Nippan Group Tokyo Headquarter ออกแบบห้องสมุดส่วนกลางให้เป็นพื้นที่ทำงาน ที่รวมหนังสือจากคนทำงานพร้อมโน้ตบอกเหตุผล

การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี เป็นหนึ่งส่วนที่ช่วยให้ผลลัพธ์การทำงานดีตามไปด้วย แต่สำหรับคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับหนังสือแล้ว การเติมข้อมูลให้กับตัวเองอยู่เสมอก็ถือเป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน ด้วยเหตุนี้ ‘Nippan Group Tokyo’ บริษัทขายส่งหนังสือที่สำคัญที่สุดในญี่ปุ่นจึงได้ลงทุนออกแบบห้องสมุดส่วนกลางของ ‘Nippan Group Tokyo Headquarter’ ให้ตอบโจทย์คนทำงานมากที่สุด จากฝีมือของ ‘KOKUYO’ สตูดิโอออกแบบสัญชาติญี่ปุ่น KOKUYO เปลี่ยนพื้นห้องที่มีระนาบเดียวให้กลายเป็นเนินขั้นบันไดเล็กๆ โดยแต่ละขั้นบันไดจะมีโต๊ะสำหรับนั่งทำงานและชั้นหนังสือแบบลดหลั่นกันไป ทำให้ผู้ใช้งานได้มองเห็นพื้นที่และหนังสือที่ว่าอยู่บนชั้นที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วห้องมากขึ้น อีกทั้งวัสดุที่ใช้ในการออกแบบก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพราะอุปกรณ์ภายในพื้นที่ล้วนแล้วแต่ใช้วัสดุออร์แกนิกที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว อาทิ อิฐ ไม้ กรวด ไปจนถึงนิตยสารและกระดาษที่ใช้แล้ว แถมในการดีไซน์พื้นที่ยังคำนึงถึงกลุ่มคนที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่การทำทางลาดเพื่อให้ผู้ใช้รถเข็นสามารถเข้าถึงได้ ไปจนถึงการกำหนดความสูงของชั้นหนังสือให้อยู่ในระดับที่ไม่สูงมาก เพื่อให้หนังสือทุกเล่มสามารถเข้าถึงคนทุกคนได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก-ผู้ใหญ่ หรือชาย-หญิงที่มีความสูงแตกต่างออกไป นอกจากนี้ ความพิเศษของหนังสือกว่า 2,000 เล่มภายใน Nippan Group Tokyo Headquarter แห่งนี้ยังคัดเลือกโดยพนักงานภายในออฟฟิศแห่งนี้ด้วยกันเอง โดยหนังสือแต่ละเล่มจะมาพร้อมโน้ตคำแนะนำหรือเหตุผลสั้นๆ ในการเลือกหนังสือเล่มนั้นๆ จากเจ้าของตัวจริง ถือเป็นกิมมิกเล็กที่ทำให้การอ่านน่าสนใจและเป็นเรื่องสนุกมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงมีโอกาสในการค้นหาเพื่อนร่วมงานใหม่ๆ ที่มีความสนใจคล้ายกัน เพื่อจุดมุ่งหมายหลักในการ ‘สร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์กร’ ที่พนักงานได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนด้วยกันเองและหนังสือภายในห้องมากขึ้น โดยไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่ เวลา และกฎแบบเดิมๆ […]

ห้องสมุดเปิดใหม่ ‘ประชาชี’ ที่เกิดจากกองดองของคนศิลปะ ใช้งานฟรี ในซอยเจริญกรุง 26

