ชวนไปตรวจงานผู้ว่าฯ กทม. ที่ BKK Expo 2025 นิทรรศการรวบรวมผลงานตลอดสามปีมาให้สัมผัสถึงการเปลี่ยนแปลงของเมือง

การจะพัฒนาเมืองให้ดี มีประสิทธิภาพ ไม่ใช่แค่การโฟกัสเพียงแค่สิ่งปลูกสร้างหรือนโยบายต่างๆ เท่านั้น แต่ยังต้องสร้างสรรค์เมืองให้เหมาะสมกับคนทุกวัย ตั้งแต่วัยแรกเกิดไปจนถึงผู้สูงอายุ เพราะผู้คนถือเป็นกำลังสำคัญในการพาให้เมืองของเราเติบโตไปอย่างดีด้วย สำหรับปีนี้ งาน Bangkok Expo 2025 มาพร้อมธีม ‘We Work, BKK Work เมืองประสิทธิภาพ คนสร้างอนาคต’ โดยเป็นนิทรรศการเมืองผลงานจากนโยบายตลอด 3 ปี ที่รวบรวมเอาไว้ให้ทุกคนได้ชมกัน ซึ่งนิทรรศการจะแบ่งออกเป็น 3 โซน คือ เมืองสะดวกปลอดภัย : ชมการบริหารความปลอดภัยเมืองตลอด 24/7 ชั่วโมง ที่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและสร้างประสิทธิภาพสูงสุด ผ่านศูนย์บัญชาการเมืองจำลอง (Command Center) ที่จะทำให้เห็นการทดลองบริหารเมืองหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉิน รวมถึงบริการตรวจสุขภาพ คาเฟ่น้องแมวและน้องหมาด้วย เมืองยั่งยืน : ชมกระบวนการสร้างเมืองสีเขียวในทุกฤดูกาล และสำรวจโครงสร้างการบริหารเมืองเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ผ่านการโชว์กระบวนการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง เรียนรู้พลังงานหมุนเวียนแหล่งใหม่กับมหานครโซล่าร์ และกิจกรรมเดินสำรวจนิเวศ เรียนรู้ธรรมชาติไปพร้อมกับความยั่งยืนของเมือง เมืองสร้างสรรค์ : ชมภาพเมืองแห่งความสร้างสรรค์ผ่านนิทรรศการมากมายอย่างการจำลองห้องเรียนปลอดฝุ่น ดิจิทัลคลาสรูม เพื่อต่อยอดความสร้างสรรค์และการศึกษา โลกความสร้างสรรค์นอกห้องเรียน โดยพื้นที่เล่นอิสระ […]

