กางพิมพ์เขียว ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ปารีส โอลิมปิก 2024 ที่ออกแบบมาให้ยั่งยืน ช่วยพลิกฟื้นเมืองในอนาคต

ค.ศ. 1924 คือปีที่ปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกเป็นครั้งแรก และเป็นปีแรกของโอลิมปิกที่มีการสร้าง ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ขึ้นมาเพื่ออำนวยความสะดวกให้เหล่านักกีฬา เพราะก่อนหน้านั้น นักกีฬาต้องหอบหิ้วกระเป๋าไปนอนตามโรงแรม โรงเรียน หรือแม้แต่บนเรือที่พวกเขาใช้เดินทางมาแข่งขัน หมู่บ้านนักกีฬาตอนนั้นเป็นเพียงโครงสร้างชั่วคราว เมื่อการแข่งขันปิดฉาก อาคารทั้งหลายก็ถูกรื้อทิ้งจนหมด แม้หมู่บ้านนักกีฬาแห่งแรกจะถึงจุดจบ แต่นี่คือจุดเริ่มต้นของประเพณีการสร้างหมู่บ้านนักกีฬาในงานโอลิมปิกครั้งต่อๆ มา ค.ศ. 2024 หนึ่งร้อยปีให้หลัง ปารีสได้โอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกอีกครั้ง พร้อมการเตรียมตัวขนานใหญ่เพื่อให้เมืองสามารถรองรับนักกีฬา เจ้าหน้าที่ และผู้ชมหลายแสนหลายล้านคนที่แห่แหนมาในเมือง แน่นอน ‘หมู่บ้านนักกีฬา’ ก็เกิดขึ้นตามมาด้วย ในบริบทโลกที่เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม แทนที่หมู่บ้านนักกีฬาจะสร้างมาแล้วรื้อทิ้ง หมู่บ้านนักกีฬาแห่งใหม่ในปารีส โอลิมปิก 2024 กลับสร้างด้วยวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยึดหลักความยั่งยืนเป็นสำคัญ และคิดมาตั้งแต่แรกเลยว่า อาคารทั้งหลายจะกลายสภาพเป็นเมืองขนาดย่อมที่ประกอบด้วยที่อยู่อาศัย ร้านค้า ออฟฟิศ สวนสาธารณะ เป็นต้น หมู่บ้านนักกีฬาแห่งนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดแซน-แซ็ง-เดอนี (Seine-Saint-Denis) จังหวัดชานเมืองตอนเหนือของปารีส และอยู่ติดกับแม่น้ำแซน (Seine) แม่น้ำสายหลักของกรุงปารีส โครงการมีพื้นที่ใหญ่โตกว่า 119,000 ตารางเมตร และได้ Dominique Perrault Architecture ออฟฟิศสถาปัตยกรรมจากฝรั่งเศส เป็นหัวเรือวางแผนแม่บท (Master […]

ผ่าแผนเดินเกมของปารีส​ โอลิมปิก 2024 เพื่อพิชิตเส้นชัยโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด

การจัดงานโอลิมปิกให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ฟังแล้วช่างเหนือจริง เพราะงานโอลิมปิกคือมหกรรมกีฬาระดับโลกที่มีการแข่งขันเกิดขึ้นกว่าหลายร้อยรายการ มีนักกีฬาเข้าร่วมหลักหมื่น มีผู้ชมมาเกาะติดขอบสนามกันหลักล้าน การจัดงานระดับยักษ์แบบนี้ หลีกหนีไม่พ้นต้องเผาผลาญทรัพยากรมหาศาลเพื่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับมวลมหาประชาชนที่หลั่งไหลมา แต่เพราะวิกฤตสิ่งแวดล้อมโลกทวีความรุนแรงขึ้นทุกวัน การหันมาใส่ใจกับสิ่งแวดล้อมเลยเป็นเรื่องหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกต่อไป เมื่อปารีสได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดงานโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อน 2024 เมืองน้ำหอมจึงตั้งปณิธานว่า โอลิมปิกครั้งนี้จะเป็นโอลิมปิกที่เป็นมิตรกับโลกที่สุด มีการประเมินไว้ว่า งานโอลิมปิกในกรุงรีโอเดจาเนโร ปี 2016 และกรุงลอนดอน ปี 2012 ปล่อยคาร์บอนออกมากว่า 3.5 ล้านตัน สำหรับโอลิมปิกครั้งนี้ ปารีสตั้งเป้าสุดทะเยอทะยานไว้ว่าจะหั่นตัวเลขเหลือเพียงครึ่งหนึ่ง คือ 1.75 ล้านตัน น้อยกว่างานโอลิมปิก 2020 ที่โตเกียวซึ่งจัดในช่วงล็อกดาวน์ และปล่อยก๊าซออกมา 1.9 ล้านตันเสียด้วยซ้ำ งานนี้ปารีสพร้อมเดินเกมทุกวิถีทาง ตั้งแต่เรื่องใหญ่อย่างการก่อสร้าง การเดินทาง ไปจนถึงเรื่องเล็กอย่างอาหารการกิน มาเรียนรู้ไปด้วยกันว่าปารีสวางแผนไว้อย่างไร เพื่อพิชิตเส้นชัยการเป็นโอลิมปิกที่รักษ์โลกที่สุด ไม่เน้นสร้างใหม่ เน้นใช้สถานที่เดิม 95 เปอร์เซ็นต์ของการแข่งขันโอลิมปิกทั้งหมดจะจัดขึ้นในสนามกีฬาที่มีอยู่เดิม หรือในแลนด์มาร์กของเมืองที่ได้รับการปรับปรุงขึ้นใหม่ เช่น กีฬาฟันดาบและเทควันโด ที่จะประชันกันในอาคาร Grand Palais ซึ่งสร้างมาตั้งแต่ปี 1897 หรือกีฬาขี่ม้า ปัญจกีฬา […]

ชนะโอลิมปิก = ได้หอไอเฟลกลับบ้าน เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024 รีไซเคิลได้ ที่ภายในมีชิ้นส่วนจากเศษเหล็กหอไอเฟล

เหรียญรางวัลสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่แสดงถึงความพิเศษและแนวคิดการจัดงานของปีนั้นๆ เช่นเดียวกับ ‘เหรียญโอลิมปิกปารีส 2024’ ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจ ด้วยการบรรจุเศษเหล็กขนาดหกเหลี่ยมที่มาจากชิ้นส่วนจริงที่เหลือใช้จากการสร้างหอไอเฟลในปี 1889 ถือเป็นการผสมผสานเหรียญรางวัลเข้ากับสัญลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของประเทศฝรั่งเศสอย่างหอไอเฟล จากฝีมือการออกแบบของแบรนด์ Chaumet บริษัทอัญมณีและนาฬิกาสุดหรูสัญชาติฝรั่งเศสที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1780 โดยแต่ละมุมของชิ้นส่วนหกเหลี่ยมจากหอไอเฟลจะถูกตรึงไว้ด้วย ‘กรงเล็บ’ (Claw) ด้วยเทคนิคการทำเครื่องประดับแบบดั้งเดิม จนมีรูปร่างออกมาเป็นลวดลาย ‘Clous de Paris’ ที่มักใช้ในงานหน้าปัดนาฬิกา นอกจากนี้ ส่วนรอบนอกของเหรียญรางวัลทั้งในเหรียญทองและเหรียญเงิน ยังทำมาจากโลหะที่ได้รับการรับรองจาก Responsible Jewellery Council (RJC) ว่ารีไซเคิลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เหรียญทองแดงจะทำมาจากเศษวัสดุจากการผลิตเหรียญของโรงกษาปณ์ Monnaie de Paris ที่มีอายุมานานกว่าพันปี ถือเป็นอีกหนึ่งส่วนที่ทำให้เห็นว่าโอลิมปิกปารีส 2024 นี้ให้ความสำคัญกับโลก และมุ่งเป้าในการเป็นโอลิมปิกที่ยั่งยืนที่สุด ไม่เว้นแม้กระทั่งตัวเหรียญรางวัลเอง Sources :Dezeen | t.ly/YSLrwOlympics | t.ly/Hwxby, t.ly/3oveD

