เปรูปรับปรุง Sightwalks ใหม่ หวังช่วยให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นใช้ชีวิตและเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้น

หลายคนคงเคยเห็นแผ่นปูนซีเมนต์ตามทางเท้าที่เป็นรอยเส้นขีดแนวตั้ง ที่มีตั้งแต่หนึ่งเส้นขีดไปจนถึงหลายเส้นขีด เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกทางแก่ผู้บกพร่องทางการมองเห็นให้ใช้ทางเท้าได้สะดวกขึ้น ไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ ในประเทศเปรูนั้น ผู้บกพร่องทางการมองเห็นนับได้ว่าเป็นหนึ่งในความพิการที่พบได้บ่อยที่สุด แต่ภูมิทัศน์ของเมืองกลับไม่เอื้ออำนวยความสะดวกให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ทางเอเจนซีโฆษณา ‘Circus Grey Peru’ ผู้ผลิตปูนซีเมนต์ ‘Cemento Sol’ และเทศบาล ‘Miraflores District’ จึงร่วมมือกันปรับปรุงทางเท้าในเมืองหลวง Lima เพื่อให้ผู้บกพร่องทางการมองเห็นกว่า 500,000 คนในเมืองสัญจรไปมาอย่างสะดวกสบาย และเข้าถึงบริการต่างๆ ผ่านการใช้สัญลักษณ์เส้นขีดบนแผ่นปูนซีเมนต์ที่ระบุถึงบริการและสถานที่นั้นๆ เช่น เส้นขีด 1 ขีดสำหรับร้านอาหาร, 3 ขีดสำหรับร้านสะดวกซื้อ หรือ 6 ขีดสำหรับโรงพยาบาล ภายในพื้นที่กว่า 75,000 ตารางเมตรบนถนน Miraflores นั้นได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นอย่างมาก และในอนาคตจะมีการขยายไปยังเขตอื่นๆ ใน Lima รวมถึงจุดประกายไอเดียให้กับพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลกด้วย Sources : DesignTAXI | t.ly/Al0HlLBBOnline | t.ly/feCcF

เดบิวต์เป็นนักเขียนที่ Keangun.com เว็บไซต์การอ่านสำหรับคนตาบอด ที่คนตาดีก็เข้าไปอ่านและแชร์นิยายได้

ปัจจุบันมีเว็บไซต์นิยายออนไลน์จำนวนมากเปิดให้บริการ เพื่อให้นักอ่านสามารถอ่านเรื่องราวสนุกๆ ได้ทุกที่ทุกเวลา แต่เหล่านักอ่านที่ว่านั้นอาจไม่ได้ครอบคลุมถึงนักอ่านที่ตาบอดด้วย Urban Creature จึงอยากขอแนะนำ ‘เว็บไซต์บทความ เรื่องสั้น นิยาย เรื่องราวดีๆ : เขียนกัน.com keangun.com’ แพลตฟอร์มการอ่านที่พัฒนาโดยคนตาบอด มีจุดมุ่งหมายให้คนทุกกลุ่มสามารถใช้งานได้ โดยไม่ได้จำกัดแค่คนตาบอดหรือคนตาดีอย่างเดียว เว็บไซต์ ‘เขียนกัน’ เกิดขึ้นจากการที่แพลตฟอร์มการอ่านนิยายออนไลน์หลายเจ้าปรับโครงสร้างหรือหน้าตาของแพลตฟอร์มให้ทันสมัยขึ้น ทว่าสิ่งที่ตามมาคือ บางเว็บไซต์ที่คนตาบอดเคยใช้โปรแกรม Screen Reader อ่านนิยายได้ เมื่อมีการปรับปรุงใหม่ พวกเขากลับไม่สามารถใช้ตัวช่วยอ่านหน้าจอเพื่อเข้าถึงเนื้อหานิยายหรือใช้งานแพลตฟอร์มเหมือนเดิมได้ หรือถ้าทำได้ก็ค่อนข้างลำบาก ไม่ไหลลื่น รวมไปถึงเว็บไซต์ประจำที่ ‘ต่อ – สุริยันต์ สายชมภู’ ผู้พัฒนาและคนตาบอดอื่นๆ ใช้งานอยู่นั้นก็ไม่เอื้อต่อการอ่านสำหรับคนตาบอดอีกต่อไป ทำให้ต่อเริ่มทำเว็บ ‘เขียนกัน’ ขึ้นมา เพราะแม้ว่าเว็บไซต์อื่นจะเข้าถึงนิยายออนไลน์ไม่ได้ แต่ก็ยังมี ‘เขียนกัน’ ที่คนตาบอดจะสามารถเข้าถึงได้แน่ๆ เพราะเขาเป็นคนลงมือทำเองเกือบทั้งหมด ต่อบอกกับเราว่า ความยากของการทำเว็บไซต์นี้คือการออกแบบการใช้งาน ที่นอกจากต้องทำเว็บไซต์ให้คนตาบอดใช้งานได้ง่ายแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความสวยงามสำหรับผู้ใช้บริการที่เป็นคนตาดีอีกด้วย และแม้ว่าจะเริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ด้วยตัวเองก็ตาม แต่หากมีส่วนไหนที่จำเป็นต้องใช้การออกแบบ ก็ต้องว่าจ้างคนทำเว็บจากข้างนอกมาช่วย และมีการทดสอบการใช้งานก่อนจะเปิดให้สมาชิกได้ใช้บริการ ปัจจุบันเว็บไซต์มีสมาชิกรวมทั้งสิ้นประมาณ 1,400 คน […]

