Mengzi NSAU Bookstore ชมวิวแบบวนลูปในร้านหนังสือใต้ทางเดิน ที่ผสานเข้ากับพื้นที่ประวัติศาสตร์อย่างลงตัว

ห่างจากคุนหมิงไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 250 กิโลเมตร ในสวนสาธารณะริมทะเลสาบทางใต้ของเมืองหงเหอ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน มีร้านหนังสือแปลกตาตั้งอยู่ภายในสวน ‘Mengzi NSAU Bookstore of Librairie Avant-Garde’ คือร้านหนังสือที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ทางเดินชมวิวในสวนสาธารณะริมทะเลสาบ ที่ครั้งหนึ่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยเป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยแห่งชาติภาคตะวันตกเฉียงใต้ (NSAU) ซึ่งเป็นสถานที่ทางวิชาการที่มีชื่อเสียงและหล่อเลี้ยงนักวิชาการจำนวนมากในช่วงสงคราม ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีการเปลี่ยนวิทยาเขตเป็นสวนสาธารณะในเวลาต่อมา ส่งผลให้ร้านหนังสือแห่งนี้เกิดขึ้นด้วยความตั้งใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดเรื่องราวในครั้งนั้นให้คงอยู่ในรูปแบบที่เข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ง่ายขึ้น Mengzi NSAU Bookstore เกิดขึ้นภายใต้การออกแบบโดย ‘ZAO/standardarchitecture’ ที่อนุรักษ์อาคารเดิมบางส่วน และปรับปรุงด้านหน้าอาคารด้วยอิฐสีเทาในบริเวณโรงเตี๊ยมคอนกรีตและหอระฆังเดิม จนเกิดเป็นอาคารใหม่ที่มีลักษณะเด่น นั่นคือ ด้านบนหลังคาถูกสร้างเป็นทางเดินสำหรับชมวิวที่ไต่ขึ้นไปตามห้องโถงและหอระฆังที่มีอยู่เดิม และลาดลงมายังทะเลสาบในรูปแบบวนลูปไม่รู้จบ  อีกทั้งยังมีการนำวัสดุอย่างคอนกรีตหยาบและไม้ธรรมชาติมาออกแบบตัวร้านหนังสือ เพื่อเชื่อมต่อภูมิทัศน์ภายนอกเข้ากับสภาพแวดล้อมภายในได้อย่างไม่รู้สึกแปลกแยก แถมช่วยเสริมการออกแบบทางสถาปัตยกรรม โดยลดขอบเขตระหว่างภายในร้านหนังสือและภายนอกลง ชักชวนให้ผู้คนเข้ามาสำรวจและใช้เวลาภายในร้านได้นานขึ้น Mengzi NSAU Bookstore ถือว่าเป็นตัวอย่างชั้นดีของการออกแบบร้านหนังสือเชิงสถาปัตยกรรม ที่ผสมผสานระหว่างมรดกทางประวัติศาสตร์ ภูมิทัศน์ภายนอก และนวัตกรรมใหม่ได้อย่างลงตัว ผ่านการอนุรักษ์ที่ใส่ใจและจัดวางพื้นที่แบบไดนามิก ทำให้ร้านหนังสือแห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ที่มอบประสบการณ์อันรุ่มรวยไปด้วยวัฒนธรรมและสถาปัตยกรรมให้ผู้มาเยือน Sources : ArchDaily | t.ly/7e7rQ UNI | t.ly/yZZ21 

‘Davis Center’ ศูนย์กลางกิจกรรมแห่งใหม่ใน Central Park เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจภายใต้ธรรมชาติได้ทุกฤดู