‘กลิ่นฉี่ในเมือง’ มลภาวะทางกลิ่นในกรุงเทพฯ ที่ทำให้หลายพื้นที่ไม่น่าใช้งาน

เคยไหม เวลาเดินไปตามตรอกซอกซอยต่างๆ บ้านบางหลังจะแขวนป้ายหรือไวนิลไว้หน้าบ้านทำนองว่า ‘ห้ามฉี่’ ถึงจะดูเป็นเรื่องตลก แต่ปัญหาเหล่านี้กลับสร้างความกวนใจให้เจ้าของบ้านมากๆ รวมถึงคนที่เดินผ่านไปผ่านมาก็ต้องคอยรับผลกระทบจากมลภาวะทางกลิ่นไปด้วย การติดป้ายอาจช่วยได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่ก็มักเป็นการแก้ปัญหาของประชาชนและเอกชน ส่วนพื้นที่สาธารณะกลับไม่ค่อยเห็นการห้ามในลักษณะนี้เท่าไหร่ ทั้งที่ก็เป็นพื้นที่คอยรองรับปริมาณฉี่ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเสาไฟ พื้นทางเท้า หรือต้นไม้ ยิ่งเฉพาะบริเวณใต้ทางด่วนที่อับสายตาผู้คน ส่งผลให้บรรยากาศโดยรอบไม่น่าอภิรมย์เอาเสียเลย กลิ่นฉี่ทำลายทั้งบรรยากาศและโครงสร้างต่างๆ ทั้งๆ ที่กรุงเทพฯ เป็นเมืองที่มีคนพลุกพล่าน ไม่ว่าจะเป็นนักท่องเที่ยวหรือผู้อยู่อาศัย แต่ในหลายๆ พื้นที่ที่เดินเท้าได้กลับมีกลิ่นไม่พึงประสงค์อย่างกลิ่นฉี่หมักหมม ส่งกลิ่นโชยออกมาให้ต้องรีบจ้ำอ้าวหนี และหากบริเวณไหนที่มีกลิ่นอยู่แล้ว ก็ดูเหมือนว่าจะยิ่งดึงดูดให้คนมาฉี่เพิ่ม กลายเป็นพื้นที่สำหรับรองรับของเสียไปโดยปริยาย ส่งผลให้หลายๆ เส้นทางไม่น่าใช้งาน มากไปกว่าเรื่องของกลิ่นฉุน หลายคนอาจนึกไม่ถึงว่า ฉี่ยังสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่โดยรอบ และเป็นการทำลายทรัพย์สินทั้งของสาธารณะและส่วนตัว เพราะในฉี่ของมนุษย์มียูเรียซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรดที่ทำลายทั้งคอนกรีต เหล็ก และโลหะ หากปล่อยให้เกิดการสะสมของฉี่เป็นเวลานานก็อาจส่งผลต่อโครงสร้าง ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นๆ เสียหาย เหตุผลของคนเลือกฉี่ข้างทาง นอกเหนือจากความมักง่ายของคนแล้ว เป็นไปได้ว่าด้วยจำนวนห้องน้ำสาธารณะที่มีค่อนข้างน้อยและหายากในหลายๆ พื้นที่ จึงทำให้คนเลือกปลดปล่อยของเหลวส่งกลิ่นตามพื้นที่ข้างทางมากกว่า หรือต่อให้เป็นห้องน้ำกึ่งสาธารณะที่เรามองว่ามีจำนวนมาก กระจายอยู่ทั่วไปในเมือง เช่น ในห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน หรือสวนสาธารณะ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องเวลาเปิด-ปิด ที่ไม่สอดคล้องกับการใช้ชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะคนที่ทำงานเป็นกะ หรือทำงานทั้งวันทั้งคืนอย่างแท็กซี่ วินมอเตอร์ไซค์ […]

ชาวลอนดอนใช้จักรยานเพิ่มขึ้น 50% ในสองปี จากการเพิ่มเส้นทางปั่นจักรยานใหม่ๆ ช่วยลดการใช้รถยนต์และมลพิษภายในเมือง

ลอนดอนเป็นเมืองใหญ่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน แถมยังเคยติดอันดับเมืองที่รถติดที่สุดในโลกเมื่อปี 2565 แต่ในปี 2567 ที่ผ่านมากลับมีสถิติใหม่ที่น่าสนใจ เพราะมีรายงานจาก City of London Corporation ว่า จากปี 2565 ถึง 2567 มีการใช้รถยนต์ในเมืองลอนดอนลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนตัวเลขการเดินทางด้วยการปั่นจักรยานเพิ่มมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว นับว่าเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นมากในระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้น หากเจาะไปในรายละเอียดจะพบว่า เดือนตุลาคม 2567 มีคนปั่นจักรยาน 139,000 คนต่อวันใน 30 สถานที่ เพิ่มขึ้นจาก 89,000 คนในปี 2565 และจำนวนคนขี่จักรยานคิดเป็น 56 เปอร์เซ็นต์ของการจราจรทั้งหมดในช่วงเวลาเร่งด่วนตอน 08.00 – 09.00 น. และ 18.00 – 19.00 น. ซึ่งจำนวนการปั่นจักรยานที่เพิ่มขึ้นนี้ยังส่งผลต่อคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นด้วย เห็นได้จากปี 2562 ที่มีค่าไนโตรเจนไดออกไซด์มากถึง 15 พื้นที่ในลอนดอน […]

