เปิดแมปสวนสาธารณะขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ ที่เกินร้อยไร่ ทำกิจกรรมได้ทุกรูปแบบ

‘สวนสาธารณะ’ หรือ ‘พื้นที่สีเขียว’ คือเกณฑ์สำคัญที่บ่งบอกอะไรเกี่ยวกับเมืองนั้นๆ ได้มากมาย ตั้งแต่รัฐบาลให้ความสำคัญกับธรรมชาติแค่ไหน คนเมืองมีพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจหรือไม่ ไปจนถึงคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ ที่ผ่านมากรุงเทพฯ มีความพยายามที่จะเพิ่มจำนวนสวนสาธารณะขนาดเล็กที่ประชาชนเข้าถึงง่ายให้มีปริมาณมากขึ้น ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีไม่น้อย แต่ขณะเดียวกัน เราเองก็มองว่าสวนสาธารณะขนาดใหญ่ที่ทำหน้าที่เป็นป่าในเมือง มีสิ่งอำนวยความสะดวกและพื้นที่ที่มีลักษณะเฉพาะ จนผู้คนสามารถไปใช้งานได้เกินครึ่งวันก็เป็นพื้นที่ที่เมืองควรมีไม่แพ้กัน วันหยุดนี้ คอลัมน์ Urban Guide ขอแจกแผนที่รวมสวนสาธารณะขนาดใหญ่เกินร้อยไร่มาให้ทุกคนปักหมุดไว้ไปตามเก็บให้ครบ รับรองว่าแต่ละแห่งเขียวสะใจ มีกิจกรรมมากมายให้ทำ แถมเดินเล่นกันสนุกแน่นอน สวนสาธารณะศูนย์กีฬาบึงหนองบอนเนื้อที่ 644 ไร่ สวนสาธารณะศูนย์กีฬาบึงหนองบอนเป็นสวนระดับเมืองที่มีพื้นที่มากกว่า 500 ไร่ขึ้นไป มีลานกว้างสำหรับจัดงานใหญ่ๆ และมีกิจกรรมในสวนที่หลากหลายและเน้นหนักไปทางด้าน Active Recreation ที่นี่จัดเป็นสวนหย่อมรอบบริเวณบึงขนาดใหญ่ สำหรับกิจกรรมออกกำลังทางน้ำ เช่น เรือใบ พายคายัก พายซัปบอร์ด วินด์เซิร์ฟ เป็นต้น ใครที่เล่นไม่เป็นก็ไม่ต้องกังวล เพราะถ้าสมัครสมาชิกรายปีแล้วจะมีการสอนให้ด้วย ส่วนใหญ่ต้นไม้ในสวนเป็นไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความร่มรื่น ไม่ต้องกลัวร้อน แถมยังมีเส้นทางจักรยานให้ปั่นกันยาวๆ เหมาะกับการไปอยู่เป็นวันๆ เพราะมีอะไรให้ทำมากมายแน่นอน เวลาทำการ : วันจันทร์-เสาร์ เวลา 08.30 – 19.30 […]

‘Kinder Land Bridge’ สะพานข้ามถนนบนอุโมงค์ทางหลวงใน Houston เพิ่มความปลอดภัยและพื้นที่สีเขียวให้ชุมชน