สวนสาธารณะที่เรียกได้ว่าเป็นธรรมชาติขนาดใหญ่กลางกรุงนิวยอร์กอย่าง Central Park ไม่ได้มีแค่พื้นที่สีเขียวที่ชวนให้ผู้คนอยากมาออกกำลังกาย ปิกนิก หรือแม้แต่นั่งอ่านหนังสือภายใต้ร่มเงาสีเขียวอย่างเดียวเท่านั้น แต่ที่นี่ยังมีศูนย์กิจกรรมที่เปิดต้อนรับผู้คนให้เข้ามาใช้งานพื้นที่ด้วย โครงการ ‘Davis Center’ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวนิวยอร์ก Susan T Rodriguez ร่วมกับ Mitchell Giurgola ตั้งอยู่ที่ Harlem Meer ซึ่งเป็นแหล่งน้ำในฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของ Central Park และเป็นหนึ่งในจุดหมายยอดนิยมที่ขึ้นชื่อเรื่องความงดงามของทิวทัศน์และกิจกรรมที่มีให้ทำมากมาย ก่อนหน้านี้ บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ Lasker Rink and Pool ลานสเกตน้ำแข็งและสระว่ายน้ำเก่าที่เปิดให้ใช้งานมาอย่างยาวนาน และมีปัญหาในเรื่องการปิดทางน้ำไหลระหว่าง Ravine และ Harlem Meer ทำให้เดินผ่านพื้นที่ได้ยาก ส่งผลให้บริเวณที่เคยสวยงามนั้นถูกมองข้ามไป การปรับปรุงพื้นที่แห่งใหม่ให้เป็น Davis Center นอกจากจะเป็นการเพิ่มพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจใหม่แล้ว ยังช่วยฟื้นฟูธารน้ำให้กลับมาไหลได้ พร้อมให้คนที่เข้ามาใช้พื้นที่ไปเดินเล่นชมความสวยงามอีกครั้ง ศูนย์กิจกรรมแห่งนี้อยู่ต่ำลงมาด้านล่างเหมือนกับซ่อนตัวอยู่ภายใต้ธรรมชาติ ตัวหลังคาของอาคารทอดยาวกลมกลืนไปกับพื้นที่รอบข้าง และสามารถเดินชมธรรมชาติได้ มีกำแพงกระจกหันหน้าออกไปทางสระว่ายน้ำ โปร่งสบาย ทำหน้าที่คล้ายกับระเบียง ส่วนอีกฝั่งเป็นกำแพงหินโค้งที่ด้านหลังมีห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า ห้องน้ำ ห้องให้เช่า และร้านกาแฟขนาดเล็ก สระว่ายน้ำแห่งใหม่นี้จะกลายเป็นลานสเกตน้ำแข็งในฤดูหนาว […]

สวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 พื้นที่ออกกำลังกาย พักใจให้เต็มอิ่ม ด้วยสวนลอยน้ำบนพื้นที่กว่า 21 ไร่

กำลังมองหาที่ออกกำลังกายใกล้บ้านกันอยู่หรือเปล่า วันนี้ Urban Creature อยากแนะนำ สวนสาธารณะบึงน้ำลาดพร้าว 71 ให้ชาวลาดพร้าวและละแวกใกล้เคียงได้สัมผัสพื้นที่สีเขียวดีๆ อีกหนึ่งแห่งของกรุงเทพฯ ที่นี่เป็นสวนลอยน้ำ แหล่งพักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายขนาดใหญ่กว่า 21 ไร่ ใจกลางย่านลาดพร้าว มีทั้งสนามเด็กเล่น บึงขนาดใหญ่ พร้อมอาหารปลาขายเพียงขวดละ 10 บาท ให้มาให้อาหารปลากันได้ แถมยังมีลานหินนวดเท้า เรือนเพาะชำ สนามหญ้าเทียมลอยน้ำขนาดกว้าง ให้เด็กๆ มาวิ่งเล่นได้เต็มที่ พร้อมด้วยเครื่องออกกำลังกายหลากหลายแบบ และเส้นทางเดิน-วิ่ง ให้มาออกกำลังกายกันทั้งเช้าและเย็น สวนแห่งนี้เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 05.00 – 21.00 น. จะขับรถยนต์มาก็ได้ มีที่จอดให้พร้อม หรือหากเดินทางด้วยรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ลงที่สถานีลาดพร้าว 71 ต่อมอเตอร์ไซค์เข้ามาอีกประมาณ 10 นาทีเท่านั้น (maps.app.goo.gl/7Yon6e6a9kuDcLeg9) Source :Greener Bangkok | tinyurl.com/2xwrc8vh

