ชาว Urban Creature และ 5 รูตเดินสุดมัน เติมความสนุก เติมความสดชื่น เติมใจให้เต็มอิ่มด้วยสองเท้า

ใจพร้อม กายพร้อม เตรียมตัวออกไปเดินเมืองสนุกๆ แล้ว แต่สิ่งเดียวที่ยังขาดคือเส้นทางสุดมันที่จะไม่เป็นการเดินเรื่อยๆ แสนธรรมดา วันนี้ชาว Urban Creature ขอเลือกรูตสนุกๆ ในดวงใจ เพื่อเป็นไอเดียให้ทุกคนได้ไปเดินตามกันง่ายๆ ตั้งแต่รูตชิลๆ สบายๆ ในการเดินสวนโดยไม่ต้องออกแรงมาก เส้นทางสีเขียวที่จะเติมความสดชื่นให้กับวัน หรือเส้นทางสุดประหยัดที่ทำให้รู้ว่าการเดินช่วยให้เราเก็บเงินได้อีกมาก ใครพร้อมเข้าก๊วนนักเดิน ลองเริ่มด้วยลิสต์เหล่านี้ก็ได้ ชื่อ : ชิตวัน เพชรรัตน์ตำแหน่ง : Graphic Designerรูตที่ชวนเดิน : เส้นทางของตัวละครหลักตำแหน่งที่ตั้ง : maps.app.goo.gl/LG8YxZFRCsvQQDn2APlaylist ฟังเพลินตลอดเส้นทางเดิน : open.spotify.com/playlist/0BbfmZFZ2CDocgmVFVFy9o?si=2221ac44fa3f4ddd โดยส่วนตัวแล้ว สวนหลวง ร.9 เป็นสถานที่ที่มักจะนึกถึงในวันที่อากาศดีเป็นพิเศษจนอยากทำกิจกรรมกลางแจ้ง คนส่วนมากมีเป้าหมายเป็นการวิ่งออกกำลังกายยามเย็น แต่ในมุมคนที่ไม่ค่อยชอบออกแรงเท่าไหร่ สวนนี้มีเส้นทางที่เหมาะจะนำมาประกอบเพลย์ลิสต์โปรดที่ทำให้เรากลายเป็นตัวเอกในโลกของตัวเอง ไม่ว่าจะด้วยการเล่น MV หรือสร้างฉากหนังในหัว หรือหากมองอย่างจริงจังกว่านั้น การได้อยู่คนเดียวท่ามกลางธรรมชาติก็ทำให้เราได้ยินสิ่งที่ตัวเองคิดชัดขึ้น พักผ่อนจากการตอบสนองสิ่งต่างๆ และทบทวนตัวเองอย่างตั้งใจ ในสวนขนาดใหญ่นี้มีเส้นทางหลายเส้นที่เดินสนุก แต่วันนี้ขอเสนอเส้นทางเลียบทะเลสาบ ซึ่งโดยมากแล้วจะเป็นเส้นทางที่เย็นสบายอยู่ตลอดด้วยลมที่พัดผ่านน้ำ เริ่มจากลานออกกำลังกาย เราจะเดินผ่านครอบครัวที่กำลังปิกนิก คนปั่นเรือเป็ด และบางทีก็มีเวทีดนตรีสด เมื่อเดินไปเรื่อยๆ […]

ไม่ต้องดื่มน้ำแบบกลัวหมดตอนอยู่นอกบ้านอีกแล้ว กทม.ติดตั้งตู้เติมน้ำเย็นฟรีกว่า 200 จุด ช่วยดับร้อนพร้อมลดจำนวนขยะพลาสติก

