‘National Geographic Photo Ark’ เปิดบันทึกภาพถ่ายสัตว์กว่า 15,000 สปีชีส์ ในสวนสัตว์ทั่วโลกมากกว่า 50 ประเทศ วันที่ 11 – 29 ก.ค. 67 ที่ชั้น 3 โซน Living Hall สยามพารากอน

ปี 2006 คือปีแรกที่โจเอล ซาร์ทอรี (Joel Sartore) เริ่มต้นภารกิจ ‘Photo Ark’ ถ่ายภาพสัตว์ทุกสายพันธุ์ในสวนสัตว์ โดยเริ่มต้นที่สวนสัตว์บ้านเกิดของเขาในเมืองลิงคอล์น (Lincoln) รัฐเนแบรสกา (Nebraska) สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเขาก็ออกเดินทางไปมากกว่า 50 ประเทศ และเก็บบันทึกภาพสิ่งมีชีวิตตามสวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไปมากกว่า 15,000 สปีชีส์ เพื่อกักเก็บภาพความทรงจำของสัตว์ต่างๆ ก่อนที่มันจะสูญพันธุ์ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนปกปักรักษามันให้อยู่ต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และในวันที่ 11 – 29 กรกฎาคมนี้ ชาวกรุงเทพฯ ก็จะได้ชื่นชมกับภาพถ่ายของซาร์ทอรีกันกับตา ในนิทรรศการ ‘National Geographic Photo Ark’ ซึ่งงานนี้จะมีภาพสัตว์ประจำถิ่นของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาร่วมแสดง รวมถึงมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่าให้เพลิดเพลินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าอยากทำความรู้จักกับโครงการ Photo Ark ให้มากขึ้น ไปเรียนรู้เพิ่มเติมกันได้ที่ www.natgeophotoark.org แล้วอย่าลืมไปเยี่ยมชมนิทรรศการกันในช่วงวันที่ 11 – 29 ก.ค. นี้ กันล่ะ

‘Photography Never Lies – ภาพถ่ายไม่โกหก’ นิทรรศการที่จะตั้งคำถามว่า รู้ได้อย่างไร ภาพถ่ายตรงหน้าคือภาพของความจริง

ว่ากันว่าภาพถ่ายคือเครื่องมือที่สะท้อนความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมา สิ่งที่อยู่ในภาพคือสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่จ้อจี้ แต่มันจริงเหรอ ‘Photography Never Lies – ภาพถ่ายไม่โกหก’ คือนิทรรศการที่ภัณฑารักษ์ ‘อัครา นักทำนา’ รวบรวมผลงานจากศิลปินนานาชาติกว่า 13 ท่านที่มาท้าทายความเชื่ออันยาวนานของเราว่า ‘ภาพถ่ายคือเครื่องมือสะท้อนความจริง’ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่ผ่านการซ้อนทับเติมแต่งองค์ประกอบ ภาพที่สรรค์สร้างจาก AI หรือแม้แต่ภาพที่เกิดจากการถ่ายธรรมดาๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ผลงานภาพในนิทรรศการล้วนเกิดขึ้นมาผ่านกระบวนการสร้างสรรค์ดัดแปลง และมุมมองเฉพาะตัวของศิลปิน ซึ่งสิ่งนี้ชวนเรากลับมาทบทวนบทบาทของภาพถ่ายกันอีกครั้ง เพราะภาพถ่ายอาจไม่ใช่เพียงภาพสะท้อนความจริง แต่เป็นเครื่องมือแสดงความคิดและตัวตนของศิลปินหลังเลนส์ หรือเป็นเครื่องมือรับใช้ของใครบางคน พิสูจน์ความจริงกับตาของตัวเองในนิทรรศการ Photography Never Lies – ภาพถ่ายไม่โกหก จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ – 8 กันยายน 2567 ที่ห้องนิทรรศการหลัก ชั้น 7 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