‘แผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน’ ให้พื้นที่สีเขียวในเมืองช่วยเยียวยาใจ ด้วยลายแทง 5 สวน 5 กิจกรรม จาก 5 วิทยากร

ถ้าอยากหาที่พักใจในเมืองใหญ่แต่ไม่รู้จะไปไหน เราขอชวนมา ‘Parkใจในสวน’ ด้วยกัน ก่อนหน้านี้นิตยสารสารคดีได้จัดกิจกรรม ‘Parkใจในสวน คู่มือแผนที่ Parkใจ’ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สัมผัสธรรมชาติในพื้นที่สวนสาธารณะต่างๆ ในกรุงเทพฯ และล่าสุดเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมาก็ได้มีการเปิดตัว ‘แผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน’ โดยแจกแผนที่รูปแบบกระดาษให้กับผู้ที่มาร่วมกิจกรรม ใครที่พลาดกิจกรรมไปแต่อยากได้แผนที่ไว้ในครอบครองก็ไม่ต้องเสียดาย เพราะล่าสุดทางสารคดีได้อัปโหลดแผนที่ Heal ใจ Parkใจในสวน ฉบับออนไลน์ออกมาให้เราโหลดเก็บไว้ไปใช้งานฟรีๆ ผ่านแพลตฟอร์ม ‘ANSi by สารคดี’ ภายในเล่มประกอบด้วย 5 สวนสาธารณะต้นแบบจาก 5 วิทยากร ที่มาพร้อมกิจกรรมให้คอนเนกต์กับธรรมชาติภายในสวน เพื่อแนะนำสวนสาธารณะในมิติใหม่ๆ ที่ใครหลายคนอาจไม่เคยรู้ ได้แก่ – สวนวชิรเบญจทัศ (สวนรถไฟ) จาก ‘มล-สิรามล ตันศิริ’ กระบวนกรด้านธรรมชาติ จากกลุ่ม Mycorling– สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จาก ‘ครูกุ้ง-ธัญลักษณ์ สุนทรมัฏฐ์’ นักบันทึกธรรมชาติ เจ้าของเพจ บันทึกสีไม้byครูกุ้ง– สวนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสวนกรมประชาสัมพันธ์ จาก ‘บาส-ปรมินทร์ […]

ชาว Urban Creature และถิ่นที่อยู่ รวมสถานที่โปรดบ้านฉันย่านเธอ ที่อยากให้ทุกคนรู้จักและไปเยี่ยมเยียน

ร้านอาหารตามสั่งร้านโปรด พื้นที่สีเขียวที่ใกล้จะหายไป สวนสาธารณะที่แอบซ่อนตัวอยู่ใต้ทางด่วน ทั้งหมดนี้แม้ไม่ใช่สถานที่เก๋ๆ แลนด์มาร์กน่ามาเยือนที่จะพบเห็นได้ตามโซเชียลมีเดีย แต่กับคนที่อยู่อาศัยในย่านนั้นๆ พื้นที่เหล่านี้อาจเป็นที่พักใจและคอมฟอร์ตสเปซที่คอยให้ความอบอุ่น น่ารัก และทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงเรากับย่านที่อยู่อาศัย หลังจากแนะนำสถานที่น่าไปในคอลัมน์ Urban Guide มานาน Urban Creature ก็อยากชี้ชวนให้ผู้อ่านรู้จักสถานที่ที่อาจไม่สวย ไม่เก๋ ไม่มีคอนเซปต์ว้าวๆ เท่าคาเฟ่ ร้านรวง หรือสเปซเจ๋งๆ ทว่าล้วนแล้วแต่มีคุณค่าต่อความทรงจำ และทำหน้าที่คล้ายเป็นสถานที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนที่อยู่ในย่านนั้นๆ บ้าง เราเลยปัดฝุ่นนำคอลัมน์ Add to my List มารีโนเวต จากที่เคยแนะนำความชอบและสิ่งละอันพันละน้อยของแขกรับเชิญให้ผู้อ่านไปตามอ่านตามดูตามอิน ก็ขอเปลี่ยนมาเป็นการแนะนำสถานที่โปรดในย่านที่อยู่อาศัยของเขาให้ทุกคนไปตามรอยแทน หรือต่อให้ไม่สามารถเดินทางไปได้ อย่างน้อยความทรงจำ ความชอบ ความผูกพันของแต่ละคนที่มีให้ย่านที่อยู่และสถานที่นั้นๆ ก็น่าจะทำให้ผู้อ่านอิ่มอกอิ่มใจ สำหรับการประเดิม เราขอชวนไปส่องสถานที่โปรดในย่านที่อยู่อาศัยของชาว Urban Creature กันก่อน หลังจากนี้จะเป็นย่านไหน สถานที่โปรดของใคร ไว้มารอดูไปด้วยกันน้า ชื่อ : เดือนเพ็ญ จุ้ยประชาตำแหน่ง : Managing Editorย่านที่อยู่ : ราชเทวีระยะเวลาอยู่อาศัย : […]

