Beijing’s Sub-Center Library ห้องสมุดใหม่ในปักกิ่งที่ร่มรื่น เหมือนได้อ่านหนังสือในป่าแปะก๊วย

ในขณะที่ประเทศไทยยังต้องเรียกร้องให้รัฐบาลหันมาสนับสนุนวงการหนังสือ ร้านหนังสือ และห้องสมุดกัน ตัดภาพไปที่ประเทศอื่นๆ ที่นอกจากส่งเสริมนโยบายเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์อย่างเข้มแข็งแล้ว ยังสร้างห้องสมุดใหม่ๆ ให้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อรองรับความต้องการของประชาชนกันมากขึ้น แค่มีห้องสมุดเกิดขึ้นไม่พอ ถ้าติดตามข่าวสารแวดวงนี้บ่อยๆ จะพบว่าเหล่าห้องสมุดเกิดใหม่ในประเทศที่พัฒนาแล้วล้วนได้รับการออกแบบอย่างดี ตอบโจทย์ทั้งความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานของผู้คน ในระดับที่เป็นแลนด์มาร์กของประเทศได้เลย ประเทศจีนเองก็เป็นประเทศหนึ่งในประเทศที่มีห้องสมุดขนาดใหญ่และเป็นแลนด์มาร์กแห่งใหม่ของประเทศ  ล่าสุดที่กรุงปักกิ่งเพิ่งจะเปิดตัวแบบของห้องสมุดชุมชนขนาดใหญ่แห่งใหม่ในเขตชานเมือง ในชื่อ Beijing’s Sub-Center Library ซึ่งออกแบบโดย Snøhetta บริษัทสถาปนิกระดับโลกจากนอร์เวย์ ห้องสมุดแห่งนี้ออกแบบเป็นโครงสร้างปิดด้วยกระจกสูง 16 เมตร และยังเป็นอาคารกระจกหลังแรกในประเทศจีนที่รองรับน้ำหนักของตัวเองได้ ภายในอาคารมีเสาคล้ายต้นไม้รองรับหลังคาให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในป่าต้นแปะก๊วย (Ginkgo biloba) ซึ่งเป็นต้นไม้อายุกว่าสามร้อยล้านปีที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีน พบได้ทั่วไปทั้งริมถนนและสวนสาธารณะในประเทศจีน  สตูดิโอ Snøhetta เล่าว่าพื้นที่ภูมิทัศน์ที่ออกแบบมีลักษณะเป็นขั้นบันได เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมเหมือนต้นไม้ที่เชิญชวนให้ผู้คนนั่งลงและหยุดพักระหว่างเดินผ่าน เป็นการสร้างพื้นที่เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกสบายๆ ในการอ่าน และใส่แนวคิดที่ทำให้รู้สึกเหมือนได้นั่งอ่านหนังสือเล่มโปรดใต้ต้นไม้เข้าไป เสาของอาคารแต่ละต้นยังติดตั้งเทคโนโลยีที่ช่วยเรื่องควบคุมอุณหภูมิ แสงสว่าง ประสิทธิภาพด้านเสียง และการกำจัดน้ำฝนของห้องสมุด ส่วนแถวของคอลเลกชันหนังสือ พื้นที่อ่านหนังสือ และอัฒจันทร์ขนาดใหญ่จะสร้างขึ้นด้านในและรอบๆ ช่องทางเดิน ให้ออกมาเป็นพื้นที่คล้ายหุบเขาในห้องสมุด เหมือนได้เดินอยู่ในหุบเขาที่มีต้นแปะก๊วยปกคลุม อีกความเจ๋งของห้องสมุดนี้คือ หลังคาอาคารที่ได้รับการติดตั้งด้วยระบบไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบบูรณาการ ซึ่งจะให้พลังงานหมุนเวียนแก่ตัวห้องสมุดและช่วยประหยัดการใช้พลังงานภายในอาคารได้ ส่วนหลังคาใบแปะก๊วยที่ยื่นออกไปนอกตัวอาคารยังช่วยลดแสงที่ส่องเข้ามาในอาคารได้อีกด้วย  ห้องสมุดใหม่ในกรุงปักกิ่งแห่งนี้ได้เริ่มดำเนินการสร้างแล้วและคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสิ้นปี 2022 นี้ ชาวนักอ่านและนักเดินทางที่ชื่นชอบห้องสมุดต้องอย่าพลาดเชียว […]