‘ผกา เดอ พลอว – Blooms with The Wind Blows’ ตามรอยกอดอกหญ้า ตัวแทนผู้คนและความทรงจำที่กระจัดกระจายเพราะพิษสงคราม

‘ผกา เดอ พลอว – Blooms with The Wind Blows’ ตามรอยกอดอกหญ้า ตัวแทนผู้คนและความทรงจำที่กระจัดกระจายเพราะพิษสงคราม

Photo Mode บันทึกความสวยงามในเกมผ่านภาพถ่ายจากเกม

จากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ไม่ได้เพียงทำให้การใช้ชีวิตสะดวกขึ้นเท่านั้น แต่สื่อบันเทิงก็ได้ผลพลอยได้ตรงนี้ด้วย เราต้องยอมรับก่อนว่าทุกวันนี้วิดีโอเกมได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราทุกคนไปแล้ว ซึ่งเป้าหมายของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน บางคนอาจเล่นเกมเพราะความบันเทิง บางคนอาจเล่นเป็นอาชีพ หรือแม้กระทั่งบางคนเล่นเกมเพื่อซึมซับความสวยงามจากศิลปะในเกมเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นภาพ แสง สี เสียง ที่ถูกจำลองออกมาได้อย่างสมจริง ราวกับว่าเราได้เข้าไปอยู่ในพื้นที่หรือเหตุการณ์เหล่านั้นด้วย ผลงานชุด Photo Mode ของ ‘เก่ง-กฤษฎา ศรีพรหม’ คือการใช้โหมดถ่ายภาพจากเกม เพื่อบันทึกความสวยงามและความประทับใจจากในเกม เช่น เหตุการณ์ ภูมิทัศน์ และตัวละครสำคัญ จนออกมาเป็นภาพชุดนี้ ติดตามผลงานของ กฤษฎา ศรีพรหม ต่อได้ที่ twitter.com/Keng_console และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

#เหล็กดัดfun

#เหล็กดัดfun เป็นผลพวงของการเดินเล่นอย่างจริงจังตลอด 7 ปีที่ผ่านมา ความสนุกของการเก็บภาพเหล็กดัดเหล่านี้อยู่ที่ความไม่คาดฝันว่าจะได้เจอ บางครั้งถนนเส้นเดิมที่เดินผ่านทุกวัน เพียงเงยหน้ามองตามนกที่บินตัดหน้าไปก็เจอว่าเหล็กดัดลายประหลาดอยู่ตรงนั้นมาตลอด แม้เหล็กดัดจะอยู่บนวัตถุที่กั้นขวางผู้คนออกจากกัน ประกาศอาณาบริเวณ ขีดเส้นความเป็นส่วนตัว แต่เหล็กดัดกลับเชื่อมโยงเราเข้าไว้กับความเป็นเมือง ทุกครั้งที่มีโอกาสได้เยี่ยมเยียนจังหวัดที่ไม่เคยไป สถานที่ที่ไม่รู้จัก หรือแม้ในพื้นที่ที่เขาว่ากันว่าไร้แลนด์มาร์กดึงดูดใจ จึงไม่เคยเป็นเรื่องน่ากังวลสำหรับเรา เพราะขอเพียงให้มีโอกาสได้เดินเล่น ก็รับรองว่ามีโอกาสพบเห็นเหล็กดัดที่ทำให้ใจเต้นรัวได้ไม่ยาก หน้าต่างบ้าน ซุ้มทางเข้าวัด รั้วมัสยิด กรอบหน้าต่างศาลเจ้า ในชุมชนคริสต์ ในชุมชนมุสลิม ประตูสถานที่ราชการ โรงเรียน มหาวิทยาลัย ตลาด ร้านค้า ตึกแถว ล้วนแล้วแต่มีเรื่องราวที่ต้องการจะบอกเล่าให้เราฟังเสมอ ใครเจอเหล็กดัดลายสนุกๆ มาแบ่งกันดู ผลัดกันชมผ่าน #เหล็กดัดfun และแฮชแท็กของเพื่อนร่วมส่องเหล็กดัดอย่าง #grillsofthailand กับ #grillsoftheworld ได้เลย ติดตามผลงานของ สุวิชา พิทักษ์กาญจนกุล ต่อได้ที่ Instagram : ciawush และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

