จากบ้านเก่าอายุกว่า 150 ปี สู่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่มีหุ้นส่วนกว่า 500 ชีวิต

โรงแรมในสถานที่ท่องเที่ยวส่วนใหญ่เน้นการตกแต่งและการบริการ เพื่อให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ อยากกลับมาใช้บริการอีก แต่ ‘บ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี’ ที่จังหวัดจันทบุรี ขอเลือกคิดต่างออกไป เพราะนอกจากทำเลจะโอบล้อมไปด้วยบรรยากาศดีๆ อยู่ติดริมแม่น้ำ มีห้องพักที่สะดวกสบายแล้ว ที่นี่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ชวนให้ผู้เข้าพักได้ศึกษาและทำความรู้จักจันทบุรี รวมถึงพื้นที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรให้มากขึ้นอีกด้วย มากไปกว่านั้น ลูกค้าเองยังร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยพัฒนาชุมชนผ่านการเข้าพักได้อีก ที่พักในจันทบุรีแห่งนี้แตกต่างจากที่พักอื่นๆ อย่างไร คอลัมน์ Urban Guide จะขอพาไปสำรวจกันถึงเมืองจันท์ บ้านพักประวัติศาสตร์ที่เก็บเรื่องราวของเมืองเอาไว้ที่ล็อบบี้โรงแรม หากมองผ่านๆ โรงแรมแห่งนี้อาจดูเหมือนบ้านเก่าทั่วไปในชุมชน แค่อาจจะดูใหญ่โตกว่าบ้านหลังอื่นเล็กน้อย แต่หากสังเกตให้ดี ล็อบบี้โรงแรมแห่งนี้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมๆ ที่เชิญชวนให้เราก้าวเท้าเข้าไปดูว่าสิ่งที่จัดแสดงอยู่นั้นมีอะไรบ้าง เรื่องราวส่วนใหญ่ที่เราได้เห็นผ่านสิ่งของต่างๆ ล้วนแล้วแต่บรรจุความเป็นมาของจังหวัด และการดำเนินชีวิตของผู้คนสมัยก่อนในแถบนี้ ด้วยความที่ชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นย่านเก่าแก่ของจังหวัด รวมถึงเคยเป็นเมืองท่าค้าขายในสมัยก่อน จึงมีเรื่องราวมากมายที่น่าสนใจ และสามารถรวบรวมมาเป็นเกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ ให้กับนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนมาเยี่ยมชม “หลวงราชไมตรีเป็นคนแรกที่บุกเบิกเรื่องของการทำสวนยางพารา เนื่องจากท่านเคยไปเรียนหนังสืออยู่ที่ปีนัง แล้วพอกลับมาอยู่ที่บ้าน ท่านเห็นว่าสภาพอากาศของที่จันทบุรีไม่ได้ต่างอะไรกับมาเลเซียเลย ท่านก็เลยสั่งพันธุ์ยางเข้ามาทดลองปลูกจนประสบความสำเร็จ และกลายเป็นอาชีพเสริมของคนจันท์ เรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งยางพาราภาคตะวันออก แล้วนอกจากทำสวนยาง ท่านก็เป็นพ่อค้าพลอยด้วย” ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เล่าให้เราฟังถึง ‘หลวงราชไมตรี’ ผู้เป็นเจ้าของบ้านหลังนี้ และสร้างคุณูปการให้กับชาวจันทบุรีเป็นอย่างมาก ด้วยความที่สถานที่แห่งนี้มีเรื่องราววิถีชีวิตของชุมชนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ทำให้คนในชุมชนตั้งใจเก็บรักษาความสวยงามนี้เอาไว้ จนกลายมาเป็น […]

‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ จากแหล่งกระจายเครื่องเทศสู่แหล่งท่องเที่ยวที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมอาหาร

นอกจากพลอยและผลไม้ที่เป็นของขึ้นชื่อจังหวัด ‘จันทบุรี’ แล้ว ‘อาหาร’ ก็เป็นอีกอย่างที่เป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ซึ่งมีความโดดเด่นทั้งตัววัตถุดิบและการปรุง จนทำให้หลายคนติดใจในรสชาติ อยากแวะกลับมาอีกครั้ง มีหลายแหล่งไม่น้อยที่เชื่อว่าจุดเริ่มต้นอาหารของชาวจันทบุรีมาจาก ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ย่านเก่าแก่ที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์พื้นที่และประวัติศาสตร์อาหาร โดยในอดีตเคยเป็นแหล่งซื้อขายและกระจายเครื่องเทศที่สำคัญ รวมทั้งเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรมที่รุ่มรวย ทำให้สร้างสรรค์เมนูอาหารที่หลากหลายได้ ซึ่งในปัจจุบันชุมชนก็ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองจันทบุรี คอลัมน์ Neighboroot ครั้งนี้ขอพาไปเดินท่องชุมชนริมน้ำจันทบูร โดยมี ‘หมู-ปัทมา ปรางค์พันธ์’ ผู้จัดการบ้านพักประวัติศาสตร์หลวงราชไมตรี เป็นคนนำทางไปชมวิถีชีวิตในชุมชนริมน้ำจันทบูร พร้อมเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจในพื้นที่นี้ให้ฟัง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ชุมชนเก่าแก่ แหล่งกระจายเครื่องเทศของจันทบุรี จันทบุรีอาจเป็นจังหวัดที่ไม่ได้มีแหล่งท่องเที่ยวมากเท่าไรนัก แต่เพราะว่าเป็นจังหวัดเก่าแก่แห่งหนึ่ง จึงมีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่น่าสนใจซ่อนตัวอยู่ รอให้เราเข้าไปค้นหา โดยเรื่องราวเหล่านั้นเริ่มต้นพร้อมกับชุมชนเก่าแก่ที่มีมานานกว่า 300 ปีอย่าง ‘ชุมชนริมน้ำจันทบูร’ ที่ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรืองมาก ไม่ใช่แค่อยู่มานาน แต่ยังเป็นจุดเริ่มต้นของหลายๆ อย่างในจันทบุรี “ถนนที่เรากำลังเดินอยู่นี้เป็นถนนเส้นแรกของจังหวัด เมื่อก่อนชื่อถนนเลียบนที จนมาถึงรัชกาลที่ 5 ก็เปลี่ยนชื่อเป็นสุขาภิบาล” พี่หมูพาเราเดินชมชุมชนริมน้ำตลอดระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร พร้อมเล่าถึงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ กับการเป็นศูนย์กลางการค้า เป็นทำเลที่เหมาะสม สะดวกสบายต่อการเดินทาง เนื่องจากอยู่ติดริมแม่น้ำซึ่งเป็นเส้นทางการคมนาคมของคนสมัยก่อน ทำให้มีทั้งคนไทย คนจีน […]

