Underground Library ห้องสมุดใต้ดินที่เหมือนหลุมหลบภัย และซ่อนหนังสือไว้กว่า 3,000 เล่ม

เพียงเดินทางจากสถานีโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มายังเมืองชิบะ ด้วยระยะเวลาเพียง 90 นาที ก็จะพบกับ ‘Kurkku Fields’ สถานที่ที่รวบรวมการให้บริการแบบฟาร์มสเตย์ มีตั้งแต่ที่พัก อาหาร เวิร์กช็อป งานศิลปะ และ ‘Underground Library’ ห้องสมุดที่ซ่อนตัวอยู่ใต้ดิน รอคอยให้ผู้มาเยือนเข้าไปสัมผัสประสบการณ์การอ่านหนังสือท่ามกลางธรรมชาติ Underground Library เป็นผลงานการออกแบบของ ‘Hiroshi Nakamura & NAP Architects’ โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แขกที่เข้าพักในบริเวณ Kurkku Fields สามารถใช้เวลาภายในห้องสมุดใต้ดินแห่งนี้อย่างอิสระ ต้อนรับการกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง หลังจากปิดตัวชั่วคราวเพราะสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่น Underground Library เปิดให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยรูปลักษณ์ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ จากองค์ประกอบวัสดุไม้ที่หลีกเลี่ยงการใช้คานและเสา รวมไปถึงการสร้างพื้นที่ส่วนตัวเล็กๆ ที่กระจายตัวอยู่ภายใน เพื่อความเป็นส่วนตัวแก่นักอ่านที่มาใช้บริการ ยังไม่นับรวมบรรดาหญ้าบนหลังคาที่ให้ความรู้สึกเหมือนเรากำลังซ่อนตัวอยู่ในหลุมหลบภัย ที่ภายในเต็มไปด้วยหนังสือกว่า 3,000 เล่ม หนังสือส่วนใหญ่ของที่นี่เน้นไปทางเนื้อหาเกี่ยวกับธรรมชาติและชีวิตเกษตรกรรม รวมถึงบทกวี ปรัชญา ประวัติศาสตร์ ศาสนา วิทยาศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์ […]

หนีเมืองไปฟังเสียงดนตรีท่ามกลางธรรมชาติในงาน Leaf & Rhyme วันที่ 18 ก.พ. 66 ที่ Baimai Activity Space

อีกหนึ่งอีเวนต์ใกล้กรุงเทพฯ ที่เราอยากชวนทุกคนเดินทางออกจากเมืองไปฟังเสียงเพลง โอบรับเสียงรอบตัว และเชื่อมต่อกับผู้คนที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งที่จะส่งต่อความรู้ ความเข้าใจ ให้คนอื่นๆ ได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ งาน ‘Leaf & Rhyme’ จัดโดย ‘กลุ่มใบไม้’ ทีมนักกิจกรรมที่เป็นกระบอกเสียงเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างเข้มแข็งเสมอมา หลักๆ แล้วภายในงานนี้ ทุกคนจะได้พบกับวงดนตรีและพี่น้องศิลปินกว่า 13 รายชื่อที่จะสลับขึ้นโชว์ตั้งแต่บ่ายจวบจนวงล้อมรอบกองไฟยามค่ำคืน ได้แก่ Selina and Sirinya, Youth Brush, สุขเสมอ, เย็นตะวัน, Sao Moonlight Gypsy, JIPI, โจ อาชาไนย (The Voice 7), ปืน เนติ (The Voice 4), นายเป้ ม.เมื่อย, Black Hole, 22 Island, Book และเมธาวี (แมวจร) นอกจากหูที่ได้ฟังดนตรีกันท่ามกลางบรรยากาศของธรรมชาติแล้ว ตาของเรายังได้ชมนิทรรศการศิลปะที่เชื่อมโยงกับงานด้านอนุรักษ์ธรรมชาติกันอย่างเพลิดเพลินอีกด้วย ส่วนใครที่อยากเปลี่ยนที่นอนก็แบกเต็นท์มากางค้างแรมกันได้ในงานนี้ เพราะพื้นที่จัดงานอย่าง Baimai […]