WAY รีดีไซน์ท่าเรือรีสอร์ตดังในจีนเป็นท่าเรือทอดสู่ทะเล

สตูดิโอสถาปัตยกรรม WAY ในกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ได้รับมอบหมายจากรีสอร์ต Aranya (安啊呀) จุดท่องเที่ยวยอดฮิตของชาวจีนในเขตเป่ยไต้เหอ เพื่อรับหน้าที่ออกแบบท่าเรือคนเดินที่เคยมีอยู่แต่เดิมเสียใหม่ การออกแบบใหม่นี้คือการสร้างท่าเรือออร์แกนิกทอดยาวสู่มหาสมุทร ทำให้ผู้เข้าชมได้โต้ตอบกับสภาพแวดล้อมได้อย่างใกล้ชิดมากขึ้น การออกแบบท่าเทียบเรือใหม่โดยสตูดิโอ WAY ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติโดยรอบ ท่าเรือจะมีรูปร่างและโครงสร้างออร์แกนิกเรียบง่ายและผสานเข้ากับทะเลและท้องฟ้า เพื่อขับเน้นบรรยากาศอันเงียบสงบของชายทะเลได้อย่างลงตัว  ผลงานของกลุ่มสถาปนิกจากปักกิ่งนี้ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากงานของ Isamu Noguchi ศิลปินและภูมิสถาปนิกชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีการออกแบบสร้างเชิงนามธรรมและการตีความพื้นที่ของเขา ที่ช่วยกระตุ้นความคิดจากภายใน มิหนำซ้ำเมื่อมองท่าเรือยื่นออกไปในทะเล ท่าเรือใหม่นี้ก็จะดูลื่นไหลและนุ่มนวล ราวกับว่ามันถือกำเนิดมาจากมหาสมุทรเลยทีเดียว สตูดิโอ WAY เล่าคอนเซปต์ของงานออกแบบไว้ว่า เมื่อพิจารณาจากปัญหาเดิมของท่าเรือ จึงทำช่องเปิดสองช่องขึ้นมาบนแท่นเพื่อช่วยลดแรงดันจากคลื่นทะเล เมื่อคลื่นซัดผ่านโพรงนี้ จะมีน้ำพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนปรากฏการณ์ธรรมชาติให้เป็นงานเพอร์ฟอร์แมนซ์ การออกแบบท่าเรือที่เพรียวบางได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล ไม่เพียงมีความเบาและหน้าตาสวยงาม แต่ยังใช้งานได้จริงและปลอดภัยต่อผู้ใช้ด้วย ทั้งนี้ การออกแบบยังคงรักษาโครงเสาแต่เดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อลดปริมาณการก่อสร้างใต้น้ำลง ทีนี้เลยเป็นมิตรกับทั้งงบประมาณและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเสียด้วย Sources : Designboom STUDIO WAY ARCHITECTS

