Shanghai Street Furniture สำรวจเซี่ยงไฮ้ผ่านมุมมองของสถาปนิกผังเมือง

เซี่ยงไฮ้เป็นเมืองที่โดดเด่นด้วยการวางผังเมืองที่ใส่ใจความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างมาก การออกแบบพื้นที่สาธารณะ ตึก และอาคารร้านค้าต่างๆ ได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับเมืองอย่างสมดุล สิ่งที่ทำให้เซี่ยงไฮ้มีเอกลักษณ์คือ การผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบยุโรปและวิถีชีวิตแบบจีนได้อย่างลงตัว ตึกสูงระฟ้าสไตล์ยุโรปตั้งอยู่เคียงข้างกับร้านค้าท้องถิ่น โดยมีการแบ่งทางเท้า ทางจักรยานด้วยพื้นผิวที่แตกต่างอย่างชัดเจน เป็นเมืองที่เดินง่าย สะอาด มีต้นไม้ร่มรื่น และตลอดทางในเมืองก็มีร้านค้ากับตึกสวยงามตลอดเส้นถนน ขณะเดียวกัน ร้านรวงคาเฟ่ก็ได้รับการออกแบบให้นั่งนอกร้านได้เหมือนเมืองในยุโรป ในโซนที่อยู่อาศัย ทุกๆ การเดินเท้า 15 นาที จะมีพื้นที่สาธารณะให้คนในชุมชนออกมาออกกำลังกาย มีสนามเด็กเล่นกระจายอยู่ทุกที่ ทำให้เมืองมีชีวิตชีวามาก Street Furniture เป็นองค์ประกอบเล็กๆ ที่มีบทบาทสำคัญที่ทำให้เมืองน่าอยู่และน่าสนใจมากขึ้น เมื่อสังเกตดีๆ จะเห็นว่า การออกแบบม้านั่งต่างๆ ในเซี่ยงไฮ้มีรายละเอียดน่ารักเล็กๆ น้อยๆ ที่ชวนสังเกต เช่น ดีไซน์ที่นำเอกลักษณ์ของเมืองผสมผสานกับความเป็นจีนมาออกแบบม้านั่งริมถนน เท่านั้นไม่พอ ม้านั่งตามถนนและสวนสาธารณะไม่เพียงแค่ให้นั่งพักผ่อน แต่หลายที่นั่งยังออกแบบให้มีฟังก์ชันพิเศษ เช่น ช่องชาร์จโทรศัพท์ด้วยโซลาร์เซลล์ ขั้นบันไดในห้างฯ ที่นั่งพักได้ ฯลฯ หากคุณมีโอกาสไปเที่ยวเซี่ยงไฮ้ นอกจากถ่ายรูปกับสถานที่ยอดฮิตแล้ว อย่าลืมสังเกตองค์ประกอบเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เมืองนี้มีชีวิตชีวาและเป็นเอกลักษณ์ การสำรวจเมืองในมุมมองนี้จะช่วยให้คุณเห็นความเชื่อมโยงระหว่างสถาปัตยกรรมและชีวิตประจำวันของผู้คนอีกด้วย สำหรับเรา เซี่ยงไฮ้ไม่ใช่แค่จุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่สวยงาม แต่ยังเป็นแหล่งแรงบันดาลใจในการออกแบบเมืองที่มีความสร้างสรรค์และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban […]

เผยโฉมดีไซน์ New TCDC ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบใหม่ ใน 10 จังหวัดทั่วประเทศ

ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ หรือ TCDC คือสถานที่ที่ใครหลายคนนึกถึงเวลาโหยหาไอเดียทำงานออกแบบ แต่ถ้าไม่ได้อยู่ในกรุงเทพฯ เชียงใหม่ หรือขอนแก่น การค้นหาแรงบันดาลใจอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะประเทศไทยมี TCDC อยู่ใน 3 จังหวัดนี้เท่านั้น (ขอทดสงขลาไว้ที่หนึ่ง เพราะ TCDC ที่นี่จะเสร็จตอนต้นปี 2568) ด้วยเหตุผลนี้เอง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) : สศส. หรือ Creative Economy Agency (Public Organization) : CEA เลยเกิดไอเดียตั้ง ‘ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบใหม่’ (New TCDC) เพิ่มใน 10 จังหวัด พร้อมจับมือกับสมาคมสถาปนิกสยามฯ (ASA) เปิดรับไอเดียดีไซน์ New TCDC จากนักออกแบบทั่วประเทศ จากผลงานที่ส่งเข้ามากว่า 173 ผลงาน จาก 113 ทีมนักออกแบบ ในที่สุดก็ได้ 10 ผลงานชนะเลิศที่จะได้รับการต่อยอดเป็น New TCDC […]

