มองชีวิตคนไร้บ้านและหมาจรในกรุงเทพฯ ผ่านเกม ‘Bangkok Story: A Stray Dog’ จากฝีมือคนไทย ที่อยากให้คนเข้าใจปัญหา

หลายครั้งที่เราเดินผ่านคนไร้บ้านในกรุงเทพฯ อาจเคยนึกถามในใจว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้พวกเขาต้องมาอาศัยอยู่บนท้องถนนแบบนี้ ความรู้สึกของพวกเขาที่ถูกบางคนมองว่าเป็นส่วนเกินของสังคมจะเป็นอย่างไร และในแต่ละวันพวกเขาจะหาความสุขได้จากที่ไหน เพื่อหาคำตอบกับสิ่งที่สงสัย จึงเกิดเป็น ‘Bangkok Story: A Stray Dog’ เกม Top-Down 2D RPG ฝีมือคนไทยจากทีมพัฒนาเล็กๆ ที่มีกันเพียง 2 คนอย่าง ‘Shameful Guys Development’ ที่พัฒนาเกมจากความหลงใหลในเรื่อง Mental Health และอยากเล่าเรื่องเหล่านี้ผ่านวิดีโอเกม การดำเนินเรื่องของเกม Bangkok Story: A Stray Dog เน้นไปที่การเล่าเรื่องผ่านบทสนทนาของคนไร้บ้านและสุนัขจรจัด ที่ต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในกรุงเทพฯ เพื่อมองหาสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้ใครสักคนต้องกลายมาเป็นคนไร้บ้าน เพื่อทำให้เราเข้าใจถึงที่มาและปัญหาในสังคมไทยมากขึ้น โดยผู้เล่นจะได้เล่นเป็นคนไร้บ้านที่พยายามเอาตัวรอดให้ได้ในแต่ละวัน ผ่านการพูดคุยกับตัวละครอื่นๆ และชาวเมืองที่ผ่านไปมา จนกระทั่งพบกับสุนัขจรจัดตัวหนึ่งที่จะต้องมาใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งทำให้ตัวละครตัวนี้ได้สัมผัสกับความรักที่สูญหายและพยายามกลับไปมีบ้านอีกครั้ง นอกจากความสนุกในระหว่างเล่นแล้ว ผู้เล่นยังจะได้ตระหนักถึงจิตใจของผู้อื่นมากขึ้น ที่ไม่ใช่แค่คนไร้บ้าน แต่รวมถึงเพื่อน ครอบครัว ความหมายของชีวิต และการหาความสุขจากสิ่งใกล้ตัวนั่นเอง ปัจจุบันเกม Bangkok Story: A Stray Dog […]

The Woodlands เปลี่ยนโมเทลเก่าในลอสแอนเจลิสให้มีชีวิตชีวา โปรเจกต์ช่วยแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวไร้บ้าน

เมืองเติบโตมีการเปลี่ยนแปลงและขยายขอบเขตกว้างไกลขึ้นทุกวัน ส่งผลให้จำนวนประชากรเพิ่มตามมา หลายๆ คนหรือครอบครัวมีโอกาสไร้ที่อยู่อาศัยจากปัญหาขาดแคลนที่อยู่ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญที่หลายเมืองทั่วโลกต่างกำลังหาทางเตรียมพร้อมรับมือ Urban Creature ขอหยิบไอเดียการแก้ปัญหาที่ว่าจากสหรัฐอเมริกามาให้ทุกคนชมกัน โดย ‘Kadre Architects’ สตูดิโอนักออกแบบจากลอสแอนเจลิสตั้งใจจะเปลี่ยนโมเทลที่ทรุดโทรมในหุบเขา San Fernando ให้เป็นพื้นที่อยู่อาศัยที่มีสีสันและเป็นมิตรสำหรับครอบครัวที่ประสบปัญหาไร้ที่อยู่อาศัย โครงการนี้มีชื่อว่า ‘The Woodlands’ เป็นส่วนหนึ่งของ ‘Project Homekey 2.0’ ที่นำโรงแรมทรุดโทรมหรืออาคารที่ไม่ค่อยได้ใช้งานจำนวน 14 แห่งมาเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวและอาจจะถาวร สำหรับผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัยหรือมีความเสี่ยงจะเป็นคนไร้บ้าน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากองค์กรการกุศล ‘Hope the Mission’ ต่อเนื่องมาจาก Project Homekey 1.0 ที่ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่พัก 10 แห่งทั่วแคลิฟอร์เนีย The Woodlands เป็นโมเทลหลังที่สองต่อจากการปรับปรุงโรงแรม The Alvarado ใน เมืองลอสแอนเจลิสที่เปิดให้บริการไปเมื่อช่วงต้นปี 2566 โดยความแตกต่างคือ The Woodlands จะแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่ยิ่งใหญ่กว่า The Alvarado ในแง่ของการสร้างพื้นที่ชุมชนที่มีเอกลักษณ์  เอกลักษณ์ที่ว่าคือ การที่สถาปนิกเลือกใช้สีสะดุดตาเพิ่มเติมชีวิตชีวาให้กับลานจอดรถยางมะตอยที่ดูไม่พิสมัยให้กลายเป็นพื้นที่หลากสีสัน ด้วยเฉดสีเขียวสดใส […]