ปกติแล้วการข้ามถนนบนทางม้าลายหรือพื้นที่ที่ทำไว้สำหรับข้ามถนนนั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะเป็นวิธีที่ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่หากเป็นถนนขนาดใหญ่ การเดินตัดผ่านถนนอาจไม่ปลอดภัยเท่าไรนัก ใน ‘Memorial Park’ ที่เมืองฮิวสตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา มี ‘Memorial Drive’ ถนนทางหลวงขนาด 6 เลนที่ตัดผ่านสวนขนาดใหญ่ เพื่อความสะดวกสบายของการสัญจรรถยนต์ แต่ขณะเดียวกันก็ทำให้คนและสัตว์ต่างๆ ข้ามไปอีกฝั่งลำบากมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการสร้าง ‘Kinder Land Bridge’ และเปิดให้ใช้บริการเมื่อต้นปีที่ผ่านมา Kinder Land Bridge เป็นส่วนหนึ่งของโครงการแผนสิบปีในการรีโนเวตพื้นที่นอกตัวเมืองฮิวสตันด้วยการครอบสะพานที่ทอดยาวเหนือทางหลวง และมีสวนสาธารณะด้านบน เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่สื่อถึงชัยชนะของสีเขียวที่อยู่เหนือสีเทา โดยที่ตั้งของมันอยู่บริเวณใจกลาง Memorial Park ทำหน้าที่เชื่อมต่อฝั่งเหนือและฝั่งใต้ของสวนสาธารณะเข้าด้วยกัน หลังจากที่ถูกแยกออกจากกันเพื่อสร้าง Memorial Drive ในปี 1955 โครงการนี้อยู่ภายใต้การดำเนินงานของสตูดิโอ ‘Nelson Byrd Woltz Landscape Architects’ จากสหรัฐอเมริกา ในการสร้างอุโมงค์และใช้พื้นที่ด้านบนเป็นสะพานข้ามผ่าน Memorial Drive เพื่อความปลอดภัยจากการจราจร ซึ่งทำให้คนที่ผ่านไปผ่านมาเพลิดเพลินไปกับจุดชมวิวในเมืองฮิวสตันด้วย ส่วนพื้นที่สีเขียวบนสะพานนั้นจะกลายเป็นสวนสาธารณะแห่งใหม่ที่ผู้คนเข้าไปใช้งานเป็นพื้นที่พักผ่อน เพลิดเพลินกับการชมวิวทิวทัศน์และธรรมชาติรอบตัว รวมถึงจัดกิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ ในบริเวณนี้ได้ นอกจากนี้ยังมีการฟื้นฟูระบบนิเวศของอุทยาน […]

The Old Men and The Park สูงวัยในสวนสาธารณะ

ในเมืองใหญ่แห่งนี้มีพื้นที่สาธารณะที่เหมาะสำหรับกลุ่มผู้สูงอายุให้ได้มาพบปะ สังสรรค์ ทำกิจกรรมร่วมกันค่อนข้างน้อย จะมีก็แต่สวนสาธารณะที่ดูเข้าถึงง่ายหน่อย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักออกมาทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายที่สวนสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง รำมวยจีน เต้นลีลาศ หรือแอโรบิก บางคนมาเป็นประจำทุกวันจนกลายเป็นกิจวัตรไปแล้ว เริ่มตั้งแต่ตอนเกษียณจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 10 – 20 ปี แต่หากพูดถึงการเดินทางมาสวนสาธารณะ เราได้พูดคุยกับผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่มาสวนเป็นประจำ ได้รับคำตอบว่า เพราะสวนอยู่ใกล้บ้านมากๆ ทำให้พวกเขาเดินเท้ามาได้เลย ถึงอย่างนั้นกับบางคนก็ใช้ระยะเวลาในการเดินทางค่อนข้างนาน มีความยากลำบากอยู่ไม่น้อย แต่พวกเขาก็ยอมเดินทางมา เพราะพื้นที่สวนสาธารณะในกรุงเทพฯ ไม่ได้มีตัวเลือกมากมายขนาดนั้น เราคิดว่า ถ้ามีสวนสาธารณะในกรุงเทพฯ มากขึ้นกว่านี้ก็คงดี เพราะนอกจากส่งผลดีต่อผู้สูงอายุในแง่พื้นที่การออกกำลังกายและนัดหมายพบปะเพื่อนฝูงแล้ว ยังทำให้วัยรุ่นและวัยทำงานได้ออกมาทำกิจกรรมร่วมกัน แถมยังเป็นหนทางปลีกตัวออกจากสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แล้วมาผ่อนคลายท่ามกลางธรรมชาติ หากไปดูในต่างประเทศ ทุกชุมชนล้วนมีสวนสาธารณะขนาดย่อมตั้งอยู่ ทำให้ใครๆ ต่างอยากออกมาเดินเล่นและพักผ่อนหย่อนใจ เนื่องจากอยู่ใกล้บ้าน เดินทางสะดวก หรือในบางประเทศที่ออกแบบสวนสาธารณะได้สวยงามมากๆ ก็ต่อยอดเป็นแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ด้วย