เปิดพิกัดอีกหนึ่งห้องสมุดแห่งใหม่ ‘ห้องสมุดประชาชี’ ในย่านเจริญกรุง ที่เปิดให้ผู้คนเข้าไปใช้งานพื้นที่ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ห้องสมุดแห่งนี้มีจุดเริ่มต้นง่ายๆ จากการรวมตัวกันของคนทำงานศิลปะอย่าง ‘ลี-อัญชลี อนันตวัฒน์’ จาก ‘สปีดี้แกรนด์มา’ และ ‘น้ำหวาน-วิรุฬห์วรรณ พิทักษ์ทอง’ กับ ‘ออดี้-กฤตธี ตัณฑสิทธิ์’ จาก ‘น้ำขึ้น คอลเลกทีฟ’ “ก่อนหน้านี้เราอยู่กันที่ซอยเจริญกรุง 24 ซึ่งในตึกนั้นจะมีห้องหนึ่งที่ใช้เป็นห้องคอมมอนรูม เรามักเอาหนังสือไปวางๆ กันจนเกิดเป็นห้องสมุดเฉพาะกิจขึ้นมา พอเราย้ายมาที่ใหม่บริเวณซอยเจริญกรุง 26 ห้องสมุดประชาชีก็เกิดขึ้น” ออดี้เล่าถึงจุดเริ่มต้นของห้องสมุดแห่งนี้ และด้วยการเริ่มต้นในรูปแบบนี้ ทำให้หนังสือเกือบ 90 เปอร์เซ็นต์เป็นหนังสือจากคอลเลกชันส่วนตัวของทั้งสามคน บวกกับหนังสือที่เพื่อนๆ นำมาวางด้วย ห้องสมุดเล็กๆ แห่งนี้จึงมีทั้งหนังสือภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มเฟมินิสต์ เควียร์ ศิลปวัฒนธรรม และการเมือง ไปจนถึงเป็นแหล่งรวมหนังสือทำมือ (Zine) และสูจิบัตรจากงานนิทรรศการต่างๆ แม้ห้องสมุดประชาชีเปิดให้เข้าใช้พื้นที่ได้ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ออดี้บอกกับเราว่า นี่ยังไม่ใช่การเปิดแบบเต็มรูปแบบ เพราะในส่วนของชั้น 1 ที่เป็นตัวห้องสมุดในขณะนี้มีการจัด ‘นิทรรศการคำสาปที่ราบสูง Arcane Plateau’ ร่วมด้วย […]

New Taipei City Library Taishan Branch รีโนเวตห้องสมุดเก่าอายุ 20 ปีในไต้หวัน ให้กลับมาเป็นมิตรกับนักอ่านทุกเพศทุกวัย

‘New Taipei City Library’ เป็นระบบห้องสมุดสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน มีสาขามากถึง 104 สาขา กระจายตัวอยู่ใน 29 เมือง โดยมี ‘New Taipei City Library Taishan Branch’ เป็นหนึ่งในห้องสมุดเก่าแก่ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว บนชั้น 5 ของอาคารรัฐบาลในเขตไท่ซาน เมืองนิวไทเป แม้ New Taipei City Library Taishan Branch จะอยู่ใกล้กับตลาดชุมชนและสถานรับเลี้ยงเด็ก แต่ห้องสมุดแห่งนี้ก็ยังไม่ได้รับความสนใจมากนัก เนื่องจากตัวห้องสมุดมีพื้นที่ภายในคับแคบ การออกแบบที่ล้าสมัย จัดวางผังได้ไม่ดี ทำให้แสงเข้าถึงได้ไม่เพียงพอ จนกระทั่งได้ ‘A.C.H Architects’ สตูดิโอออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดสรรพื้นที่เข้ามาดูแล A.C.H Architects เนรมิตโฉม New Taipei City Library Taishan Branch ขึ้นใหม่ภายในพื้นที่ 1,320 ตารางเมตร โดยเปลี่ยนห้องสมุดชั้นเดียวนี้เป็นแบบเปิดโล่ง […]