เยือนถิ่น ‘จันทบุรี’ เมืองผลไม้แดนตะวันออก วานให้เด็กเมืองจันท์เป็นผู้นำทาง

ขับรถตระเวน และเดินเตาะแตะที่ ‘จันทบุรี’ โดยมีเจ้าถิ่นเด็กเมืองจันท์เป็นไกด์เฉพาะกิจ

Baan Lek Villa บ้านของสถาปนิกสาวเมืองจันท์ที่อยากให้คุณรู้จักและรักจันทบุรีมากขึ้น

พาไปหลีกหนีความวุ่นวายที่ ‘บ้านเล็กวิลล่า’ บ้านใต้ถุนสูงกลางสวนที่จะทำให้คุณตกหลุมรักเมืองจันท์ยิ่งขึ้น

‘ขนมไข่ป้าไต๊’ เครื่องบันทึกเวลาที่อยู่คู่จันทบูรมานานกว่า 70 ปี

“ลุงมองว่าขนมไข่เป็นมากกว่าขนม แต่มันคือไทม์แมชชีนที่ขุดความทรงจำของเราให้หวนกลับมาอีกครั้ง” หนึ่งในความแน่วแน่ที่ต้องการส่งต่อขนมไข่จากเตาอบร้อนๆ ให้คนรุ่นหลังได้ลิ้มลองของ ‘ลุงพฤณท์’ นักผลิตขนมไข่รุ่นที่ 2 จากร้านขนมไข่ป้าไต๊ที่อยู่เคียงคู่กับชุมชนริมน้ำจันทบูรมานานกว่า 70 ปี ผู้ที่เชื่อว่าหัวใจหลักของขนมคือการให้คนได้ฟื้นภาพจำแห่งความสุขขึ้นมาอีกครั้ง พร้อมทั้งพูดคุยถึงรากเหง้าของขนมไข่ที่ใช้ส่วนผสมแค่ 3 อย่าง แต่สามารถสร้างตัวตนให้คงอยู่มานานกว่า 100 ปี | ซึมซับ ‘สูตรขนมไข่’ จากมุมที่แม่ทำแล้วสานต่อ ห้องแถวไม้สองชั้นแห่งหนึ่ง ณ ริมถนนชุมชนริมน้ำจันทบูรเป็นที่ตั้งของร้าน ‘ขนมไข่ป้าไต๊’ ซึ่งบริเวณด้านหน้าของชั้นหนึ่งวางสารพัดขนมให้ผู้คนได้เข้ามาเลือกซื้อคนละถุงสองถุง แต่สิ่งหนึ่งที่สะดุดจนต้องกวาดสายตามองหาต้นตอของกลิ่นหอม คือเตาอบขนมไข่ที่ตั้งอยู่ในตัวบ้าน พร้อมบริการเสิร์ฟขนมร้อนๆ ให้ถึงมือคนกิน “ลุงรู้จักขนมไข่มาตั้งแต่ยังเล็ก คอยเป็นลูกมือแม่ และซึมซับสูตรขนมไข่มาเรื่อยๆ” ‘พฤณท์ สุขสบาย’ ทายาทรุ่นสองที่รับช่วงหยอดขนมต่อจากป้าไต๊มาเป็นเวลากว่า 20 ปี เล่าถึงความทรงจำวัยเด็กให้ฟังว่า คุณแม่ทำขนมไข่มาก่อนที่เขาเกิดเสียอีก แต่พอเขาจำความได้ก็เริ่มลงมือช่วยหยิบช่วยจับเล็กๆ น้อยๆ มาแบ่งเบาความเหนื่อย ซึ่งถ้าหากเราจะนับอายุของร้านขนมไข่แห่งนี้ เรียกว่าเปิดเตาบริการมานานกว่า 70 ปีแล้ว | ค่อยๆกลมกลืนวัฒนธรรมจาก ‘ขนมฝรั่ง’ มาเป็น ‘ขนมไข่’ กว่าจะมาเป็นขนมไข่ที่ถูกใจใครๆ มานักต่อนัก แท้จริงแล้วมันซ่อนเรื่องราวประวัติศาสตร์อยู่ในตัวขนม […]

บางเวลาวาด บางเวลาชง เรื่องเล่าความสุขปลายปากกา ของ ‘น้อยหน่า’ นักเขียนการ์ตูนแห่งขายหัวเราะ

คุยกับ น้อยหน่า-สุริยา นักเขียนการ์ตูนขายหัวเราะ ผู้สร้างความสุขผ่านศิลปะให้เมืองจันทบุรี

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.