แบ่งปันหนังสือที่ชอบผ่านอักษรเบรลล์ กับโครงการ ‘พิมพ์หนังสือให้คนตาบอด’ กิจกรรมอาสาจาก Uncommon Volunteer

หากใครกำลังมองหากิจกรรมยามว่างที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอยู่ เราอยากชวนมาเป็นอาสาสมัครในโครงการ ‘พิมพ์หนังสือให้คนตาบอด’ กัน  ก่อนหน้านี้เราได้เห็นกิจกรรมอ่านหนังสือเพื่อคนตาบอดมาบ้างแล้ว ซึ่งบางคนอาจไม่สะดวกหรือมีข้อจำกัดในการลงเสียง การพิมพ์จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้เราได้ร่วมกิจกรรมอาสา โดยเป็นการพิมพ์ตามตัวเนื้อหาในหนังสือที่เราสนใจ เพื่อส่งต่อเรื่องพิมพ์นั้นให้หน่วยงานที่สอดคล้องกับการศึกษาของผู้พิการทางสายตา ไปจัดทำเป็นอักษรเบรลล์ในการผลิตหนังสือให้คนตาบอดได้พัฒนาความรู้และเพลิดเพลินกับเรื่องราวสนุกๆ การพิมพ์หนังสือให้คนตาบอดนั้นเป็นงานอาสาจาก Uncommon Volunteer เว็บไซต์ที่รวบรวมงานอาสาทั้งในประเทศและระดับนานาชาติให้ผู้ที่สนใจ สำหรับการพิมพ์หนังสือให้คนตาบอดนั้นสามารถพิมพ์หนังสือประเภทใดก็ได้ที่ไม่ใช่หนังสือเรียนหรือมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียน และต้องไม่ซ้ำกับเล่มที่เคยมีมาก่อน โดยอาสาสมัครตรวจสอบหนังสือบนเว็บไซต์ก่อนพิมพ์ได้  ส่วนใครที่เป็นกังวลเรื่องของลิขสิทธิ์ก็ขอบอกให้สบายใจว่า ลิขสิทธิ์ของหนังสือนั้นได้รับอนุญาตให้ใช้เพื่อคนพิการภายในองค์กรที่ดูแลเรื่องการศึกษาของผู้พิการโดยตรง หรือถ้าไม่มั่นใจ จะติดต่อเรื่องลิขสิทธิ์กับทางสำนักพิมพ์โดยตรงก่อนร่วมกิจกรรมอาสาก็ได้ ไม่เพียงแต่การพิมพ์หนังสือให้คนตาบอดเท่านั้น ทาง Uncommon Volunteer ยังมีกิจกรรมอาสาอื่นๆ ให้ได้เข้าร่วมกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นการแต่งนิยายหรือนิทานเพื่อคนตาบอดและเด็ก, วาดภาพเพื่อน้องด้อยโอกาส, พิมพ์ข้อสอบออนไลน์ หรือแม้แต่การทำคอนเทนต์เพื่อประชาสัมพันธ์งานอาสาออนไลน์ลงในแพลตฟอร์ม TikTok ซึ่งบางกิจกรรมจะมีใบรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมให้ด้วย ติดตามรายละเอียดงานอาสาต่างๆ ได้ที่ Uncommon Volunteer – จิตอาสาออนไลน์.com หรือทางเว็บไซต์ uncommonunique.com/home-thai

