กลับมาอีกครั้งกับ Reading Seoul Plaza ห้องสมุดกลางแจ้งบนพื้นที่สีเขียวในโซล ให้คนพักผ่อน ทำกิจกรรมฟรีถึงปลายปี

เมื่อปีที่แล้ว กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ ได้ริเริ่มโปรเจกต์เปลี่ยนพื้นที่สาธารณะใจกลางเมืองให้กลายเป็นห้องสมุดกลางแจ้งสุดชิล พร้อมต้อนรับนักอ่านและนักกิจกรรมทุกเพศทุกวัย ซึ่งในปีนี้ทางรัฐบาลกรุงโซลก็นำกลับมาจัดกิจกรรมอีกครั้ง เพื่อเพิ่มชีวิตชีวาให้กับเมือง ‘โซลพลาซา’ (Seoul Plaza) คือพื้นที่บริเวณลานกว้างที่ตั้งอยู่หน้าศาลาว่าการกรุงโซล ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นห้องสมุดกลางแจ้งขนาดใหญ่ในชื่อ ‘Reading Seoul Plaza’ ซึ่งโปรเจกต์นี้เกิดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองวันหนังสือและลิขสิทธิ์สากล (World Book and Copyright Day) หลังจากได้รับกระแสตอบรับที่ดี รัฐบาลกรุงโซลได้อัปเกรดและปรับปรุงพื้นที่แห่งนี้ให้ดีขึ้นสำหรับประชาชนที่จะมาอ่านหนังสือ นอกจากบรรยากาศอันอบอุ่นแสนสบายที่มาพร้อมกับบีนแบ็กหลากสีสันและร่มกันแดด ปีนี้หนังสือจะมีให้เลือกหลากหลายประเภทขึ้น ทั้งยังเพิ่มโปรแกรมปรึกษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ชาวพนักงานออฟฟิศ ตลอดจนกิจกรรมสนุกๆ ให้เด็กๆ มามีส่วนร่วมในวันหยุดสุดสัปดาห์ด้วย ใครที่มีแพลนไปเกาหลีช่วงนี้ อย่าลืมแวะไปอาบแดดอุ่นๆ อ่านหนังสือในพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองที่ Reading Seoul Plaza กันนะ ห้องสมุดกลางแจ้งโซลพลาซาเปิดให้ประชาชนนั่งอ่านหนังสือชิลๆ ‘ฟรี’ ทุกวันพฤหัสบดี-วันศุกร์ เวลา 11.00 – 17.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 10.00 – 17.00 น. ระหว่างวันที่ 23 เมษายน – 2 […]

หลบร้อนมาอ่านหนังสือศิลปะในมุมสงบ ที่ ‘ห้องสมุดลับ’ กลิ่นอายประวัติศาสตร์ ชั้น 2 หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

อากาศร้อนๆ แบบนี้ แวะไปหลบแดดในสถานที่เย็นฉ่ำ และดื่มด่ำกับบรรยากาศกลิ่นอายประวัติศาสตร์ด้วยกันไหม ถ้าสนใจ เราขอแนะนำห้องสมุดเล็กๆ จนเกือบลับอย่าง ‘ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย’ ที่มีแอร์ ปลั๊ก และหนังสือให้อ่านฟรี ซ่อนตัวอยู่ใน ‘หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน’ บนถนนราชดำเนินใจกลางกรุงเทพฯ ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย แทรกตัวอยู่กับพื้นที่นิทรรศการในอาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินที่มีความสูง 3 ชั้น พื้นที่ใช้สอยกว่า 5 พันตารางเมตร แม้ห้องสมุดที่อยู่บนชั้น 2 ของอาคารแห่งนี้จะมีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด แต่ก็ครบครันไปด้วยหนังสือ วารสาร เอกสารวิชาการ ด้านศิลปะร่วมสมัยที่มีคุณค่าและหาชมได้ยากเก็บสะสมไว้ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและค้นคว้าหาองค์ความรู้เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่ต้องสมัครสมาชิก ซึ่งนอกจากห้องสมุด ตัวหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนินเองก็ยังคงบอกเล่าเรื่องราวของศิลปะ ผ่านการจัดแสดงผลงานนิทรรศการศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยหลากหลายแขนง ตลอดจนส่งเสริมการเรียนรู้ด้านศิลปะร่วมสมัยของไทย เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอด สู่การสร้างมูลค่าเพิ่มอันมีรากฐานต่อยอดมาจากศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม ภายใต้การบริหารงานโดย สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ตั้งอยู่บนชั้น 2 อาคารหอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน เปิดให้บริการทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (หยุดวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์) เวลา 10.00 – 17.30 น. ใช้บริการได้ฟรี ไม่ต้องสมัครสมาชิก ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.rcac84.com หรือโทร. […]