เมืองเชียงรายเที่ยวได้ทั้งปี ธรรมชาติสวยงาม กิจกรรมรองรับทุกฤดู

ใครว่าภาคเหนือต้องไปเที่ยวแต่หน้าหนาว ในที่สุดก็เข้าสู่ช่วงปลายปี ที่แม้จะสัมผัสความหนาวในเมืองได้เพียงเล็กน้อย แต่ก็เพียงพอที่จะรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วกับการเก็บกระเป๋า เตรียมตัวไปเที่ยวรับอากาศหนาวที่จุดหมายปลายทางยอดฮิตอย่างภาคเหนือ แล้วถ้าไม่ไปภาคเหนือในหน้าหนาว เราจะไปเที่ยวตอนไหนได้บ้าง แม้ว่าบางจังหวัดและบางสถานที่อาจไม่พร้อมรับนักท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา เนื่องจากปัจจัยที่ควบคุมได้ยาก เช่น ความพร้อมของธรรมชาติในพื้นที่ อากาศและฤดูกาล ฯลฯ แต่ใครจะรู้ว่าจังหวัดเชียงรายนั้นเป็นจังหวัดที่สามารถท่องเที่ยวได้ทั้งปี ไม่จำกัดช่วงเวลาหรือฤดูกาล เพราะในแต่ละช่วงก็มีความสวยงามแตกต่างกันไป ต่อให้ไม่ใช่ช่วงหน้าหนาว แต่รับรองว่าบรรยากาศที่เจียงฮายสวยงามติดใจผู้ไปเยี่ยมเยียนแน่นอน การันตีจากช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ดินแดนเหนือสุดในสยามนี้ติดหนึ่งใน TOP 5 จังหวัดที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุดเลยทีเดียว เชียงรายมาแรง จังหวัดที่ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จังหวัดเชียงรายถือเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ติดอันดับความนิยมสูงสุด หลังจากที่เทรนด์การท่องเที่ยวหลังยุคโควิดเปลี่ยนไป เนื่องจากนักท่องเที่ยวหันมาสนใจสถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ ศิลปะ วัฒนธรรม  ทำให้เชียงรายเป็นที่นิยมมากขึ้น เห็นได้จากจำนวนนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวจังหวัดเชียงรายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2565 สูงเกือบ 3 ล้านคน การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ จึงกลายเป็นเทรนด์ใหม่ของการท่องเที่ยวและช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้เป็นอย่างดี  “ในช่วงหลังโควิดฤดูหนาวปีที่แล้ว เรามีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดเชียงรายเยอะมาก ไฟลต์บินสูงถึง 64 เที่ยวบินต่อวันทีเดียว นั่นคือช่วงของการเริ่มต้นเปิดจังหวัดเชียงราย” ‘ภาสกร บุญญลักษม์’ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พูดถึงความสำเร็จของการท่องเที่ยวในจังหวัด “หกสิบเปอร์เซ็นต์รายได้ของจังหวัดเชียงรายมาจากเรื่องการท่องเที่ยว และเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ของการท่องเที่ยวเป็นรายได้จากคนไทย เราเห็นได้ชัดเลยว่าการท่องเที่ยวของเราได้รับการตอบรับจากประชาชนคนไทยเป็นจำนวนมาก ถือเป็นมิติที่นำในเรื่องของการนำรายได้เข้าจังหวัดอยู่แล้ว เราจึงตั้งใจส่งเสริมให้รายได้จากการท่องเที่ยวปีนี้คึกคักขึ้น” […]

‘3200K’ ณ ชั่วขณะนั้นที่มุกดาหาร

ฉันมักใช้เวลาว่างที่เหลือจากการทำงานร้านอาหารของที่บ้าน ออกสำรวจพื้นที่ริมแม่น้ำโขงและบันทึกความทรงจำเกี่ยวกับเส้นทางสายนี้ แม่น้ำที่ไหลผ่านเอื่อยๆ วิถีชีวิตริมน้ำที่ดำเนินไปอย่างเนิบช้า เรียบง่าย ฉันคิดว่าอุณหภูมิ สี และแสงที่ฉาบลงบนภาพตรงหน้าช่างอบอุ่นพิเศษกว่าที่ไหนๆ

‘จักรวาฬ’ ผลกระทบที่วาฬบรูด้า ได้รับจากน้ำมือมนุษย์

ผลงานชุด ‘จักรวาฬ’ เป็นผลงานภาพถ่ายสารคดีที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่วาฬได้รับจากมลพิษที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงต้องการถ่ายทอดภาพของทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของชุมชนชายฝั่งสิ่งแวดล้อมในทะเลอ่าวไทย ที่ได้รับความเสียหายไม่แพ้กัน 