‘สรรสรางค์ แกลเลอรี’ พื้นที่สร้างสรรค์และห้องสมุดในตัวเมืองนครศรีธรรมราช

สถานที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในปัจจุบันไม่ใช่แค่ห้างสรรพสินค้าใหญ่โตอีกต่อไป แต่เป็นแกลเลอรีแสนน่ารัก ห้องสมุดบรรยากาศอบอุ่น หรือพื้นที่ทำกิจกรรมที่ให้คนมาพบปะ พูดคุย และเรียนรู้นอกเหนือตำราเรียน แน่นอนว่าสถานที่เหล่านี้หาได้ง่ายมากในกรุงเทพฯ แต่ในทางกลับกัน จังหวัดอื่นๆ กลับหาสถานที่พักผ่อนแบบนี้ได้ยากเหลือเกิน ซึ่ง ‘ต๊ะ-ณัฐชยา สุขแก้ว’ ก็คิดแบบนี้เช่นเดียวกัน เธอจึงตัดสินใจใช้ช่วงเวลาพักจากงาน IT กลับมาที่บ้านเกิดจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสร้างพื้นที่แห่งศิลปะ การเรียนรู้ และเป็นมิตรกับจิตใจให้ผู้คนในจังหวัดของเธอ ต๊ะเล่าที่มาของชื่อ ‘สรรสรางค์ แกลเลอรี’ ว่ามาจากคำว่าสรรค์สร้าง แต่เธอนำคำมาปรับใหม่เพื่อให้ได้ความรู้สึก Feminine และสร้างความสมดุลกับสิ่งต่างๆ ในจังหวัดมากขึ้น เพราะเธอรู้สึกว่าสิ่งต่างๆ ในจังหวัดบ้านเกิดมีความ Masculine ทั้งการแสดงออกและศิลปะ เธอจึงอยากทำสถานที่นี้เป็นเหมือน Safe Space ที่ทำให้ศิลปะและความรู้เข้าถึงง่ายกว่าที่เคย ด้วยความที่ใช้เวลาพักงานในการสรรค์สร้างพื้นที่แห่งนี้ขึ้นมา ต๊ะจึงมีเวลาจัดการทุกอย่างแค่ 1 เดือนกว่าเท่านั้น ซึ่งหลายๆ คนที่ไปเยือนจะได้เห็นว่าส่วนต่างๆ ของตึกมีการจัดการแบบ Minimum คือตั้งใจปรับปรุงเท่าที่จำเป็น เพื่อปล่อยออกไปสำรวจตลาดก่อน ที่เป็นแบบนั้นเพราะต๊ะเล่าว่า นี่คือการสร้าง Minimum Viable Product (ผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง) โดยอิงจากข้อมูลที่ได้รับจากการสัมภาษณ์นักเรียนทั้งอาชีวะและสายสามัญ รวมถึงคนทำงานในจังหวัด หรือพูดง่ายๆ […]

Read Cafe คาเฟ่ห้องสมุดในประเทศจีนที่ผสมผสานสารพัดเครื่องดื่มเข้ากับชั้นหนังสือ

ในยุคที่โลกหมุนไปอย่างรวดเร็ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเติบโตอย่างก้าวกระโดด ดิจิทัลเข้ามาเขย่าโลก ส่งผลให้พฤติกรรมหรือการใช้ชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป เพื่อต้องการคง ‘การอ่านหนังสือเล่ม’ ให้อยู่คู่กาลเวลาที่ไหลไปข้างหน้า ‘Read Cafe’ ในประเทศจีน จึงถูกออกแบบมาให้เป็นพื้นที่ครบวงจรสำหรับการอ่าน การศึกษาหาความรู้ และเติมเต็มสุนทรียะแห่งการดื่ม มองจากภายนอก คาเฟ่สองชั้นแห่งนี้มีทางเข้าเป็นบล็อกสไตล์มินิมอลสีขาวบริสุทธิ์ ประดับด้วยโลโก้สีแดงเด่นคล้ายตราประทับที่อยู่ส่วนท้ายของปกหนังสือ ทว่าเมื่อเปิดประตูเข้าไป เราจะพบกับโลกของหนังสือมากมายที่จัดเรียงอยู่บนชั้นให้ได้หยิบอ่าน บรรยากาศในคาเฟ่แห่งนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมกรุ่นของสารพัดเครื่องดื่ม ที่ช่วยให้ผู้มาเยือนรู้สึกมีสมาธิและกระปรี้กระเปร่า ทั้งยังตกแต่งด้วยชั้นวางหนังสือสูงตระหง่านที่ล้อมรอบทั่วร้านในโทนสีเนื้อไม้ แซมด้วยความสุขุมของผนังสีเทา ผสมผสานกับความมั่นคงของเฟอร์นิเจอร์สเตนเลส ที่ช่วยให้การนั่งพักจิบเครื่องดื่มอร่อยๆ หรือละเลียดอ่านหนังสือเป็นได้ด้วยความสงบเรียบง่าย นอกจากนี้ ผู้ก่อตั้ง Read Cafe ยังตั้งใจให้ที่นี่เป็นพื้นที่สาธารณะที่ส่งเสริมให้ผู้คนเข้าสู่โลกมหัศจรรย์ของหนังสือ ซึ่งเป็นความรู้สึกและวัฒนธรรมแบบเก่าที่หน้าจออิเล็กทรอนิกส์ไม่สามารถทดแทนได้ Source :ArchDaily | bit.ly/3IyU0dH