สามารถ สุวรรณรัตน์ Mae Kha City Lab คนหนุ่มมือเย็น ผู้ปลูกดอกไม้ ปลุกไอเดียเปลี่ยนเมืองเชียงใหม่

นอกจากเป็นคนทำสื่อ นักกิจกรรม นักเขียน และนักวิจัยด้านการพัฒนาเมือง สามารถ สุวรรณรัตน์ ยังเป็นคนมือเย็น ในตรอกเล็กๆ ริมคลองแม่ข่า ท่ามกลางเงาสูงของโรงแรมย่านไนท์บาซาร์ เชียงใหม่ ผมพบเขาและทีมงาน—ร่วมด้วยพนักงานโรงแรมและผู้ประกอบการในพื้นที่—กำลังปลูกดอกไม้ริมคลอง นั่นคือช่วงปลายเดือนมกราคม หนึ่งสัปดาห์ก่อนที่เขาจะร่วมกับทีมสถาปนิกใจบ้านสตูดิโอ ผศ.วรงค์ วงศ์ลังกา ภูมิสถาปนิกและอาจารย์จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเครือข่ายประชาชน เปลี่ยนพื้นที่นี้ให้กลายเป็นสวนป่าเล็กๆ ใจกลางเมือง ‘สวนเกสรและผีเสื้อ : พื้นที่การเรียนรู้นิเวศคลองแม่ข่า’ คือชื่อกิจกรรมที่พวกเขากำลังทำ—ฟังดูเหมือนแค่การเพิ่มพื้นที่สีเขียวอีกหนึ่งแห่ง แต่สำหรับชายหนุ่มผู้นี้ นี่คือจุดเริ่มต้นของบางสิ่งที่ใหญ่กว่า “แม่ข่าเคยเป็นหัวใจของเชียงใหม่ เป็นชัยภูมิในการก่อตั้งเมือง แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นปัญหาเรื้อรัง ถ้าฟื้นฟูมันได้สำเร็จ นั่นอาจหมายถึงการเปลี่ยนเมืองทั้งเมือง” เขาบอก นี่คือแนวคิดของกลุ่มแม่ข่า ซิตี้ แลป (Mae Kha City Lab) กลุ่มที่สามารถร่วมกับเพื่อนนักวิจัย นักพัฒนาสังคม สถาปนิกชุมชน และเครือข่ายชาวบ้านริมคลองแม่ข่า ก่อตั้งขึ้นในปี 2565 เพื่อขับเคลื่อนกระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการพัฒนาลำคลองและพื้นที่ริมคลอง อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัย ในเมื่อเทศบาลนครเชียงใหม่เพิ่งฟื้นฟูคลองแม่ข่าให้กลายเป็นจุดเช็กอินยอดนิยมของนักท่องเที่ยวไปหมาดๆ ยังจำเป็นต้องขับเคลื่อนอะไรอีก ซึ่งนี่แหละ ประเด็นสำคัญ ช่องว่างระหว่างการเปลี่ยนแปลง แม่ข่าเป็นสายน้ำที่มีมาก่อนการก่อตั้งเชียงใหม่กว่า 700 […]

mapmap parti แพลตฟอร์มสำรวจความเห็นและพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่สีเขียว ด้วยการปักหมุดหรือค้นหา ‘สวนสาธารณะใกล้ฉัน’