Microlibrary MoKa นวัตกรรมห้องสมุดไม้ ถอดประกอบได้ กระจายแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ห่างไกล

แม้ล่วงมาสู่ยุคสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีล้ำหน้า แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเข้าถึงห้องสมุดได้ โดยเฉพาะในชุมชนพื้นที่ห่างไกลที่ความเจริญเดินทางไปถึงยาก ทำให้มีการร่วมมือกันระหว่างผู้ผลิตไม้อัด ‘PT. Kayu Lapis Indonesia’ และสตูดิโอออกแบบ ‘SHAU Architects’ จนเกิดเป็นโครงการ ‘Microlibrary MoKa’ ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อกระจายห้องสมุดขนาดเล็กไปยังพื้นที่ต่างๆ ได้ง่ายกว่าเดิม Microlibrary MoKa ได้รับการพัฒนาขึ้นด้วยแนวคิดห้องสมุดต้นทุนต่ำ ประกอบง่าย และขนส่งสะดวกในระยะเวลาอันสั้น กลายเป็นโครงสร้างชิ้นส่วนไม้อัดสำเร็จรูปแบบแบนราบ ที่สามารถประกอบเป็นอาคารห้องสมุดแบบกึ่งสำเร็จรูปที่ถอดประกอบและเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ ภายใต้ขนาดเพียง 10 ตารางเมตร นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถปรับแต่งรูปแบบส่วนหน้าอาคารเพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น การวางแนวอาคารที่สัมพันธ์กับความร้อนจากแสงอาทิตย์ หรือแม้กระทั่งการใช้งานที่แตกต่างออกไปโดยไม่จำกัดอยู่แค่ประเภทห้องสมุดเท่านั้น และหากต้องการให้อาคารมีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อรองรับการใช้งานที่มากขึ้น ก็สามารถนำ Microlibrary MoKa มาประกอบต่อกันเป็นรูปแบบอื่นๆ ได้เรื่อยๆ โดยใช้ไม้อัดเชื่อมต่ออาคาร ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ SHAU Architects ต้องการลดเวลาและต้นทุนในการออกแบบและติดตั้ง เมื่อเทียบกับอาคารอื่นๆ ที่ต้องมีการออกแบบเฉพาะตัว ขณะเดียวกัน ห้องสมุดแห่งนี้ยังเข้าถึงชุมชนและธรรมชาติได้มากขึ้น ผ่านการออกแบบโดยอิงจากอาคารที่ใช้ไม้ค้ำแบบดั้งเดิมอย่าง ‘Rumah Panggung’ ที่มีลักษณะคล้ายบ้านไม้ทรงไทยยกสูงในอดีต Source : ArchDaily | […]

Robarts Library ความอบอุ่นสบายตาในสเปซที่แข็งกร้าว โซนอ่านหนังสือรีโนเวตใหม่ในห้องสมุดสไตล์ Brutalist