Unexpected Growth โปรเจกต์งานศิลปะ ซีน และกระดาษจากวัชพืชในเมือง จากการเดินสำรวจพื้นที่และเก็บข้อมูล

ปกติแล้วหอศิลปกรุงเทพฯ จะจัดนิทรรศการ โครงการบ่มเพาะและสร้างเครือข่ายศิลปินรุ่นใหม่ (Early Years Project : EYP) เป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้มาในแนวคิด ‘Be Your Own Island-ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน’ หลังจากที่ไปเดินดูมา งานที่จัดแสดงล้วนมีคอนเซปต์ที่สะท้อนสังคม และนำเสนอผลงานได้สวยงาม ตั้งแต่ประเด็นสิ่งแวดล้อม เพศ ข่าวสารข้อมูล ไปจนถึงเรื่องปมวัยเด็ก แต่หนึ่งงานที่เราในฐานะคนทำงานเมืองสะดุดตาสุดๆ คือ โปรเจกต์ Unexpected Growth ของ ‘อภิสรา ห่อไพศาล’  ตั้งแต่โครงสร้างอิฐที่เรียงราย ดูเป็นสิ่งที่ถ้าเดินลัดเลาะตามตรอกซอกซอยของเมืองจะพบเห็นได้เป็นปกติ ก่อนจะสังเกตเห็นต้นหญ้าเล็กๆ แซมอยู่ และถ้าไปสังเกตแผ่นที่มีลวดลายคล้ายเชื้อราแบคทีเรียใกล้ๆ จะพบว่า จริงๆ แล้วมันคือใบหรือชิ้นส่วนของวัชพืช และได้รู้ในเวลาต่อมาว่าแผ่นๆ ที่เห็นคือกระดาษที่ทำจากวัชพืชในเมืองที่ศิลปินเก็บมาทดลองทำกระดาษกับผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตกระดาษ มากไปกว่านั้น ตรงแท่นอิฐที่ก่อตัวสูงยังมีซีนหรือหนังสือทำมือของศิลปินแนบอยู่ พอหยิบมาเปิดอ่านเนื้อหาข้างในก็จะเห็นการนำเสนอภาพในขั้นตอนระหว่างทำงานโปรเจกต์นี้ รวมไปถึงการจัดเรียงข้อมูลเพื่อนำเสนอกระบวนการเก็บรวบรวมแพตเทิร์นของวัชพืชที่ขึ้นในเมือง และสังเคราะห์ข้อมูลออกมาเป็นอินโฟกราฟิก อ่านเข้าใจง่าย “โปรเจกต์นี้เริ่มต้นจากความพยายามทำความเข้าใจและตั้งคำถามถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งรอบตัวกับความรู้สึกภายในที่ต้องการหลีกหนีหรือก้าวผ่านสถานการณ์ที่เป็นอยู่ ทำให้เธอเริ่มต้นสำรวจเมืองที่อาศัยอยู่ เป็นเมืองที่ให้ความรู้สึกแห้งแล้งและแข็งกระด้าง “ระหว่างการสำรวจ ศิลปินได้พบเจอมุมมองของนักสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเมือง ทำให้มองเห็นสิ่งที่ไม่เคยมองเห็นมาก่อน เช่น พืชขนาดเล็กจนแทบมองไม่เห็นอย่างลิเวอร์เวิร์ต เสียงของสัตว์หลากชนิดที่สามารถจำแนกเสียงได้ไม่ซ้ำเมื่อยืนฟังใต้ร่มไม้ใหญ่ ความสัมพันธ์ของต้นแม่และต้นลูกที่กระจายพันธุ์ใกล้ๆ […]

ทางเท้า ญี่ปุ่น ออกแบบได้ปลอดภัยและฟังก์ชันครบ ตอบโจทย์วิถีชีวิตนักเดินของชาวเมือง