Eye Contact สบสายตา

เมื่อการออกเดินทางเพื่อไปสำรวจพื้นที่ต่างๆ จากความตั้งใจ กลับกลายเป็นความบังเอิญในการค้นพบและได้ทำความรู้จักกับสิ่งที่แปลกใหม่ ที่ทั้งพิเศษและแตกต่างออกไปจากข้อจำกัดเดิมที่มี ราวกับว่าได้สบตากับบุคคลแปลกหน้าโดยบังเอิญ และได้รับรู้เรื่องราว คำบอกเล่า และประสบการณ์ต่างๆ จากคนแปลกหน้าผู้นั้น ‘Eye Contact’ ในความหมายโดยทั่วไปคือการที่ดวงตาของบุคคลทั้งสองฝ่ายเกิดการสบตาระหว่างกันและกัน แต่สำหรับตัวเรานั้นความหมายกลับต่างออกไปโดยสิ้นเชิง การสบตาไม่ได้เป็นแค่เพียงการจ้องมองกันระหว่างสิ่งมีชีวิตเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการที่ดวงตาของเราได้ผสานเข้ากับบางสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกดึงดูด แม้กระทั่งสิ่งที่ไม่มีชีวิต ราวกับว่าสิ่งนั้นกำลังสื่อสาร ถ่ายทอดเรื่องราว อารมณ์ และความรู้สึกต่างๆ ออกมา โดยไร้ซึ่งดวงตาที่ขยับเคลื่อนไหวหรือบ่งบอกถึงความรู้สึกนึกคิดได้ แต่กลับเป็นตัววัตถุที่อยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมและบรรยากาศต่างๆ เหล่านี้ต่างหากที่เป็นตัวเชื่อมโยง สื่อสาร และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ อย่างเช่น กระจกในพุ่มหญ้าที่สะท้อนเข้ากับแสงแดด เศษแจกันที่กระจัดกระจายอยู่ตามพื้น หรือต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ริมรั้วท่ามกลางเศษไม้ใบหญ้า สิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วๆ ไป แต่ถ้าหากเราลองหยุดอยู่นิ่งๆ และลองสัมผัสไปกับบรรยากาศรอบๆ เราอาจจะค้นพบบางสิ่งบางอย่างที่กำลังพยายามสื่อสารกับเราอยู่ จนเราเองก็อดไม่ได้ที่จะจินตนาการถึงเรื่องราวและที่มาที่ไปของสิ่งของเหล่านี้ ติดตามผลงานของ ณปภัช โสภณวิชาญกุล ต่อได้ที่ Instagram : hatebbroccoli และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘นภัสรพี อภัยวงศ์’ ศิลปินผู้ใช้ AI สร้างสรรค์ผลงานภาพถ่ายที่เต็มไปด้วยความเหนือจริง

เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาตามยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน สิ่งอำนวยความสะดวกสบายของพวกเราล้วนเปลี่ยนแปลงไป จากที่เคยเข้ามาช่วยงานเราเล็กๆ น้อยๆ ตอนนี้เทคโนโลยีเดินหน้ามาถึงวันที่มันมีมันสมองในตัว สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานออกมาจากชุดข้อมูลที่เราป้อนเข้าไป ส่งผลให้การค้นหา ‘ความจริง’ ของเราถูกขยายขอบเขตไปไกลเกินกว่าจะกำหนดได้ เรื่องที่ไม่เคยรู้ก็ได้รู้ เรื่องที่น่ารู้น่าสนใจก็ประดากันเข้ามาเป็นประตูสู่โลกใบใหม่ที่มีหลากร้อยพันมิติให้เลือกค้นหาหรือใช้ประโยชน์ จากยุคปัญญาคนมาถึงยุคปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งยุคสมัยหรืออาจเรียกว่าเป็นคู่หูใหม่ที่หลากหลายวงการต่างนำไปใช้สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาให้ได้เห็นกันทุกวัน เช่นเดียวกับนิทรรศการภาพถ่ายครั้งแรกในไทยของ ‘ตรัส-นภัสรพี อภัยวงศ์’ ผู้นำ AI มาร่วมด้วยช่วย Generate ผลงานภาพชุด Resonances of the Concealed ของเขา เพื่อบันทึกช่วงเวลาหนึ่งเอาไว้ และวันนี้ภาพของเขาก็กำลังแขวนอยู่บนผนังสีนวลตาชั้นสองของแกลเลอรีสุดสงบ รอให้ทุกคนแวะเวียนมาชมที่ ‘Kathmandu Photo Gallery’ (คัดมันดูโฟโต้แกลเลอรี) ในซอยสีลม 20 ตรงข้ามวัดแขก Pale_Flare ระดับแสงที่ตรงกับความรู้สึก ตรัสเริ่มต้นเล่าว่า จากช่วงน้ำท่วมในปี 54 ระหว่างย้ายออกจากบ้านไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ความเปื่อยๆ เบื่อๆ ก็เข้าครอบงำ พอดีกันกับที่น้องของเขาได้หิ้วหนังสือสอนถ่ายภาพเบื้องต้นและกล้อง Canon 7D เข้ามาให้ทำความรู้จัก การเรียนรู้ครั้งใหม่ของตรัสจึงเกิดขึ้น “ช่วงแรกๆ ก็ถ่ายรูปไปเรื่อย ไม่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร […]