ปักหมุดสนามกีฬาสวนเบญจกิติช่วงทดลอง เปิดให้บริการฟรี จองไปเล่นได้ทุกวัน เช้ามืดยันสามทุ่ม

‘สวนเบญจกิติ’ น่าจะกลายเป็นหนึ่งในหมุดหมายยอดฮิตของคนเมืองไปแล้ว หลังจากที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปีที่แล้ว นอกจากเป็นพื้นที่สำหรับพักผ่อน เดินเล่น วิ่งออกกำลังกาย ปั่นจักรยาน ฯลฯ สวนแห่งนี้ก็มีส่วนอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการคนกรุงเทพฯ อยู่เรื่อยๆ เช่น อีเวนต์ เวิร์กช็อปต่างๆ ล่าสุดสวนเบญจกิติเปิดสนามกีฬาแห่งใหม่ให้ทดลองใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เล่นได้ตั้งแต่พิกเคิลบอล เทเบิลเทนนิส ฟุตซอล แบดมินตัน บาสเกตบอล และเทคบอล แถมใช้งานฟรีจนคนต่อคิวแน่นวันต่อวัน ใครที่สนใจลองไปใช้บริการกันได้ ไหนๆ ไปพักผ่อนที่สวนแล้ว ลองเพิ่มแพลนออกกำลังกายไปด้วย ร่างกายจะได้แข็งแรงขึ้น ส่วนใครไม่อยากไปต่อคิวรอนาน ทางกองการกีฬา สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวก็เปิดให้จองคิวแล้วที่ xn--12cas8d9a1a5d5bza8a8f.com ติดต่อสอบถามได้ที่ Line https://line.me/ti/p/REE_m1gN5j สนามกีฬาเบญจกิติ ตั้งอยู่ในสวนเบญจกิติ ถนนรัชดาภิเษก แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ (goo.gl/maps/TuJAZ1cKSgigbXcc9) เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 21.00 น.

Nodeul Island Park เกาะสวนสาธารณะกลางแม่น้ำฮัน ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเกาะเทียมที่ถูกทิ้งร้าง