‘ญี่ปุ่น’ คือประเทศที่ขึ้นชื่อในเรื่องของเมืองที่ทั้งสะอาด เป็นระเบียบ และสะดวกสบาย ซึ่งผลลัพธ์เช่นนี้มาจากความใส่ใจของรัฐบาลญี่ปุ่นและพฤติกรรมชาวเมืองที่มีวินัยในการใช้ชีวิตกันอย่างเป็นระบบระเบียบ และถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีพื้นที่ใช้สอยภายในประเทศอย่างจำกัด แต่หน่วยงานภาครัฐก็ให้ความสำคัญต่อระบบการเดินทางคมนาคมให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยอย่างสูงสุด เช่นเดียวกับ ‘ทางคนเดินเท้า’ ที่ออกแบบมาตอบโจทย์วิถีชีวิตของประชากรในประเทศ เพื่อส่งเสริมให้คนใช้วิธีการเดินในการเดินทางควบคู่ไปกับคมนาคมที่ดี 📌 การออกแบบที่ทุกคนใช้งานได้ โครงสร้างทางเท้าที่ญี่ปุ่นถูกออกแบบมาให้ทุกคนใช้งานได้อย่างปลอดภัย สะดวกสบาย และซัพพอร์ตผู้ที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เสริมอย่างวีลแชร์และไม้เท้า ซึ่งรายละเอียดทั้งหมดล้วนคำนึงถึงผู้ใช้งานและผ่านการคิดตามหลักวิศวกรรมมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นความกว้างของทางเท้าที่ต้องมีขนาดเพียงพอต่อการรองรับผู้ใช้งานที่หลากหลาย โดยมีการอ้างอิงจากขนาดความกว้างมาตรฐานในการใช้เดินทาง ได้แก่ คนปกติใช้ความกว้าง 0.75 เมตร ผู้ใช้วีลแชร์ใช้ความกว้าง 1 เมตร และผู้พิการทางสายตาที่ใช้สุนัขนำทางใช้ความกว้าง 1.5 เมตร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ทางรัฐบาลญี่ปุ่นได้นำมาใช้ในการออกแบบความกว้างของทางเท้าให้สอดคล้องกับมาตรฐานอย่างเหมาะสม โดยทางเท้าญี่ปุ่นจะยึดหลักการออกแบบให้มีความกว้างไม่น้อยกว่า 2 เมตร เพื่อให้ผู้ใช้วีลแชร์สวนกันได้ ส่วนพื้นที่ทางเท้าที่อนุญาตให้จักรยานขึ้นมาขี่ได้จะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 3 เมตร และยังมีการแบ่งเป็น Bike Lane แยกออกมาด้วยในบางเขต ส่วนพื้นผิวบนทางเท้าจะปูพื้นเป็นบล็อกที่อัดแน่นและชิดกัน ทำให้การเดินปกติหรือใช้รถเข็นนั้นไม่มีสะดุดเลย รวมถึงเบรลล์บล็อก (Braille Block) ทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตาก็มีตลอดเส้นทาง และเชื่อมโยงกับทางม้าลายทุกพื้นที่ ไม่มีการตัดขาดเส้นทางอีกด้วย ทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกังวลถึงความปลอดภัยในการเดินบนทางเท้า 👥 ปรับทางเท้าให้ตอบโจทย์กับวิถีชีวิตชาวญี่ปุ่น แม้ว่าประเทศญี่ปุ่นจะมีเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ มากมาย แถมระบบขนส่งก็ครอบคลุมทั่วทุกจังหวัดในประเทศ […]

ออกกำลังกายด้วยการเดินเป็นประจำ แค่เดินระยะสั้นๆ แถวบ้านไม่กี่นาที ก็ช่วยให้สุขภาพจิตดีได้

