ฟื้นตลาดเก่าเศร้าซึมให้สดใสภายใต้โครงการสังกะสีสตรีทอาร์ท โดยความร่วมมือของชาวบ้านและศิลปินจากชุมชนตลาดเก่าแม่กลอง

หากใครได้ไปเยือน ‘ตลาดเก่าแม่กลอง’ หรือ ‘ตลาดเก่าริมน้ำเพชรสมุทรฯ’ ชุมชนย่านการค้าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม จะเห็นแผ่นสังกะสีสีเขียวล้อมรอบพื้นที่ตลาดเก่าบางส่วน ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารจอดรถ 5 ชั้น ทำให้พื้นที่ตรงนั้นดูรกร้างและไม่ปลอดภัย ประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลง ทำให้ตลาดเก่าแม่กลองดูเงียบเหงาจนพ่อค้าแม่ค้ารู้สึกเศร้าซึมตามไปด้วย ‘มานะชัย ทองยัง’ ทันตแพทย์ที่เติบโตมาในชุมชนแม่กลองที่เห็นปัญหาดังกล่าว จึงหาวิธีปรับปรุงทัศนียภาพของพื้นที่โดยใช้ศิลปะผลักดันการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านโครงการ ‘สังกะสีสตรีทอาร์ท’ ที่รับสมัครนักศิลปะอาสามาแต่งแต้มสีสันให้สังกะสีที่ล้อมรอบไซต์ก่อสร้างในพื้นที่ตลาดเก่าแม่กลอง “เราเคยมีโอกาสทำงานอีเวนต์กับเยาวชนร่วมกับองค์กรในจังหวัดอยู่บ้าง และเห็นการใช้ศิลปะในการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น การออกแบบมาสคอตปาป้า-ทูทู่ การจัดกิจกรรมภาพถ่ายและจัดแสดง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี จึงลองหยิบศิลปะมาช่วยแก้ปัญหาและคลายข้อกังวลของชาวบ้าน” มานะชัยกล่าวถึงจุดเริ่มต้นโครงการของเขา กิจกรรมสังกะสีสตรีทอาร์ทเริ่มด้วยการให้ศิลปินที่เคยร่วมกิจกรรมภาพวาดและงานศิลปะอื่นๆ มาพูดคุยกับคนในชุมชนว่า อยากให้อัตลักษณ์ของชุมชนถูกสื่อสารออกมาเป็นภาพแบบไหน และหวังว่างานศิลปะบนสังกะสีเหล่านี้จะกลายเป็นจุดเช็กพอยต์ของนักท่องเที่ยวตลอดช่วงเวลาที่มีการก่อสร้าง มานะชัยเล่าว่า ชาวบ้านหลายคนรู้สึกสนุกและตื่นเต้นที่จะได้ร่วมพัฒนาพื้นที่กับศิลปิน อีกทั้งยังพร้อมสนับสนุนโครงการเต็มที่ เช่น การสนับสนุนอาหาร โดยบางส่วนก็มาร่วมลงแรงทาสีด้วย “อยากให้โครงการนี้สะท้อนให้เห็นคุณค่าของงานสร้างสรรค์กับการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยต้องมีคนในชุมชนเป็นตัวหลักในการดำเนินการ ไม่ใช่การคิดแทนและดำเนินการโดยส่วนกลางอย่างเดียว” เขาเล่า ทั้งนี้ สังกะสีสตรีทอาร์ทได้ผ่านกระบวนการพูดคุยระหว่างศิลปินและชาวบ้านเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างรอดำเนินการลงพื้นที่ระบายสีสังกะสี แต่เพื่อความปลอดภัยของศิลปินและคนในชุมชน ทางผู้รับเหมาโครงการอาคารจอดรถได้ขอชะลอโครงการให้เริ่มขึ้นหลังลงเสาเข็มอาคารก่อน ติดตามความคืบหน้าโครงการหรือสนับสนุนสีและอุปกรณ์ทาสีได้ที่ Facebook : Manachai Na