หลายคนรู้ดีว่า การดื่มน้ำระหว่างวันโดยเฉพาะการดื่มน้ำเย็นจากกระบอกน้ำเก็บความเย็นเป็นตัวช่วยคลายความร้อนจากอากาศอบอ้าวได้ดีสุดๆ แถมยังช่วยลดการสร้างขยะได้ แต่บางคนก็อาจรู้สึกว่าการพกกระบอกน้ำติดตัวไม่ได้ช่วยลดขยะเท่าไรนัก เพราะหากดื่มหมดแล้วก็ต้องซื้อน้ำดื่มมาเติมใหม่อยู่ดี กรุงเทพมหานครร่วมมือกับภาคเอกชนติดตั้งตู้กดน้ำเย็นฟรี หลังจากปี 2567 ที่ผ่านมา ได้มีการนำร่องติดตั้งตู้กดน้ำดื่มฟรี 10 จุดในกรุงเทพมหานครไปแล้ว โดยในปีนี้ได้ขยายพื้นที่การให้บริการตู้กดน้ำมากถึง 200 จุด ซึ่งตอนนี้ติดตั้งแล้วกว่า 188 จุดตามสถานที่ต่างๆ เช่น ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักงานเขต สวนสาธารณะ ศูนย์กีฬา ศูนย์นันทนาการ ห้องสมุด ศูนย์ฝึกอาชีพ เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงจุดเติมน้ำได้สะดวกสบายขึ้น บริการตู้กดน้ำดื่มไม่ได้โฟกัสแค่การซัพพอร์ตเราให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอพร้อมคลายร้อนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ประชาชนประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มระหว่างวัน รวมไปถึงช่วยลดขยะพลาสติกจากขวดน้ำใช้ครั้งเดียวทิ้งอีกด้วย เช็กจุดเติมน้ำได้ที่ tinyurl.com/bcnkpujx 

ใครยังโสดยกมือขึ้น!เมื่อกรุงเทพฯ กลายเป็นเมืองร้างรัก จากจำนวนคนโสดเกินครึ่งเหตุเพราะผังเมืองและชีวิตไร้ความโรแมนติก

ทิ้งทวนกระแส Single’s Inferno รายการเดตสุดฮิตของประเทศเกาหลีใต้ ด้วยคอนเซปต์เข้าใจง่ายอย่างการมีคู่จะได้ไปเดตกันที่เกาะสวรรค์ ใช้ชีวิตสนุกสนาน มีความสุข ส่วนคนที่จับคู่ไม่สำเร็จก็ต้องจมอยู่ในเกาะนรกต่อไป ถ้าพูดว่าสถานที่ที่เต็มไปด้วยคนโสดคือเกาะนรก ตอนนี้กรุงเทพมหานครของเราก็อาจจะเป็นเกาะนรกไม่ต่างกัน เนื่องจากข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (SES) ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2566 พบว่า ทั้งประเทศมีคนโสดอยู่ 23.9 เปอร์เซ็นต์ หรือคิดง่ายๆ ว่า ถ้ามีคนไทยเดินมา 5 คน หนึ่งในนั้นเป็นคนโสด และส่วนที่สำคัญที่สุดคือ คนโสดส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเมือง โดยกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนโสดต่อประชากรในพื้นที่สูงที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ ถึงร้อยละ 50.4 อีกหนึ่งความน่าสนใจคือ 1 ใน 3 ของคนโสด (32.7%) จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป และเมื่อแบ่งตามเพศพบว่า คนโสดเพศหญิงมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 42 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว โดยคนโสดเพศชายมีสัดส่วนคนจบปริญญาตรีอยู่ที่ 25.7 เปอร์เซ็นต์ หรือสรุปง่ายๆ ว่า คนโสดส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงที่จบปริญญาตรีและอาศัยอยู่ในตัวเมือง แน่นอนว่าพออ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจพานคิดถึงเหมยลี่ ไอคอนิกแห่งสาวโสดชาวกรุง หรือแม้กระทั่งเราๆ เองที่อาศัยอยู่ในเมืองนี้ด้วยใจลำพังเช่นกัน ช้ำใจที่ยังโสด ต้องโทษผังเมืองกรุงเทพฯ […]