หลายคนอาจหลงลืมไปว่า การเดินคือการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ใช้ทรัพยากรน้อย และทำได้เลย สำหรับใครที่ไม่ค่อยมีเวลาหรือกังวลว่าจะต้องหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ลองให้การเดินเป็นตัวเลือกแรกดูก่อน เพราะแค่เปลี่ยนจากการนั่งมอเตอร์ไซค์เป็นการเดินเข้าซอยในระยะทางสั้นๆ เดินไปใช้บริการขนส่งสาธารณะใกล้ๆ หรือการเดินเล่นรอบๆ บ้านในเส้นทางที่คุ้นเคย เท่านี้ก็ช่วยให้เราแข็งแรงได้แล้ว ทว่ามากไปกว่าความแข็งแรงทางกายภาพ การเดินยังช่วยเสริมสร้างให้สุขภาพจิตดีขึ้นได้อีกด้วย เดินวันละนิดจิตแจ่มใส แน่นอนว่าเราพอนึกออกว่าทำไมการเดินถึงช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรงได้ แต่อาจไม่แน่ใจว่าการเดินช่วยเรื่องของสุขภาพจิตได้อย่างไร อย่างที่บอกไปว่าการเดินคือหนึ่งในการออกกำลังกายที่ง่ายที่สุด ซึ่งในระหว่างที่ออกกำลังกายนั้น ร่างกายของเราจะหลั่งสาร Endorphins (เอ็นดอร์ฟิน) ที่ช่วยส่งเสริมความสุข ทำให้อารมณ์ดีออกมา รวมถึงยังช่วยคลายเครียดและบรรเทาอาการซึมเศร้า อีกทั้งการได้ขยับร่างกายยังช่วยลดระดับฮอร์โมนความเครียดอีกด้วย Mental Health Foundation รายงานว่า การใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติจะช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลของเราได้ ซึ่งธรรมชาติเหล่านั้นไม่ได้หมายถึงป่า เขา หรือพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่เท่านั้น แต่การออกจากบ้านเพื่อเดินไปยังพื้นที่ส่วนกลางในชุมชน เดินไปยังร้านค้าแถวบ้าน หรือเดินไปทำกิจกรรมในที่ต่างๆ ผ่านวิวทิวทัศน์ที่ประกอบด้วยต้นไม้ดอกไม้ริมทาง หรือสวนเล็กๆ ของเพื่อนบ้าน กระทั่งพบเจอสัตว์เลี้ยงอย่างหมาแมวก็ช่วยเสริมสุขภาวะที่ดีได้ มีการศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยในหนานจิง ประเทศจีน ระบุว่า การเดินในระยะเวลานานหรือระยะทางไกลไม่ใช่ปัจจัยสำคัญในการช่วยส่งเสริมสุขภาพอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่ถ้าเราเดินอย่างสม่ำเสมอและกลายเป็นกิจวัตรประจำวันต่างหากที่จะช่วยสร้างประโยชน์ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพทางอารมณ์ที่ดีได้มากกว่าคนที่ไม่เดิน เมืองที่สนับสนุนการเดิน = สนับสนุนสุขภาพจิตที่ดี แม้ไม่ได้เป็นการช่วยรักษาสุขภาพจิตโดยตรง แต่ถ้าจะบอกว่าเมืองที่เอื้ออำนวยต่อการเดินเป็นอีกหนึ่งทางในการสนับสนุนให้คนเมืองมีสุขภาพจิตที่ดีก็คงไม่ผิดเท่าไหร่นัก เพราะดูเหมือนว่าละแวกบ้านจะเป็นสถานที่ที่ดีและง่ายที่สุดสำหรับการเดิน นอกจากจะพาให้เราได้ลดความเครียดด้วยการออกมาเปิดหูเปิดตา สูดลมหายใจ สังเกตสิ่งรอบข้างกว้างๆ แล้ว […]

เปลี่ยนกรุงเทพฯ จากเมืองปั่นได้เป็นเมือง ‘ปั่นดี’ ‘BUCA’ ชมรมปั่นจักรยานที่อยากชวนคนมามองเมืองบนอานในความเร็วจากสองแรงขา