‘บุญรอด นาคศิธร’ ช่างทำว่าวจุฬาแห่งแม่กลอง ประธานชมรมว่าวไทยจังหวัดสมุทรสงคราม

‘ฬ’ คือพยัญชนะตัวที่ 42 ในบรรดาพยัญชนะ 44 ตัวของอักษรไทย มีรูปร่างคล้ายคลึงกับดาวห้าแฉก ซึ่งเป็นลักษณะของว่าวจุฬาที่คนไทยในสมัยก่อนละเล่นกัน และมาถึงวันนี้ว่าวจุฬาก็เริ่มเลือนหายไปตามกาลเวลา เนื่องด้วยเทคโนโลยีหรือการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากแต่ก่อน เราไม่ได้พูดถึงแค่ตัวว่าว แต่อาชีพช่างทำว่าวก็กำลังกลายเป็นแค่ความทรงจำเช่นกัน “ถ้าเราเรียนหนังสือ ท่อง ก-ฮ จะมี ฬ จุฬา ท่าผยอง เพราะพ่อขุนรามฯ เป็นคนประดิษฐ์อักษรไทย ว่าวตัวนี้น่าจะมาก่อนพ่อขุนรามฯ “เมื่อเราตายไป ถ้าเราไม่สอนไว้ ไอ้ ฬ จุฬา ท่าผยอง คงจะหายไปจากอักษรไทย” รายการ The Professional ชวนไปคุยกับ ‘บุญรอด นาคศิธร’ ประธานชมรมว่าวไทย จังหวัดสมุทรสงคราม ผู้ชุบชีวิตการทำว่าวจุฬาไทยในจังหวัดสมุทรสงครามให้ยังคงถลาล่องลอยติดลมบน แม้ในวันที่แทบไม่มีใครสนใจเงยหน้ามองท้องฟ้าอีกแล้ว

ตามรอยการเดินทางกว่าจะเป็น ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตหน้างอคอหักที่พาทุกคนไปตกหลุมรักแม่กลอง

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในอวกาศอันเวิ้งว้าง มียานอวกาศจากดาว ‘แมกแมกเคอเคอเรลเรล’ อันไกลโพ้นลอยตุ๊บป่องมุ่งหน้าสู่โลกมนุษย์ เพื่อสำรวจทรัพยากรบนดาวเคราะห์อันอุดมสมบูรณ์ บนยานอวกาศคือสิ่งมีชีวิตหน้างอ คอหัก ที่เพ่งดูแผนที่โลกอย่างตั้งใจ เจ้าเอเลียนไล่สายตาอย่างช้าๆ บนแผนที่โลกเพื่อหาจุดหมายในการสำรวจ ทันใดนั้นมันก็สะดุดเข้ากับจังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดเล็กๆ ติดอ่าวไทยในภาคกลางของไทยที่มีรูปร่างเขตแดนเล็กปุ๊กปิ๊ก ขาเล็ก หัวใหญ่ หน้าตาเหมือนพ่อตัวเองไม่มีผิด หัวใจเต้นรัว ดวงตาเบิกโพลง เจ้าเอเลียนรู้ตัวทันทีว่า นี่แหละ คือจุดหมายในการสำรวจของมัน ไม่รอช้าให้เสียเวลา เอเลียนหน้างอผละสายตาออกจากแผนที่ หันขวับไปจับจ้องที่กระจกหน้ายาน สองมือกำพวงมาลัยแน่น เหยียบคันเร่ง นำยานอวกาศพุ่งตรงลงมาที่จังหวัดสมุทรสาคร นี่คือเรื่องราวของ ‘ปาป้า-ทูทู่’ ตัวละครน่ารักน่าหยิกที่ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ร่วมกันสร้างขึ้น ด้วยหวังว่าสักวันมันจะกลายเป็นมาสคอตของจังหวัด สร้างสีสันให้เมือง เหมือนอย่างจังหวัดคุมาโมโตะในญี่ปุ่น ที่มีหมีคุมะมงอันโด่งดังเป็นมาสคอตประจำตัว ถึงจะหน้าตาเหมือนปลาทูไม่มีผิด แต่ทั้งคู่บอกว่า ที่จริงแล้วปาป้า-ทูทู่คือการรวมตัวกันของเอเลียนหน้าตาเหมือนปลาทูแม่กลองชื่อ ‘ปาป้า’ และหุ่นยนต์สีเหลืองตัวเล็กเหมือนกลองบนหัวชื่อ ‘ทูทู่’ ภารกิจของปาป้า-ทูทู่คือการซอกแซกสำรวจจังหวัดสมุทรสงคราม และแบ่งปันของดีของเด็ดในจังหวัดมาให้ทุกคนได้ชื่นชมกัน ซึ่งเรื่องราวการเดินทางของปาป้า-ทูทู่ก็ถูกบันทึกลงในเพจ ‘Plaplatootoo’ ที่ทั้งสองคนช่วยปลุกปั้นกันขึ้นมา ในวันนี้ ปาป้า-ทูทู่เป็นชื่อที่รู้จักกันดีของคนแม่กลองรวมถึงคนไทยจำนวนไม่น้อย แถมเคยนั่งแท่นเป็นมาสคอตประจำ […]