07:00 AM สภากาแฟและอาหารเช้า

ในช่วงปลายเดือนกันยายนจนถึงต้นเดือนตุลาคม จากการพยากรณ์อากาศพบว่ามีฝนตกมากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่แทบทุกวัน สำหรับมนุษย์เงินเดือนอย่างผมมันเป็นปัญหาไม่ใช่น้อยกับการต้องเดินทางไปทำงานยังสถานที่ต่างๆ หรือแม้กระทั่งการหาอาหารเช้าทาน ด้วยช่วงเวลาอันเร่งรีบบางครั้งก็ทำให้เราไม่มีตัวเลือก จนต้องจำใจกดแอปพลิเคชันสั่งอาหารผ่านร้านเดิมๆ เมนูเดิมๆ กลายเป็นช่วงเวลาที่แสนน่าเบื่อหน่ายไปในที่สุด อนึ่งปัญหาของผมกับการสั่งอาหารเช้านั้นมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นการใช้เวลาเสาะหาเลือกร้านและเมนูอาหาร เพราะด้วยตัวเลือกที่เยอะ ทำให้ผมนั่งๆ นอนๆ ไถหน้าจอมือถืออยู่นานจนไม่สามารถตัดสินใจได้สักทีว่าจะกดสั่งอะไรดี ไหนจะปริมาณอาหารที่มากเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหวในตอนเช้า และปัญหาสุดท้ายที่หนักหนาสาหัสสำหรับผมก็คือ เมื่อรับอาหารจากไรเดอร์มาแล้ว ผมก็ทำได้เพียงแค่นำมันขึ้นมานั่งทานบนห้องเงียบๆ คนเดียว โดยมีรัฐสภาและการจราจรบนท้องถนนเป็นฉากนอกหน้าต่าง ทำหน้าที่เป็นวิวทิวทัศน์เพียงอย่างเดียวที่ผมสามารถใช้พักสายตาได้ ผมใช้ชีวิตซ้ำไปซ้ำมาจนเป็นกิจวัตร ความเบื่อหน่ายและความเหงาค่อยๆ กัดกินไปเรื่อยๆ จนในที่สุดผมก็ตัดสินใจที่จะคุยกับใครสักคน ผมกดเบอร์โทรศัพท์อย่างคุ้นเคย…ปลายสายรับสาย “ฮัลโหล ว่าไงวิน… “ทำไมไม่ลองหาเวลาออกจากคอนโดฯ ไปพวกร้านกาแฟหรือร้านอาหารเช้าดูล่ะ มันก็มีนะที่ไม่ไกลจากคอนโดฯ เอ็ง” เสียงแนะนำจากปลายสายแนะนำอย่างต่อเนื่อง และกระตือรือร้นเมื่อได้ฟังรูทีนชีวิตที่แสนน่าเบื่อของผม “สมัยก่อนตอนเอ็งเรียนอยู่ประถมฯ หลังจากไปส่งที่โรงเรียนเสร็จ ป๊าก็นั่งรถเมล์สาย 56 ไปร้านหนึ่งที่อยู่ตรงแยกวิสุทธิกษัตริย์ ‘ร้านเฮี้ยะไถ่กี่’ เป็นร้านเก่าแก่ที่มีมานานแล้ว สมัยก่อนตอนป๊าทำงานธนาคารแถวนั้นก็แวะไปนั่งกินประจำ เมื่อก่อนร้านนี้ถือว่าเป็นสภากาแฟเลยนะ เพราะหลายครั้งที่พวกคอลัมนิสต์มานั่งคุยกันเรื่องนู้นเรื่องนี้ และถกเถียงกันเรื่องข่าวสารหรือการเมือง “อีกร้านคือ ‘ร้านหน่ำเฮงหลี’ ตรงแยกหลานหลวง เอ็งจำได้ไหมว่าสมัยก่อนเวลาที่เอ็งเดินไปซื้อหนังสือการ์ตูนของสำนักพิมพ์วิบูลย์กิจ ร้านเขาจะอยู่แถวนั้น เอ็งเดินมานิดหนึ่งก็เจอเลย อยู่ตรงแยกพอดี ร้านนี้สังขยาอร่อยลองไปกินดู […]