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย คือหนึ่งในสถานที่พักผ่อนและใช้ประโยชน์มากมายของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่เรียน อ่านหนังสือ ติว นั่งเรื่อยเปื่อย หรือกระทั่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้นอกจากพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักศึกษาแล้ว ดีไซน์และการออกแบบภายในก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ในประเทศแคนาดา ได้มีการปรับปรุงโซนห้องอ่านหนังสือในห้องสมุด ‘Robarts’ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งที่นี่ถือเป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมแนว Brutalist ที่โดดเด่น สถาปัตยกรรมแนว Brutalist คือสิ่งก่อสร้างที่มีภาพจำเป็นคอนกรีตเปลือย กระจก เหล็ก ที่ให้ภาพลักษณ์แข็งกร้าวทะมึนขึงขัง โดยโปรเจกต์รีโนเวตห้องอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูห้องสมุดที่สำคัญของมหาวิทยาลัยโทรอนโต และอาคารห้องสมุดวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา ‘Superkül’ สตูดิโอผู้รับผิดชอบโปรเจกต์นี้ได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้แบบร่วมสมัยของนักศึกษาและคณาจารย์ ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความเคารพกับสถาปัตยกรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก นอกจากการเชื่อมต่อโครงสร้างแนว Brutalist ที่มีอยู่ดั้งเดิมกับส่วนต่อขยายของโถงห้องสมุดที่อยู่ติดกันแล้ว ยังมีการเพิ่มมุมเรียนรู้ในพื้นที่ห้องขนาด 1,886 ตารางเมตรที่เพดานสูงสองชั้น ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง สบาย ภายในสเปซนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่เรียนรู้ส่วนบุคคล สถานีการเรียนรู้แบบดิจิทัล ห้องให้คำปรึกษา และโซนแสงบำบัด (Light Therapy) อีกสองโซน อีกทั้งยังมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้งานเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับอาคารคอนกรีต รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการเรียนรู้ ผ่านมุมเรียนรู้ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับความสูงโต๊ะ กำหนดค่าที่นั่ง และปรับแสงตามต้องการได้ นอกจากนี้ ตัวสตูดิโอยังทำงานกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้เรื่องเสียงในการสร้างระบบลดเสียง โดยใช้แผ่นไม้เจาะรูและแผ่นโลหะที่ออกแบบมาอย่างกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมภายใน ช่วยให้เสียงของกลุ่มคนที่ต้องสนทนากันไม่ไปรบกวนนักศึกษาคนอื่นๆ “เพื่อเป็นเกียรติแก่รูปทรงเรขาคณิตและวัสดุอันโดดเด่นที่ทำให้ห้องสมุด Robarts […]

ห้องสมุดออนไลน์สำหรับชาว กทม. ยืมอ่าน E-Book ในแอปฯ Hibrary ฟรี

เพื่อเป็นการต้อนรับเทศกาลการอ่านและหนังสือกรุงเทพฯ (Read & Learn) ในเดือนมีนาคมนี้ กรุงเทพมหานครร่วมกับภาคีเครือข่ายส่งเสริมการอ่าน จัดกิจกรรมการอ่านและสิ่งพิมพ์ตลอดทั้งเดือน หนึ่งในนั้นคือ ‘อีบุ๊กฟรี อยู่เขตไหน อ่านได้ทุกที่’ ร่วมกับทาง Hibrary โครงการนี้เป็นการเปิดให้บริการห้องสมุดออนไลน์แก่ประชาชนในกรุงเทพฯ โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้ามายืมอ่านอีบุ๊กได้ฟรีจากสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแนววรรณกรรม ประวัติศาสตร์ จิตวิทยา หรือพัฒนาตนเอง รวมถึงมีอีบุ๊กในรูปแบบ E-PUB ที่รองรับสำหรับกลุ่มที่มีปัญหาในการอ่าน เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีปัญหาด้านการอ่านเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างเท่าเทียม โดยคาดหวังว่าจะมีเป้าหมายผู้ใช้บริการมากกว่า 200,000 บัญชี ยังไม่พอเท่านั้น ทางแอปฯ ยังเปิดให้ผู้ใช้งานมีส่วนร่วมในการคัดเลือกอีบุ๊กเข้าระบบให้บริการในเดือนถัดๆ ไปด้วย ใครอยากอ่านเล่มไหนแล้วในแอปฯ ยังไม่มี ก็ส่งชื่อหนังสือไปได้ วิธีการลงทะเบียนก็ง่ายๆ แค่โหลดแอปฯ แล้วเลือกห้องสมุด BKK x Hibrary กรอกอีเมลและเลือกสมัครสมาชิก หลังจากกรอกข้อมูลครบเรียบร้อยก็เข้าถึงอีบุ๊กได้แบบฟรีๆ แล้ว โดยสมัครอ่านบนระบบ iOS ได้ที่ apple.co/3a7veQs ระบบ Android bit.ly/3uEZrzw หรือทางเว็บไซต์ bkk.hibrary.me