รมต.ตูวาลู ปราศรัย COP26 ในทะเล ย้ำวิกฤตประเทศจมน้ำ

Simon Kofe รัฐมนตรีต่างประเทศของตูวาลู หวังว่าการกล่าวสุนทรพจน์ของเขาจะชี้ให้ทุกคนเห็นถึงข้อเท็จจริงว่า ประเทศตูวาลูเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากลำดับแรกๆ ของโลก รัฐมนตรี Kofe ได้อัดวิดีโอบันทึกปราศรัยให้การประชุมสภาพภูมิอากาศขององค์การสหประชาชาติในเมืองกลาสโกว์ ด้วยการยืนอยู่ในน้ำทะเลระดับเข่า เพื่อเน้นว่าประเทศหมู่เกาะแปซิฟิกที่อยู่ต่ำ กำลังอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก วิดีโอกลางทะเลของ Simon Kofe ที่ตั้งโต๊ะแถลงในชุดสูท ผูกเนกไท และสวมกางเกงพับขา ได้รับการแชร์อย่างกว้างขวางในสื่อออนไลน์ และสามารถดึงความสนใจคนทั้งโลกไปที่ประเด็นการต่อสู้ของตูวาลูกับระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเรื่อยๆ Kofe ย้ำสถานการณ์จริงที่ตูวาลูเผชิญผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล เพื่อเน้นย้ำถึงการดำเนินการที่ประเทศแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน วิดีโอนี้ถ่ายทำโดยสถานีโทรทัศน์ TVBC บริเวณปลายสุดของ Fongafale เกาะหลักของเมืองหลวง Funafuti โดยฉายคลิปในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศในวันอังคารที่ผ่านมา ขณะที่ผู้นำระดับภูมิภาคผลักดันการดำเนินการเชิงรุกมากขึ้นเพื่อจำกัดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้ก่อมลพิษรายใหญ่จำนวนมากได้ให้คำมั่นว่าจะลดปริมาณคาร์บอนลงในช่วงหลายทศวรรษข้างหน้า โดยมีเป้าหมายหยุดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี 2050 แต่ผู้นำในเกาะแปซิฟิกเรียกร้องให้มีการดำเนินการทั้งหมดทันที โดยชี้ให้เห็นว่าความอยู่รอดของประเทศที่พื้นที่แผ่นดินอยู่ระดับต่ำกำลังอยู่ในความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเดินทางช่วงโควิด-19  หนึ่งในสามของรัฐและดินแดนที่เป็นเกาะขนาดเล็กในแปซิฟิกจึงไม่สามารถส่งตัวแทนรัฐบาลของตนไปยังสุดยอดการประชุม COP26 ในกลาสโกว์ได้  ฉะนั้นการขาดตัวแทนระดับสูงของประเทศเสี่ยงจมน้ำสูงเหล่านี้ จึงทำให้เกิดความกังวลว่า พวกเขาจะไม่ได้รับการนำเสนอข้อมูลปัญหาและหาหนทางแก้ไขอย่างเหมาะสม ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รายงานของธนาคารโลกเผยว่า ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้อาจทำให้หมู่เกาะมาร์แชลล์ ซึ่งเป็นประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือที่อยู่กึ่งกลางระหว่างฮาวายและออสเตรเลียเสียหายได้  หมู่เกาะแห่งนี้มีประชากร 59,000 คน และมีเนื้อที่เพียง 180 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะต่างๆ 1,156 […]

WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

ไม่ใช่แค่ไทยที่ต้นไม้ขายดี คนเช็กก็หันมาทำสวนและใช้ศิลปะจากต้นไม้เยียวยาจิตใจช่วงกักตัว

ช่วงที่ผ่านมาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้คนไม่ได้ออกไปเจอโลกภายนอก สายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงคนกับวัฒนธรรม สิ่งมีชีวิตและธรรมชาติค่อยๆ ขาดหาย แต่ ‘Alexandra Strelcova’ เจ้าของร้านดอกไม้คนหนึ่ง ณ กรุงปราก เชื่อว่าด้วยพลังเห็นพืชพรรณจะช่วยเยียวยาจิตใจของผู้คนให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้และเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างคนและธรรมชาติให้กลับมาแน่นแฟ้นอีกครั้งหนึ่ง Alexandra ได้ตั้งองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรชื่อ ‘Haenke’ ขึ้นร่วมกับสามีของเธอ Julian Antih ทั้งสองคนมีความตั้งใจที่จะเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้กับพื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนตัวของผู้คน โดยผลงานแรกที่องค์กรของเธอร่วมมือกับสถาปนิกอย่าง Juras Lasovsky ส่งเข้าประกวด ณ จัตุรัสกลางของกรุงปรากคือ ผลงานศิลปะขนาดใหญ่จากไม้กระถาง โดยเธออยากให้ผลงานนี้เป็นเหมือนที่ผ่อนคลายของผู้คนแทนพื้นที่จัตุรัสโล่งๆ  ต่อมาเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสขึ้นทั่วโลก องค์กรของเธอก็ได้ให้ความช่วยเหลือบ้านพักคนชราโดยการนำพืชกระถางพันธุ์ต่างๆ เข้าไปช่วยชุบชูจิตใจที่เหี่ยวเฉาของผู้คนเมื่อต้องกักตัว เพราะเธอเชื่อว่าพืชนั้นช่วยบำบัดเยียวยาจิตใจได้  ความเชื่อนี้ของ Alexandra มีข้อสนับสนุนมากมายจากตัวเลขของพืชพรรณที่ขายออกไปในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยสถิติจากราชสมาคมพืชสวนแห่งสหราชอาณาจักร ยืนยันว่ายอดขายพืชกระถางเพิ่มขึ้นถึง 225% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว และในสหรัฐอเมริกามีผู้เริ่มมาทำสวนเป็นครั้งแรกเพิ่มขึ้นถึง 7% จากสถิติของ National Gardening Association เชื่อว่าไม่ใช่แค่สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และกรุงปราก ที่ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับต้นไม้และการทำสวนมากขึ้น แต่ในประเทศไทยเองผู้คนก็เริ่มสนใจพืชกระถางและการทำสวนเพิ่มขึ้นเช่นกัน หวังว่าการได้อยู่กับพืชพรรณต่างๆ จะช่วยใครหลายๆ คนคลายเหงาและบรรเทาความเครียดไปได้บ้างในช่วงที่โรคระบาดยังไม่ซา Source : Bloomberg […]