‘Katsura Library’ อ่านหนังสือที่ ม.เกียวโต พร้อมชมวิวป่าไผ่ ห้องสมุดใหม่ที่รวม 5 ห้องสมุดเก่าให้กลายเป็นหนึ่ง

ถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆ ของประเทศญี่ปุ่น หนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ติดท็อป 3 ทุกปี คงหนีไม่พ้น ‘มหาวิทยาลัยเกียวโต’ (Kyoto University) เพราะนอกจากการเรียนการสอนที่ดี สภาพแวดล้อมในบริเวณมหาวิทยาลัยยังร่มรื่น ชวนให้เกิดความรู้สึกอยากเรียนรู้ไม่น้อย ไม่เว้นแม้แต่มหาวิทยาลัยเกียวโต วิทยาเขต Katsura ที่ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ห้องสมุดใหม่ ให้ตอบโจทย์การใช้งานของนักศึกษาและบุคคลทั่วไปมากขึ้น ด้วยการรวมเอาห้องสมุดทั้ง 5 แห่งเดิมที่แยกตามการจัดหมวดหมู่ของวิชามาไว้ด้วยกัน และสร้างห้องสมุดใหม่ที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อทำหน้าที่เป็น Area-Focus Hub Library ให้วิทยาเขตแห่งนี้ ‘Katsura Library’ เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่กว่า 4,556 ตารางเมตรที่สร้างขึ้นภายใต้การควบคุมการออกแบบที่เข้มงวด เพื่อทำให้ภาพลักษณ์ใหม่ยังคงสอดคล้องไปกับตัววิทยาเขตเดิม ด้วยความร่วมมือจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมไปถึงการควบคุมออกแบบจาก ‘Waro Kishi + K.ASSOCIATES/Architects’ อดีตศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยเกียวโตและสตูดิโอของเขา ภายในของ Katsura Library ประกอบด้วยพื้นที่ห้องสมุดขนาดใหญ่ พื้นที่การเรียนรู้แบบสาธารณะที่มีตั้งแต่ห้องทดลองแบบเปิด ห้องวิจัยทั่วไป และห้องสร้างสื่อ รวมไปถึงห้องอ่านหนังสือที่เปิดให้นักศึกษาและเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยเข้าถึงได้อย่างอิสระ โดยแต่ละส่วนจะให้ความรู้สึกที่เงียบสงบ แต่เชื่อมต่อถึงกันด้วยพื้นที่ห้องโถงใหญ่และกระจกใสกั้นห้อง ผนังภายนอกของ Katsura Library ตกแต่งด้วยกระเบื้องพอร์ซเลน ผสมกับคอนกรีตแบบเปลือย และการออกแบบหลังคาทรงเรียบ […]

กลับมาอีกครั้งกับ Reading Seoul Plaza ห้องสมุดกลางแจ้งบนพื้นที่สีเขียวในโซล ให้คนพักผ่อน ทำกิจกรรมฟรีถึงปลายปี