กินอร่อยแถมสบายใจ ไม่สร้างขยะ ส่อง 600 ร้านอาหารบน ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ โครงการใหม่ที่ กทม.ปักหมุดร้านที่แยกขยะดี

หลังจากความสำเร็จของโครงการไม่เทรวม ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการขยะของ กทม. และลดปริมาณขยะได้อย่างต่อเนื่อง จาก 11,000 ตันต่อวันในปี 2562 เหลือ 9,000 ตันต่อวันในปีนี้ และยังช่วยลดงบประมาณในการกำจัดขยะได้ถึง 300 ล้านบาท ปีนี้ กทม.จึงทำโครงการใหม่ที่ตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดย ‘พรพรหม วิกิตเศรษฐ์’ ที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และผู้บริหารด้านความยั่งยืนของกรุงเทพมหานคร ได้อธิบายถึงระบบการจัดการขยะของ กทม.ว่า มีการแบ่งขนาดเป็น S M และ L  ไซซ์ S คือการจัดการขยะของประชาชนทั่วไปตามบ้านเรือนต่างๆ ไซซ์ M คือร้านอาหาร ส่วนไซซ์ L คือห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่ขนาดใหญ่ที่มีขยะจำนวนมาก ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีร้านอาหารกว่า 200,000 ร้าน และเป็นแหล่งกำเนิดขยะจำนวนไม่น้อย กทม.จึงเข้าไปดูแลขยะหลังครัวและหลังกินจากการแยกขยะตั้งแต่ต้นทางผ่านโครงการ ‘ร้านนี้ไม่เทรวม’ ที่ร่วมมือกับร้านอาหารที่มีการจัดการขยะถูกต้อง พร้อมปักหมุดร้านที่เข้าร่วมโครงการบนเว็บไซต์ Greener Bangkok เพื่อให้ทุกคนเลือกอุดหนุนร้านที่แยกขยะดีๆ กันได้ง่ายขึ้น นอกจากเป็นการชี้เป้าร้านอาหารที่แยกขยะได้ดีแล้ว โครงการนี้ยังช่วยคาดการณ์ปริมาณขยะที่เกิดจากร้านอาหารและงบประมาณในการจัดการขยะอีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการจัดเก็บค่าธรรมเนียมขยะรูปแบบใหม่ของกรุงเทพมหานครที่จะเริ่มใช้ในเดือนตุลาคม 2568 ตามประเภทผู้ก่อขยะ […]