Checkmate ซุ้มหมากรุก

‘ไม่ดูตาม้าตาเรือ’ สำนวนสุภาษิตไทยที่เราทุกคนคุ้นเคยและได้ยินกันบ่อยๆ มักใช้กับการตำหนิคนที่ไม่รอบคอบและไม่ระมัดระวัง ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าที่มาของสำนวนนี้จะมาจากกีฬาหมากรุก ซีรีส์ภาพถ่าย Lost and Found ประจำสัปดาห์นี้ ขอพาไปพบกับงานอดิเรกที่ทุกคนรู้จักกันดี และเมื่อก่อนเราสามารถพบเห็นกิจกรรมเหล่านี้ได้ตามพื้นที่ต่างๆ ของชุมชน แต่ปัจจุบันเรากลับเห็นภาพนี้น้อยลงเรื่อยๆ เมื่อก่อนตอนมีเวลาว่าง ด้วยความที่เป็นลูกชายคนเดียวของบ้านและไม่มีเพื่อนบ้านที่เป็นรุ่นราวคราวเดียวกันในละแวกนั้นเลย กิจกรรมของผมส่วนใหญ่คือการเดินออกไปที่สะพานเหล็กเพื่อซื้อแผ่นเกม และเดินกลับบ้านมาเล่นเกม ผมใช้ชีวิตส่วนใหญ่ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบันไปกับการเล่นเกม ต้องยอมรับเลยว่าการเล่นเกมนั้นได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมไปแล้ว แต่บางครั้งความเหงาก็ก่อกำเนิดขึ้นในจิตใจ เพราะไม่ได้พบเจอ พูดคุยกับเพื่อน หรือกระทั่งเล่นกับเพื่อนตามช่วงชีวิตของเด็กในวัยนั้นที่ควรมี ต้องบอกก่อนว่าในอดีตบ้านของผมที่สำเพ็งเป็นอาคารพาณิชย์สูงห้าชั้น ด้านล่างแบ่งให้ร้านขายผ้าเช่า ผมจึงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ที่ชั้นสามของบ้านเท่านั้น ด้วยความเหงาและอยากหาเพื่อนคุยเล่น ผมตัดสินใจเดินลงไปที่ชั้นหนึ่งของบ้าน และขอร่วมวงเล่นหมากรุกกับพี่ๆ ที่ทำงานอยู่ในร้านขายผ้าตอนนั้น นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ผมมีประสบการณ์มีเพื่อนต่างวัยเป็นครั้งแรกของชีวิต เวลาล่วงเลยมาเกือบยี่สิบปีที่ผมไม่ได้เล่นหมากรุกเลย ด้วยสภาพสังคมที่ค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป มีกิจกรรมทางเลือกมากขึ้น กิจกรรมที่ผมทำทดแทนการเล่นหมากรุกคือการเล่น Trading Card Game เพียงแค่พกสำรับการ์ดติดตัวเราก็สามารถไปร่วมเล่นและทำความรู้จักกับคนอื่นๆ ในสถานที่ใหม่ๆ ที่มีอย่างแพร่หลายมากขึ้นในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ผมมองว่ากีฬาหมากรุกก็ไม่ต่างจาก Trading Card Game เท่าไรนัก เพียงแค่ในปัจจุบันพื้นที่ที่ถูกจัดให้เล่นหมากรุกมีน้อยลงจากเมื่อก่อน ด้วยความสงสัยและอยากเล่นอีกครั้ง ผมได้หาข้อมูลจนไปเจอซุ้มหมากรุกสองซุ้มที่น่าสนใจและไม่ไกลจากคอนโดฯ ที่พักอาศัยมากนัก ที่แรกที่ผมเลือกเดินทางไปคือซุ้มใต้สะพานพระราม 8 ในวันนั้นผมเดินทางถึงจุดหมายเวลาประมาณบ่ายสามกว่าๆ สิ่งที่พบเจอคือภาพคุณน้าคุณลุงนั่งเล่นหมากรุกกันอย่างเอาจริงเอาจัง ห้อมล้อมไปด้วยบริเวณด้านข้างที่มีร้านรถเข็นขายอาหารและเครื่องดื่มอยู่พอสมควรตามขนบของสวนสาธารณะที่ต้องมีทุกที่ […]

The Existence of Memory การดำรงอยู่ของเศษเสี้ยวความทรงจำ

เรื่องราวและร่องรอยของเศษเสี้ยวความทรงจำในวัยเยาว์ที่ยังหลงเหลือในปัจจุบัน มักถูกกระตุ้นขึ้นเมื่อเราเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ และพบเจอสิ่งของ วัตถุ บรรยากาศ กลิ่นอาย หรือแม้กระทั่งความรู้สึก ซึ่งทำให้หวนนึกถึงความทรงจำในอดีตที่ค่อยๆ กลับมาชัดเจน ก่อนจะผสานซ้อนทับเข้ากับเหตุการณ์ที่ปรากฏอยู่ตรงหน้าในปัจจุบัน จนเกิดเป็นจินตภาพในภวังค์ความคิด โดยถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของผลงานภาพถ่าย ในวัยเด็ก ที่อยู่อาศัยหลักๆ ของเราคือบ้านยายและบ้านหลังเก่าที่อยู่พระประแดง สถานที่แห่งนี้เป็นที่ที่เราอาศัยอยู่มานานนับสิบปี ทำให้ได้คลุกคลีกับบรรยากาศและสภาพแวดล้อมรอบๆ มาโดยตลอด จนเป็นเรื่องชินตาและซึมซับเข้าไปในความทรงจำมาเรื่อยๆ หรือแม้แต่วัตถุสิ่งของบางอย่างก็มีความทรงจำร่วมกับบุคคลในอดีต แต่หลังจากนั้นไม่นานครอบครัวย้ายมาอยู่ที่นนทบุรี และทุกครั้งที่ต้องเดินทางไปยังสถานที่ต่างๆ หรือตอนที่นั่งในรถแล้วมองข้างทาง วัตถุสิ่งของต่างๆ ที่ถูกทิ้งไว้ก็ทำให้ความรู้สึกและบรรยากาศที่พระประแดงย้อนกลับคืนมาเป็นภาพจำเก่าที่ซ้อนทับขึ้นมาใหม่ในเหตุการณ์ปัจจุบัน ติดตามผลงานของ ณปภัช โสภณวิชาญกุล ต่อได้ที่ Instagram : hatebbroccoli และหากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