ไต้หวันระแวงจีน เมื่อจีนจัดกำลังล้อมรอบเกาะ

ถ้าติดตามการเมืองภูมิภาคเอเชีย ก็จะรู้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับไต้หวันไม่ค่อยจะสู้ดีมานานมากแล้ว นอกจากการพยายามควบรวมฮ่องกงในช่วงที่ผ่านมา ไต้หวันก็เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายใหญ่ของ ‘นโยบายจีนเดียว’ ใหญ่ขนาดที่ประกาศว่าถ้าคนไต้หวันต้องการอิสรเสรีก็ต้องแลกกับเลือดเนื้อและสงคราม จริงๆ แล้วไต้หวันปกครองเป็นอิสระจากจีนตั้งแต่ปี 2492 แต่ถึงอย่างนั้นรัฐบาลปักกิ่งก็มองว่าเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตตัวเอง ซึ่งปักกิ่งตั้งใจแน่วแน่ว่าจะ ‘รวม’ ไต้หวันกับแผ่นดินใหญ่เข้าด้วยกันให้ได้ และจะแข็งข้อใช้กำลังหากจำเป็น ไม่กี่วันมานี้ กระทรวงกลาโหมไต้หวันเผยว่าแสนยานุภาพของกองกำลังติดอาวุธจีนมีศักยภาพมากขึ้น จนพอที่จะขัดขวางการป้องกันตัวเองของชาติได้ มิหนำซ้ำแผ่นดินใหญ่ยังคอยมอนิเตอร์ไต้หวันอย่างเต็มรูปแบบ ส่วนทางฝั่งไต้หวันเองก็มีการประเมินถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นจากเพื่อนบ้านยักษ์ใหญ่ เพราะทางการปักกิ่งกำลังดำเนินการเพิ่มกิจการทางทหารล้อมเกาะ ชนิดที่ว่าจงใจมาหายใจรดต้นคอ สาเหตุที่ช่วงหลังการเมืองระหว่างสองจีนคุกรุ่น เพราะประธานาธิบดีหญิงของไต้หวันอย่าง ‘ไช่ อิงเหวิน’ แสดงจุดยืนประณามความพยายามของปักกิ่งที่จะบ่อนทำลายประชาธิปไตยของเกาะ ปักกิ่งจึงลุกขึ้นมาเพิ่มแรงกดดันทางการเมืองและการทหารต่อไทเป กระทรวงกลาโหมไต้หวันเสนอต่อรัฐสภาว่าด้วยเรื่องกองทัพจีน เพราะประเมินสถานการณ์ทางการเมืองที่ร้ายแรงขึ้นกว่าปีที่แล้ว เพราะปี 2564 จีนเปิดตัวสิ่งที่เรียกว่า ‘การโจมตีอิเล็กทรอนิกส์ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง’ รวมถึงยุทธการบล็อกการสื่อสารข้ามฝั่งตะวันตกที่ครอบคลุมตั้งแต่หมู่เกาะที่ทอดยาวจากหมู่เกาะญี่ปุ่นผ่านไต้หวัน และทอดยาวลงไปที่ฟิลิปปินส์ หรือที่เรียกว่าจุดยุทธศาสตร์ First Island Chain ปัจจุบันจีนกำลังใช้ยุทธวิธีแบบออนไลน์ โดยรวบรวมกองทัพอินเทอร์เน็ตเพื่อโจมตีอินเทอร์เน็ตทั่วโลกทั้งแบบมีสายและไร้สาย เพื่อให้การป้องกันทางอากาศของไต้หวันเป็นอัมพาตผ่านการบังคับบัญชาทางทะเล และใช้ระบบตอบโต้การโจมตีที่มีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นภัยคุกคามอย่างใหญ่หลวงต่อเกาะเล็กๆ อย่างไต้หวัน ทางกระทรวงได้เสริมว่าจีนได้พัฒนาขีดความสามารถของตัวเองด้วยการใช้ดาวเทียม Beidou ซึ่งเป็นการตอบโต้ระบบ GPS ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าของ นั่นหมายความว่าปักกิ่งติดตามความเคลื่อนไหวรอบๆ ไต้หวันโดยได้รับความช่วยเหลือจากเครื่องบินสอดแนม โดรน และเรือรวบรวมข่าวกรองของจีน ในขณะที่กระทรวงกลาโหมจีนไม่ตอบสนองต่อคำร้องขอความคิดเห็นของไต้หวัน […]

ตั้งเซ่งจั้ว ร้านขนมเปี๊ยะ 88 ปีแห่งฉะเชิงเทรากับรสและสูตรที่ในประเทศจีนยังหากินยาก

