนี้ได้ไปเกี่ยวโยง โดยลองถอยออกจากความเป็นคลองโอตารุ ไม่ต้องถึงกับถอยลงคลอง แค่ถอยมามองและทำความรู้จักกับน้ำแม่ข่า […]

The Fence Craft Beer Bar บ้านริมคลองของคนชอบคราฟต์เบียร์ พาย SUP และรักกาแฟ

การจะหาที่พักผ่อนในกรุงเทพฯ ที่ไม่ต้องแย่งกันกินแย่งกันเที่ยวไม่ใช่เรื่องง่าย ยิ่งถ้าอยากได้ความร่มรื่น อยู่ท่ามกลางบรรยากาศสงบๆ และอยู่ใกล้เมืองแล้วยิ่งตัวเลือกน้อยลงเข้าไปอีก  จาก Pain Point ของคนเมืองที่ลำบากกับการหากิจกรรมวันหยุดและหาสถานที่พักผ่อน ทำให้เราได้รู้จักกับบ้านริมน้ำหลังหนึ่งชื่อ The Fence Craft Beer Bar คอมมูนิตี้ย่านตลิ่งชันที่รวมหลายกิจกรรมเอาไว้ในที่เดียว ทั้งพายซัปบอร์ด ดูวิถีชีวิตริมคลองกับ SUP Talingchan ดื่มกาแฟ Specialty ที่ Huto.Co (ฮูโต๋) และปิดท้ายวันด้วยคราฟต์เบียร์ดีๆ และอาหารอร่อยๆ จาก The Fence Craft Beer Bar ในบรรยากาศริมคลองที่เหมาะกับการนั่งรับลมเย็นใต้ร่มไม้ตลอดทั้งวัน คอมมูนิตี้นี้คือการรวมตัวของเพื่อนที่ชอบอะไรต่างกัน แต่อยู่รวมกันแล้วลงตัวได้ดี แถมยังให้ชุมชนรอบข้างมีสีสันมากขึ้น เริ่มต้นมาจาก The Fence Craft Beer Bar ที่เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มเพื่อนที่ชอบดื่มคราฟต์เบียร์เป็นชีวิตจิตใจ โดยมีหุ้นส่วน 4 คนคือ อ้น-ศิรสิทธิ์ กลิ่นสุวรรณ, อู๋-จารุกิตติ์ ธเนศอนุกุล, อ๊อบ-อรรถพล ธเนศอนุกุล และฤทธิ์-ณรงค์ฤทธิ์ เอนกสุวรรณมณี […]

‘บางขุนนนท์’ สืบเรื่องก๋วยเตี๋ยวที่ย่านกินเส้น

มาตามรอยกินเมนูเส้นจากร้านอร่อยระดับตำนาน พร้อมเล่าถึงความเป็นบางขุนนนท์ผ่านมุมมองของชาวบางขุนนนท์แท้ๆ

ล่องเรือสำรวจ “คลองลาดพร้าว” ส่องโมเดลพัฒนาชุมชนแออัด กับความหวังในการมีชีวิตที่ดีของคนริมคลอง

ในอดีต “คลอง” เป็นดั่งสายเลือดของคนกรุงเทพฯ เป็นสายน้ำแห่งวิถีชีวิต วัฒนธรรม และเชื่อมโยงผู้คนไปมาหาสู่ แต่หลายสิบปีที่ผ่านมา การเข้ามาของความเจริญ ทำให้คนหันไปพัฒนาถนนหนทาง คลองถูกลดบทบาทกลายเป็นหลังบ้านของใครๆ เป็นที่ระบายน้ำเสีย ผู้คนรุกล้ำพื้นที่ริมคลองจนเกิดชุมชนแออัด

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.