ย้อนดูหลักฐานการต่อสู้ของประชาชนที่นิทรรศการ ‘วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน’ 20 ก.พ. – 26 พ.ค. 66 ที่ มธ. รังสิต

หลายครั้งที่การชุมนุมประท้วงหรือการต่อต้าน มักถูกฉายด้วยภาพจากฝั่งรัฐว่าเป็นการกระทำที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดความวุ่นวาย จนประชาชนทั่วไปติดภาพของการออกมาชุมนุมว่าเป็นสิ่งที่เลวร้าย ทั้งที่จริงแล้วในรัฐธรรมนูญไทยหลายฉบับต่างรับรองเสรีภาพในการชุมนุมว่าเป็นสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่ประชาชนพึงมี เพื่อให้การชุมนุมเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้สื่อสารความต้องการของตัวเองออกมาได้ และในการชุมนุมประท้วงเหล่านี้เอง สิ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือแสดงเจตจำนงอย่างมีศิลปะและความคิดสร้างสรรค์แต่คงไว้ด้วยความตรงไปตรงมา เพื่อให้สารหรือข้อเรียกร้องมีพลังและไปถึงผู้คนที่หลากหลายมากขึ้น นั่นก็คืออุปกรณ์ เครื่องแต่งกาย หรือวัตถุพยานอื่นๆ ในช่วงเวลานั้นๆ เพื่อรวบรวมวัตถุพยานที่หลงเหลือจากเหตุการณ์การชุมนุมเอาไว้ ‘พิพิธภัณฑ์สามัญชน Museum of Popular History’ จึงได้ร่วมมือกับ ‘พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์’ โดยมี ‘KINJAI CONTEMPORARY’ เป็นผู้จัดร่วมและออกแบบจนเกิดเป็นนิทรรศการ ‘วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน (Evidences of Resistance)’ ขึ้น ภายในจะจัดแสดงวัตถุพยานสำคัญของความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยรัฐ รวมไปถึงวัตถุที่แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์และอารมณ์ขันของผู้ชุมนุม ภายใต้สถานการณ์ตึงเครียดจนเหมือนไร้ซึ่งความหวัง เพราะสำหรับประชาชนมือเปล่าที่ไร้อำนาจและอาวุธ ความคิดสร้างสรรค์จึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญเพียงไม่กี่อย่างที่พวกเขาใช้ได้  นิทรรศการ ‘วัตถุพยานแห่งการต่อต้าน’ จัดขึ้นที่ห้อง 112 พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ม.ธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ – 26 พฤษภาคม 2566 โดยเปิดให้เข้าชมได้ในวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 09.30 – […]

ชวนฟังเสียงวัยรุ่นในดินแดง และชวนสมทบทุนให้คนทำสารคดีกับทีมแพทย์อาสา

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหลายคนคงได้ชม Prologue สารคดีรสชาติจัดจ้านเรื่อง Sound of ‘Din’ Daeng โปรเจกต์ล่าสุดที่กำลังสร้างและระดมทุนของ ‘เบิ้ล-นนทวัฒน์ นำเบญจพล’ ผู้กำกับสารคดีหนุ่มชาวไทยที่เคยฝากผลงานประเด็นเชิงสังคมหนักๆ ไว้ในผลงานอย่าง ฟ้าต่ำแผ่นดินสูง, สายน้ำติดเชื้อ, ดินไร้แดน และอื่นๆ ถ้าใครยังไม่ได้ดู Urban Creature แนะนำเลยว่าห้ามพลาด ท่ามกลางการชุมนุมทางการเมืองที่มีอยู่หลากหลายกลุ่มในปัจจุบัน นนทวัฒน์ ตัดสินใจติดตามกลุ่มวัยรุ่นที่มาร่วมชุมนุมในย่านดินแดง ดินแดนที่ไร้แกนนำ ไร้การปราศรัย และไร้กิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ชัดเจน แต่วัยรุ่นพลังล้นเหล่านี้ต่างพร้อมเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่รัฐแบบไม่หวั่นเกรงกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และพร้อมท้าทายความตายอย่างคนหลังชนฝา ซึ่งหลายคนรู้จักพวกเขาในชื่อ ‘ทะลุแก๊ซ (Thalugaz)’ “ผมโตมากับยุคที่มันเหมือนสลัมอะพี่ จุดหนึ่งเราไม่ค่อยมีเงินไปโรงเรียน ก็เลยไม่ได้ไป”  “ผมอยากให้ลูกผมไปอยู่ในที่ที่ดีกว่าเรา ถ้ามีลูก ผมไม่อยากให้เขาเจอแบบเรา อยากให้ลูกมีการงานที่ดี เรียนสูงๆ”  “เราแค่ออกมาส่งเสียงร้องเรียน ความจริงเราไม่ได้ตั้งใจจะมาต่อยตี แต่เขาเป็นฝ่ายทำเราก่อน”  จากบทสนทนาที่นนทวัฒน์พูดคุยและบันทึก สะท้อนให้เห็นว่าหลายคนมองพวกเขาเป็นเพียงกลุ่มวัยรุ่นเกเรขาลุยที่พร้อมบวกกับ คฝ. เพื่อสนองความสะใจเสียมากกว่าจะมีประเด็นทางการเมืองที่หนักแน่นจริงจัง แต่แท้จริงแล้วพวกคุณคิดว่าพวกเขาเป็นคนคิดตื้นๆ อย่างนั้นจริงๆ น่ะเหรอ? เมื่อทุกเสียงของคนในสังคมสำคัญ เสียงสะท้อนของวัยรุ่นที่มารวมตัวบริเวณแยกดินแดงจึงต้องได้รับการฟังไม่น้อยไปกว่าใครหน้าไหน Sound of ‘Din’ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.