‘คนรักมวลเมฆ’ ชมรมคนชอบมองท้องฟ้าเยียวยาจิตใจ และสอนดูฝน ฟ้า อากาศให้เป็นเรื่องใกล้ตัว

ขอชวนคุณผู้อ่านทุกท่านพักความเหนื่อยล้าจากการทำงานเพียงสักนิด และลองมองออกไปนอกหน้าต่างชมท้องฟ้าใกล้ตัวกันสักหน่อย เพราะวันนี้เราจะพาไปทำความรู้จักเพื่อนใหม่ที่ชื่อว่า ‘ก้อนเมฆ’ และ ‘ท้องฟ้า’ กัน ถ้าตอนนี้สภาพท้องฟ้าปลอดโปร่งสดใส คาดว่าจะได้เจอน้องหมั่นโถว เมฆสีขาวลอยตัวเป็นก้อนเดี่ยวๆ ลักษณะคล้ายกับขนมหมั่นโถวรูปทรงกลม จริงๆ มีชื่อทางการคือ คิวมูลัส (Cumulus) หากเจอน้องโผล่มาทักทายเมื่อไหร่ ก็เป็นสัญญาณบอกได้เลยว่า ตอนนี้อากาศกำลังดี แต่ถ้าเมฆหมั่นโถวก้อนนี้เริ่มมีขนาดสูงขึ้นจนมากกว่าความกว้างของเมฆ และฐานเมฆเป็นสีเทาเข้ม ขอให้ทุกคนรีบหาร่มให้ไว เพราะน้องกำลังปล่อยฝนลงมาหาพวกเราแล้ว ถ้าคุณดูท้องฟ้าตอนเย็นช่วงพระอาทิตย์ตกไปสักพักหนึ่ง ก็อาจจะเจอ ‘Twilight Arch’ สังเกตขอบท้องฟ้าเป็นสีเหลือง ส้ม แดง และม่วงโผล่ขึ้นมาประมาณ 5 นาที (สามารถเจอตอนพระอาทิตย์ขึ้นได้เช่นเดียวกัน) หรืออาจเจอ ‘Vanilla Sky’ ท้องฟ้าสีส้มอมชมพูคล้ายกับสีขนมหวานมาทักทายก่อนที่ท้องฟ้าจะเปลี่ยนเป็นสีดำมืดเข้าสู่ตอนกลางคืน หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ดูท้องฟ้าแล้วรู้สึกเพลิดเพลิน แถมยังชอบเหม่อมองก้อนเมฆทุกๆ วัน แสดงว่าตอนนี้คุณอาจจะตกหลุมรักก้อนเมฆเข้าให้แล้ว อาการแบบนี้มีชื่อเรียกว่า ‘Ouranophile’ เป็นคำมาจากภาษากรีกแปลว่า ‘ผู้หลงรักในท้องฟ้า’ ปัจจุบันมีคนไทยหลายแสนคนที่ชื่นชอบก้อนเมฆรวมตัวกันแบ่งปันภาพท้องฟ้าในแต่ละท้องที่ให้เชยชมกันใน ‘ชมรมคนรักมวลเมฆ’ กลุ่มคอมมูนิตี้ในเฟซบุ๊กที่จัดตั้งโดย ‘ชิว-ดร. บัญชา ธนบุญสมบัติ’ นักวิทยาศาสตร์และคอลัมนิสต์ผู้ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มากมาย ที่วันนี้เขาจะเล่าให้เราฟังว่าความสุขของการดูก้อนเมฆนั้นช่วยเยียวยาจิตใจคนได้อย่างไร และเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเกี่ยวกับเจ้าก้อนสีขาวนี้ไปพร้อมกัน ก่อมวลเมฆ […]