แฟนด้อมได้กรี๊ด หลายชีวิตได้เงิน กับโปรเจกต์จ้างงาน ‘หนึ่ง-ก้าว’ ป้ายโฆษณาจากแรงเดินของคนไร้บ้าน

‘ป้ายโฆษณาศิลปิน’ คือหนึ่งในวัฒนธรรมของแฟนด้อมที่เหล่าแฟนคลับรวมใจจัดทำขึ้นเพื่อศิลปินที่ชื่นชอบในโอกาสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมตผลงาน วันเกิด หรือวาระการเฉลิมฉลองต่างๆ โดยมักจะติดตามยอดตึกหรือสถานีขนส่งมวลชนทั้ง BTS, MRT, ป้ายรถเมล์ จนเปลี่ยนมาสู่หลังรถตุ๊กตุ๊กและรถเข็นขายของ ฯลฯ ซึ่งนอกจากเป็นวัฒนธรรมของแฟนคลับแล้ว ยังเกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นด้วย  และในเดือนมิถุนายนนี้ เรากำลังจะได้เห็นป้ายโฆษณาศิลปินอีกรูปแบบหนึ่ง จากโครงการที่มีชื่อว่า ‘หนึ่ง-ก้าว’ กับไอเดียป้ายโฆษณาจากกำลังขาของคนไร้บ้าน โดย ‘น้ำ’ หรือ ‘ห่าน’ (เรียกได้สองชื่อ) ผู้เป็นทีมงานหลักของโปรเจกต์หนึ่ง-ก้าว เล่าให้ฟังว่า เธอเป็นแฟนคลับศิลปินที่มองเห็นรูปแบบของป้ายโฆษณาที่เปลี่ยนแแปลงมาโดยตลอด บวกกับการได้เห็นคนตกงานที่กลายเป็นคนไร้บ้านเพิ่มขึ้นในสถานการณ์ช่วงโควิดที่ผ่านมา  “ต่อให้รัฐบาลให้เงินเยียวยาคนไร้บ้านก็จริง แต่เป็นเงินที่ให้มาทีเดียวแล้วจบ แท้ที่จริงแล้วเราพบว่าสิ่งที่คนไร้บ้านต้องการคือ ‘การทำงาน’ เพื่อให้ได้เงินมาเลี้ยงชีพตัวเอง เพราะมันคือศักดิ์ศรีของความเป็นคน” ด้วยเหตุนี้ เธอจึงเริ่มค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับตัวป้ายอวยพรศิลปิน และได้มีโอกาสเข้าถึงคนไร้บ้านผ่านการช่วยเหลือของแอ็กเคานต์ @Thamboon888 ที่ส่งมอบอาหารให้กับคนไร้บ้านอยู่เป็นประจำ ในการหาคนไร้บ้านที่พร้อมจะทำงานเพื่อมีชีวิตที่ดีขึ้น หลังจากเปิดให้แฟนคลับที่สนใจเข้ามาจ้างงาน ‘ลุงโนรี’ วัย 77 ปี คือคนแรกที่จะได้ทำงานเดินโปรโมตป้ายศิลปิน โดยเส้นทางแรกจะเดินแถวสยามเซ็นเตอร์แล้ววนมาจบที่สยามสแควร์ ซึ่งน้ำเล่าว่า การทำงานนี้จะใช้เวลาทำงานราว 5 ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ 13.30 – 18.30 น. […]