Fotogarten เปิดห้องสมุดจิ๋วเคลื่อนที่ จิบชา ดูโฟโต้บุ๊กในธีม ‘พืชในชีวิตฉัน’ วันนี้ – 13 มี.ค. 66 ที่ร้าน Gimbocha

ด้วยราคาและข้อจำกัดต่างๆ ทำให้หนังสือภาพถ่ายร่วมสมัยในประเทศไทยเข้าถึงได้ยากกว่าที่ควรจะเป็น ‘Fotogarten’ แพลตฟอร์มเกี่ยวกับภาพถ่ายที่อยากชวนทุกคนมาสนุกกับการดูภาพถ่าย จึงจัดกิจกรรม ‘Library on Tour’ นำชั้นหนังสือรวมภาพถ่ายไปตั้งไว้ตามสถานที่ต่างๆ ภายในเมืองเป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน คล้ายกับเป็น ‘ห้องสมุดจิ๋ว’  ล่าสุด Fotogarten จับมือกับร้านชาสเปเชียลตี้บรรยากาศอบอุ่นใจกลางเมือง ‘Gimbocha Tea House & Cafe’ เพื่อตั้งห้องสมุดจิ๋วที่รวบรวมภาพถ่ายประเด็น ‘พืชในชีวิตฉัน (Living with Plants)’ ในมุมมองต่างๆ พร้อมกับกิจกรรม Photobook Club ที่ชวนทุกคนมาดูภาพถ่ายไปด้วยกัน  นอกจากนี้ ร้าน Gimbocha ยังรังสรรค์ชาสุดพิเศษสำหรับกิจกรรมนี้โดยเฉพาะ โดยเมนูที่ว่านั้นคือ ‘ดอกหอมหมื่นลี้ครีมโซดา’ ที่มีกลิ่นหอมของชาดอกหอมหมื่นลี้ ผสมกลิ่นจางๆ จากน้ำผึ้ง เพิ่มความซ่าของโซดา และท็อปด้วยครีมนุ่มละมุน ชั้นหนังสือภาพจาก Fotogarten ในกิจกรรม Library on Tour ตั้งอยู่ที่ร้าน Gimbocha Tea House & Cafe […]

Underground Library ห้องสมุดใต้ดินที่เหมือนหลุมหลบภัย และซ่อนหนังสือไว้กว่า 3,000 เล่ม

เพียงเดินทางจากสถานีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มายังเมืองชิบะ ด้วยระยะเวลาเพียง 90 นาที ก็จะพบกับ ‘Kurkku Fields’ สถานที่ที่รวบรวมการให้บริการแบบฟาร์มสเตย์ มีตั้งแต่ที่พัก อาหาร เวิร์กช็อป งานศิลปะ และ ‘Underground Library’ ห้องสมุดที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน รอคอยให้ผู้มาเยือนเข้าไปสัมผัสประสบการณ์การอ่านหนังสือท่ามกลางธรรมชาติ Underground Library เป็นผลงานการออกแบบของ ‘Hiroshi Nakamura & NAP Architects’ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แขกที่เข้าพักในบริเวณ Kurkku Fields สามารถใช้เวลาภายในห้องสมุดใต้ดินแห่งนี้อย่างอิสระ ต้อนรับการกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากปิดตัวชั่วคราวเพราะสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น Underground Library เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยรูปลักษณ์ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ จากองค์ประกอบวัสดุไม้ที่หลีกเลี่ยงการใช้คานและเสา รวมไปถึงการสร้างพื้นที่ส่วนตัวเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ภายใน เพื่อความเป็นส่วนตัวแก่นักอ่านที่มาใช้บริการ ยังไม่นับรวมบรรดาหญ้าบนหลังคาที่ให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังซ่อนตัวอยู่ในหลุมหลบภัย ที่ภายในเต็มไปด้วยหนังสือกว่า 3,000 เล่ม หนังสือส่วนใหญ่ของที่นี่เน้นไปทางเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตเกษตรกรรม รวมถึงบทกวี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ศาสนา วิทยาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ […]