ในประเทศไทย ‘จักรยาน’ มักถูกมองเป็นกิจกรรมนันทนาการหรือการออกกำลังกายซะเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อไหร่ที่จักรยานลงมาโลดแล่นอยู่บนถนน มันกลับกลายเป็นสิ่งอันตราย ไม่ตอบโจทย์การใช้งานในเมืองหลวงแห่งนี้ในสายตาของใครหลายคน แต่ในขณะเดียวกัน ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ไว้ใจให้จักรยานเป็นตัวเลือกหลักในการเดินทาง อีกทั้งยังคงจัดกิจกรรมเชิญชวนผู้คนมาปั่นจักรยาน และขับเคลื่อนนโยบายพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของพาหนะเดินทางประเภทนี้อยู่ ด้วยความเชื่อว่าจักรยานเป็นตัวเลือกเดินทางที่ดีของคนกรุงเทพฯ ได้มากกว่านี้ คอลัมน์ Think Thought Thought ชวนกระโดดขึ้นอาน ปั่นจักรยานไปคุยกับ ‘เป้-ธีรเมศร์ เลิศเศวตพงศ์’, ‘ปอนด์-วีรภัทร คำรัตน์’, ‘บุ๋น-จิรภัทร จิตวัฒนาศิลป์’ และ ‘แวน-วริทธิ์ธร สุขสบาย’ จากภาคีจักรยานเมือง กรุงเทพฯ (Bangkok Urban Cycling Alliance) หรือ ‘BUCA’ ที่ต้องการให้จักรยานเป็นตัวเลือกการเดินทางที่ไม่ถูกมองข้าม หากแต่การปั่นจักรยานในกรุงเทพฯ ดีกว่าการเดินทางแบบอื่นอย่างไร ไว้ใจความปลอดภัยได้แค่ไหน แล้วที่ผ่านมากรุงเทพฯ ใจดีกับคนปั่นจักรยานบ้างไหม หรือจริงๆ แล้วเมืองนี้ไม่มีทางเป็นเมืองจักรยานได้ ตามไปอ่านในบรรทัดต่อไปนี้ อยากให้พวกคุณเล่าว่า BUCA คือใคร ทำอะไรกันบ้าง ธีรเมศร์ : เริ่มแรกกลุ่มเราเป็นแค่การรวมตัวกันแบบหลวมๆ ของผู้ใช้จักรยานที่เคยร่วมเป็นอาสาสมัครในนโยบายการปรับปรุงทางจักรยานใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ของ […]

Nordhavn Copenhagen เมืองห้านาทีที่สนับสนุนให้คนออกมาใช้ชีวิต และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

แค่เปิดประตูบ้านก็เจอพื้นที่สีเขียวรอให้ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ เด็กๆ เดินออกไปไม่กี่ร้อยเมตรก็ถึงโรงเรียน หรือเหล่าผู้ใหญ่ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็ถึงที่ทำงานแล้ว ประโยคเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นเพียงคำบอกเล่าของผู้คนที่อาศัยอยู่ในโลกยูโทเปีย แต่สิ่งนี้เกิดขึ้นจริงกับผู้อาศัยอยู่ที่ ‘Nordhavn’ เขตหนึ่งในเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ที่สามารถเข้าถึงบริการที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในเวลาเพียง 5 นาทีเท่านั้น ในอดีต Nordhavn เคยเป็นท่าเรืออุตสาหกรรมที่ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นเขตเมืองที่ยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจ รวมถึงสิ่งแวดล้อมด้วย แม้ว่า ณ ตอนนี้การพัฒนาเมืองยังไม่เสร็จสมบูรณ์ทั้งหมด แต่ Nordhavn ก็ทำให้เห็นถึงความเป็นเมืองแบบใหม่ที่แทบจะเป็นเมืองในฝัน จนได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาเมืองที่ใหญ่ที่สุดและทะเยอทะยานที่สุดในแถบสแกนดิเนเวียเลยทีเดียว เข้าถึงความสะดวกในเวลาเพียง 5 นาที เราอาจจะคุ้นชินกับโมเดลเมือง 15 นาทีในหลายๆ ประเทศที่ต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยให้สะดวกสบายขึ้น ซึ่งระยะ 15 นาทีนั้นใครเห็นก็คิดว่าเป็นเวลาที่รวดเร็วแล้ว แต่ที่ Nordhavn ขอทะเยอทะยานกว่า รวดเร็วกว่า ด้วยการทำตัวเองให้เป็นเมืองที่เดินเท้าถึงทุกที่ในเวลาแค่ 5 นาที ฟังดูเป็นเรื่องยากใช่ไหม แต่การออกแบบเมือง Nordhavn นั้นสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายของคนในเมืองมากกว่าที่เราคิด นอกจากไม่ต้องพึ่งพาการใช้รถยนต์เป็นหลักแล้ว เมืองยังเน้นการออกแบบสภาพแวดล้อมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นบริการพื้นฐานอย่างโรงเรียน โรงพยาบาล สำนักงาน ขนส่งสาธารณะ สวนสาธารณะ หรือร้านค้า ธุรกิจท้องถิ่นต่างๆ […]