‘ปารีส’ เมือง 15 นาที ที่อยากให้ผู้คน ‘ใกล้ชิด’ กับ ‘ชีวิตดีๆ’ มากขึ้น

ย้อนไปเมื่อปี 2020 แอนน์ อีดัลโก (​​Anne Hidalgo) นายกเทศมนตรีแห่งกรุงปารีสได้เสนอแนวคิดที่จะเปลี่ยนเมืองหลวงของฝรั่งเศสที่แสนจะวุ่นวายและเต็มไปด้วยกิจกรรมคึกคัก ให้กลายเป็น ‘เมือง 15 นาที’ (15-minute City) แนวคิดนี้คือการปรับปรุงและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คน โดยการสร้างเมืองที่ผู้อยู่อาศัยสามารถเข้าถึงสิ่งที่พวกเขาต้องการได้ในระยะเวลา 15 นาทีด้วยการเดินหรือปั่นจักรยาน เพื่อลดการเดินทางจากบ้านไปยังสถานที่ต่างๆ ให้เหลือน้อยที่สุด เช่น สถานที่ทำงาน โรงเรียน โรงพยาบาล สวนสาธารณะ ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ทั้งหมดนี้เป็นไปโดยหวังว่าปารีสโฉมใหม่จะช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนให้คล่องตัว มีสุขภาพดี และยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงต้องการสร้างสังคมที่โอบรับคนทุกกลุ่มและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านมา 4 ปี มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นกับปารีสบ้าง และมหานครแห่งนี้เข้าใกล้การเป็นเมือง 15 นาทีมากขนาดไหนแล้ว คอลัมน์ City in Focus ขอชวนไปสำรวจและหาคำตอบพร้อมกัน เปลี่ยนจากการขับรถเป็นปั่นจักรยาน เป้าหมายแรกของกรุงปารีสคือการเปลี่ยนให้คนใช้รถยนต์น้อยลง และหันมาปั่นจักรยานมากขึ้น นายกฯ อีดัลโกอธิบายว่า การใช้จักรยานในเมืองจะแสดงให้เห็นว่าชาวปารีสสามารถปรับวิถีชีวิตของตัวเองได้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กรุงปารีสได้ออกข้อจำกัดเกี่ยวกับการใช้รถยนต์ เช่น กำหนดให้เขตเมืองเป็นเขตควบคุมมลพิษต่ำ และกำหนดให้ทุกวันอาทิตย์แรกของเดือนเป็นวันปลอดรถยนต์ รวมถึงเพิ่มเลนจักรยานทั่วเมือง […]

ปารีสฉีดอะดรีนาลินให้ริมแม่น้ำแซนคึกคัก ด้วย ‘Annette K’ ศูนย์ออกกำลังกายลอยน้ำ ที่ชวนทุกคนมาว่ายน้ำพร้อมชมเมือง

เราคงคุ้นเคยกับการเห็นพื้นที่ริมน้ำเป็นสวนสาธารณะ หรือเป็นที่จอดเรือให้มานั่งรับประทานอาหารรับลมชมวิว แต่ก็น่าคิดเหมือนกันว่า เราจะพัฒนาพื้นที่ริมน้ำอย่างไรได้บ้าง ถึงจะยกระดับคุณภาพชีวิตคนเมืองให้ดีขึ้น เมืองปารีสเปิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เราเห็นกับ ‘Annette K’ ศูนย์ออกกำลังกายที่ลอยตัวอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำแซน (Seine) ศูนย์กีฬาประกอบด้วยสระว่ายน้ำกลางแจ้งขนาดมาตรฐานโอลิมปิก พร้อมลู่วิ่งชั้นดาดฟ้าที่เปิดโอกาสให้ออกกำลังกายไป ชมความงามของเมืองปารีสไป นอกจากนั้นแล้ว Annette K ยังเพียบพร้อมด้วยยิม ศูนย์กายภาพบำบัด รวมถึงร้านอาหารและร้านกาแฟเอาไว้รองท้องเวลาหิว และเมื่ออาทิตย์ลับฟ้า ศูนย์กีฬาแห่งนี้จะกลายร่างเป็นศูนย์บันเทิงยามราตรี พื้นที่ดาดฟ้ากลายเป็นฟลอร์ให้สายปาร์ตี้มาเต้นจนลืมโลก เรียกได้ว่าเปิดพื้นที่ให้ชาวเมืองใช้กันทั้งวันทั้งคืนเลยทีเดียว Seine Design สถาปนิกของโครงการนี้ออกแบบศูนย์กีฬาโดยเน้นใช้ไม้ เหล็ก และกระจกในการก่อสร้าง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้ดูคล้ายเรือ เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์แม่น้ำแซนที่เกี่ยวพันกับการเดินเรืออย่างยาวนาน โครงการ Annette K เกิดขึ้นได้หลังจาก Seine Design ร่วมกับ WHY NOT Productions ชนะการประกวด ‘Reinventing the Seine’ ในปี 2016 เป็นการประกวดที่เมืองปารีสจัดขึ้นเพื่อเสาะหาไอเดียพัฒนาแม่น้ำแซนซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของเมือง อยากรู้เหมือนกันว่า ถ้าในเมืองไทยจัดงานประกวดแบบนี้ เราจะเห็นไอเดียแปลกใหม่อะไรบ้างที่จะทำให้พื้นที่ริมน้ำดีขึ้น และทำให้ชีวิตของคนเมืองดีขึ้นด้วย Sources :Annette K […]