เมื่อพูดถึงแม่น้ำฮัน เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงภาพการต้มรามยอนด้วยเครื่องอัตโนมัติ หรือนั่งปิกนิกกินไก่ทอดกับเบียร์ในสวนสาธารณะริมแม่น้ำแบบชิลๆ แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากสวนสาธารณะตามแนวยาวริมแม่น้ำฮันแล้ว ตรงบริเวณเกาะกลางแม่น้ำก็มีสวนสาธารณะแบบลอยน้ำกับเขาด้วยเหมือนกัน ‘Nodeul Island Park’ เป็นสวนสาธารณะที่กินพื้นที่ทั้งหมดของ ‘เกาะโนดึล’ เกาะเทียมกลางแม่น้ำที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับน้ำหนักสะพานข้ามแม่น้ำฮันในปี 1917 ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกปล่อยทิ้งร้างมานานหลายทศวรรษ เนื่องจากมีระยะทางไกลจากริมแม่น้ำ ทำให้เดินทางไปได้ยาก แต่หลังจาก ‘MMK+’ บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองสัญชาติเกาหลีใต้ เข้ามารับผิดชอบในการปรับรูปแบบพื้นที่ของเกาะใหม่ให้เป็นพื้นที่สาธารณะหลายระดับที่คงไว้ซึ่งความสวยงามของธรรมชาติ ก็ทำให้เกาะโนดึลกลับมาคึกคักอีกครั้งในปี 2019 พื้นที่ Nodeul Island Park แบ่งออกเป็นสองระดับ โดยระดับพื้นดินเดิมของเกาะถูกเปลี่ยนให้เป็นสถานที่พักผ่อนในรูปแบบต่างๆ ที่เชื้อเชิญให้ผู้คนมาเยือนดื่มด่ำไปกับธรรมชาติและวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย ในขณะที่แพลตฟอร์มชั้นบนที่อยู่ในแนวเดียวกับสะพานเชื่อมเกาะถูกเปลี่ยนให้เป็นลานสาธารณะและจุดชมวิวพระอาทิตย์ รวมไปถึงเป็นแหล่งรวมสำนักงาน ร้านค้า แกลเลอรี ร้านหนังสือ ห้องโถงอเนกประสงค์ และห้องจัดแสดงที่จุคนได้กว่า 450 คน นอกจากนี้ ส่วนธรรมชาติที่มีอยู่เดิมของเกาะโนดึลยังได้รับการฟื้นฟูผ่านความร่วมมือจากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ Nodeul Island Park ไม่ใช่แค่พื้นที่สำหรับผู้คน แต่ต้องเป็นพื้นที่ที่อยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตบนเกาะได้ด้วย ปัจจุบันเกาะที่เคยถูกลืมแห่งนี้ได้กลายมาเป็นสวนสาธารณะและสถานที่ทางวัฒนธรรมยอดนิยมของชาวเกาหลีใต้และผู้มาเยือนจากต่างถิ่น ใครมีแพลนไปเกาหลีใต้ ลองเดินข้ามสะพานไปยัง Nodeul Island Park ดู บรรยากาศดีไม่แพ้การปิกนิกริมแม่น้ำฮันเลยทีเดียว Sources […]

‘Hisaya-odori Park’ เปลี่ยนสวนสาธารณะ 60 ปี ให้คึกคักขึ้น ผ่าน 4 โซน ใจกลางนาโกยา

ญี่ปุ่นถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ให้ความสนใจพื้นที่สาธารณะสีเขียวมาก จนเกิดเป็นโครงการ ‘Park-PFI’ สำหรับพัฒนาสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียว และพื้นที่เกษตรในชุมชนโดยเฉพาะ นำทีมโดยสำนักพัฒนาสวนสาธารณะ พื้นที่สีเขียวและภูมิทัศน์แห่งกรมเมืองประจำกระทรวง ‘Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism’ ‘Hisaya-odori Park’ สวนสาธารณะอายุเก่าแก่กว่า 60 ปี เขตซาคาเอะ ใจกลางเมืองนาโกยาเอง ก็เป็นหนึ่งในโครงการ Park-PFI ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น ที่มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ทั้งหมดเพื่อทำให้สวนสาธารณะเป็นมิตรต่อผู้อยู่อาศัยและนักท่องเที่ยวจากในและนอกประเทศมากขึ้น พื้นที่กว่า 8,136 ตารางเมตร ทอดยาวประมาณ 1 กิโลเมตรจากเหนือจรดใต้ ได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นสวนสีเขียวที่ทันสมัย ประกอบไปด้วยร้านค้ากว่า 35 ร้าน จากการออกแบบโดย ‘Nikken Sekkei Ltd., TAISEI CORPORATION’ บริษัทออกแบบสัญชาติญี่ปุ่นที่เก่าแก่และมีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 100 ปี พื้นที่ของ Hisaya-odori Park แบ่งออกเป็น 4 โซนหลักที่ผสมผสานความมีสไตล์เข้ากับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไล่ระดับจากโซนที่ 1 ที่มีความใกล้ชิดกับธรรมชาติมากที่สุด ไปสู่โซนที่ […]

Tainan Market ออกแบบหลังคาตลาดค้าส่งในไต้หวัน ให้เป็นสวนสาธารณะที่ผู้คนใช้งานได้มากยิ่งขึ้น