สัมผัสชะตาโศกของคนไร้บ้านที่ไร้สิทธิ์ไร้เสียงกับ ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’

‘ยามเดินสวนกัน ไม่ว่าใครก็หลบสายตา แต่กลับถูกเฝ้าจับจ้องจากผู้คนมหาศาล นิยามนั้นคือชีวิตคนไร้บ้าน’ แม้จะเป็นคนที่ค่อนข้างสนใจประเด็นสังคมอยู่บ้าง แต่กับประเด็นคนไร้บ้าน ฉันคงต้องบอกว่าค่อนข้างเป็นเรื่องไกลตัว ทั้งที่แม้ว่าในโลกแห่งความจริงมันจะแสนใกล้ตัว เพราะเคยนั่งรถหรือเดินผ่านคนกลุ่มนี้แถวถนนราชดำเนินและมุมอื่นๆ ในกรุงเทพฯ อยู่บ่อยๆ ที่บอกว่าไกลตัวเพราะสารภาพตามตรงว่าตัวเองไม่เคยสนใจศึกษาประเด็นนี้อย่างจริงจัง แน่นอนว่ามีความรู้สึกเห็นอกเห็นใจพวกเขาอยู่แล้ว แต่ไม่มีทางที่จะเข้าอกเข้าใจได้ เพราะไม่เคยสนทนาหรือคลุกคลีกับคนกลุ่มนี้แม้แต่น้อย จนกระทั่งเมื่อปีก่อน ไม่รู้อะไรดลใจให้ฉันหยิบหนังสือเกี่ยวกับชีวิตคนไร้บ้านในกองดองมาอ่าน เริ่มต้นด้วยรวมเรื่องสั้น ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ก่อนไปเสาะหาความเรียง ‘สายสตรีท’ มาอ่านเพิ่มเติม หนังสือทั้งสองเล่มเขียนโดย ‘บุญเลิศ วิเศษปรีชา’ อาจารย์ประจำคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่สนใจประเด็นชีวิตคนชายขอบ และเป็นนักวิชาการไทยผู้เป็นที่รู้จักจากการทำงานวิจัยที่เอาตัวเองไปใช้ชีวิตเป็นคนไร้บ้าน ทั้งในประเทศไทย (สนามหลวง กรุงเทพฯ), ประเทศญี่ปุ่น (กรุงโตเกียว) และกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ คุณบุญเลิศเคยกล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ท้ายหนังสือ ‘บ้านที่กลับไม่ได้’ ถึงความแตกต่างของโครงสร้างสังคมและค่านิยมที่ส่งผลต่อสถานภาพของคนไร้บ้านของแต่ละประเทศ โดยเปรียบเทียบผ่านประเทศฟิลิปปินส์ที่มีคนไร้บ้านจำนวนมาก จนมีชุมชนคนไร้บ้านของตัวเองตามย่านต่างๆ และประเทศญี่ปุ่นที่มีจำนวนคนไร้บ้านไม่มากเท่า ทั้งยังไม่ได้พบเจอได้ง่ายๆ เนื่องจากพวกเขาไม่เป็นที่ยอมรับ ต้องหลบซ่อนตัวจากผู้คน ทั้งยังถูกมองว่าใช้ชีวิตได้ล้มเหลว ทำให้คนไร้บ้านที่ญี่ปุ่นมีความกดดัน เครียด และมีสถานะที่ต่ำต้อยจากการหลบๆ ซ่อนๆ และนั่นนำมาสู่การอ่านนิยายเรื่อง ‘ณ สถานีรถไฟโตเกียวอุเอโนะ’ โดย Yu […]

ใช้ Midjourney ออกแบบที่อยู่อาศัยสำหรับคนไร้บ้าน ไอเดียใหม่เพื่อเปลี่ยนพื้นที่ร้างให้มีประโยชน์