เคยไหม อยากไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะใกล้ๆ แต่ไม่รู้ว่ามีที่ไหนบ้าง หรือหลายครั้งเหตุผลอาจกลับกัน เพราะใกล้ๆ เรามีพื้นที่สีเขียวลับๆ ที่อยากป่าวประกาศให้คนรู้ แต่ไม่รู้จะบอกยังไง ‘mapmap parti’ คือแพลตฟอร์มที่ชวนทุกคนมาแชร์ประสบการณ์การใช้พื้นที่สาธารณะสีเขียว ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำรวจการใช้งาน ความพึงพอใจ และความคิดเห็นที่มีต่อพื้นที่ เพื่อที่จะช่วยรวบรวมและส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาสวนให้ดีและตรงใจผู้ใช้งานมากขึ้น ซึ่งเป็นผลงานจาก mapmap แพลตฟอร์มร่วมขับเคลื่อนกลไกข้อมูลเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจาก ‘สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)’ ขั้นตอนการใช้งานแพลตฟอร์มคือ เริ่มต้นด้วยการแชร์สวนสาธารณะที่เราใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการปักหมุดสวนที่หายไป หรือเลือกสวนจากพื้นที่ที่มีคนปักหมุดไว้ก่อนหน้า จากนั้นตอบคำถามสั้นๆ 4 หมวด เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐาน การใช้งานพื้นที่ ความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาพื้นที่  ส่วนใครที่กังวลว่าแพลตฟอร์มจะเก็บข้อมูลครบจริงหรือเปล่า แล้วถ้าอยากชื่นชมบางพื้นที่ของสวนแล้วอยากให้มาปรับปรุงบางมุมล่ะ จะทำได้ไหม เราขอตอบเลยว่าทำได้ เพราะจากที่ลองเล่นมา สามารถปักหมุดได้ละเอียดสุดๆ อาจจะใช้เวลามากเสียหน่อยแต่รับรองว่าได้ผลตรงใจแน่นอน  พอทำแบบสำรวจเสร็จ เพียงเท่านี้ mapmap parti ก็จะประมวลผลจนได้ออกมาเป็นน้อง mapmap ในคาแรกเตอร์ที่ตรงกับการใช้งานของเราในแต่ละสวน แถมยังมีบอกด้วยว่า เราจะเผาผลาญพลังงานได้มากน้อยแค่ไหนในหนึ่งสัปดาห์ถ้ามาใช้บริการสวนสาธารณะแห่งนี้ ไม่แน่ว่าในอนาคต สวนสีเขียวที่ทุกคนปักหมุดและเสนอคำแนะนำไปอาจถูกนำไปพัฒนาพื้นที่ให้ดีขึ้นและตรงใจเราก็ได้ ยังไงลองเข้าไปเล่นกันดูที่ parti.mapmap.city/park

‘Prompt Park’ สวนที่ชวนทุกคนมาจินตนาการว่า พื้นที่รกร้างใต้ทางด่วนเป็นอะไรได้บ้าง

โปรเจกต์จากความร่วมมือของ we!park และ MVRDV ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย (Embassy of the Netherlands in Thailand) ทดลองพัฒนาพื้นที่รกร้างใต้ทางด่วนให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะผ่านเทคโนโลยี AI โดยโปรเจกต์นี้ต่อยอดมาจากกิจกรรม ‘Reimagine Underused Areas as Green Infrastructure’ ที่ชวนทุกคนมาลองคิดดูว่า จากพื้นที่ใต้ทางด่วนที่รกร้างและถูกละเลย จะสามารถเปลี่ยนเป็นพื้นที่แห่งโอกาสได้อย่างไรบ้าง จากเวิร์กช็อปทำให้เกิดภาพจินตนาการของพื้นที่สาธารณะสีเขียว เช่น สวนกินได้ พื้นที่เรียนรู้ ศูนย์กลางของชุมชนที่ใช้จัดกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตลาด Co-working Space ไปจนถึงการพัฒนาเป็นโครงสร้างพื้นฐานสีฟ้า เช่น พื้นที่กักเก็บน้ำ เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำท่วมและเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้กับเมือง ภายใน Bangkok Design Week 2025 สวนแห่งนี้ได้จัดแสดงเหล่าไอเดียและองค์ความรู้จากการเวิร์กช็อปในรูปแบบของ Interactive Installation พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ทุกคนลองมามีส่วนร่วมในการออกแบบ ซึ่งรับชมภาพ Generate ที่ออกแบบกันได้แบบเรียลไทม์ แม้การจัดแสดงงานจะจบไปแล้ว แต่การได้เห็น Pop-up Installation สวนจิ๋วพร้อมที่นั่งสตรีทเฟอร์นิเจอร์ และ Lighting Experience […]