TK Park เปิดสาขาใหม่ที่ปุณณวิถี ยืม-คืน อ่านหนังสือ ทำงานได้ทุกวัน ที่ชั้น 3 True Digital Park

ในที่สุดชาวปุณณวิถีและพื้นที่ใกล้เคียงก็จะมีห้องสมุดไว้ใช้หยิบยืมหนังสืออ่าน และทำงานแล้ว นั่นคือ TK Park สาขา True Digital Park ที่เปิดให้บริการเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ที่นี่ได้รับการออกแบบเป็นห้องสมุดแบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าใช้บริการได้อย่างสะดวกสบาย มีหนังสือให้บริการมากกว่า 1,800 เล่มภายในพื้นที่ขนาด 960 ตารางเมตร และมีที่นั่งอ่านกว่า 80 ที่นั่ง ห้องเงียบ รวมถึงพื้นที่สำหรับอ่านอีบุ๊กและนิตยสาร หนังสือในห้องสมุดแห่งนี้จะเน้นที่หนังสือพัฒนาตัวเอง ธุรกิจ หนังสือเด็ก และหนังสือทั่วไป ใครที่เป็นสมาชิก TK Park อยู่แล้ว สามารถยืม-คืนหนังสือได้ ไม่ต้องสมัครสมาชิกใหม่ ส่วนใครที่เป็นลูกบ้าน True Digital Park รับสิทธิ์สมัครสมาชิก TK Park รายปีฟรี ผ่านแอปฯ MyTK หรือตู้สมัครสมาชิกด้านหน้า TK Park สาขา True Digital Park เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 10.00 – 20.00 น. (งดบริการยืมหนังสือทุกวันจันทร์) […]

ทัวร์ย่าน ‘สุขุมวิท-บางนา’ แบบอินไซด์ทั้งสายกินสายเก๋าฉบับชาวสุนาเนี่ยน

ไม่กี่ปีมานี้ ‘สุขุมวิท-บางนา’ ได้ชื่อว่าเป็นย่านที่เติบโตและเปลี่ยนแปลงเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ สุขุมวิทเป็นย่านธุรกิจ CBD (Central Business District) ขนาดใหญ่ใจกลางเมืองที่เต็มไปด้วยวิถีชีวิตทันสมัย และแหล่งรวมคาเฟ่ทุกสไตล์ตามซอกซอยต่างๆ หรือเมื่อขยับออกไปอีกนิดแถบชานเมืองอย่างบางนา ก็เต็มไปด้วยหมู่บ้านจัดสรรและชุมชนเก่า รวมทั้งศูนย์รวมงานอีเวนต์ที่ไบเทค บางนา ที่คึกคักอยู่ตลอดปี เพราะสุขุมวิท-บางนา มีขนาดที่ใหญ่มาก ไหนจะยังมีย่านรองอย่างเช่น ลาซาล พระโขนง อุดมสุข ปุณณวิถี ฯลฯ ที่ล้วนอัดแน่นไปด้วยสถานที่และเรื่องราวต่างๆ อีกเพียบ  สบโอกาสเปิดศักราชใหม่ คอลัมน์ Neighboroot ได้เจ้าบ้านย่านนี้อย่าง SUNAneighbormove แพลตฟอร์มออนไลน์น้องใหม่ที่ตั้งใจสร้างคอมมูนิตี้ย่าน ‘สุนา’ (สุขุมวิท+บางนา) ให้เป็นที่รู้จักและขับเคลื่อนชุมชนให้สนุกกว่าเดิม มาเป็นผู้พาออกสำรวจและทำความรู้จักความพิเศษของย่านนี้มากขึ้น ผ่านสถานที่ต่างๆ แบบพอเรียกน้ำย่อย เพื่อช่วยปรับมุมมองที่มีต่อย่านนี้ใหม่ เพราะโซนสุนายังมีอะไรมากมายที่ชวนให้ค้นหา ทั้งเรื่องราววัฒนธรรมย่อย ร้านรวงอาหารรสเด็ด และธุรกิจของคนในย่านที่กำลังโตวันโตคืน เป็นมูฟเมนต์ใหม่ๆ ที่กำลังเติมชีวิตชีวาให้ย่านนี้มีสีสันยิ่งขึ้นกว่าที่เคย เริ่มต้นวันดีๆ ที่ ‘Roots’ ร้านกาแฟเมล็ดไทยที่ใส่ใจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ ก่อนจะเริ่มต้นสำรวจย่านสุนา หากได้เครื่องดื่มเย็นๆ ปลุกความสดชื่นสักแก้วคงจะดีไม่น้อย พอดีกับที่ทางเพจ SUNA พาเรามาเริ่มต้นทริปที่ Roots […]