การใช้พื้นที่อย่างคุ้มค่ายังคงเป็นสิ่งที่นักออกแบบคำนึงถึงอยู่เสมอ เพราะการพัฒนาฟังก์ชันการใช้งานของอาคารให้หลากหลายมากยิ่งขึ้น ย่อมส่งผลดีต่อตัวอาคารและทำให้ผู้คนใช้งานสถานที่เหล่านั้นได้อย่างเต็มประสิทธิภาพด้วย ทาง MVRDV หรือสำนักงานออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมืองชื่อดังในประเทศเนเธอร์แลนด์ ก็ยังคงมุ่งเดินหน้าออกแบบความท้าทายใหม่ๆ ของการสร้างสถาปัตยกรรมที่ยกระดับต่างไปจากเดิม ด้วยการออกแบบโครงการตลาดค้าผักและผลไม้แห่งใหม่ที่ชื่อว่า ‘Tainan Market’ ในย่านไถหนาน ประเทศไต้หวัน ที่สร้างแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2022 โครงการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากทีมสถาปนิกเชื่อว่า ตลาดค้าส่งเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าและอาหารที่หล่อเลี้ยงผู้คน และจะมีประโยชน์มากยิ่งขึ้นไปอีกหากมีฟังก์ชันให้ผู้คนสามารถมาพบปะ สังสรรค์ รับประทานอาหาร หรือทำกิจกรรมร่วมกันได้ด้วย MVRDV จึงออกแบบหลังคาโลหะซึ่งเป็นภาพคุ้นเคยของตลาดทั่วไป ให้กลายเป็นหลังคาที่เป็นพื้นที่สาธารณะให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ บริเวณส่วนหนึ่งบนหลังคาถูกออกแบบให้เปิดโล่ง มีพื้นที่กลางแจ้งที่เรียบง่าย มองไกลๆ จะเห็นหลังคาสีเขียวนี้มีลักษณะเป็นเนินภูเขา มีบันไดที่ชวนให้ผู้คนเดินขึ้นไปยังพื้นที่ต่างๆ รวมถึงจุดสูงสุดเพื่อชมวิวทิวทัศน์รอบๆ อาคารที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวในภูมิภาค โดยในอนาคตหลังคาของตลาดแห่งนี้ยังอาจพัฒนาเพิ่มเติมให้มีพื้นที่สำหรับปลูกผักและผลไม้ด้วย ส่วนพื้นที่อีกด้านหนึ่งของหลังคาคืออาคารสี่ชั้นที่ประกอบด้วยสำนักงานบริหารของตลาด และยังมีศูนย์นิทรรศการที่สามารถจัดแสดงสินค้าเกษตรจากภูมิภาคต่างๆ ซึ่งการต่อเติมอาคารนี้ได้ทำการเจาะโครงสร้างหลัก ทำให้มีช่องทางเดินเข้าออกไปยังบริเวณหลังคาพื้นที่สาธารณะได้ บอกเลยว่าการจับจ่ายซื้อของจะทำได้อย่างสบายอารมณ์ เพราะในส่วนด้านล่างที่เป็นพื้นที่ของตลาดยังถูกออกแบบให้มีความเรียบง่ายและเต็มไปด้วยประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย โดยจัดสรรโครงสร้างให้เปิดออกทุกด้านและยกเพดานสูงโปร่งเพื่อช่วยถ่ายเทอากาศ รวมไปถึงการเจริญเติบโตของพืชนานาชนิดบนหลังคาในอนาคต ยังจะช่วยให้ตลาดแห่งนี้มีความเย็นแม้ไต้หวันจะอยู่ในช่วงฤดูร้อน Source :Åvontuura | bit.ly/3JgNeZG

Park Pods พื้นที่สาธารณะเคลื่อนที่บนรถเข็นโรงงาน กับการสร้างความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้สวนในเมือง