เมืองยังคงเติบโตขึ้นในทุกขณะ พื้นที่มากมายถูกจัดสรรปันส่วนไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ ตามที่รูปแบบสังคมจะกำหนด และแน่นอนว่าพื้นที่อีกจำนวนไม่น้อยถูกละเลย และกลายเป็นสิ่งไร้ประโยชน์อย่างน่าเสียดาย เพื่อให้เห็นภาพของการใช้พื้นที่ให้เป็นประโยชน์มากยิ่งขึ้น ‘Shail Patel’ นักออกแบบสถาปัตยกรรมชาวอินเดีย ได้คิดค้นภาพจำลองนวัตกรรมที่จะมาแก้ปัญหานี้ขึ้นมา โดยใช้ความสามารถจากเครื่องมือยอดฮิตแห่งยุคสมัยอย่าง AI Midjourney หรือปัญญาประดิษฐ์เข้ามาเป็นตัวช่วย นวัตกรรมที่ว่านี้คือ ‘ที่อยู่อาศัยสำเร็จรูป (Modular Pods)’ จุดประสงค์คือ สร้างขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในแนวทางการแก้ปัญหาสำหรับคนไร้บ้าน โดยพ็อดที่นำเสนอออกมาแต่ละหลัง ได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่ใช้สอยที่มอบทั้งความเป็นส่วนตัวและความสะดวกสบายแก่ผู้พักอาศัยตลอดทั้งปี มีระบบทำความร้อนและความเย็น มีช่องรับแสงธรรมชาติที่เพียงพอ รวมถึงการระบายอากาศที่ดีเยี่ยม สถาปนิกได้ออกแบบที่อยู่อาศัยสำเร็จรูปนี้ให้มีลักษณะเป็นโครงสร้างแบบโมดูลาร์ที่แยกส่วนและเชื่อมต่อกันได้ เพื่อการก่อสร้างและการประกอบโครงสร้างที่ทำได้โดยง่าย สามารถเคลื่อนย้ายหรือทำการขยายโครงการได้อย่างรวดเร็ว เพื่อการจัดสรรที่อยู่อาศัยที่มีความต้องการมากขึ้นในอนาคต และที่พักอาศัยนั้นจะถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุที่ทนทานและยั่งยืน เพื่อให้มั่นใจได้ถึงอายุการใช้งานที่ยาวนาน ด้านความปลอดภัยของผู้พักอาศัย คาดว่าจะมีการติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย มีเจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์และบุคลากรทางการแพทย์คอยให้บริการ เช่น ให้คำปรึกษา ฝึกอาชีพ ดูแลสุขภาพ เป็นต้น แบบจำลองที่อยู่อาศัยนี้เป็นหนึ่งแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาคนไร้บ้าน ที่สามารถนำไปใช้สร้างในพื้นที่ต่างๆ ในเมืองที่ถูกละเลยหรือถูกทิ้งร้างให้เกิดประโยชน์มากกว่าเดิมได้ รวมถึงยังนำไปออกแบบและพัฒนาให้เข้ากับความเป็นเมืองและชุมชนอื่นๆ ตามความต้องการได้อีกด้วย สามารถติดตามผลงานอื่นๆ ของ Shail Patel ได้ที่ bit.ly/42VsShM Source :Designboom | bit.ly/3ZxdRzA

เปลี่ยนที่ดินที่ยังไม่ได้ใช้งานชั่วคราวในซานฟรานซิสโกให้เป็นบ้านหลังเล็กๆ สำหรับคนไร้บ้าน