Adams Street Library ห้องสมุดสาธารณะในพื้นที่โรงงานตอร์ปิโดเก่า ที่ผสมผสานความเก่าและใหม่ไว้อย่างลงตัว

หากไม่ทุบทิ้ง อาคารเก่าคงถูกปล่อยทิ้งไว้กลายเป็นพื้นที่รกร้าง แต่ Work Architecture Company หรือ WORKac สตูดิโอในเมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เลือกที่จะปรับปรุงอดีตโรงงานเก่าให้กลายเป็น Adams Street Library ห้องสมุดสาธารณะที่ไม่ว่าใครก็เข้ามาใช้บริการได้ ห้องสมุดแห่งนี้ตั้งอยู่ที่ย่าน Dumbo ในอาคารสูงหลังหนึ่ง ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นโรงงานผลิตตอร์ปิโดและโรงงานรีไซเคิล แต่ปัจจุบันกลายเป็นอะพาร์ตเมนต์ พื้นที่เชิงพาณิชย์ และห้องสมุดขนาด 604 ตารางเมตรที่ชั้นล่างสุดของอาคาร ภายใน Adams Street Library ยังคงมีส่วนประกอบของโครงสร้างเดิมที่ผสมผสานกับความร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นกำแพงอิฐเดิม เพดานไม้เก่า การจัดพื้นที่รอบๆ โถงกลางด้วยผนังประติมากรรมที่ทำจากไฟเบอร์บอร์ดความหนาแน่นปานกลางที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงไม้ธรรมชาติและวีเนียร์ไม้เมเปิล ตู้เปิดโค้งและซอกสำหรับเก็บหนังสือ รวมถึงที่จอดรถสำหรับรถเข็นเด็ก ทั้งยังเพิ่มความสว่างภายในห้องสมุดด้วยการเปิดรับแสงธรรมชาติ และทำให้ผู้ใช้บริการมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบด้วยหน้าต่างสูงกว่า 4.6 เมตร เท่านั้นไม่พอ โถงกลางด้านในยังปรับให้เป็นพื้นที่สีส้มสดใสสำหรับเด็ก มีขั้นบันไดให้นั่งเล่นและพื้นที่สำหรับเล่านิทาน โดยมีการยกระดับพื้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เด็กๆ ชมวิวแม่น้ำและท้องฟ้าของเมืองแมนแฮตตันได้ นอกเหนือจากโถงกลางแล้ว ยังมีพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ สำหรับกลุ่มผู้ใช้บริการวัยรุ่นและผู้ใหญ่ พื้นที่อ่านหนังสือแบบเปิดที่มีโต๊ะพร้อมที่ชาร์จในตัว ห้องอเนกประสงค์ 2 ห้องที่ประกอบด้วยกระดานไวต์บอร์ด เก้าอี้วางซ้อนได้ โต๊ะพับได้ รวมถึงครัวขนาดเล็กด้วย ทางทีมผู้ออกแบบกล่าวว่า […]

สานฝันคนอยากมีห้องสมุดเป็นของตัวเอง เรียนบริหารห้องสมุดแบบออนไลน์ฟรี ในคอร์ส ‘Library Management’ 