เมื่อปีที่แล้ว กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ริเริ่มโปรเจกต์เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปีนี้ทางรัฐบาลกรุงโซลก็นำกลับมาจัดกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับเมือง ‘โซลพลาซา’ (Seoul Plaza) คือพื้นที่บริเวณลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่ในชื่อ ‘Reading Seoul Plaza’ ซึ่งโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หลังจากได้รับกระแสตอบรับที่ดี รัฐบาลกรุงโซลได้อัปเกรดและปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ให้ดีขึ้นสำหรับประชาชนที่จะมาอ่านหนังสือ นอกจากบรรยากาศอันอบอุ่นแสนสบายที่มาพร้อมกับบีนแบ็กหลากสีสันและร่มกันแดด ปีนี้หนังสือจะมีให้เลือกหลากหลายประเภทขึ้น ทั้งยังเพิ่มโปรแกรมปรึกษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ชาวพนักงานออฟฟิศ ตลอดจนกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ มามีส่วนร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ใครที่มีแพลนไปเกาหลีช่วงนี้ อย่าลืมแวะไปอาบแดดอุ่นๆ อ่านหนังสือในพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ Reading Seoul Plaza กันนะ ห้องสมุดกลางแจ้งโซลพลาซาเปิดให้ประชาชนนั่งอ่านหนังสือชิลๆ ‘ฟรี’ ทุกวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 11.00 – 17.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น. ระหว่างวันที่ 23 เมษายน – 2 […]

หลบร้อนมาอ่านหนังสือศิลปะในมุมสงบ ที่ ‘ห้องสมุดลับ’ กลิ่นอายประวัติศาสตร์ ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

อากาศร้อนๆ แบบนี้ แวะไปหลบแดดในสถานที่เย็นฉ่ำ และดื่มด่ำกับบรรยากาศกลิ่นอายประวัติศาสตร์ด้วยกันไหม ถ้าสนใจ เราขอแนะนำห้องสมุดเล็กๆ จนเกือบลับอย่าง ‘ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย’ ที่มีแอร์ ปลั๊ก และหนังสือให้อ่านฟรี ซ่อนตัวอยู่ใน ‘หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน’ บนถนนราชดำเนินใจกลางกรุงเทพฯ ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แทรกตัวอยู่กับพื้นที่นิทรรศการในอาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินที่มีความสูง 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 5 พันตารางเมตร แม้ห้องสมุดที่อยู่บนชั้น 2 ของอาคารแห่งนี้จะมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด แต่ก็ครบครันไปด้วยหนังสือ วารสาร เอกสารวิชาการ ด้านศิลปะร่วมสมัยที่มีคุณค่าและหาชมได้ยากเก็บสะสมไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและค้นคว้าหาองค์ความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่ต้องสมัครสมาชิก ซึ่งนอกจากห้องสมุด ตัวหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินเองก็ยังคงบอกเล่าเรื่องราวของศิลปะ ผ่านการจัดแสดงผลงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยหลากหลายแขนง ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอันมีรากฐานต่อยอดมาจากศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ภายใต้การบริหารงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ตั้งอยู่บนชั้น 2 อาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00 – 17.30 น. ใช้บริการได้ฟรี ไม่ต้องสมัครสมาชิก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rcac84.com หรือโทร. […]

Microlibrary MoKa นวัตกรรมห้องสมุดไม้ ถอดประกอบได้ กระจายแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ห่างไกล