ที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา มีบ้านหลังเล็กๆ ที่ใช้งบประมาณการสร้างมูลค่า 15,000 เหรียญสหรัฐ (เทียบเรตตอนนี้เกือบห้าแสนบาท) เพื่อเปิดโอกาสให้คนไร้บ้านย้ายเข้าไปอยู่อาศัยได้  แม้ว่าต้องใช้ห้องน้ำส่วนกลางร่วมกัน แต่ภายในบ้านก็เป็นห้องที่ให้พื้นที่ส่วนตัวขนาด 64 ตารางฟุต มีประตูที่ล็อกได้ มีระบบทำความร้อน หน้าต่าง เตียงนอน และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ ไว้อำนวยความสะดวก ทั้งนี้ 30 ยูนิตแรกเพิ่งเปิดให้บริการไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วในย่านดาวทาวน์ ส่วนอีก 40 ยูนิตจะพร้อมเปิดให้บริการในอีกไม่ช้านี้ ซึ่งการจัดสรรต่างๆ เกิดขึ้นจากฝีมือของ Urban Alchemy องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และได้รับการสมทบทุนจากเมืองซานฟรานซิสโกอีกด้วย ปัจจุบัน ผู้อยู่อาศัยรายใหม่ๆ ต่างเข้ามาลองใช้บริการหมู่บ้านนี้อย่างกระตือรือร้น คอมมูนิตี้นี้ตั้งอยู่บนที่ดินที่ยังไม่ได้รับการพัฒนา เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกสำหรับการพักพิงและแก้ไขวิกฤตปัญหาคนไร้บ้านในเมือง บ้านเล็กๆ เหล่านี้ เปรียบเสมือนหอพักที่เคลื่อนย้ายได้ ในอนาคต หากเจ้าของที่ดินต้องการทรัพย์สินคืนก็โยกย้ายไปที่อื่นๆ ได้ไม่ยาก ปัจจุบันหมู่บ้านดังกล่าวตั้งอยู่บนที่ดินของนักพัฒนาภาคเอกชน ซึ่งทำงานในโครงการบ้านจัดสรรสำหรับผู้ที่มีรายได้ต่ำ ในระหว่างที่พื้นที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ เมืองซานฟรานซิสโกจึงเข้ามาเช่าทรัพย์สินส่วนนี้ไว้ ไม่ใช่แค่ซานฟรานซิสโก แต่เมืองอื่นๆ ในสหรัฐอเมริกายังมีการสร้างบ้านขนาดเล็กๆ แบบนี้ขึ้นมาด้วย แม้จะมีความกังวลกันว่า สิ่งที่เจ้าหน้าที่ทำอาจมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาชั่วคราวมากกว่า เพราะแท้จริงหนทางแก้ไขปัญหาในระยะยาว คือการจัดการกับต้นเหตุของปัญหาคนไร้บ้านให้ดีมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง Source : […]

ฟินแลนด์ประสบปัญหาวัยรุ่นไร้บ้านและโคเคนเฟื่องฟู

จากรายงานล่าสุดของสำนักข่าว STT ในฟินแลนด์ คนหนุ่มสาวในประเทศกำลังเผชิญหน้ากับภาวะไร้บ้านกันมากขึ้น เพราะเมื่อปีที่แล้วมีคนไร้บ้านอายุต่ำกว่า 25 ปี ที่บันทึกไว้ได้ถึง 850 คน คิดเป็นจำนวน 1 ใน 5 ของประชากรไร้บ้านทั้งหมดของประเทศ ซึ่งอ้างอิงตามรายงานของศูนย์การเงินและการพัฒนาที่อยู่อาศัยของฟินแลนด์ (ARA) และเพราะไม่ค่อยมีรายงานตัวเลขเกี่ยวข้องกับประเด็นเหล่านี้มากเท่าไหร่ จึงทำให้ข้อมูลนี้น่าตกใจ Helsinki Times รายงานว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างคาดการณ์กันว่าตัวเลขจริงน่าจะสูงมากกว่านี้ เนื่องจากเยาวชนไร้บ้านมักถูกผลักออกไปจากสถิติที่แท้จริง ตัวเลขจึงไม่ได้สะท้อนภาวะของคนหนุ่มสาวที่ลงทะเบียนว่าพวกเขาอาศัยอยู่กับพ่อแม่ ในขณะที่ความเป็นจริงเยาวชนหลายคนกำลังใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ตามท้องถนนในยามค่ำคืน โดยส่วนมากแล้ว สถานการณ์ทางการเงินที่ย่ำแย่มักจะเป็นสาเหตุหลักสำคัญที่ทำให้เยาวชนในฟินแลนด์ต้องไร้บ้าน โดยเฉพาะวิกฤตโควิด-19 ที่ทำให้ปัญหาทางการเงินที่หลายๆ ครอบครัวมีอยู่แล้วกลับย่ำแย่ลงไปอีก และปัญหาไม่ได้จบลงแค่นั้น เพราะกรมศุลกากรของฟินแลนด์ (Tulli) เผยว่าประเทศกำลังประสบปัญหา ‘โคเคนบูม’ โดย MTV Uutiset รายงานว่าผู้ชายประมาณ 1 ใน 10 คน ที่มีอายุระหว่าง 25 – 34 ปี ต่างเคยได้ทดลองใช้และเสพโคเคนมาแล้ว เมื่อประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตเพราะยาเสพติด Hannu Sinkkonen ผู้อำนวยการฝ่ายกำกับดูแลศุลกากร เผยกับ MTV […]