‘ถนนบริพัตร’ เดินเมืองไปตามย่านสารพัดช่างในเขตเมืองเก่าที่กำลังรอวันพัฒนา

ในเกาะรัตนโกสินทร์และเขตเมืองเก่าของกรุงเทพฯ มีถนนหลายสายตัดกันไปมาเป็นโครงข่าย หลายสายถูกมองข้าม และหลายสายคนไม่รู้จัก เช่นกันกับ ‘ถนนบริพัตร’ หากเอ่ยเพียงแค่ชื่ออาจไม่คุ้นว่าถนนสายนี้อยู่ตรงไหน ซึ่งจริงๆ แล้วเส้นทางสายยาวเลียบไปตามคลองรอบกรุงนี้มีถนนอีกหลายสายตัดผ่าน แถมติดกับย่านสำคัญอีกหลายแห่ง ทั้งสำราญราษฎร์-ประตูผี สามยอด วรจักร คลองถม จนถึงเยาวราช เชื่อว่าต้องมีบางคนบ้างละที่เคยเดินหรือนั่งรถผ่านโดยไม่ทันรู้ตัว เมื่อมองจากแผนที่จะเห็นว่าถนนสายนี้เป็นเส้นตรงยาวอยู่พอตัว เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กับถนนเยาวราช เชิงสะพานภาณุพันธุ์ ใกล้กับเวิ้งนาครเขษม โดยตลอดสองฟากฝั่งถนนมีอาคารพาณิชย์รุ่นเก่าวางตัวเรียงกันอย่างสวยงาม คอลัมน์ Neighboroot รอบนี้อยากชวนออกแรงเดินเมืองสักนิด เหลียวซ้ายแลขวาโซนอื่นๆ ของถนนสายประวัติศาสตร์นี้ ดูกิจการร้านรวงที่สืบทอดมาแต่อดีต รวมถึงเปิดบทสนทนากับผู้คนดั้งเดิมและสมาชิกใหม่ๆ ที่เริ่มเข้ามาทำให้ย่านนี้เปลี่ยนหน้าเปลี่ยนตาจากที่เคยเห็น ถ้าพร้อมแล้ว ไปเดินกัน! ถนนสายประวัติศาสตร์และตลาดใหญ่ในความทรงจำ เขตเมืองเก่ามีถนนหลายสายที่ตั้งชื่อตามพระนามของเหล่าเจ้านายพระองค์ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเส้นทางตัดใหม่ที่กระจายจากใจกลางเมืองออกสู่ชานพระนครในสมัยนั้น ถือเป็นพยานของการพัฒนาเมืองเมื่อกว่าร้อยปีที่แล้ว โดยปัจจุบันหลายแห่งกลายเป็นย่านการค้าที่มีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป ที่มาของชื่อถนนสายนี้คงเกิดขึ้นจากการที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วจึงพัฒนาพื้นที่ย่านนี้โดยตั้งใจให้เป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ดังชื่อที่ตั้งว่า ‘นาครเขษม’ โดยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีนแต้จิ๋วที่ตั้งบ้านเรือนร้านค้าขายสรรพสินค้านานาชนิด ตั้งแต่เครื่องทองเหลือง เครื่องดนตรี ข้าวของเครื่องใช้ ไปจนถึงของเก่าของสะสม หลายฝน หลายหนาว รอบข้างของถนนสายนี้เปลี่ยนแปลงไปหลายหน้าตา ผู้คนสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปมา กระทั่งเร็วๆ […]

‘สองแถวแปลงร่าง’ นิทรรศการที่ชวนมองความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนแปลงรถสองแถวให้ดีขึ้น พร้อมทดลองนั่งสองแถวโฉมใหม่ที่ไฉไลกว่าเดิม

‘รถสองแถว’ เป็นรถโดยสารที่เราอาจไม่ค่อยนึกถึงเท่าไรเพราะไม่ได้ใช้บริการมากนัก ทั้งที่ความจริงแล้ว ในหลายๆ พื้นที่สองแถวยังคงเป็นขนส่งที่จำเป็นต่อการเดินทางอยู่ ถึงอย่างนั้น รถโดยสารประเภทนี้กลับไม่ค่อยได้รับการพัฒนาในแง่ฟังก์ชันการออกแบบเท่าไร ทาง โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย, บัสซิ่ง ทรานสิท และ MAYDAY! จึงร่วมมือกันปรับโฉมรถสองแถว พร้อมชวนทุกคนมาสำรวจในนิทรรศการ ‘สองแถวแปลงร่าง’ งาน Bangkok Design Week 2025 ณ ลานคนเมือง หน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร นอกจากนิทรรศการที่ชวนไปทำความเข้าใจขนส่งสาธารณะเส้นเลือดฝอยอย่างรถสองแถวแล้ว ภายในงานยังมีโมเดลรถสองแถวแปลงร่างที่เปิดให้ใช้บริการในช่วง BKKDW 2025 ด้วย เพื่อให้ผู้โดยสารบางส่วนได้ลองสัมผัสประสบการณ์การนั่งรถสองแถวแบบใหม่ ที่ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้ใช้รถสองแถวแบบใหม่นี้มากขึ้นก็ได้ ออกแบบใหม่เพื่อการใช้งานและความปลอดภัย ‘ศุภกร ศิริสุนทร’ Co-founder และ CFO บริษัท บัสซิ่ง ทรานสิท จำกัด เล่าให้เราฟังว่า โปรเจกต์นี้เริ่มต้นจากทางโตโยต้า ที่มีแนวคิด Mobility For All สนับสนุนความหลากหลายในการเดินทางได้เลือกรถสองแถวมาเป็นโจทย์เพราะพนักงานในโรงงานหลายคนต้องอาศัยรถสองแถวในการเดินทางระยะสุดท้าย (Last Mile Transportation) ส่วนทางบัสซิ่งเองก็เคยร่วมงานกับโตโยต้ามาก่อนแล้ว จึงร่วมมือกันพูดคุยและลงมือพัฒนารถสองแถวว่าจะเป็นไปในทิศทางไหนได้บ้าง […]