จบไปแล้วกับงาน Bangkok Design Week 2023 แต่หลากหลายกิจกรรมและนิทรรศการภายในงานยังคงมีส่วนร่วมในการส่งต่อความคิดเห็นที่จะร่วมด้วยช่วยกันเปลี่ยนแปลงเมืองแห่งนี้ให้กลายเป็น ‘เมือง-มิตร-ดี’ ขึ้นจริงในอนาคต หนึ่งในนั้นคือ ‘Park Pods’ พื้นที่สาธารณะเคลื่อนที่บนรถเข็นที่เคลื่อนย้ายการติดตั้งในแต่ละวันไปยังสถานที่ต่างๆ รอบย่านนางเลิ้งในช่วงที่งานจัดขึ้น ทำให้เราเห็นถึงความเป็นไปได้ของการมีพื้นที่สาธารณะรูปแบบใหม่ๆ ใจกลางเมือง Park Pods เป็นผลงานการร่วมมือกันระหว่าง Weekend gardens, Precious Plastic, Weave Artisan และ Urban Studies Lab (USL) ในการออกแบบพื้นที่สาธารณะขึ้นมาบนรถเข็นอุตสาหกรรม (Push Cart) จากโรงงานฟอร์ดที่ปลดระวางพลาสติกรีไซเคิลและเฟอร์นิเจอร์ใช้แล้ว เพื่อท้าทายบรรทัดฐานของพื้นที่สาธารณะแบบเดิมๆ ด้วยการสร้างพื้นที่สาธารณะที่มีตั้งแต่สวน ตู้หนังสือ ที่นั่ง ห้องหลบมุม ตาข่ายเอนตัว หรือแม้กระทั่งโต๊ะหมากรุกขึ้น แต่ละ Park Pods มีขนาดเพียง 10 ตารางเมตร แต่จะมีการพยายามใช้วัสดุรีไซเคิลให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และถอดประกอบได้ง่ายสำหรับการขนย้ายเมื่อเกิดปัญหาหรือจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ในระหว่างการจัดตั้งชิ้นงานประมาณ 9 วันในย่านนางเลิ้ง Park Pods ก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งผู้เข้าร่วมงานและคนในชุมชนเอง ทำให้แม้ปัจจุบันมันจะถูกเก็บกลับมาเพื่อรอคอยการร่วมมือใหม่ๆ […]

Pink Lane : Ekkamai Pocket Park แนวคิดออกแบบสวนย่านเอกมัย แก้ปัญหาพื้นที่จำกัด เชื่อมคนเข้าหาพื้นที่สีเขียว

‘ย่านเอกมัย’ ที่มองจากภายนอกอาจดูเหมือนเต็มไปด้วยผู้คน ร้านอาหาร สถานบันเทิง และที่อยู่อาศัย แต่ความจริงแล้วบริเวณปากทางเข้าเขตเอกมัย ด้านหลัง ‘สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์’ สวนสาธารณะที่เปิดตลอด 24 ชั่วโมง ก็มีพื้นที่สีเขียวขนาด 5.6 ไร่ ที่ในอดีตถูกปล่อยทิ้งให้รกร้างอยู่เช่นกัน เพื่อดึงเอาพื้นที่สีเขียวให้เข้ามาใกล้ชิดกับผู้คนในย่านมากขึ้น ทาง ‘We!Park’ แพลตฟอร์มกลางของการมีส่วนร่วมพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กในเมือง ได้จัดงานประกวดออกแบบพื้นที่สวนป่าเอกมัย ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กรุงเทพมหานคร สมาคมภูมิสถาปนิกประเทศไทย และสำนักงานเขตวัฒนา โดยมี ‘Pink Lane : Ekkamai Pocket Park’ ผลงานการออกแบบร่วมกันของบริษัทออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม ‘REC : recreationbkk’ และนักออกแบบ ‘Ratio Trakoolsajjawat’ เป็นหนึ่งใน ‘Landscape Design Proposal’ ที่ส่งเข้าประกวด ‘Pink Lane : Ekkamai Pocket Park’ คือแนวคิดสวนสาธารณะในย่านเอกมัย ที่ต้องการทลายปัญหาข้อจำกัดด้านพื้นที่ และเชื่อมคนเข้าหาพื้นที่สีเขียวด้วยทางเดินยาวสีชมพู Pink Lane […]