Cycloïd Piazza ลานสเกตเฉดสีภาพวาดในยุคเรเนซองส์ สำหรับโอลิมปิกเกมส์ 2024 ที่กรุงปารีส

นอกจากการแข่งขันกีฬาต่างๆ ที่ถูกจับตามองเป็นอย่างมากในช่วงใกล้แข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ก็มีอีกหนึ่งสิ่งที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยๆ นั่นก็คือการออกแบบหรือปรับปรุงสถานที่ต่างๆ ในกรุงปารีสให้สอดคล้องไปกับมหกรรมกีฬา Cycloïd Piazza คือลานสเกตจากฝีมือของ ‘Jean-Benoît Vétillard’ และนักออกแบบ ‘Raphaël Zarka’ ที่หยิบเอาโทนสีเดียวกันกับภาพวาดในยุคเรเนซองส์มารวมเข้ากับรูปทรงเรขาคณิตที่หลากหลาย โดยเฉดสีที่พวกเขาเลือกใช้คือ สีแดง สีเขียว และสีเหลือง ที่สร้างขึ้นในปี 1931 โดย ‘Le Corbusier’ นักออกแบบสถาปัตยกรรมในตำนานที่หลายคนคุ้นหู ที่แม้จะมีความหม่นแต่ก็ยังให้ความรู้สึกมีชีวิตชีวา ลานสเกตชั่วคราวแห่งนี้เปิดให้นักเล่นสเกตมือสมัครเล่นและมืออาชีพมาประลองฝีมือกัน บริเวณหน้าอาคารศูนย์วัฒนธรรมสมัยใหม่ที่เป็นพื้นที่สาธารณะแนวตั้ง ‘Centre Pompidou’ ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน และจะอยู่ไปจนถึงวันที่ 15 กันยายน 2024 ถือเป็นประติมากรรมชั่วคราวที่สร้างทัศนียภาพอันสดใสให้กับพื้นที่สาธารณะ แถมยังสอดคล้องไปกับการจัดแข่งขันกีฬาสเกตบอร์ดที่บริเวณ ‘Place de la Concorde’ หนึ่งในจัตุรัสสาธารณะที่สำคัญของเมือง ตามที่ตัว Raphaël Zarka ตั้งใจ หากใครได้ไปเยือนกรุงปารีสในช่วงนี้ไม่ควรพลาด Sources :Centre Pompidou | t.ly/bEuI-Designboom | […]

กลับมาได้หรือเปล่าชาวปารีส ถนนฌ็องเซลิเซสุดหรูปิดถนนจัดปิกนิก เรียกชาวเมืองให้กลับมาเยือนอีกครั้ง