‘Bangkok Up+rising : Beyond the Chaos’ นิทรรศการครั้งแรกของ Urban Creature ที่อยากชวนมาสำรวจกรุงเทพฯ พร้อมจินตนาการถึง ‘ถ้าเมืองหน้ามีอยู่จริง’

ที่ผ่านมา Urban Creature ทำงานบนโลกออนไลน์มาตลอด ห่างหายจากออฟไลน์อีเวนต์ไปนาน จนเมื่อปีที่แล้วได้จัดทริปเดินตามคนขับเคลื่อนเมืองครั้งแรกที่พาผู้อ่านของเราไปเดินสำรวจย่านทรงวาดกับกลุ่ม Made in Song Wat ด้วยกัน และมากไปกว่านั้น เรายังได้รับการชักชวนจากสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ให้มาทำนิทรรศการร่วมกับ Studio Marketing Materials (SMM) ในเทศกาล Bangkok Design Week 2025 ด้วย แม้จะเป็นการทำนิทรรศการครั้งแรก และมีข้อจำกัดเรื่องไทม์ไลน์ แต่สุดท้ายพวกเราก็ทำงานชิ้นนี้ออกมาสำเร็จลุล่วง โดยมี CEA และ SMM ให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ในวันที่ไปเยือนนิทรรศการที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว พวกเราดีใจมากในฐานะคนทำงานที่ได้ทดลองทำอะไรใหม่ๆ นอกกรอบโลกออนไลน์ และในฐานะผู้อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ คือการได้ส่งต่อภาพเมืองหน้าที่เราอยากเห็น อย่างน้อยๆ ข้อมูลทั้งหมดที่เรารวบรวมมาก็คัดสรรมาจากกระแสโลก ความสนใจของผู้ติดตามเพจ และทิศทางของเมืองที่คาดการณ์จากอนาคตทั้งสิ้น ‘กรุงเทพมหานคร’ ได้ชื่อว่าเป็นเมืองน่าอยู่ของชาวต่างชาติหลายคน แต่หากมองให้ลึกลงไปแล้ว กรุงเทพฯ ยังมีอีกหลายแง่มุมที่คนอยู่อาศัยอยากปรับเปลี่ยนให้ดีขึ้น รวมถึงยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องการการยกระดับ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนผ่านความสร้างสรรค์ ให้สมฐานะตำแหน่งเมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบจากยูเนสโก แต่การปรับเปลี่ยนแก้ไขอาจทำไม่ได้ตามใจนึก เราจึงอยากชวนทุกคนร่วมค้นหาคำตอบกันว่า ถ้าเมืองหน้ามีอยู่จริงจะเป็นอย่างไร […]