คุยกับป๊าและม้าของน้อนปาป้า-ทูทู่ มาสคอตปลาทูแห่งแม่กลอง

ถ้าพูดถึงมาสคอตประจำเมือง คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเจ้าคุมะมง มาสคอตประจำจังหวัดคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะน้อยหน้าได้ยังไง ขอแนะนำให้รู้จักกับ ‘ปาป้า-ทูทู่’ มาสคอตเอเลียนในชุดปลาทูแม่กลอง จังหวัดสมุทรสงคราม “คนเป็นพ่อเป็นแม่ต้องปลื้มใจอยู่แล้ว เวลามีคนพูดถึงลูกเรา หรือเห็นบรรยากาศที่มีเด็กๆ คุณลุง คุณป้า อยากถ่ายรูปกับน้องปาป้า-ทูทู่ เราก็รู้สึกดีใจ” Urban Creature คุยกับ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ และ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ ผู้เปรียบเสมือนคุณพ่อ-คุณแม่ของน้องปาป้า-ทูทู่ ที่ออกแบบจากการดึงเอาเอกลักษณ์ของดีแม่กลองอย่าง ‘ปลาทู’ มาเติมความน่ารักน่าเอ็นดูเข้าไป จนกลายเป็นเอเลียนตัวสีฟ้าหน้ามู่ทู่ ใครที่มีโอกาสแวะไปเยี่ยมเยือนจังหวัดสมุทรสงคราม แล้วได้เจอกับน้องปาป้า-ทูทู่ ก็สามารถแวะถ่ายรูปกับน้องปลาทูตัวนี้ได้นะ

ปาป้า-ทูทู่ มาสคอตเอเลียนในชุดปลาทูแม่กลอง ชูเอกลักษณ์หน้างอคอหักของดีประจำสมุทรสงคราม

สำหรับประเทศญี่ปุ่น ถ้าพูดถึงจังหวัดคุมาโมโตะ ก็ต้องคิดถึงเจ้าคุมะมงที่เป็นมาสคอตประจำเมืองกันใช่ไหม แถมจริงๆ แล้วจังหวัดอื่นๆ ยังมีมาสคอตน่ารักๆ ประจำเมืองอยู่เต็มไปหมด แล้วอย่างนี้ประเทศไทยจะน้อยหน้าได้ยังไง ล่าสุดจังหวัดสมุทรสงครามของเราก็มีมาสคอตกับเขาเหมือนกัน โดยดึงเอาของดีแม่กลองอย่าง ‘ปลาทู’ มาเติมความน่ารักเข้าไปในตัวเอเลียนสีฟ้าจนออกมาเป็น ‘ปาป้า-ทูทู่’ (PLA.PLA TOO.TOO) น้องโลคอลคาแรกเตอร์ (Local Character) หน้ามู่ทู่ที่น่ารักน่าเอ็นดู ปาป้า-ทูทู่ เป็นผลงานการออกแบบของ ‘วิน-ภัทรพงศ์ ชูสุทธิสกุล’ Art Director บริษัทเกม ‘Parapluie Studio’ เจ้าของแบรนด์เครื่องปั้นเซรามิก ‘Sujinosauras’ และศิลปินวาดภาพประกอบอิสระที่เกิดและเติบโตในจังหวัดสมุทรสงคราม (แม่กลอง) วินเล่าให้ฟังว่า หลังเรียนจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เขาก็อยากนำวิชาความรู้มาต่อยอด และพัฒนาอัตลักษณ์ให้กับพื้นที่ท้องถิ่นบ้านเกิด จึงเข้าร่วมโครงการ ‘CHANGE 2021: Visual Character Arts’ ที่มีจุดประสงค์เพื่อสร้างรายได้และต่อยอดธุรกิจจากการสร้างสรรค์คาแรกเตอร์ใหม่ให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภค เกิดเป็นการจับเอาปลาทูแม่กลองหน้างอคอหัก เอกลักษณ์เด่นที่คนรู้จักกันทุกเพศทุกวัยมาใช้ในการออกแบบ  และเมื่อจบโครงการ วินก็ตัดสินใจเปิดเพจเฟซบุ๊กเป็นช่องทางการสื่อสาร เพื่อทำให้คาแรกเตอร์เป็นที่รู้จักมากขึ้น โดยมีคอนเซปต์นำเสนอเรื่องราวในสมุทรสงคราม ผ่านการใช้ชีวิตของปาป้า-ทูทู่ จนได้ ‘เต-เตชสิทธิ์ ยศวิปาน’ […]