LA สร้างหมู่บ้านหลังเล็กสีสดใส เพื่อลดวิกฤตคนไร้บ้านช่วงโควิด-19

การระบาดของโควิด-19 ทั่วโลกทำให้คนไร้บ้านเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เปราะบางยิ่งกว่าเดิม เพราะพวกเขาต้องสูญเสียทั้งงาน บ้าน และรายได้จากวิกฤตในครั้งนี้ รัฐจึงมีบทบาทสำคัญที่ช่วยให้คนไร้บ้านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ในสถานการณ์นี้  คนไร้บ้านในนครลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จะไม่ไร้บ้านอีกต่อไป เมื่อรัฐได้สร้าง Chandler Boulevard Bridge Home Village หมู่บ้านขนาดกะทัดรัด สีสันสดใสสำหรับคนไร้บ้านขึ้นมา หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งอยู่ในย่าน North Hollywood ของเมืองลอสแอนเจลิส ที่นี่คือโครงการนำร่องชั่วคราวเพื่อสร้างบ้านให้ประชาชน ที่ไม่มีที่พักอาศัยเป็นของตัวเอง ที่สำคัญโครงการนี้ยังเป็นส่วนหนึ่งของแผนตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินของทางการลอสแอนเจลิส ในการแก้ไขวิกฤตคนไร้บ้านที่น่ากังวลขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด  รายงานของ Los Angeles Homeless Services Authority เปิดเผยว่า ในปี 2020 เมืองลอสแอนเจลิสมีคนไร้บ้านกว่า 41,000 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นจากปี 2019 กว่า 16%  ที่นี่คือชุมชนบ้านหลังเล็กแห่งแรกของลอสแอนเจลิส ซึ่งนอกจากจะเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการแก้ไข ปัญหาคนไร้บ้านแล้ว การดำเนินการสร้างก็น่าสนใจไม่แพ้กัน ผู้รับผิดชอบการออกแบบและก่อสร้างหมู่บ้านแห่งนี้ ได้แก่ Lehrer Architects และ Bureau of […]

แฟลตลังเหล็ก ที่พักคนไร้บ้านยามโควิด-19 จากตู้คอนเทนเนอร์

ตู้คอนเทนเนอร์เก่าทำอะไรได้มากกว่า ‘กำแพงเหล็ก’ เพราะ ‘County Supervisor’ ของเมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกาผุดโครงการบ้านพัก The Hilda L. Solis Care First Village บนย่านดาวน์ทาวน์ เพื่อดูแลประชาชนที่ประสบปัญหาไร้บ้าน โดยแบ่งเป็น 2 อาคารและใช้ตู้คอนเทนเนอร์ทั้งหมด 66 ตู้มาแบ่งเป็นยูนิตและเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกเข้าไปจนเหมือนบ้าน เดิมทีมันถูกแพลนไว้เป็น ‘เรือนจำใหม่’ จนกระทั่งปี 2019 ก็เปลี่ยนแผนยกใหญ่อีกครั้ง เพราะประชาชนในลอสแอนเจลิสมากกว่า 60,000 คน กำลังประสบปัญหาการ ‘ไร้บ้าน’ ทำให้ภาครัฐต้องการสร้างที่พักพิงสำหรับคนไร้บ้านมากกว่า ประจวบกับวิกฤตโรคระบาดที่เพิ่มจำนวนคนไร้บ้านขึ้นเรื่อยๆ แถมยังมีความเสี่ยงติดเชื้อสูง จึงเป็นตัวเร่งให้ ‘แฟลตลังเหล็ก’ แห่งนี้เกิดขึ้นเร็วกว่าที่คิด โดยมี ‘NAC Architecture’ และ ‘Bernards’ เป็นผู้รับผิดชอบในการออกแบบและก่อสร้าง The Hilda L. Solis Care First Village ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5,946 ตร.ม. ประกอบไปด้วยอาคาร 3 […]