Unsolved Mysteries ปริศนาไร้คำตอบ

ทุกแห่งหน ทุกมุมถนน และทุกซอกซอยของเมือง ล้วนแล้วแต่เต็มไปด้วยความน่าสงสัยที่ซ่อนอยู่โดยไม่มีใครรู้ว่ามันคืออะไร แปลก สวยงาม ประหลาด หรือความบังเอิญ สิ่งที่คุณเห็นเกิดจากมุมมองและการตีความ ไม่มีสิ่งใดถูก และแน่นอนไม่มีสิ่งใดผิด ลองมองโลกให้ใกล้ขึ้นอีกนิด บางที ‘ปริศนาไร้คำตอบนี้’ อาจจะปรากฏอยู่ตรงหน้าของคุณก็เป็นได้ ติดตามผลงานของ พีระ วรปรีชาพาณิชย์ ต่อได้ที่ peera-vora.com หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected]

เสกหมุดเมืองให้หมุนได้กับ p__________________t เจ้าของช่องแนว Surreal Video ที่อยากชวนทุกคนดูส่วนประกอบของเมืองให้ละเอียดขึ้น

เชื่อว่าหลายคนคงต้องเคยเห็นวิดีโอแนวเหนือจริง (Surreal Video) ผ่านหน้าไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียกันมาบ้าง ไม่ว่าจะเป็นแนวมายากล วัตถุลอยฟ้า หรือวิดีโอเล่นสีสนุกๆ วันนี้ Urban Creature ชวน ‘พิท พงษ์พิทยาภา’ เจ้าของอินสตาแกรม p__________________t บัณฑิตหมาดๆ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีความชื่นชอบในการตัดต่อวิดีโอมาตั้งแต่อายุ 14 และขยับขยายจากการตัดต่อวิดีโอทั่วๆ ไป ให้กลายมาเป็นรูปแบบของ Surreal Video ที่เสกให้ฝาท่อธรรมดาๆ ของกรุงเทพฯ หมุน หมุดตามพื้นขยับ หรือแม้กระทั่งทางด่วนก็เลื่อนได้ พิทเล่าให้ฟังว่า เขาเริ่มสร้างสรรค์วิดีโอแนวนี้มาตั้งแต่ช่วงกลางปีที่แล้ว (2024) โดยตัวเขาเรียกมันว่า Vlog หรือวิดีโอไดอารีที่รวบรวมความทรงจำ ความชอบ และพื้นที่ที่ตนเองสนใจเอาไว้ “เราเรียนวิธีทำคลิปจาก YouTube อธิบายง่ายๆ ก็ไปถ่ายภาพหรือวิดีโอมาแล้วเข้าโปรแกรม After Effects เลือกวัตถุนั้นๆ ให้หมุนได้” พิทเล่า แต่ละผลงานที่ออกมาผ่านการเลือกสรรพื้นที่ที่สนใจ เช่น เคยผ่านที่นี่มาแล้วและรู้สึกว่าตรงนี้น่าสนใจ ควรเข้าไปถ่าย หรือบางทีก็ได้มาจากการใช้ชีวิตทั่วๆ ไป เห็นอะไรสวยก็ถ่ายเก็บไว้ […]

City in Patterns ความซ้ำซ้อนของเมือง

ภาพชุดนี้สะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างเมือง มนุษย์ สัตว์ หรือสิ่งของต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกัน ผ่านการจัดวางองค์ประกอบที่เน้นรูปแบบซ้ำๆ เป็นตัวเดินเรื่อง โดยลดทอนความหลากหลายอันยุ่งเหยิง นำกลับไปสู่ความเรียบง่ายและดูเป็นระบบระเบียบ ถ้าหากพิจารณาให้ดีจะพบว่า มนุษย์เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ในพื้นที่เหล่านั้น เราจึงมองว่าความซ้ำซ้อนไม่เพียงแค่ทำให้เกิดเป็นภาพ แต่ยังฉายภาพที่ ‘ซับซ้อน’ ภายในใจของเราด้วย ติดตามผลงานของ พุทธิพงศ์ นิพัทธอุทิศ ต่อได้ที่ Facebook : amp.puttipongInstagram : amp_puttipong หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

1 2 3 7

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.