‘วุ้นเป็ดธนัน’ ของฝากแห่งสมุทรสงคราม วุ้นในตำนานที่ทุกคนสงสัยว่าทำไมเป็น ‘เป็ด’?

ใครรู้จัก ‘วุ้นเป็ด’ บ้าง?  คนไม่รู้จักอาจนึกภาพไม่ออกว่าหน้าตาของวุ้นเป็ดเป็นยังไง ทำมาจากเนื้อเป็ดหรือเปล่า ส่วนใครเคยกินก็ต้องร้องอ๋อ เพราะมันคือวุ้นกะทิมะพร้าวอ่อนทรงเป็ดน้อยอวบอ้วน ของฝากยอดฮิตที่หาซื้อได้ทั่วประเทศไทย  แม้ว่าวุ้นเป็ดจะมีขายตามร้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป แต่รู้หรือไม่ว่า ออริจินัลของขนมไทยเนื้อหอมนี้มาจาก ‘สมุทรสงคราม’ ใช่แล้ว เรากำลังพูดถึง ‘วุ้นเป็ดธนัน’ ต้นตำรับวุ้นเป็ดที่มีความโดดเด่นเรื่องรสชาติ ความสดใหม่ และราคาที่จับต้องได้ วุ้นเป็ดธนันจึงกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ไทยที่ยืนหนึ่งเรื่องวุ้นกะทิมะพร้าวหอมมากว่า 10 ปี ทีม Urban Creature จะพาทุกคนมุ่งหน้าไปที่อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อพูดคุยกับ ‘คุณธนภร เล็กเครือสุวรรณ’ หรือ ‘แม่จิ๋ม’ ผู้ให้กำเนิดวุ้นเป็ดธนัน จากการทำวุ้นขายเพื่อหาเลี้ยงปากท้อง จนตอนนี้กลายเป็นแบรนด์วุ้นเป็ดที่ติดตลาดไปแล้ว  เคล็ดลับความสำเร็จคืออะไร สไตล์การทำธุรกิจเป็นแบบไหน และทำไมวุ้นต้องเป็น ‘เป็ด’ เราจะพาทุกคนไปฟังคำตอบจากแม่จิ๋ม ณ บัดนี้! เราออกเดินทางจากกรุงเทพฯ ประมาณ 8 โมงเช้า ใช้เวลาไม่นานราวหนึ่งชั่วโมงครึ่ง รถก็ไปจอดอยู่ที่หน้าอาคารพาณิชย์สองคูหาติดถนนสมุทรสงคราม-บางแพ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ข้างหน้าร้านมีเป็ดยักษ์ตัวหนึ่งยืนอยู่ ส่วนกระจกร้านมีโลโก้อักษรสีชมพูเขียนว่า ‘วุ้นเป็ดธนัน’ ทำให้รู้ทันทีว่า เรามาถึงจุดหมายปลายทางแล้ว เมื่อลงจากรถ […]

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.