2023 Chinese Opera บันทึกเรื่องงิ้วปี 2566

เสียงการแสดงงิ้วจากเทปคาสเซ็ตที่ถูกเปิดโดยอากงของผมดังมาจากชั้นสองของบ้านในทุกๆ เช้าจนเป็นกิจวัตร ภาพของการปิดถนนเส้นเยาวราชจนถึงสำเพ็งเพื่อจัดงานฉลองเทศกาลตรุษจีน ขนมสาคูที่ต้มด้วยน้ำตาลกรวดและเปลือกส้มของเหล่าบรรดาแม่ยกที่ทำมาจากบ้าน เพื่อนำมาแจกจ่ายให้กับคนที่มาร่วมงานศาลเจ้า ทั้งหมดนี้คือความทรงจำของผมที่มี ‘งิ้ว’ เป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ ตั้งแต่ที่ผมย้ายออกจากบ้านที่สำเพ็งไปในช่วงวัยสิบสามปีก็ไม่เคยได้มีประสบการณ์ร่วมกับงิ้วอีกเลย จนกระทั่งปี 2563 ที่ทาง Documentary Club นำภาพยนตร์เรื่อง Farewell My Concubine ที่แสดงนำโดยเลสลี จาง มาฉาย ผมเองก็เป็นหนึ่งในคนที่เข้าชมในตอนนั้น หลังออกมาจากโรงภาพยนตร์ก็เกิดคำถามขึ้นกับตัวเองมากมาย หนึ่งในคำถามนั้นคือ การแสดงงิ้วในไทยที่เราเคยเห็นเมื่อ 15 ปีก่อนตอนยังเป็นเด็ก ปัจจุบันนี้ยังมีอยู่ไหม เวลาผ่านไปสามปี ประจวบเหมาะกับแผนการทำโปรเจกต์พิเศษ Lost & Found ผมจึงถือโอกาสนี้มาหาคำตอบคลายความสงสัยของตัวเองที่ติดค้างมานาน ก่อนอื่นเลยผมต้องขอบคุณ ‘ท็อบ’ โปรดิวเซอร์หน้ามนคนรามคำแหงของ Urban Creature ที่คอยช่วยผมหาคณะงิ้วที่ยังอยู่และเป็นธุระติดต่อให้ และ ‘พี่พงษ์’ จากเพจใจรักงิ้วที่คอยแนะนำหลายๆ เรื่องเกี่ยวกับงิ้วให้ผม ในช่วงเย็นวันหนึ่ง ผมนั่งมอเตอร์ไซค์จากคอนโดฯ ไปที่ศาลเจ้าปุนเถ้ากง ย่านสี่พระยา เพื่อไปดูการแสดงงิ้วของคณะซิงอี่ไล้เฮง เมื่อผมมาถึง คนแรกที่ได้เจอคือพี่พงษ์จากเพจใจรักงิ้วที่กำลังง่วนกับการประกอบโทรศัพท์เข้ากับขาตั้ง เพื่อเตรียมบันทึกการแสดงสดของวันนั้น ผมพูดคุยกับพี่พงษ์ได้ไม่นานเท่าไร ‘เจ๊กี’ เจ้าของคณะงิ้ว […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.