ชวนรู้จัก ‘ตั้งเซ่งจั้ว’ แบรนด์ของครอบครัวคนทำขนมเปี๊ยะแห่งฉะเชิงเทรา ที่เสิร์ฟความประณีตมาร่วม 90 ปี

FYI

เปลี่ยนการสั่งของจากจีนให้เป็นเรื่องง่ายด้วย 4 แอปพลิเคชัน และผู้ช่วยฟรีแลนซ์จาก Fastwork

ใครๆ ก็บอกว่าสินค้าจากจีนราคาถูกมาก แต่การจะได้ของถูกมากมาไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะมีอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภาษา การพูดคุย สินค้าไม่ตรงปก เป็นต้น ยิ่งถ้าคิดจะทำธุรกิจสินค้าจากประเทศจีนอย่างการซื้อมาขายต่อ เพื่อลดต้นทุนสินค้า และทำกำไรได้เพิ่มขึ้น ก็จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและสื่อสารกับต้นทางได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ แต่จะไปเรียนภาษาจีนเพิ่มหรือศึกษาข้อมูลทั้งหมดด้วยตัวเอง อาจไม่ทันใจหรือยากเกินไป จะดีกว่าไหมหากมีผู้เชี่ยวชาญจาก Fastwork มาดำเนินการในส่วนนี้ให้เราแทน เพราะ Fastwork คือแหล่งรวมฟรีแลนซ์มืออาชีพ ที่มีฟรีแลนซ์เกี่ยวกับการจัดการร้านค้าออนไลน์ พร้อมให้บริการรับสั่งสินค้าจากจีนด้วยราคาที่เป็นมิตรต่อการลงทุน  หากพูดถึงบริการรับสั่งของจากจีน หลายคนอาจยังไม่คุ้นเคยสักเท่าไหร่ แต่สำหรับคนที่กำลังมองหาอาชีพเสริมเป็นการขายของออนไลน์แล้วละก็ คงเคยผ่านตากันมาบ้างแน่นอน เพราะปัจจุบันพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ต่างเลือกใช้แอปพลิเคชันสั่งของจากจีนช่วยด้วยกันทั้งนั้น วันนี้เราขอหยิบเอา 4 แอปพลิเคชันดีๆ ที่คัดมาแล้วว่าหากใครต้องการสั่งของจากจีน แอปพลิเคชันเหล่านี้แหละที่จะทำให้สะดวกสบายมากที่สุดมาฝากกัน AliExpress | แอปฯ รับสั่งของจากจีนยอดนิยมของชาวไทย ‘AliExpress’ แอปพลิเคชันรับสั่งของจากประเทศจีนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในไทย เนื่องจากรองรับการให้บริการด้วยภาษาไทย สินค้ามีการจำแนกประเภทอย่างชัดเจน ทั้งยังอัปเดตสินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างทันท่วงที เหมาะกับการนำเข้าสินค้ามาขายต่อเป็นอย่างมาก และที่ขาดไปไม่ได้เลยคือช่วงเวลา Flash Sale ลดกระหน่ำกันทุกวัน Vcanbuy | อัปเดตสินค้าตามเทรนด์ แยกหมวดหมู่ชัดเจน ‘Vcanbuy’ อีกหนึ่งเว็บไซต์สั่งของราคาส่งจากจีนที่ใช้งานด้วยภาษาไทย พร้อมบริการติดต่อหาสายด่วนได้ตลอดเวลา ตอบโจทย์ผู้ใช้งานคนไทยที่อาจไม่ถนัดภาษาจีนเป็นอย่างดี แถมยังจัดโปรโมชันสุดพิเศษในทุกๆ […]

เรื่องเล่า ‘เยาวราช’ สามยุค จาก 10 สถานที่กลิ่นอายไทยจีนถิ่นมังกร

ชวนทุกคนย้อนรอยความทรงจำของเยาวราชในช่วงสามยุค ผ่านเรื่องเล่าจาก 10 คน 10 สถานที่ให้กรุ่นกลิ่นลูกครึ่งไทยจีน

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.