‘เจริญกรุง’ จากถนนดินอัดแห่งแรก สู่ย่านสร้างสรรค์ต้นแบบ เส้นทางความเจริญของกรุงเทพฯ ตามชื่อที่ตั้ง

รู้ไหมว่า กว่า ‘เจริญกรุง’ จะกลายมาเป็นย่านท่องเที่ยวยอดนิยมอย่างในปัจจุบันนี้ต้องเจอสถานการณ์อะไรบ้าง ภาพจำของเจริญกรุงที่เราคุ้นตาคงเป็นแหล่งรวมร้านถ่ายรูปที่เรียงรายอยู่ตลอดแนวถนน ทั้งยังเป็นพื้นที่จัดนิทรรศการและอาร์ตแกลเลอรีที่หมุนเวียนมาไม่ซ้ำเป็นประจำทุกเดือน จนได้เป็นย่านแรกของไทยที่ก้าวสู่การเป็น ‘ย่านสร้างสรรค์’ จากการรวมตัวของคนหลายกลุ่มที่ช่วยกันฟื้นฟูและขับเคลื่อนย่านให้กลับมาคึกคักกันอีกครั้งเช่นในปัจจุบัน โดยเริ่มดำเนินการผ่านโปรเจกต์ Bangkok Design Week ที่เราคุ้นเคย แต่ก่อนที่เจริญกรุงจะเดบิวต์ใหม่เป็นย่านสร้างสรรค์ที่เหมาะกับการมาเดินเล่นในวันหยุดสุดสัปดาห์นั้น ย่านนี้เคยเป็นที่รู้จักในด้านการเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดของการเดินทางบนคอนกรีตที่สะดวกสบายในปัจจุบัน เพราะเจริญกรุงนับว่าเป็น ‘ถนนสายแรก’ ของกรุงเทพฯ ที่สร้างด้วยเทคนิคตะวันตก ซึ่งถือเป็นเครื่องหมายสำคัญที่แสดงถึงความก้าวหน้าทางสังคม สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองและความเจริญที่เริ่มคืบคลานทยอยเข้ามาในเมืองทีละนิดๆ ส่งผลให้เกิดเป็นการคมนาคมที่เข้าถึงง่าย มีความสะดวกสบายในปัจจุบัน คอลัมน์ Urban Tales ขอพาทุกคนย้อนดูไทม์ไลน์การเดินทางกว่า 160 ปีของเจริญกรุง ตั้งแต่เริ่มมีถนนใช้เป็นครั้งแรก พากรุงเทพฯ ก้าวเข้าสู่เมืองแห่งความทันสมัย ก่อนผลัดเปลี่ยนสู่ยุคตกทุกข์ได้ยากในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และผงาดขึ้นอีกครั้งในฐานะย่านสร้างสรรค์แรกของไทย กำเนิด ‘ถนนเจริญกรุง’ จากเส้นทางสายน้ำสู่พื้นคอนกรีตแบบตะวันตก ไม่ว่าเราจะเดินไปที่ไหนในกรุงเทพฯ สังเกตได้ว่าแทบทุกพื้นที่จะมีคลองเล็กใหญ่ให้เห็นอยู่เสมอ และส่วนใหญ่คลองเหล่านี้มักบรรจบหรือมีจุดที่เชื่อมโยงเป็นสายเดียวกัน ถือเป็นร่องรอยจากอดีตที่แสดงให้เห็นว่าคนกรุงเทพฯ มีความใกล้ชิดกับสายน้ำมาก ไม่ว่าจะเป็นการตั้งบ้านเรือนติดแม่น้ำลำคลอง การประกอบอาชีพประมง รวมถึงการใช้ทางน้ำเป็นเส้นทางหลักสำหรับสัญจรไปมาในอดีต จึงไม่แปลกที่เขตหรือแขวงในกรุงเทพฯ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า ‘บาง’ ที่หมายถึงทางน้ำเล็กๆ ที่ไหลขึ้นลงตามระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลอง หรือทะเล เพื่อใช้เรียกสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับสายน้ำ […]