ใช้สัมผัสบอกสีสันและรูปทรง .ONCE แบรนด์เสื้อผ้าที่ทำให้คนตาบอดสนุกกับการแต่งตัว

หากเช้าวันหนึ่งคุณตื่นมาแล้วพบว่า โลกใบนี้ถูกย้อมไปด้วยสีดำสนิท คุณจะใช้ชีวิตอย่างไร ลองจินตนาการต่อว่า คุณกำลังเปิดตู้เสื้อผ้าท่ามกลางความมืดมิด เพื่อที่จะแต่งตัวออกไปข้างนอกคุณคิดว่า Outfit วันนี้หน้าตาจะเป็นอย่างไร จะหยิบสีถูกกาลเทศะหรือไม่ก็ไม่อาจจะทราบได้ มันคงลำบากขึ้นกว่าเดิมไม่น้อยเลยสินะ นี่แหละคือโลกที่คนตาบอดเจอในทุกวัน สีของเสื้อผ้า เรื่องเล็กๆ ที่เป็นปัญหาใหญ่สำหรับคนตาบอด กลายเป็นจุดเริ่มต้นของแบรนด์เสื้อผ้าคนตาบอด .ONCE และ จิระ ชนะบริบูรณ์ชัย ชายตาดีผู้นำเอาบทเรียนพิเศษจากคนตาบอดปักอักษรเบรลล์ ลงไปบนธุรกิจผ้าของครอบครัว คิดค้นเป็นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว จนสามารถเติมเฉดสีเข้าไปในโลกมืดมิด และยังคิดค้นเพิ่มความสนุกลงไปบนเสื้อผ้า ด้วยเทคนิคพิเศษดีกรีรางวัลนวัตกรรมแห่งชาติ ให้คนตาบอดได้รู้สึกสนุกไปกับการแต่งตัวได้มากขึ้นในแต่ละวัน เหตุการณ์ ‘ขำขื่น’ เหตุเกิดแบรนด์ จิระ ชนะบริบูรณ์ชัย หรือ จุ้ย เติบโตในครอบครัวที่คุณป้าตาบอดสนิท ส่วนคุณลุงตาบอดเลือนราง เขาเห็นการใช้ชีวิตประจำวันของทั้งสองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการกิน การเดินทาง การทำงาน การสื่อสาร ทำให้จุ้ยเห็นว่าโลกมืดสนิทไม่ได้เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันขนาดนั้น “หลายคนมักมองว่าชีวิตคนตาบอดนั้นน่าสงสาร แต่จริงๆ แล้วเขาก็ไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วไป แค่มีวิธีการใช้ชีวิตที่แตกต่างกันออกไป เหมือนกับโลกของเขาเป็นโลกอีกใบ ที่เป็นโลกแห่งความมืด และวิ่งควบคู่ไปกับโลกของคนทั่วไป เป็นโลกคู่ขนานกัน” ทั้งสองยังเป็นคนที่มอบรอยยิ้มและความอบอุ่นให้คนรอบข้างอยู่เสมอ แต่มีอยู่เหตุการณ์หนึ่งที่ทำให้จุ้ยฉุกคิดถึงปัญหาการมองไม่เห็น นั่นคือ ‘การแต่งตัว’  “มีวันหนึ่งครอบครัวเรากำลังจะไปงานศพกัน แต่คุณลุงกับคุณป้าออกมาจากห้องพร้อมชุดสีแดง”  ฟังดูแล้วอาจเหมือนกับตลกร้ายในภาพยนตร์ที่ […]

มองไม่เห็นใช้ชีวิตในเมืองอย่างไร ? ฟังจากปากคนตาบอด ‘พี่แก๊ป NECTEC’

การใช้ชีวิตในเมืองที่แสนชุลมุน ทั้งต้องเผชิญกับการเดินทางหลากหลายรูปแบบ และต่อสู้กับระบบอำนวยความสะดวกที่อาจไม่ได้สะดวกสำหรับทุกคนจริงๆ มาลองฟังความคิดเห็นและประสบการณ์จากปากคนตาบอด ‘พี่แก๊ป – เทอดเกียรติบุญเที่ยง’ ผู้พิการทางสายตาตั้งแต่กำเนิดวัย 29 ปี กับตำแหน่งผู้ช่วยวิจัยที่ NECTEC หรือ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กับมุมมองที่คนตาดีทั่วไปอาจไม่เคยรู้มาก่อน

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.