‘ไทยกำลังลืมคนไร้บ้าน’ โควิด-19 ไม่เลือกติดเฉพาะชนชั้น

คุณน่าจะรู้ว่าไทยเป็น ‘ประเทศเดียว’ ที่ประชาชนควักเงินจ่ายวัคซีนทางเลือกเอง และก็ไม่ใช่ทุกคนจะมีสิทธิ์ได้รับวัคซีนด้วยนะ เพราะถ้าไม่มีเงินจ่ายค่าเน็ต ลงทะเบียนในเว็บไซต์หรือแอปฯ ต่างๆ ก็อด บางคนมีเงินแต่ก็ยังจองไม่ได้ เพราะจำนวนวัคซีนที่มีให้จำนวนจำกัด วัคซีนจากรัฐบาลยิ่งไม่ต้องพูดถึง นอกจากให้ Sinovac มาโดยไม่ได้ร้องขอ จนแพทย์ด่านหน้าติดเชื้อ ภูมิคุ้มกันไม่ขึ้น AstraZeneca ชนชั้นกลางยังคงแย่งลงทะเบียนวัคซีน ได้ฉีดบ้าง เลื่อนโดยไม่มีกำหนดบ้าง Pfizer ที่อเมริกาบริจาคให้ แพทย์บางคนก็ยังไม่ได้ฉีด  การเข้าถึงวัคซีนที่ทรหดในไทยนำไปสู่ยอดติดเชื้อโควิด-19 พุ่งสูง โรงพยาบาลรัฐ เอกชน และโรงพยาบาลสนามเต็ม ทำให้ต้องมีระบบ Home Isolation เข้ามา แต่กลับไม่ให้ข้อมูลที่ชัดเจน รัฐแก้ปัญหาด้วยการล็อกดาวน์ แต่ยังทำให้คนตกงาน รายได้หาย คนตายเพิ่ม และใช่ ‘คนนอนตายข้างถนน’ ก็มีเหมือนกัน น่าเศร้าที่คนตายข้างถนนบางส่วนเป็น ‘คนไร้บ้าน’ เร่ร่อน ไม่มีสวัสดิการ ไม่มีโอกาสจองวัคซีน ไม่มีเงินออกนอกประเทศไปฉีดวัคซีนดีๆ เข้าไม่ถึงระบบการรักษา ไม่มีอะไรเลย พวกเขาเป็นเพียงกลุ่มคนที่กำลังจะหมดลมหายใจ เพราะรัฐไทยไร้ความมั่นคง “คนเร่ร่อนคือผลกระทบของทุกปัญหาในประเทศที่ถูกซุกไว้ใต้พรม วันที่มีคนตายข้างถนน และนายกฯ ยืนยันว่า ห้ามมีภาพเหล่านั้นอีก […]

ไร้บ้านไม่ไร้ค่า หนึ่งวันกับ ‘คนไร้บ้าน’ ชีวิตที่อยากให้เข้าใจ

เรียนรู้ชีวิตคนไร้บ้านไปพร้อมกับ ‘พี่เอ๋-สิทธิพล ชูประจง’ หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนนที่พาเราไปเข้าถึงคนไร้บ้านอย่างเปิดใจให้ว่าง เพื่อทำความเข้าใจ รับฟังเรื่องราว รับรู้ปัญหา และถ่ายทอดสิ่งที่พบเจอให้ทุกคนได้สัมผัส ‘คนไร้บ้าน’ ในมุมมองใหม่

‘บ้านพักชั่วคราว’ สำหรับคนไร้บ้าน

คำว่า ‘บ้าน’ ความหมายของทุกคนคงไม่มีทางเหมือนกันแน่ๆ แต่สำหรับคนไร้บ้านความหมายของคำว่า ‘บ้าน’ อาจเป็นพื้นที่ธรรมดาๆ ซึ่งแน่นอนว่าในช่วงไวรัส COVID-19 ระบาดหนักทั่วโลก บ้านของพวกเขาก็คงจะไม่ปลอดภัยอีกต่อไป

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.