‘Bangkok Pains’ บอร์ดเกมที่จำลองการใช้ชีวิตหนึ่งปีบนความเจ็บปวดของการอยู่กรุงเทพฯ

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ แต่ละวันแทบไม่ต่างอะไรจากการเล่นเกม เพราะมักมีอะไรเซอร์ไพรส์เราอยู่เสมอ วันดีคืนดีก็ดวงดีแบบสุดๆ หรือวันไหนใส่เสื้อผิดสีก็อาจโชคร้ายไปตลอดทั้งวัน ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดวงทั้งหมดด้วยซ้ำ แต่อาจเป็นเพราะการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ นั้นเดาได้ยากจนเหมือนกับว่ามีคนเล่นเกมกับชีวิตเราทุกวัน หลายคนคงคิดไม่ต่างกันในแง่ที่เราเหมือนตัวละครในเกมที่โดนควบคุม เช่นเดียวกับเอเจนซีโฆษณา ‘Invisible Ink’ ที่หยิบเอาคอนเซปต์การใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในกรุงเทพฯ มาออกแบบเป็นบอร์ดเกมขำๆ ในวัน April Fool’s Day แต่กลับได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้แนวคิดนี้ถูกนำไปต่อยอดและพัฒนา ด้วยการนำความโกลาหลและเสน่ห์เฉพาะตัวของกรุงเทพฯ มาเป็นแรงบันดาลใจ จนได้ออกมาเป็นบอร์ดเกม ‘Bangkok Pains’ ให้ทุกคนได้เล่นกันจริงๆ โดยเนื้อหาของเกมจะมุ่งเน้นไปยังการเอาตัวรอดจากอุปสรรค ซึ่งเป็นความเจ็บปวดในกรุงเทพฯ เช่น การเปลี่ยนอาชีพ การเดินทาง หรือแม้แต่สิ่งไม่คาดคิดต่างๆ ที่เราจะได้เจอในเมืองนี้ เกมนี้เล่นได้ตั้งแต่ 2 – 6 คน วิธีการเล่นก็ไม่ยากแค่แต่ละคนต้องเลือกอาชีพที่คิดว่าสามารถอยู่รอดได้ในกรุงเทพฯ ตลอดระยะเวลาหนึ่งปี ผ่านการจั่วการ์ด ‘Pain or Gain’ และลุ้นว่าในแต่ละตานั้นจะต้องเจออะไรบ้าง เช่น ค่าปรับที่ต้องเสีย ค่ารักษาพยาบาลจากอาหารข้างทาง หรือโบนัสที่ได้มาแบบเซอร์ไพรส์ เพื่อหาผู้ชนะที่เอาชีวิตรอดมาได้พร้อมกับเงินที่เหลือมากที่สุด ใครที่เผชิญหน้ากับความลำบากในการใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯ แล้วยังไม่หนำใจ ยังอยากลำบากได้อีก และอยากลองท้าทายชะตาชีวิตในรูปแบบของเกมบ้าง กดสั่งซื้อบอร์ดเกมแบบพรีออเดอร์ในราคา […]

กทม.แจ้งเฝ้าระวัง ‘พิษสุนัขบ้า’ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์จรจัด และสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง

หลังจากที่พบสัตว์ป่วยด้วยอาการโรคพิษสุนัขบ้า บริเวณสำนักงานศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ในซอยอ่อนนุช 86 ทางกรุงเทพมหานครได้ขอความร่วมมือในการเลี่ยงการสัมผัสสัตว์จรจัดในพื้นที่ รวมถึงแจ้งการเฝ้าระวังประชาชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงในรัศมี 5 กิโลเมตร คือ – แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร – แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร – แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร – ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยในตอนนี้ทางเขตประเวศเองได้มีการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำหรับคนและสัตว์เลี้ยงฟรี ตั้งแต่วันที่ 23 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ และให้สังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงในบ้านด้วยว่าผิดปกติหรือพบสัตว์ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปหรือไม่ แต่แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เฝ้าระวัง เราก็ต้องคอยสังเกตและระวังทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัดที่เจอให้ดีว่ามีอาการเข้าข่ายว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ เช่น หงุดหงิด กระวนกระวาย ไล่กัดคนหรือสัตว์อื่นๆ ไม่เลือก ขากรรไกรค้าง เป็นต้น โรคพิษสุนัขบ้าคือโรคติดเชื้อในระบบประสาทที่ติดจากสัตว์สู่คน เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษา จึงทำให้ผู้ติดเชื้ออันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สามารถป้องกันเบื้องต้นเพื่อลดการเสียชีวิตได้ด้วยการฉีดวัคซีน แม้จะชื่อว่าพิษสุนัขบ้า แต่ก็พบโรคนี้ได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด […]

‘Data Driven EV- ชักลาก’ นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะตกค้างด้วย Waste Tech ในชุมชนและพื้นที่ที่รถเก็บขยะเข้าไปไม่ถึง

แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการจัดเก็บขยะอยู่เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์ แต่ด้วยข้อจำกัดของผังเมืองกรุงเทพฯ ทำให้มีพื้นที่เส้นเลือดฝอยจำนวนมากที่การจัดเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยพื้นที่ที่แคบและอยู่ลึก รถขยะจึงเข้าไปไม่ถึง รวมถึงพนักงานเก็บขยะก็ไม่สามารถรวบรวมขยะทั้งหมดออกมาได้ ทำให้เกิดขยะตกค้างในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความสกปรกและส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา จากปัญหานี้ ทำให้ทาง ‘กรุงเทพมหานคร’ ร่วมมือกับ ‘GEPP Sa-Ard’ สตาร์ทอัปที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ จัดทำนวัตกรรมแก้ปัญหาการจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่เล็กๆ และอยู่ลึกในชุมชนต่างๆ ที่รถขยะคันใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ‘โดม บุญญานุรักษ์’ CMO และผู้ร่วมก่อตั้ง GEPP Sa-Ard บอกกับเราว่า นอกจากจะมีปัญหาขยะตกค้างแล้ว พนักงานชักลากขยะของทางกรุงเทพมหานครที่ต้องเข้าไปจัดการขยะในพื้นที่เล็กๆ เหล่านั้น ต้องใช้เวลาในการชักลากขยะวันละ 3 – 4 รอบ รอบละ 100 – 200 กิโลกรัม นับเป็นการเสียเวลาในการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย เพนพอยต์นี้นำมาสู่ไอเดียการนำ ‘EV-Bike’ มาพัฒนาเข้ากับส่วนพ่วงลาก เพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการชักลาก รวมถึงยังมีการทดลองติดตั้งระบบการจัดเก็บข้อมูล เช่น น้ำหนักหรือรายละเอียดขยะแบบแยกชนิดลงไปในตัวพ่วงด้วย โดยทางทีมจะนำปัญหาที่เจอในระยะทดลองช่วงแรกไปพัฒนาประสิทธิภาพการชักลากขยะ และจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมารถชักลากขยะ EV-Bike ถูกนำมาใช้งานนำร่องทดลองในสองพื้นที่ คือ […]