วิ่ง สู้ ฝุ่น ไปกับสวนสาธารณะที่ออกแบบมาให้ออกกำลังกายได้อย่างสบายปอด

ช่วงนี้ใครที่อยากออกไปทำกิจกรรมข้างนอกคงไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่ เพราะต้องเจอกับฝุ่น PM 2.5 ที่ปกคลุมทั่วประเทศ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็รับฝุ่นไปเต็มๆ ปอด จากสถานการณ์นี้ส่งผลให้คนจำนวนไม่น้อยเลือกทำกิจกรรมหรือใช้ชีวิตในสถานที่ปิดแทน โดยเฉพาะสายออกกำลังกายที่ต้องงดวิ่งหรือออกกำลังกายในสวนสาธารณะ เพราะกังวลเรื่องสุขภาพและโรคทางเดินหายใจ  แต่แหม…เคยวิ่งชมนกชมไม้อยู่ดีๆ ต้องมาวิ่งในยิมคงเศร้าแย่ คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอไอเดียเอาใจสายรักสุขภาพในช่วงเวลาที่สภาพแวดล้อมไม่ค่อยเอื้ออำนวย ด้วยการออกแบบพื้นที่สวนสาธารณะที่สามารถใช้งานท่ามกลางฝุ่นได้ อุ่นใจกับ ‘อุโมงค์ไร้ฝุ่น’ แน่นอนว่าการวิ่งในพื้นที่แบบเปิดโล่งย่อมเป็นสวรรค์ของนักวิ่งหลายคน เพราะนอกจากได้ออกกำลังกายแบบใจฟู ไม่ต้องพาตัวเองไปอยู่ห้องออกกำลังกายแบบปิดมิดทุกซอกทุกมุมแล้ว ยังได้ชมวิวทิวทัศน์ในระหว่างวิ่งไปด้วย แต่ถ้าฝุ่นเยอะแบบนี้ เราจะวิ่งข้างนอกแบบสบายใจก็คงไม่ไหว นำมาสู่นวัตกรรม ‘อุโมงค์ไร้ฝุ่น’ ที่จะมาตอบโจทย์ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เพื่อให้ทุกคนวิ่งกลางแจ้งได้แบบสบายใจ ด้วยการออกแบบให้ทุกๆ พื้นที่โล่งในเส้นทางมีพื้นที่ปลอดฝุ่นในรูปแบบอุโมงค์ที่คอยรองรับเหล่านักวิ่งให้ได้พักปอดตลอดเส้นทาง และยังสามารถพับเก็บในวันที่ไม่มีฝุ่นได้ด้วยนะ อุโมงค์ที่ว่านี้เป็นอุโมงค์โปร่งใสครอบคลุมถนนทางวิ่งทั้งสองเลน แถมยังติดตั้งโซลาร์เซลล์บนหลังคาเพื่อดึงไฟฟ้ามาใช้กับเครื่องฟอกอากาศภายใน เรียกว่าเป็นการวิ่งที่ทั้งรักปอดคนวิ่งและรักษ์โลกไปพร้อมๆ กัน อีกทั้งการออกแบบอุโมงค์ในรูปแบบที่มองเห็นภายนอกยังทำให้เราชมนกชมไม้ได้เหมือนเดิม แวะ ‘ศาลาปลอดฝุ่น’ พักขา ผ่อนคลายปอด วิ่งมาเหนื่อยๆ นั่งพักตากแอร์เย็นๆ แบบไร้ฝุ่นใน ‘ศาลาปลอดฝุ่น’ กันไหม เพราะศาลาปลอดฝุ่นกระจายตัวอยู่ทุกที่รอบสวน และใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เช่นเดียวกันกับอุโมงค์ไร้ฝุ่น แตกต่างตรงที่ภายในศาลาจะใช้ ‘แอร์ฟอกอากาศ’ ที่นอกจากให้ความเย็นแบบฉ่ำปอดแล้ว ยังไร้กังวลเรื่องฝุ่นเพราะสามารถกรองมลภาวะในอากาศ รวมถึงเชื้อโรคต่างๆ เพื่อทำให้อากาศภายในศาลากลายเป็นอากาศบริสุทธิ์ ให้เรานั่งพักได้แบบสบายกายสบายใจ […]