The Scoop ออฟฟิศรูปทรงแหวกแถวที่แหวกแนวอาคารให้โบสถ์เก่าเฉิดฉาย

คำตอบของการสร้างอาคารใหม่ให้เคารพอาคารเก่าข้างเคียงที่คุ้นเคยอาจหมายถึงการคุมโทนสี คุมโทนวัสดุอาคารใหม่ให้ใกล้เคียงอาคารเก่า แต่มันจะมีโซลูชันที่น่าตื่นเต้นกว่านี้อีกหรือเปล่า Corstorphine & Wright ออฟฟิศสถาปัตยกรรมในสหราชอาณาจักร ออกแบบอาคาร ‘The Scoop’ ให้เว้าเข้าไปด้านใน เพื่อสร้างกรอบให้คนเดินถนนเห็นรูปโฉมของโบสถ์เก่าที่อยู่ข้างเคียง The Scoop เป็นอาคารออฟฟิศส่วนต่อเติมของอาคารอิฐหัวมุมถนนที่อยู่ติดกัน โดยอาคารตั้งอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ของย่าน Southwark เมือง London และอยู่เคียงข้างโบสถ์คริสต์ ‘Catholic Church of the Most Precious Blood’ สไตล์โรมาเนสก์ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1892 การคว้านส่วนกลางของอาคารออก ทำให้ผู้คนที่สัญจรบริเวณหัวมุมถนน Union Street และ O’Meara Street เห็นบานหน้าต่างกลมหรือ Rose Window ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของโบสถ์ แต่กว่าที่จะได้หน้าตาตึกอย่างที่เห็น สถาปนิกต้องขึ้นโมเดลตึกสามมิติเพื่อกะเกณฑ์ดูว่าจะต้องคว้านตึกไปเท่าไหร่คนถึงจะเห็นหน้าต่างโบสถ์ได้ชัดเจน นอกจากนี้ โมเดลสามมิติยังช่วยให้สถาปนิกคำนวณได้ว่าจะต้องวางอิฐอย่างไร และใช้อิฐขนาดแบบไหนมาเรียงเพื่อให้เกิดเอฟเฟกต์ดั่งหวัง โดยก้อนอิฐที่หยึกหยักไปมาถูกยึดติดด้วยโครงเหล็กสเตนเลสอันซับซ้อนที่แอบซ่อนด้านใน หากมองตัวอาคาร The Scoop แบบโดดๆ ดูแล้วเป็นอาคารที่เท่ไม่เบา แต่เมื่ออาคารเปิดพื้นที่ความเท่ให้เพื่อนเก่า ความหล่อเหลาของ The Scoop […]

กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต

ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]