ฌ็องเซลิเซ (Champs-Élysées) คือถนนเส้นใหญ่ใจกลางเมืองปารีสที่ได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในถนนที่งดงามที่สุดของเมือง ถึงอย่างไรก็ตาม ชาวปารีสกลับไม่ค่อยนิยมมาเมืองนี้กันเท่าไหร่แล้วในพักหลัง เพราะถนนแห่งนี้เรียงรายด้วยช็อป Hi-end แบรนด์หรูที่ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักมาเดินกันเป็นส่วนใหญ่ เพื่อเรียกร้องให้ชาวปารีสกลับมา คณะกรรมการฌ็องเซลิเซ (Champs-Élysées Committee) เลยปิดถนนขนาด 8 เลน จัดอีเวนต์ให้คนปารีสมานั่งปิกนิกกันแบบชิลๆ โดยไม่เสียตังค์ในงาน ‘Le Grand Pique-Nique’ ในวันที่ 26 พฤษภาคม ที่ผ่านมา จากชาวปารีสที่สมัครเข้าร่วมงานมากกว่า 273,000 คน มีผู้โชคดีจากการสุ่ม 4,400 คนที่ได้มานั่งปิกนิกบนผ้าปูลายตารางหมากรุกสีแดงขาวยาวกว่า 216 เมตรบนถนนฌ็องเซลิเซ นอกจากจะได้นั่งซึมซับบรรยากาศอันสวยงาม ดูวิวประตูชัยฝรั่งเศส (Arc de Triomphe) ไปพลางๆ ชาวปารีสผู้โชคดียังได้ตะกร้าที่อัดแน่นด้วยอาหารจากเชฟท้องถิ่นชั้นนำมากินให้อิ่มหนำสำราญกันแบบฟรีๆ ด้วยความที่ถนนฌ็องเซลิเซเป็นถนนชื่อดังที่มีคนมาเยี่ยมเยือนมากกว่า 1.3 ล้านคนต่อเดือน ทว่าความนิยมนั้นส่งผลให้ราคาที่ดินและค่าเช่าที่บริเวณนี้พุ่งสูงเสียดฟ้า แค่ปีที่แล้วค่าเช่าที่ก็ดีดตัวสูงจากปีที่ผ่านมาถึง 15 เปอร์เซ็นต์ ด้วยเหตุผลนี้ ร้านค้าอิสระขนาดเล็กอย่างร้านหนังสือ ร้านแผ่นเสียง ร้านขายเสื้อผ้า หรือธุรกิจที่ไม่ทำกำไรเป็นกอบเป็นกำจึงทยอยหายไป แล้วแทนที่ใหม่ด้วยช็อปของแบรนด์หรูที่เน้นดึงดูดนักท่องเที่ยวผู้ร่ำรวย ความเศร้าคือในเดือนมิถุนายนนี้ โรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่ UGC […]

Olympic Games 2024 มหกรรมกีฬาแห่งการพัฒนาปารีส และนำเสนอตัวตนของฝรั่งเศส

ผ่านมา 100 ปีพอดีหลังจากเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกเกมส์ครั้งสุดท้ายของประเทศฝรั่งเศสในปี 1924 กลับมาคราวนี้ 2024 ประเทศฝรั่งเศส ณ กรุงปารีส รับไม้ต่อจากโตเกียวในการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนและพาราลิมปิกอีกครั้งในรอบศตวรรษ มหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ครั้งนี้ได้มีการนำเสนออัตลักษณ์ความเป็นฝรั่งเศสผ่านสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งโลโก้ มาสคอต โปสเตอร์ และชุดกีฬา โดยมุ่งเน้นเรื่องของเสรีภาพและการเปิดรับความหลากหลายที่พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยวและนักกีฬาจากทั่วโลก มากไปกว่านั้น การเตรียมพร้อมเพื่อรองรับนักกีฬามากกว่า 14,500 คนและนักท่องเที่ยวหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก ทำให้ปารีสต้องขยับตัวเปลี่ยนแปลง หนึ่งในนั้นคือการสร้างอาคารใหม่หรือปรับปรุงให้ดีขึ้น บวกกับต้องสอดคล้องกับความยั่งยืน และเปลี่ยนกรุงปารีสให้กลายเป็นเมืองสีเขียวสำหรับทุกคน คอลัมน์ Report เดือนนี้อยากพาไปดูว่า การรับไม้ต่อเป็นเจ้าภาพมหกรรมกีฬาโอลิมปิกเกมส์ จะทำให้เมืองชั้นนำของโลกทั้งในด้านศิลปะและแฟชั่นอย่างปารีสที่เคยเป็นเมืองที่วุ่นวายและสกปรก พิสูจน์ถึงศักยภาพความพร้อมของตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน แล้วเมืองน้ำหอมจะใช้โอกาสนี้พัฒนาและเปลี่ยนแปลงเมืองไปอย่างไรบ้าง พัฒนาเมืองเพื่อรองรับมหกรรมกีฬาระดับโลก การเป็นเจ้าภาพการแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ 2024 ของฝรั่งเศสในครั้งนี้ เมืองปารีสจำเป็นต้องเตรียมตัวมากมายทั้งด้านสถานที่และผู้คน จึงมีการวางแผนพัฒนาเมืองโดยเน้นการใช้สถานที่ที่มีอยู่แล้วหรือไม่ก็สร้างขึ้นชั่วคราว เพื่อลดค่าใช้จ่ายและลดการปล่อยคาร์บอนสู่ธรรมชาติ กรุงปารีสเริ่มปรับภูมิทัศน์เมืองโดยคำนึงถึงนวัตกรรม พื้นที่สีเขียว และความยั่งยืน เริ่มจากการปรับโครงสร้างเมืองทั้งหอไอเฟลและสถานที่สำคัญทั้งหมดให้ถูกล้อมรอบด้วยสวน ซึ่งจะกลายเป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ติดอันดับโลก พร้อมปรับเส้นทางภายในเมืองให้กลายเป็นพื้นที่สำหรับการเดิน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้คนเข้าถึงการแข่งขันได้ง่ายขึ้น และยังทำกิจกรรมต่างๆ ในสถานที่สำคัญอันเก่าแก่ เพื่อทำให้พื้นที่เหล่านั้นกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น หลักการสำคัญของโปรเจกต์นี้คือ การลากเส้นเชื่อมต่อพื้นที่สำคัญๆ โดยมีหอไอเฟลและแลนด์มาร์กรอบๆ ได้แก่ ปลาส ดู ทรอกาเดโร […]