парк света | Park of Light สวนสาธารณะแห่งใหม่ในรัสเซีย ที่มี ‘แสงไฟ’ เป็นตัวเอกของสวน

‘Park of Light’ หรือ ‘парк света’ ในภาษารัสเซีย คือสวนสาธารณะแห่งใหม่ของเมือง ‘Guryevsk’ ที่มีขนาดใหญ่กว่า 53 ไร่ ผลงานการออกแบบของสตูดิโอ ‘dot.bureau’ และหน่วยงานที่ปรึกษา ‘Sheredega Consulting’ ที่ต้องการหยิบเอาแสงไฟมาใช้ในการออกแบบสวน โดยเริ่มตั้งแต่ทางเข้าที่ต้อนรับผู้มาเยือนไม่ว่าจะเป็นคนในพื้นที่หรือนักท่องเที่ยวด้วยการจัดวางแสงไฟขนาดใหญ่ ที่จะเชื่อมต่อไปยัง The Lane of Light ทางเดินยาวที่มาพร้อมการติดตั้งแสงไฟแบบอินเทอร์แอ็กทีฟจากกระเบื้องหลากสีสันที่ชวนให้เดินต่อไปยังส่วนต่างๆ ของสวน ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำกลางสวน สนามเด็กเล่น ไปจนถึงทางเดินไม้สำหรับเดินเล่นอันเงียบสงบ และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจขนาดเล็กริมแม่น้ำ Guryevka ภายในบริเวณประกอบไปด้วยซุ้มเรืองแสง เก้าอี้ไม้ อัฒจันทร์ ทุ่ง ‘ต้นกก’ ที่จะเรืองแสงขึ้นเมื่อมีคนเดินผ่าน และ ‘ประภาคาร’ ที่ประดับด้วยไฟสีเหลืองนวลเปรียบเสมือนดวงจันทร์ดวงหนึ่ง โดยแสงไฟภายในสวนจะวางตัวในแต่ละพื้นที่แบบกระจายทั่วทั้งสวน โดยใช้การวัดปริมาตรและแสงในแต่ละพื้นที่ เพื่อเป็นการกระจายผู้เข้าใช้งานให้เข้าไปใช้พื้นที่ตามส่วนต่างๆ ทั่วทั้งอาณาเขตสวน เพื่อให้ทุกคนสามารถหาสถานที่ที่เหมาะกับตัวเองใน Park of Light สำหรับเพลิดเพลินกับกิจกรรมสันทนาการและพักผ่อนหย่อนใจในบรรยากาศธรรมชาติไปพร้อมๆ กัน

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลัง STEP INTO SWING เมื่อเสียงเพลงและสเต็ปเท้าอาจพาเราไปสู่กรุงเทพฯ ที่ดีขึ้น