Trosten Floating Sauna แช่ซาวน่าลอยน้ำในวันที่หนาวเย็น ใจกลางเมืองออสโล

ในเมืองออสโล ประเทศนอร์เวย์ ที่มีอากาศหนาวจับใจตลอดทั้งปี สุขใดเล่าจะเท่าการเข้าห้องซาวน่าร้อนๆ แล้วดูวิวเมืองสวยๆ ไปด้วย ‘Trosten Floating Sauna’ คือซาวน่าลอยน้ำใน Oslofjord (ออสโลฟยอร์ด) อ่าวน้ำใจกลางเมืองออสโล โดยคำว่า ‘Trosten’ ในชื่อ เป็นคำภาษานอร์เวย์หมายถึงนกวงศ์เดินดง (Thrush) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ความโชคดีของคนที่นี่ ซาวน่านี้ออกแบบโดย estudio Herreros สตูดิโอสถาปัตยกรรมจากสเปน ผู้เคยสร้างสรรค์ ‘พิพิธภัณฑ์ Munch’ ตึกสีเทาหลังโตที่ตั้งตระหง่านริมน้ำไม่ไกลกัน ตัวอาคารซาวน่าโดดเด่นด้วยรูปทรงยอดแหลมสองฝั่งดั่งปีกนก และผิวอาคารที่กรุด้วยแผ่นอะลูมิเนียมสีเขียวอ่อนงามตา ฝั่งหนึ่งของอาคารเป็นอัฒจันทร์ให้ผู้คนนั่งเล่นชมวิวเมือง หรือใช้จัดอีเวนต์ก็เหมาะ ภายในอาคารคือห้องซาวน่าที่ออกแบบให้คนนั่งวีลแชร์ใช้งานได้อย่างสะดวกสบาย พื้นไม่มีการปรับระดับ ทางเดินมีขนาดกว้างขวางพอให้รถเข็นเข้าออกได้ และในการออกแบบยังคำนึงเรื่องความยั่งยืนเป็นหัวใจสำคัญ เช่น การปูพื้นด้วยกระเบื้องหินล้าง (Terrazzo) ขนาดใหญ่ที่มีคุณสมบัติช่วยกักเก็บอุณหภูมิ ทำให้ไม่เปลืองพลังงานความร้อน หรือการกรุผิวอาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียมรีไซเคิล Trosten Floating Sauna เป็นหนึ่งในซาวน่าลอยน้ำหลายหลังจาก ‘Oslo Sauna Association’ ที่มาพร้อมเป้าหมายคือการนำ ‘ซาวน่าใกล้ชิดผู้คนมากขึ้น’ ซึ่งซาวน่าจาก estudio Herreros เป็นตัวอย่างที่ฉายภาพฝันขององค์กรได้ดีทีเดียว ด้วยการออกแบบที่คำนึงถึงคนพิการ […]

ชวนนักออกแบบคิดเพื่อโลก ตอบโจทย์ชุมชน ส่งประกวดเวที AYDA AWARDS 2024 สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 31 ต.ค. 2567

AYDA Awards 2024 เป็นเวทีที่ ‘นิปปอนเพนต์’ เปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้โชว์ทักษะการออกแบบ และสัมผัสประสบการณ์การทำงานจริงกับนักออกแบบชั้นนำของประเทศและเอเชีย นับเป็นปีที่ 17 ของเวทีนี้แล้วที่เปิดรับสมัครเหล่านักศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบตกแต่งภายใน มาโชว์ศักยภาพและแสดงความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้คอนเซปต์ Converge : Glocal Design Solutions หรือ การรวมกันเป็นหนึ่งจากแนวคิดวิถีท้องถิ่นสู่ระดับโลก ผ่านการออกแบบที่คำนึงถึงผู้คน ชุมชน และสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของโลก เพื่อชิงเงินรางวัลมูลค่าสูงสุดถึง 100,000 บาท พร้อมโปรแกรมออกแบบ Sketchup Studio Education Software 2024 เป็นเวลา 1 ปี และโอกาสสำคัญในการเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมแข่งขันในงาน AYDA Awards International Summit ที่ประเทศญี่ปุ่น  นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้ชนะระดับเอเชีย จะได้เข้าร่วมหลักสูตรพิเศษ Design Discovery Program ที่ Harvard Graduate School of Design ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเก็บเกี่ยวความรู้ด้านการออกแบบอย่างเข้มข้นเป็นเวลา […]

‘AWHERENESS’ นำเสนอสถาปัตยกรรม 5 ย่านในกรุงเทพฯ ผ่านการแปลง ‘สัมผัส’ เป็น ‘ระบบภาษา’

ประสบการณ์ในชีวิตของคนเราประกอบขึ้นจากการประมวลผล 5 ประสาทสัมผัสเข้าด้วยกัน แล้วทำไมการนำเสนอสถาปัตยกรรมถึงหยุดอยู่แค่การนำเสนอผ่าน ‘รูป’ เพียงอย่างเดียว เพื่อเปิดประสบการณ์ใหม่และมองหาความเป็นไปได้ในการพรีเซนต์การออกแบบสถาปัตยกรรมในอนาคต สี่พี่ติวสถาปัตย์จาก Artstudio ได้แก่ เรืองวิทย์ วีระพงษ์ (@tunascientifica), พิริยวรรษ ลันสุชีพ (@flulululuke), สิรวิชญ์ ศิริชัยพันธุ์ (@sirawich_om) และลภัสรฎา ปั้นดี (@lprdd) ได้มารวมกันในชื่อ ‘V/AD B/SUAL Team’ (อ่านว่าวิแอดไบชวล) ที่ผวนมาจากคำว่า Visual Bias การรวมตัวกันในครั้งนี้เป็นไปเพื่อส่งผลงานเข้าร่วมการประกวด ASA Experimental Design Competition 2024 พร้อมๆ กับน้องติว เพื่อนำผลงานมาเป็นตัวอย่างประกอบการสอน ให้น้องๆ ได้ดูเรื่องของวิธีการคิด การตีความโจทย์ และการหาไอเดีย ไปจนถึงการวางแผนทำเพลตนำเสนอ และเทคนิคการใช้โปรแกรมต่างๆ  เกิดเป็นการปฏิวัติการนำเสนอสถาปัตยกรรมจาก Architectural Visualization แบบเดิมๆ มาเป็น Architectural Sensualisation ที่นำเสนอสถาปัตยกรรมผ่านสัมผัสทั้ง 5 จนคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ […]