ปัจจุบันถ้าห้องสมุดมีแค่หนังสือสำหรับให้บริการเพียงอย่างเดียว อาจไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ผู้ใช้บริการอีกต่อไป ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งจำเป็นต้องปรับตัว เปลี่ยนวิธีการบริหารงานในห้องสมุด เพื่อช่วยดึงดูดผู้ใช้บริการ ผ่านการนำความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบบริการเข้ามาช่วย ทีม ‘TCDC Resource Center’ จากสำนักพัฒนาองค์ความรู้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ CEA ชวนทุกคนมาเปิดโลกแห่งการอ่านและความคิดสร้างสรรค์ในมุมมองใหม่ ผ่านการจัดการพื้นที่และบริการของห้องสมุด ให้เป็นมากกว่าพื้นที่แห่งการเรียนรู้ กับคอร์ส ‘Library Management การบริหารห้องสมุดและออกแบบบริการ กรณีศึกษาห้องสมุด TCDC’ ที่เปิดให้เรียนออนไลน์ฟรีผ่านเว็บไซต์ ‘CEA Online Academy’ ภายในคอร์สประกอบด้วย 5 ตอน ภายในเวลา 28 นาที ได้แก่ EP.01 : 01:00 ห้องสมุด พื้นที่ที่มากกว่าการนั่งอ่าน EP.02 : 04:00 Resource Development การพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ EP.03 : 14:52 Space Design การออกแบบพื้นที่ห้องสมุด EP.04 : 21:05 Service Design for […]

เปิดแล้ว! ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ ห้องสมุดแห่งแรกในโครงการห้องสมุดประจำเมือง ที่ จ.สงขลา

ห้องสมุด คือวิธีการที่ดีที่สุดในการปลูกฝังให้คนรักการอ่าน เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เข้าถึงได้ง่าย ไม่ต้องเสียเงินสักสตางค์ แถมยังมีหนังสือหลากหลายประเภทให้เลือกสรร ประเทศที่เจริญแล้วส่วนใหญ่ล้วนมีห้องสมุดกระจายตัวอยู่ทั่วมุมเมือง เพื่อที่คนทุกเพศทุกวัยจะได้มีที่พักผ่อนหย่อนใจ หาความรู้ หรือใช้ร่ำเรียน สำหรับความเคลื่อนไหวล่าสุดเกี่ยวกับห้องสมุดในประเทศไทยที่เราอยากนำเสนอคือ ที่จังหวัดสงขลา ได้มีเจ้าของบ้านโบราณอนุญาตให้ใช้งานและบูรณะโกดังข้าว ซึ่งเป็นอาคารหลังหนึ่งของเหล่าอาคารอนุรักษ์ในเมืองเก่าสงขลา เป็นห้องสมุดประจำเมือง ใช้ชื่อว่า ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ นับว่าเป็นห้องสมุดแห่งแรกภายใต้โครงการห้องสมุดประจำเมือง ที่ดำเนินงานโดย มูลนิธิวิชาหนังสือ สำนักพิมพ์ผีเสื้อ และได้รับการสนับสนุนโดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และชาวสงขลา แม้รูปลักษณ์จะดูไม่เหมือนห้องสมุดอย่างที่เราคุ้นเคยนัก แต่ห้องสมุดแห่งนี้ก็มีพื้นที่ให้อ่านหนังสือหลากหลายมุม ทั้งยังมีบริการจัดหาหนังสือที่ผู้ใช้งานต้องการมาให้ รวมถึงจัดกิจกรรมตามความต้องการของประชาชน เพื่อเป็นไปตามเป้าหมายในการเป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นศูนย์กลางให้ประชาชนได้ศึกษา ค้นคว้าข้อมูล แลกเปลี่ยนประสบการณ์ พบปะสังสรรค์ ตลอดจนรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่น และองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายในชุมชนให้เป็นหมวดหมู่และเป็นรูปธรรม หลังจากนี้จะมีห้องสมุดประจำเมืองแห่งใหม่เกิดขึ้นที่ไหนอีก ชวนให้นักอ่านติดตามกันต่อไป เพราะในวันที่การซื้อหนังสือสักเล่มต้องเป็นเรื่องที่ใคร่ครวญซ้ำแล้วซ้ำเล่า การมีห้องสมุดเกิดใหม่ที่กระจายออกจากเมืองหลวงบ้าง ถือเป็นมูฟเมนต์เกี่ยวกับโครงสร้างการอ่านระดับชาติที่น่าสนับสนุน แวะไปเยี่ยมเยียนและอ่านหนังสือที่ ‘ห้องสมุด ยับ เอี่ยน ฉ่อย’ ได้ที่โกดังข้าว ย่านเมืองเก่า ถนนนครนอก ตำบลบ่อยาง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา Source :Facebook […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.