แม้ล่วงมาสู่ยุคสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีล้ำหน้า แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าถึงห้องสมุดได้ โดยเฉพาะในชุมชนพื้นที่ห่างไกลที่ความเจริญเดินทางไปถึงยาก ทำให้มีการร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตไม้อัด ‘PT. Kayu Lapis Indonesia’ และสตูดิโอออกแบบ ‘SHAU Architects’ จนเกิดเป็นโครงการ ‘Microlibrary MoKa’ ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อกระจายห้องสมุดขนาดเล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายกว่าเดิม Microlibrary MoKa ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยแนวคิดห้องสมุดต้นทุนต่ำ ประกอบง่าย และขนส่งสะดวกในระยะเวลาอันสั้น กลายเป็นโครงสร้างชิ้นส่วนไม้อัดสำเร็จรูปแบบแบนราบ ที่สามารถประกอบเป็นอาคารห้องสมุดแบบกึ่งสำเร็จรูปที่ถอดประกอบและเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ ภายใต้ขนาดเพียง 10 ตารางเมตร นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถปรับแต่งรูปแบบส่วนหน้าอาคารเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น การวางแนวอาคารที่สัมพันธ์กับความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือแม้กระทั่งการใช้งานที่แตกต่างออกไปโดยไม่จำกัดอยู่แค่ประเภทห้องสมุดเท่านั้น และหากต้องการให้อาคารมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น ก็สามารถนำ Microlibrary MoKa มาประกอบต่อกันเป็นรูปแบบอื่นๆ ได้เรื่อยๆ โดยใช้ไม้อัดเชื่อมต่ออาคาร ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ SHAU Architects ต้องการลดเวลาและต้นทุนในการออกแบบและติดตั้ง เมื่อเทียบกับอาคารอื่นๆ ที่ต้องมีการออกแบบเฉพาะตัว ขณะเดียวกัน ห้องสมุดแห่งนี้ยังเข้าถึงชุมชนและธรรมชาติได้มากขึ้น ผ่านการออกแบบโดยอิงจากอาคารที่ใช้ไม้ค้ำแบบดั้งเดิมอย่าง ‘Rumah Panggung’ ที่มีลักษณะคล้ายบ้านไม้ทรงไทยยกสูงในอดีต Source : ArchDaily | […]

Robarts Library ความอบอุ่นสบายตาในสเปซที่แข็งกร้าว โซนอ่านหนังสือรีโนเวตใหม่ในห้องสมุดสไตล์ Brutalist

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย คือหนึ่งในสถานที่พักผ่อนและใช้ประโยชน์มากมายของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่เรียน อ่านหนังสือ ติว นั่งเรื่อยเปื่อย หรือกระทั่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้นอกจากพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักศึกษาแล้ว ดีไซน์และการออกแบบภายในก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ในประเทศแคนาดา ได้มีการปรับปรุงโซนห้องอ่านหนังสือในห้องสมุด ‘Robarts’ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งที่นี่ถือเป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมแนว Brutalist ที่โดดเด่น สถาปัตยกรรมแนว Brutalist คือสิ่งก่อสร้างที่มีภาพจำเป็นคอนกรีตเปลือย กระจก เหล็ก ที่ให้ภาพลักษณ์แข็งกร้าวทะมึนขึงขัง โดยโปรเจกต์รีโนเวตห้องอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูห้องสมุดที่สำคัญของมหาวิทยาลัยโทรอนโต และอาคารห้องสมุดวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา ‘Superkül’ สตูดิโอผู้รับผิดชอบโปรเจกต์นี้ได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้แบบร่วมสมัยของนักศึกษาและคณาจารย์ ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความเคารพกับสถาปัตยกรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก นอกจากการเชื่อมต่อโครงสร้างแนว Brutalist ที่มีอยู่ดั้งเดิมกับส่วนต่อขยายของโถงห้องสมุดที่อยู่ติดกันแล้ว ยังมีการเพิ่มมุมเรียนรู้ในพื้นที่ห้องขนาด 1,886 ตารางเมตรที่เพดานสูงสองชั้น ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง สบาย ภายในสเปซนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่เรียนรู้ส่วนบุคคล สถานีการเรียนรู้แบบดิจิทัล ห้องให้คำปรึกษา และโซนแสงบำบัด (Light Therapy) อีกสองโซน อีกทั้งยังมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้งานเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับอาคารคอนกรีต รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการเรียนรู้ ผ่านมุมเรียนรู้ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับความสูงโต๊ะ กำหนดค่าที่นั่ง และปรับแสงตามต้องการได้ นอกจากนี้ ตัวสตูดิโอยังทำงานกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้เรื่องเสียงในการสร้างระบบลดเสียง โดยใช้แผ่นไม้เจาะรูและแผ่นโลหะที่ออกแบบมาอย่างกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมภายใน ช่วยให้เสียงของกลุ่มคนที่ต้องสนทนากันไม่ไปรบกวนนักศึกษาคนอื่นๆ “เพื่อเป็นเกียรติแก่รูปทรงเรขาคณิตและวัสดุอันโดดเด่นที่ทำให้ห้องสมุด Robarts […]