ส่องเทรนด์การออกแบบ ยกระดับสถาปัตยกรรม ในงานสถาปนิก’67 (Architect’24) วันนี้ – 5 พ.ค. 67 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

กลับมาอีกครั้งกับงานที่เหล่านักออกแบบและสถาปนิกไม่ควรพลาด ‘สถาปนิก’67 (Architect’24)’ งานแสดงเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมและผลิตภัณฑ์ก่อสร้างใหญ่ที่สุดในอาเซียน ครั้งที่ 36 ในธีม ‘Collective Language : สัมผัส สถาปัตย์’ จุดประสงค์ของงานนี้คือ การมุ่งหวังสร้างการรับรู้ให้ผู้คนได้สัมผัส และเข้าใจงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบที่ไร้ขอบเขตให้มากขึ้น และต่อยอดให้เกิดความเคลื่อนไหว (Movement) ที่ดีในสังคมและอนาคตร่วมกัน ภายในงานมีการจัดแสดงสินค้าและบริการด้านงานออกแบบ วัสดุก่อสร้าง การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ที่เกี่ยวข้องกับวงการสถาปัตยกรรม ที่ครอบคลุมตั้งแต่สินค้านวัตกรรมความปลอดภัย ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การประหยัดพลังงาน และความยั่งยืน เพื่อตอบรับกับเทรนด์งานออกแบบสถาปัตยกรรมของปีนี้และอนาคต มากไปกว่านั้น งานนี้ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้อัปเดตเทรนด์ความรู้ ผ่านเวทีเสวนา ASA International Forum ในวันที่ 4 – 5 พฤษภาคม 2567 ที่จะเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ มาร่วมถอดรหัสวิพากษ์ภาษาสถาปัตยกรรมผ่านภูมิภาคนิยม (Critical Regionalism in Architecture) จากแนวคิดและผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมในระดับสากลของสถาปนิกไทยและต่างชาติ รวมไปถึงการจัดแสดงผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจากสมาคมพันธมิตร 22 ชาติ รวมประเทศไทย จากสภาสถาปนิกแห่งเอเชีย (Architects Regional Council […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive เมษายน 2567

เป็นหลายครั้งที่ใครหลายคนชวนผมคุยเรื่องการออกแบบเก้าอี้แนว Street Furniture สไตล์ไทยๆ ที่พบเจอได้ตามริมทางท้องถนนเมืองไทย อย่างเช่นเก้าอี้พี่วินมอเตอร์ไซค์ หรือเก้าอี้ตามร้าน Street Food ที่มักมีคาแรกเตอร์เฉพาะตัวและหน้าตาที่คาดเดาไม่ได้ แต่ส่วนตัวผมเองให้ความสนใจ Urban Vernacular (สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเมือง) แบบรวมๆ เป็นหลัก ซึ่งไอ้เจ้าเก้าอี้แนวๆ นี้ที่เอ่ยมาก็ถือเป็นหนึ่งในประเภทของ Urban Vernacular ที่การปรากฏตัวนั้นล้วนเกิดจากความจำเป็นที่ต้องมีที่นั่งริมทางในที่สาธารณะ ไม่ว่ารอลูกค้าหรือนั่งกินข้าว ทำให้มีความจำเป็นบางอย่างที่ต้องมีเก้าอี้ใช้นั่งกันเองแบบชั่วคราวและเบาตัว ผมเองก็มีการบันทึกภาพเก้าอี้พวกนี้อยู่จำนวนหนึ่ง จนพอจะจับคาแรกเตอร์ได้บ้างว่าเก้าอี้ที่ใช้นั่งพวกนี้ก่อรูปได้กี่แบบ ซึ่งผมสามารถให้คีย์เวิร์ดเบื้องต้นได้ประมาณว่า ซ้อน ซ่อม พลิก รวมร่าง ซ้อน – เกิดจากพวกวัสดุเหลือใช้หรือเก็บได้แถวนั้น มักเป็นเศษไม้เศษอิฐ นำมาเรียงตัวซ้อนกันในแนวดิ่งเป็นเก้าอี้ม้านั่งซ่อม – ต่อจากวัสดุเหลือใช้ เก้าอี้เหลือใช้ ก็เอามาปะนิดซ่อมหน่อยด้วยเทคนิคต่างๆ ใช้นั่งต่อได้ยาวๆพลิก – เป็นการเอาวัสดุรอบตัวพลิกไปพลิกมาให้เป็นเก้าอี้หรืออะไรที่มากกว่านั้นรวมร่าง – คือผลของทั้ง 3 คีย์เวิร์ดก่อนหน้า เมื่อ ซ้อน ซ่อม พลิก แล้วมักเกิดการรวมร่างกับวัสดุใดๆ กลายเป็นเก้าอี้ที่คาดเดาหน้าตาไม่ได้ แต่ไอ้เจ้า 4 คีย์เวิร์ดนี้ไม่ได้ตายตัวนะ […]

เสวนาหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ พร้อมชมนิทรรศการชิ้นงาน 365 ภาพ วันที่ 27 เม.ย. 67 ที่ G-OLD HOUSE คลองสาน

ใครที่อ่านหนังสือ ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ แล้ว หรือเป็นแฟนคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ เพจ Urban Creature หรือกระทั่งสนใจเรื่องเมืองๆ กับไอเดียการดีไอวายสิ่งของในชีวิตประจำวัน อย่าลืมมาพบกับ ‘ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกผู้ก่อตั้ง Everyday Architect Design Studio ในงานเสวนาเปิดตัวหนังสือ #สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด เพราะงานนี้ ชัชจะมาเปิดวงสนทนาพูดคุยถึงที่มาที่ไปของโปรเจกต์นี้ และไอเดียการริเริ่มเก็บภาพสิ่งของเรี่ยราดจนครบ 365 ภาพภายในหนึ่งปี จนออกมาเป็นหนังสือให้อ่านกัน โดยมี ‘เดือนเพ็ญ จุ้ยประชา’ ผู้ดูแลคอนเทนต์จาก Urban Creature ร่วมพูดคุยในครั้งนี้ด้วย อีกทั้งผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังชมผลงาน 365 ภาพจากนิทรรศการ สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด ที่เคยจัดแสดงไปก่อนหน้านี้ในช่วง Bangkok Design Week 2024 ที่ผ่านมา ในรูปแบบของ Soft Launch แบบกันเองๆ ใครที่สนใจฟังเสวนาหนังสือหรืออยากชมนิทรรศการอีกครั้ง […]

ส่องความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยที่สะท้อนถึงปัญหาการใช้ชีวิตในเมือง ผ่านหนังสือ ‘สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’

งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติรอบนี้ นักอ่านคนไหนที่ชื่นชอบเรื่องเมืองแล้วยังไม่รู้ว่าจะซื้อเล่มไหนดี Urban Creature ขอแนะนำรวมบทความที่มีชื่อว่า ‘365 DAYS OF THAI URBAN MESS ARCHITECTURE สถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราด’ หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานของ ‘ชัช-ชัชวาล สุวรรณสวัสดิ์’ สถาปนิกและนักเขียนเจ้าของหนังสือ ‘อาคิเต็กเจอ’ (และคอลัมนิสต์ของ Urban Creature) โดยภายในจะเป็นการบันทึกเรื่องราวสั้นๆ พร้อมภาพสเก็ตช์ 4 สี สิ่งของรอบตัวที่เห็นได้เรี่ยรายรอบเมือง ซึ่งเกิดจากฝีมือผู้คนตัวเล็กๆ ที่ดีไอวายสิ่งของเหล่านี้มาเพื่อแก้ปัญหาและตอบโจทย์การใช้งานในชีวิตจริง ในโปรเจกต์นี้ชัชวาลตั้งใจใช้เวลาหนึ่งปีวาดภาพสิ่งของและงานดีไซน์ไทยๆ ก่อนพบว่าเมืองที่อาศัยอยู่นี้มีปัญหาของผู้คนทาบทับอยู่ตามตึกรามบ้านช่องและสิ่งของที่เดินเจอในทุกวัน ตามไปซื้อหนังสือสถาปัตยกรรมคณะเรี่ยราดได้ที่บูท Salmon Books งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป หรือสั่งซื้อออนไลน์ได้ที่ store.minimore.com/salmonbooks/items/365Days  นอกจากนี้ ผู้อ่านยังติดตามคอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ ของชัชวาลได้ทุกเดือนทางเพจ […]