Bangkok Street Noise สนับสนุนโปรเจกต์ดนตรีเพื่อให้เสียงดนตรีได้มีพื้นที่ในเมืองนี้ต่อไป

โปรเจกต์ ‘Bangkok Street Noise’ มีจุดเริ่มต้นมาจากความอยากเล่นดนตรี และเมื่อพื้นที่ดนตรีในเมืองนั้นมีน้อย ‘ป๊อก-วรรณฤต พงศ์ประยูร’ จึงรวบรวมเพื่อนคนดนตรีช่วยกันหาพื้นที่และเวที โดยใช้อุปกรณ์เครื่องเสียงแบบพกพา เคลื่อนย้ายกันง่ายๆ เปิดการแสดงดนตรียามแดดอ่อนของบ่ายวันอาทิตย์ไปจนถึงหัวค่ำ เพิ่มสีสันและสุนทรีย์ทางเสียงให้เมืองนอกเหนือจากเสียงการจราจร  ทางกลุ่มมีความตั้งใจว่าอยากให้การเล่นดนตรีเป็นอีกเรื่องธรรมดาของเมือง และเป็นอีกหนึ่งเสียงของความเรียบง่าย ที่หากใครผ่านไปผ่านมาก็สามารถเลือกที่นั่งชมนั่งฟังได้ตามอัธยาศัย ไม่เสียเงิน Bangkok Street Noise ใช้ประโยชน์จากพื้นที่สาธารณะที่ไม่ได้ใช้งาน ตั้งเวทีแบกะดินและไม่ได้เคลื่อนย้ายสิ่งใดๆ ในสถานที่เหล่านั้นนอกจากการเก็บขยะ ในแต่ละสัปดาห์จะมีวงดนตรีแนวทดลองหลากหลายสไตล์เพลงที่ได้รับการชักชวน มานำเสนอผลงานในสถานที่ที่ต่างกันออกไป เช่น ใต้สะพานทางด่วน เลียบคลอง ริมรางรถไฟ สวนทิ้งร้าง หรือบริเวณชุมชน ฯลฯ ปัจจุบัน Bangkok Street Noise เดินทางจัดงานกันมาถึง Street Gig ครั้งที่ 55 เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 มกราคม 2566 และทางกลุ่มได้ประกาศว่า ลำโพงที่ใช้งาน Street Gig มาเป็นเวลานานพังหมดแล้ว แต่พวกเขาก็ยังคงอยากพัฒนา Street Gig ให้เกิดขึ้นอีกในครั้งต่อไป เพื่อทำให้ชาวเมืองเข้าถึงดนตรีได้มากขึ้นอีกนานๆ […]

สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นในเมืองปี 2022 ที่ชาว Urban Creature ยกนิ้วให้