‘Bangkok-Error’ Illustrated Zine ซีนที่พาไปสำรวจกรุงเทพฯ เมืองพิกล จนพาคนไปเจอเรื่องประหลาด

.นักอ่านคนไหนที่ชอบทั้งสิ่งพิมพ์และเรื่องเมือง น่าจะถูกใจ ‘Bangkok-Error (กรุงเทพฯ เมืองพิกล)’ นิตยสารภาพประกอบ (Illustrated Zine) ลายเส้นสุดน่ารักสีสันสะดุดตา โดย ‘พุดชมพู เส็งหลวง’ เจ้าของนามปากกา ‘phutchomphu’ ที่ภายในประกอบด้วยเรื่องราวการใช้ชีวิตของชาวกรุงเทพฯ อันแวดล้อมไปด้วยความพิกลของพื้นที่สาธารณะและระบบสาธารณูปโภคสุดเพี้ยน แต่ยังคงแทรกความหวังถึงการออกแบบที่คิดถึงคนเมืองมากขึ้นในอนาคต เพราะเราต่างรู้กันดีว่าการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ นั้นเหมือนต้องผจญภัยตลอดเวลา เห็นได้ง่ายๆ จากการใช้ทางเท้าที่เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเจอกระเบื้องแตก น้ำขัง หรืออึหมา จนเหมือนเรากำลังเล่นเกม ‘Minesweeper’ ในชีวิตจริง นี่ยังไม่นับการเผชิญหน้ากับภาวะน้ำท่วมขังหลังฝนตกหนัก และท่อระบายน้ำที่เป็นศูนย์รวมสิ่งไม่น่าภิรมย์ ทั้งไขมันและเศษอาหาร ซากใบไม้ ซากหนู สิ่งปฏิกูลอื่นๆ หรือฟูกที่นอน เรียกได้ว่าหากใครผ่านด่านนี้ไปได้ ก็สมควรจะได้รับรางวัลเป็นยารักษาโรคน้ำกัดเท้าไปด้วยเป็นของแถม แม้เนื้อหาของ Bangkok-Error จะดูตลกร้าย ด้วยการเสียดสีการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ออกมาได้ฉูดฉาดเจ็บแสบ แต่ขณะเดียวกัน นิตยสารเล่มนี้ก็ชวนผู้อ่านตั้งคำถามว่า เรากำลังถูกทำให้ชินชากับเมืองและพื้นที่สาธารณะที่ออกแบบมาไม่ดีหรือเปล่า อีกทั้งซีนเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าถึงและปริมาณพื้นที่สีเขียวที่ควรจะเป็น การออกแบบทางเท้าที่สอดคล้องไปกับ Universal Design เพื่อให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงเมืองที่ดี และจุดประกายความหวังถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการอาศัยอยู่ในเมืองที่เหมาะกับการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่ม ใครที่สนใจ Illustrated Zine ‘Bangkok-Error (กรุงเทพฯ เมืองพิกล)’ […]

กรุงเทพฯ เมืองซับซ้อน

ผมพกกล้อง Compact ตัวเล็กติดตัวออกจากบ้านเสมอไม่ว่าจะไปที่ไหน เพราะระหว่างทางอาจเจอสิ่งที่น่าสนใจ จะได้มีเครื่องเอาไว้บันทึกเรื่องราวได้ หลังจากที่ได้เดินทางไปในหลายพื้นที่ ผมว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ทั้งในแง่อาคารสิ่งก่อสร้าง สีสัน ชีวิต ผู้คน และเรื่องราว ผมจึงรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพฯ ที่มีการซ้อนทับสลับซับซ้อน ผสมผสานกับองค์ประกอบที่มีความเป็นไทย เพื่อนำเสนอเมืองหลวงแห่งนี้ผ่านมุมมองของผม หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.