รับมืออย่างไร เมื่อเจอโพสต์อยากฆ่าตัวตายบนโลกโซเชียล

“เรามีความสุขเป็นพิเศษ คงเป็นเพราะวันนี้คือวันสุดท้ายของการมีชีวิตอยู่”“เราคงไม่ได้ตื่นขึ้นมาเห็นพระอาทิตย์ในวันพรุ่งนี้อีกต่อไปแล้ว”“สำหรับเราความตายไม่ใช่ความเจ็บปวดที่สุด แต่คือการมีชีวิตอยู่ต่างหาก” ถ้อยคำที่แฝงไปด้วยความเจ็บปวดจากคนแปลกหน้าบนโลกอินเทอร์เน็ต เป็นสัญญาณเตือนภัย เพื่อบอกว่าเบื้องลึกจิตใจของ ‘เขา’ ต้องการความช่วยเหลือมากกว่าสิ่งอื่นใด จำนวนโพสต์บนหน้าไทม์ไลน์โซเชียลมีเดียของเขาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามเข็มนาฬิกาที่กำลังเดินไปข้างหน้า หนึ่งโพสต์ “เราควรช่วยเหลือเขาไหม”  สองโพสต์ “หรือเราต้องเคารพการตัดสินใจของเขา” สามโพสต์ “ถ้าช่วยต้องทำยังไง” หนึ่งชีวิตที่ไม่เคยรู้จักกัน แต่ความเป็นความตายของเขากลับปรากฏขึ้นตรงหน้า ส่งผลให้เกิดความลังเลไม่รู้ว่าจะช่วยอย่างไร เพราะคอมเมนต์บางส่วนอวยพรให้เขาไป แต่บางส่วนพยายามดึงให้เขากลับมา แล้วเราต้องทำอย่างไร ถ้าหากเจอ ‘คำเตือนแห่งความตาย’ โลดแล่นบนอินเทอร์เน็ต ฉันจึงชวน ‘ดร.สมบุญ จารุเกษมทวี’ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาร่วมพูดคุยถึงวิธีการรับมือในประเด็นนี้ ซ่อนเหตุผลบางอย่างในทุกการโพสต์ คุณคิดอะไรอยู่: เบื่อว่ะ วันนี้ไม่มีความสุขเลย คุณคิดอะไรอยู่: ผิดหวังกับคะแนนสอบอีกแล้ว อยากหายตัวไปเลย คุณคิดอะไรอยู่: ชีวิตนี้ไม่เหลืออะไรแล้ว เราไม่อยู่เป็นภาระใครแล้วนะ คิดจะโพสต์ก็โพสต์ไม่ใช่เรื่องสิ้นคิด เพราะหลายคนเลือกระบายความอัดอั้นตันใจ ลงกล่องข้อความบนโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ความเศร้า ความผิดหวัง ความเหนื่อย ความท้อแท้ หรือบังเอิญเจอเรื่องตลก ทุกข้อความที่พิมพ์ ย่อมมีสาเหตุที่ทำให้เขาอยากโพสต์ ซึ่งสิ่งเหล่านั้นสะท้อนตัวตน ตั้งแต่อารมณ์ ความรู้สึก ความนึกคิด ไปจนถึงประสบการณ์ที่เขากำลังเผชิญอยู่ ณ […]

โดม ธิติภัทร นักจิตวิทยาผู้อยากขจัดความคิดว่า บำบัดจิต = บ้า

ถึงคุณที่กำลังเริ่มต้นอ่านบรรทัดแรก รบกวนยกมือขวาสัมผัสที่อกข้างซ้ายสักครู่ ก้อนเนื้อที่ใหญ่กว่ากำปั้นเล็กน้อยเป็นอย่างไรบ้าง มันกำลังบีบและคลายเพื่อบอกว่าคุณสุข เศร้า เหงา ทุกข์ หรือมันกำลังร้องบอกว่า ‘อยากปรึกษากับใครสักคน’  แต่เพราะการปรึกษาใจ หรือใช้คำศัพท์เชิงการแพทย์ว่า บำบัดจิต มีภาพจำในแง่ลบมากกว่าภาพบวก บ้างมองว่าเป็นบ้า บ้างด่วนสรุปไปแล้วว่าผิดปกติ ทว่าความจริงไม่ใช่อย่างนั้น และ โดม ธิติภัทร รวมทรัพย์ นักจิตวิทยา ควบด้วยสถานะนักศึกษาปริญญาโทด้าน Art Psychotherapy ที่ Goldsmiths, University of London ประเทศอังกฤษ อยากทลายความคิดนี้ให้หมดสิ้นจากสังคม พร้อมพาเรื่องสุขภาพจิตมาใกล้ชิดกับชีวิตประจำวันของทุกคนด้วยการให้ความรู้ และคำปรึกษาออนไลน์ผ่านเพจ he, art, psychotherapy ยามที่สังคมยังมีความคิดว่า การเข้ารับบำบัด = บ้า เรานัดสนทนากับโดมที่ H.O.N. House of Nowhere โฮมคาเฟ่ในซอยปรีดีพนมยงค์ที่มีแกลเลอรีด้านข้าง และจัดสตูดิโอถ่ายภาพไว้ด้านบน สิบเอ็ดนาฬิกาถึงเวลานัดหมาย เขามาถึงร้านพร้อมกลิ่นหอมกรุ่นของกาแฟ Dirty ก่อนเลื่อนเก้าอี้ฝั่งตรงข้าม แล้วหย่อนตัวนั่งอย่างสบายๆ สองบทบาทใน He คนเดียว […]

จัดการใจให้สตรอง พร้อมรับมือ COVID-19 ฟังจิตเเพทย์กับ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’

ชวนทุกคนมาฟังจิตแพทย์ ‘หมอเอิ้น พิยะดา หาชัยภูมิ’ คุยเรื่องวิธีการรับมือกับจิตใจให้ผ่านพ้นช่วง COVID-19 ไปได้ และข้อคิดที่ช่วยให้เรามองโลกนี้อย่างมีความสุขมากกว่าเคย

1 2

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.