Adamant Hospital โรงพยาบาลจิตเวชลอยน้ำในปารีส ที่สร้างบรรยากาศให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่โดดเดี่ยวในเมืองใหญ่

เพื่อให้การไปโรงพยาบาลจิตเวชสำหรับชาวปารีสไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอย่างที่คิด สตูดิโอออกแบบ ‘Seine Design’ ที่เชี่ยวชาญการออกแบบสิ่งปลูกสร้างลอยน้ำจึงรับหน้าที่ออกแบบโรงพยาบาลจิตเวช ‘Adamant Hospital’ ตั้งอยู่ใกล้กับสะพาน ‘Pont Charles-de-Gaulle’ บริเวณใจกลางกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส Adamant Hospital เป็นโรงพยาบาลลอยน้ำในลักษณะสมมาตรที่แยกตัวออกมาจากโรงพยาบาลหลักอย่าง ‘Esquirol Hospital’ เพื่อดูแลผู้ป่วยจิตเวชและผู้มีปัญหาด้านจิตใจโดยเฉพาะ ผ่านการออกแบบที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นสตูดิโอส่วนตัวของศิลปินมากกว่าโรงพยาบาลในขนาดเพียง 600 ตารางเมตร Seine Design อธิบายการออกแบบ Adamant Hospital ไว้ว่า เป็นแนวคิดการออกแบบอาคารที่เปลี่ยนสิ่งธรรมดาให้น่าตื่นเต้น โดยให้ความหมายกับเหตุการณ์และสภาพอากาศทั่วไปในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น ไม่ว่าจะฝนตกหรือแดดออก ผ่านการใช้ไม้แบบโมดูลาร์และมีบานประตูหน้าต่างแบบเคลื่อนย้ายได้ เพื่อให้ตัวอาคารเชื่อมต่อกับบรรยากาศธรรมชาติและเป็นมิตรกับผู้ป่วยมากขึ้น โดยภายในของ Adamant Hospital ประกอบไปด้วยห้องทำงานของทีมแพทย์ และพื้นที่สำหรับรับรองผู้ป่วยที่เน้นไปที่การออกแบบกิจกรรม ‘Therapy Workshops’ ในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การทำเครื่องปั้นดินเผา เล่นดนตรี หรือการวาดภาพ เพื่อช่วยฟื้นฟูให้ผู้ป่วยสามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่างมีความสุข และไม่รู้สึกโดดเดี่ยวในเมืองใหญ่อีกต่อไป Sources : ArchDaily | t.ly/gJuQSeine Design | www.ronzatti.com/adamant.html