ดนตรีในสวน เทศกาลกรุงเทพฯ กลางแปลง แคมเปญการเมือง พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ ฯลฯ เหล่านี้คือตัวอย่างมูฟเมนต์ที่เกิดขึ้นในเมืองตั้งแต่เดือนแรกจนถึงเดือนสุดท้ายของปี 2022 ปฏิเสธไม่ได้ว่าปีนี้เป็นปีที่มีหลายสิ่งหลายอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังโรคระบาดที่สถานการณ์เริ่มกลับมาเป็นปกติ ผู้คนกล้าออกไปใช้ชีวิต อีเวนต์มากมายเกิดขึ้น ความคิดสร้างสรรค์และพลังการขับเคลื่อนได้รับการเติมเชื้อเพลิง ชาว Urban Creature เลยขอคัดเลือกมูฟเมนต์เจ๋งๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองปีนี้ มารวบรวมให้ทุกคนย้อนนึกถึงกันอีกครั้ง เพื่อเป็นหลักฐานของความหวังต่อบ้านเมืองนี้ เราจะได้มีแรงไปใช้ชีวิตและขับเคลื่อนความเชื่อของตัวเองกันต่อในปีหน้า ปลดล็อกท้องถิ่น โดยคณะก้าวหน้าชื่อผู้เลือก : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Senior Content Creator  ด้วยความที่ย้ายจากนครปฐมไปอยู่ชลบุรีตั้งแต่ตอนเรียนประถมฯ ผสมกับเข้ากรุงเทพฯ อยู่เนืองๆ จนสุดท้ายได้มาเรียนมหาวิทยาลัยและทำงานที่กรุงเทพฯ ประสบการณ์และความเป็นอยู่ทั้งชีวิตสอนให้รู้ว่า ถ้าอยากมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในแง่สาธารณูปโภคและการงานกับเงินเดือน ให้ย้ายมาอยู่กรุงเทพฯ  เพราะต่อให้เมืองมันจะไม่น่าอยู่ เต็มไปด้วยมลพิษและปัญหารถติด แต่อย่างน้อยการมีขนส่งสาธารณะที่ค่อนข้างครอบคลุม เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก ได้ทำงานในสายงานที่สนใจ มีร้านหนังสืออิสระ โรงหนัง แกลเลอรี และสวนสาธารณะดีๆ รายล้อม ยังไงมันก็ดีกว่าการอยู่ในที่ที่ถ้าไม่มีรถยนต์ก็ไปไหนเองแทบไม่ได้ ไม่มีสายงานที่สนใจให้ทำ และมีแต่ห้างฯ กับสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติให้ไปเยือน เราจึงดีใจมากที่เห็นคณะก้าวหน้าออกมาขับเคลื่อนเรื่องการเมืองในสเกลย่อย และได้มีการล่ารายชื่อปลดล็อกท้องถิ่น เพื่อกระจายอำนาจจากส่วนกลางมาให้คนทำงานในพื้นที่ได้มีอำนาจอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยสักที ยิ่งพอได้ไปพูดคุยกับอาจารย์ปิยบุตร […]

กลับมาเต้นรำ พาใจรื่นรมย์กับ ‘สวิงในสวน Swing in the Park’ ที่สวนรถไฟ อาทิตย์ที่ 13 พ.ย. 65

หลังจากห่างหายไปนาน ในที่สุดกิจกรรม ‘สวิงในสวน Swing in the Park’ ก็กลับมาจัดอีกครั้งในช่วงปลายปีที่อากาศกำลังดี เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจเป็นที่สุด กิจกรรมเต้นรำครั้งนี้ถือเป็นการจัดงานครั้งที่ 4 แล้ว โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่าง สำนักวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว กรุงเทพมหานคร โดย กองการสังคีต และ The Stumbling Swingout กับ DJ Donut ‘สวิงในสวน Swing in the Park 4’ จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 13 พฤศจิกายนนี้ เวลา 17.00 – 19.00 ที่สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) โดยมีคลาสหัดเรียนเต้นสวิงแบบมือใหม่ประมาณ 30 นาทีก่อนเต้นจริงในเวลา 17.30 น. ต่อให้ไม่เคยเต้นสวิงมาก่อนก็ไม่ต้องห่วง หรือถ้าไม่ใช่สายแดนซ์ จะไปนั่งรับลม ชมภาพผู้คนที่มีชีวิตชีวาบนสนามหญ้าเขียวขจี ท่ามกลางเสียงเพลงอันไพเราะก็ไม่มีปัญหา เพราะงานนี้เข้าร่วมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมวิธีการเดินทางไปยังสวนวชิรเบญจทัศก็ครอบคลุมทั้งรถเมล์ MRT […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.