ดีไซน์-เค้าเจอ : Archive มีนาคม 2567

ผมอยากชวนให้เพื่อนๆ ทุกคนมองอีกครั้งว่า ของดีไซน์เล็กๆ น้อยๆ ที่ตามริมทางของผู้คนในเมือง ไม่ว่าโต๊ะเก้าอี้หรืออะไรก็ตามที่ดูตื่นตาตื่นใจนั้น นอกจากไอเดียการสร้างสรรค์ทำของพวกนี้ที่น่าชื่นชมแล้วนั้น ของเหล่านี้มักถูกเคลือบแฝงไปด้วยปัญหาของการออกแบบเมืองสารพัดที่ไม่ได้ถูกคิดมาเผื่อแต่แรก ทำให้เกิดการพยายามสร้างสรรค์และแก้ปัญหากันเองของผู้คน ด้วยวิธีการประดิษฐ์หรือเทคนิคดัดแปลงต่างๆ ด้วยวัสดุและสิ่งของใกล้ตัวโดยเฉพาะที่หาได้ในพื้นที่เมือง เราสามารถนิยามคอนเซปต์ของการสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาเมืองนี้ได้ว่า ‘ความเป็นอยู่พื้นถิ่นที่เกิดขึ้นในเมือง หรือ Urban Vernacular’ ซึ่งเราอาจจะเรียกมันว่า ‘สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นในเมือง’ หรือเรียกย่อๆ ว่า ‘งานออกแบบพื้นถิ่นเมือง’ ก็ได้แล้วแต่ถนัด ไอเดียพื้นถิ่นเมืองนี้ถือว่าเป็นรากความคิดเดียวกับพื้นถิ่นตามชานเมืองหรือต่างจังหวัดอย่างที่เพื่อนๆ หลายคนมักคุ้นเคย เช่น บ้านเรือนพื้นถิ่นที่มักมีใต้ถุนยกสูงไว้หนีปัญหาน้ำท่วม มักมุงหลังคาด้วยใบจากหรือใช้เสาจากต้นไม้ไผ่ เพราะวัสดุธรรมชาติเหล่านี้หาง่ายรอบตัว ในทำนองเดียวกันกับพื้นถิ่นเมืองอย่างเก้าอี้วินมอเตอร์ไซค์ที่จำเป็นต้องตัดขาหลังออก และเอาไปวางคร่อมกับกระบะต้นไม้หลบทางเดิน ก็เพราะปัญหาทางเท้าที่แคบเกิน หรือการพยายามทำหลังคากันแดดของซุ้มวินมอเตอร์ไซค์จากแผ่นป้ายหาเสียง เพราะเป็นวัสดุที่เหลือทิ้งไว้จากการเลือกตั้งในพื้นที่เมือง ด้วยฐานคิดนี้แล้ว ทำให้ผมคิดว่าเวลาที่เราเจอดีไซน์สนุกๆ ข้างทางเหล่านี้ เป็นอะไรที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่จะต้องมองให้เห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเอาไว้ควบคู่กันเสมอ และน่าจะเป็นการดีที่คอลัมน์ ‘ดีไซน์-เค้าเจอ’ รอบนี้ จะขอชวนเพื่อนๆ ลองฝึกสายตาในการมองของพื้นถิ่นเมืองเหล่านี้ไปกับผมอีกครั้ง เผื่อเป็นพื้นฐานในการทำความเข้าใจเพิ่มเติม เวลาเพื่อนๆ บังเอิญเจอของเหล่านี้ที่ตามปากซอย อาจจะได้รู้สึก เอ๊ะ ตรงนี้มันมีปัญหานี้เกิดขึ้นนี่หว่า และเขาแก้กันแบบนี้เอง Table + Floor Balance ขาลอยไม่ใช่แค่คำว่าอยู่เหนือปัญหา แต่โต๊ะที่ขาลอยในเชิงปฏิบัตินั้นคือปัญหาที่แท้ […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.