Notre Dame’s New Landscape โปรเจกต์ออกแบบพื้นที่นอกมหาวิหารนอเทรอดาม ที่เต็มไปด้วยต้นไม้และฟังก์ชันเพื่อคนเมือง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 เกิดเหตุไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม (Notre Dame) ศาสนสถานอายุ 850 ปีในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างความตกใจและความเสียดายให้คนทั่วโลก เพราะเพลิงที่ลุกไหม้สร้างความเสียหายให้ศาสนสถานอายุหลายศตวรรษแห่งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างส่วนใหญ่ทำจากไม้ หลังจากเกิดเหตุ ฝรั่งเศสก็เริ่มแผนซ่อมแซมบูรณะตัวอาคาร ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานถึง 5 ปี ควบคู่ไปกับการเปิดประกวดแข่งขันด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมหรือบริเวณโดยรอบมหาวิหารขึ้นมาใหม่ โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการได้ประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งคือ โปรเจกต์การออกแบบที่พัฒนาโดยภูมิสถาปนิก Bas Smets, บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมือง GRAU และบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านมรดกทางสถาปัตยกรรม Neufville-Gayet  การออกแบบพื้นที่โดยรอบมหาวิหารนอเทรอดามของทีมนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเชื่อมโยงสถานที่ทางประวัติศาสตร์ กับแม่น้ำแซนที่โอบล้อมมหาวิหารให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น จัตุรัสที่อยู่หน้ามหาวิหารถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ช่วยให้ด้านหน้าของอาคารสูงเด่นเป็นสง่ากว่าเดิม และเพิ่มต้นไม้สีเขียวขจีที่รายล้อมอาคารและให้ร่มเงาแก่พื้นที่นั่งเล่น  ส่วนบริเวณด้านหลังของมหาวิหารจะถูกรวมเข้ากับสวนที่อยู่ติดกัน เปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะริมแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ทอดยาว 400 เมตร และจะมีการปลูกต้นไม้ใหม่เพิ่มถึง 131 ต้น กลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่เหมาะแก่การเดินเล่นหรือนั่งพักผ่อนหย่อนใจเป็นที่สุด นอกจากนี้ ผู้ออกแบบยังติดตั้งระบบระบายความร้อนให้แก่พื้นด้วยการใช้ม่านน้ำความหนาเพียง 5 มิลลิเมตร ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิได้หลายองศาฯ อีกทั้งยังทำให้กำแพงโดยรอบมหาวิหารสะท้อนแสงแวววับ และกลายเป็นจุดถ่ายรูปสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย อีกหนึ่งการออกแบบที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนลานจอดรถที่อยู่ใต้จัตุรัสด้านหน้ามหาวิหารให้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกขนาดใหญ่กว่า […]

Tadao Ando เปลี่ยนตลาดหุ้นเก่าในปารีสเป็นมิวเซียม ‘Bourse de Commerce’ โชว์ของสะสมทั้งชีวิตของเจ้าของ Gucci

เมื่อ ‘François Pinault’ มหาเศรษฐีชาวฝรั่งเศสเจ้าของกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมขวัญใจหลายคน อย่าง Gucci, Saint Laurent, Bottega Veneta หรือ Balenciaga สร้างพิพิธภัณฑ์ไว้แสดงคอลเลกชันศิลปะส่วนตัวที่เขาสะสมมาทั้งชีวิตกว่า 10,000 ชิ้น Bourse de Commerce คือชื่อพิพิธภัณฑ์ศิลปะน้องใหม่ที่ตั้งอยู่กลางเขต 1 ของปารีส เดิมเป็นอาคารตลาดหลักทรัพย์เก่าในสมัยศตวรรษที่ 18 ก่อนถูกนำมาบูรณะใหม่โดย ‘Tadao Ando’ สถาปนิกชื่อดังชาวญี่ปุ่นที่งานออกแบบของเขามักแฝงไปด้วยปรัชญาทางธรรมชาติ หลังใช้ระยะเวลาในการวางแผนและดำเนินการก่อสร้างมานานกว่า 20 ปี ในที่สุดก็ได้ฤกษ์งามยามดีเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้ขึ้นในวันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคมนี้ พร้อมกับโชว์นิทรรศการแรกที่มีชื่อว่า ‘Ouverture’ โดยจะจัดแสดงผลงานของศิลปินร่วมสมัยหลายคน เช่น Kerry James Marshall, Marlene Dumas, Luc Tuymans และ Cindy Sherman Sources :CNN | https://cnn.it/3bEHfOhDesignboom | https://bit.ly/3wiRcsM

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.