ห้องสมุดออนไลน์สำหรับชาว กทม. ยืมอ่าน E-Book ในแอปฯ Hibrary ฟรี

เพื่อเป็นการต้อนรับเทศกาลการอ่านและหนังสือกรุงเทพฯ (Read & Learn) ในเดือนมีนาคมนี้ กรุงเทพมหานครร่วมกับภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน จัดกิจกรรมการอ่านและสิ่งพิมพ์ตลอดทั้งเดือน หนึ่งในนั้นคือ ‘อีบุ๊กฟรี อยู่เขตไหน อ่านได้ทุกที่’ ร่วมกับทาง Hibrary โครงการนี้เป็นการเปิดให้บริการห้องสมุดออนไลน์แก่ประชาชนในกรุงเทพฯ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้ามายืมอ่านอีบุ๊กได้ฟรีจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนววรรณกรรม ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา หรือพัฒนาตนเอง รวมถึงมีอีบุ๊กในรูปแบบ E-PUB ที่รองรับสำหรับกลุ่มที่มีปัญหาในการอ่าน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม โดยคาดหวังว่าจะมีเป้าหมายผู้ใช้บริการมากกว่า 200,000 บัญชี ยังไม่พอเท่านั้น ทางแอปฯ ยังเปิดให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการคัดเลือกอีบุ๊กเข้าระบบให้บริการในเดือนถัดๆ ไปด้วย ใครอยากอ่านเล่มไหนแล้วในแอปฯ ยังไม่มี ก็ส่งชื่อหนังสือไปได้ วิธีการลงทะเบียนก็ง่ายๆ แค่โหลดแอปฯ แล้วเลือกห้องสมุด BKK x Hibrary กรอกอีเมลและเลือกสมัครสมาชิก หลังจากกรอกข้อมูลครบเรียบร้อยก็เข้าถึงอีบุ๊กได้แบบฟรีๆ แล้ว โดยสมัครอ่านบนระบบ iOS ได้ที่ apple.co/3a7veQs ระบบ Android bit.ly/3uEZrzw หรือทางเว็บไซต์ bkk.hibrary.me

Fotogarten เปิดห้องสมุดจิ๋วเคลื่อนที่ จิบชา ดูโฟโต้บุ๊กในธีม ‘พืชในชีวิตฉัน’ วันนี้ – 13 มี.ค. 66 ที่ร้าน Gimbocha

ด้วยราคาและข้อจำกัดต่างๆ ทำให้หนังสือภาพถ่ายร่วมสมัยในประเทศไทยเข้าถึงได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น ‘Fotogarten’ แพลตฟอร์มเกี่ยวกับภาพถ่ายที่อยากชวนทุกคนมาสนุกกับการดูภาพถ่าย จึงจัดกิจกรรม ‘Library on Tour’ นำชั้นหนังสือรวมภาพถ่ายไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ ภายในเมืองเป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน คล้ายกับเป็น ‘ห้องสมุดจิ๋ว’  ล่าสุด Fotogarten จับมือกับร้านชาสเปเชียลตี้บรรยากาศอบอุ่นใจกลางเมือง ‘Gimbocha Tea House & Cafe’ เพื่อตั้งห้องสมุดจิ๋วที่รวบรวมภาพถ่ายประเด็น ‘พืชในชีวิตฉัน (Living with Plants)’ ในมุมมองต่างๆ พร้อมกับกิจกรรม Photobook Club ที่ชวนทุกคนมาดูภาพถ่ายไปด้วยกัน  นอกจากนี้ ร้าน Gimbocha ยังรังสรรค์ชาสุดพิเศษสำหรับกิจกรรมนี้โดยเฉพาะ โดยเมนูที่ว่านั้นคือ ‘ดอกหอมหมื่นลี้ครีมโซดา’ ที่มีกลิ่นหอมของชาดอกหอมหมื่นลี้ ผสมกลิ่นจางๆ จากน้ำผึ้ง เพิ่มความซ่าของโซดา และท็อปด้วยครีมนุ่มละมุน ชั้นหนังสือภาพจาก Fotogarten ในกิจกรรม Library on Tour ตั้งอยู่ที่ร้าน Gimbocha Tea House & Cafe […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.