เย็นวันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2567 สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) คลาคล่ำไปด้วยผู้คนในชุดวินเทจ เสียงเพลงสวิงดังกึกก้อง ฟลอร์เต้นรำเริ่มขยายพื้นที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนเต็มไปทั่วทั้งบริเวณ อาจกล่าวได้ว่า สิ่งเหล่านี้คือตัวชี้วัดความสำเร็จของ STEP INTO SWING : Take the A Train at Hua Lamphong อีเวนต์สวิงโดย 2 ทีมงานเบื้องหลังอย่าง The Stumbling Swingout วงดนตรีสวิงแจ๊สที่ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มนักเต้นสวิง และ Jelly Roll Jazz Club โรงเรียนสอนเต้นสวิงที่ตั้งใจสร้างนักเต้นใหม่ๆ เพื่อให้สวิงกลายเป็นคัลเจอร์ที่แข็งแรงในอนาคต หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เฝ้ามองแวดวงการเต้นสวิงในไทยมาตั้งแต่ยุคก่อนโควิด-19 ในเวลานั้นหลายคนอาจจินตนาการไม่ออกว่า วันหนึ่งกรุงเทพฯ จะมีอีเวนต์ SWING IN THE PARK เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้ง ก่อนจะขยายตัวลามเลยออกไปสู่สถานที่ที่น่าสนใจอีกมากมาย ทั้งอาคารลุมพินีสถาน ไปรษณียาคาร ลานชุมชนต่างๆ รวมถึงสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ที่ได้โคจรกลับมาจัดเป็นครั้งที่สองแล้ว การขยับขยายของฟลอร์สวิงแดนซ์จากในสตูดิโอสู่พื้นที่สาธารณะต่างๆ […]

‘Immersive Resilience Garden’ โครงการสวนเขาวงกต ใจกลางกรุงโซล ที่ช่วยพาให้ผู้คนใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้น

ความวุ่นวายเป็นสิ่งหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในการใช้ชีวิตอยู่ในเมืองใหญ่ แต่เราสามารถพักผ่อนและหลบหนีจากความวุ่นวายในระยะสั้นๆ ได้บ้างด้วยการมีพื้นที่สาธารณะสีเขียว ในประเทศเกาหลีใต้ที่ให้ความสำคัญกับสวนสาธารณะ มีโครงการ ‘Immersive Resilience Garden’ ภายในสวนสาธารณะ TTukseom Hanriver ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่คนพลุกพล่านมากที่สุดในโซล เพื่อให้ผู้คนได้หลีกหนีความวุ่นวายด้วยการเข้ามาสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติใจกลางเมืองแบบ 360 องศากันอย่างเต็มที่ โครงการนี้เป็นโครงการที่ได้รับการคัดเลือกและสร้างขึ้นสำหรับงาน International Garden Fair ปี 2024 ซึ่งจัดโดยรัฐบาลกรุงโซลผ่านการแข่งขันระดับนานาชาติ โดยจะจัดตั้งไปจนถึงวันที่ 8 ตุลาคมปีนี้ Studio ReBuild เจ้าของผลงานเล่าว่า พวกเขาได้แรงบันดาลใจในการออกแบบสวนแห่งนี้จากปฏิสัมพันธ์ของผึ้ง แมลงปีกแข็ง และผีเสื้อกับธรรมชาติ ทำให้ตัวสวนออกมาในโครงสร้างแบบชั้นที่สร้างพื้นที่ปิด เพื่อหลบหนีจากสภาพแวดล้อมในเมือง รวมถึงมีลักษณะคล้ายกับเขาวงกต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ทอดยาวในพื้นที่กว่า 400 เมตร ภายในสวนยังประกอบไปด้วยกลุ่มพืชที่แตกต่างกัน 3 ชั้น โดยไล่ระดับตามความสูง เราจึงจะเห็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่จะเติบโตสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามขอบนอกของสวน ส่วนชั้นถัดมาเป็นต้นไม้ขนาดกลาง และชั้นในสุดจะเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก นอกจากนี้ ที่นี่ก็มีโต๊ะและเก้าอี้ที่เปิดให้ทุกคนเข้ามานั่งพักผ่อนท่ามกลางการโอบล้อมของต้นไม้ เพื่อให้ผู้คนได้มีปฏิสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างเต็มที่ รับรองว่าหากเข้าไปอยู่ด้านในของเขาวงกตแห่งนี้แล้ว จะแทบลืมไปเลยว่ากำลังอยู่ในพื้นที่ใจกลางเมืองหลวงของเกาหลีใต้ Sources :Designboom […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.