ผจญไพรในวันที่ป่าไร้ผู้คนกับ ‘อาเฌอ’ ช่างภาพผู้พิทักษ์ป่าแห่งทุ่งกะมัง ซาฟารีเมืองไทยถิ่นชัยภูมิ

Urban Creature ของอาสาพาทุกคนเข้าป่า ผจญไพรผ่านตัวหนังสือไปพร้อมกับ ‘พี่วุธ-ประสิทธิ์ คำอุด’ ช่างภาพและผู้พิทักษ์ป่าแห่งทุ่งกะมัง จังหวัดชัยภูมิ เจ้าของเพจ ‘อาเฌอ’ ที่จะขอเป็นเจ้าถิ่นบอกเล่าเรื่องราวในวันที่ป่าไร้ผู้คน พร้อมฝากภาพถ่ายแทนความห่วงใย จากเหล่าสรรพสัตว์ให้คนเมืองได้หายคิดถึง | เมื่อชีวิตโหยหาธรรมชาติการเดินทางจึงเริ่มต้นอีกครั้ง บ่ายวันหนึ่งกลางเดือนเมษายนที่แสนจะร้อนอบอ้าว แต่ก็เทียบไม่ได้กับความร้อนรุ่มที่มันสุมอยู่ในใจ เมื่อคนที่หลงใหลการเดินทางอย่างเราต้องติดเเหง็กออกไปไหนไม่ได้ ใช้ชีวิตอยู่แต่ในพื้นที่สี่เหลี่ยมเล็กๆ กับกิจวัตรประจำวันเพียงไม่กี่อย่าง ไม่ว่าจะ กิน นอน ทำงาน เป็นอย่างนี้มาตลอดทั้งเดือน ทำให้เราเบื่อหน่าย จนชีวิตแทบหมดไฟ… เมื่อออกไปไหนไม่ได้ทางเดียวที่เราสามารถเข้าใกล้ธรรมชาติได้มากที่สุด คือการท่องเที่ยวผ่านโลกออนไลน์  ขับเคลื่อนด้วยเมาส์ เลี้ยวซ้ายแลขวาดูธรรมชาติผ่านภาพถ่ายของคนโน้นที คนนี้ที จนวันหนึ่งเราไปสะดุดตากับโพสต์ของช่างภาพคนหนึ่ง ที่ถ่ายทอดเรื่องราวการโดนกักตัวอยู่ในป่า พร้อมกับเหล่าสิงสาราสัตว์ผ่านเพจเฟซบุ๊กชื่อว่า ‘อาเฌอ’   | ‘อาเฌอ’ ผู้ใช้ภาพถ่ายเชื่อมโยงคนกับธรรมชาติ ทันทีที่ปลายสายกดรับโทรศัพท์ สิ่งแรกที่เราได้ยินกลับมาไม่ใช่เสียงของพี่เขา แต่เป็นเสียงของนกน้อยใหญ่นานาชนิดเซ็งแซ่ทักทายเข้ามาก่อนที่เราจะเริ่มต้นบทสนทนาเสียอีก ในที่สุดก็ได้คุยกับ ‘พี่วุธ –  ประสิทธิ์ คำอุด’ นักสื่อความหมายธรรมชาติ ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และยังเป็นช่างภาพผู้หลงใหลการถ่ายภาพสัตว์ป่าเป็นชีวิตจิตใจ อีกทั้งยังเป็นเจ้าของเพจเฟซบุ๊ก ‘อาเฌอ’ ที่คอยถ่ายทอดเรื่องราวของสัตว์ป่าผ่านภาพถ่ายมากว่า […]

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.