ชวนรำลึกเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 กับนิทรรศการ ‘เลือนแต่ไม่ลืม’ ที่ Palette Artspace วันนี้ – 29 พ.ค. 65

เหตุการณ์ ‘พฤษภาทมิฬ’ หรือ ‘พฤษภาฯ 2535’ มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง? เมื่อเดือนพฤษภาคม 2535 เกิดเหตุการณ์ประชาชนรวมตัวกันเพื่อต่อต้านการสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหารคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) สถานการณ์รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นไม่นาน รัฐบาลได้สั่งทหารปราบปรามผู้ชุมนุมจนนำไปสู่ความรุนแรงที่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ พิการจำนวนมาก และสิ่งที่หลายคนอาจหลงลืมก็คือ ‘ผู้สูญหาย’ ซึ่งไม่มีตัวเลขบันทึกไว้อย่างเป็นทางการ สำหรับบางคน พฤษภาฯ 35 อาจเป็นเพียงเหตุการณ์นองเลือดในประวัติศาสตร์ แต่สำหรับญาติของผู้สูญหาย พวกเขายังคงรอคำตอบจากภาครัฐเกี่ยวกับชะตากรรมของพ่อ แม่ พี่ น้อง หรือลูกของพวกเขา ก่อนคำว่า ‘สูญหาย’ จะทำให้ความสูญเสียที่เกิดขึ้นเลือนรางมากกว่านี้ เราอยากชวนทุกคนไปรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อ 30 ปีก่อนที่นิทรรศการ ‘เลือนแต่ไม่ลืม (Lost, and life goes on)’ จัดขึ้นโดยแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย เพื่อนำเสนอเหตุการณ์พฤษภาฯ 2535 ผ่านเรื่องราวการ ‘สูญหาย (Lost)’ และ ‘ชีวิต (Life)’ ของญาติผู้สูญหายที่ยังคงดำเนินต่อไปตลอดระยะเวลา 30 ปี  ภายในงานมีการจัดแสดงศิลปะ […]

กระจายอำนาจเท่ากับกระจายความเจริญ : คุยเรื่อง ‘ปลดล็อกท้องถิ่น’ กับ ปิยบุตร แสงกนกกุล

ในช่วงวันหยุดยาวสงกรานต์ที่ผ่านมา เราเชื่อว่ามีคนในกรุงเทพฯ จำนวนไม่น้อยเลือกเดินทางกลับภูมิลำเนาที่ต่างจังหวัดกัน อย่างที่เห็นภาพร้านรวงปิดทำการ ถนนในกรุงเทพฯ โล่งว่างตามสื่อต่างๆ  ที่เป็นแบบนั้น เพราะไม่ว่าใครที่อยากมีคุณภาพชีวิตดีๆ ด้วยการเรียนในสถานศึกษาที่มีคุณภาพ หรือทำงานได้ค่าตอบแทนสูงๆ ก็มักต้องตัดสินใจเดินทางจากบ้านที่ต่างจังหวัดเข้ามาในกรุงเทพฯ  ในปี 2563 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เสนอข้อมูลประชากรแฝงกลางวัน (ผู้ที่เข้ามาทำงานในจังหวัดที่ตนเองไม่ได้อาศัยอยู่) ในกรุงเทพฯ ว่ามากถึง 46.3 เปอร์เซ็นต์ จากจำนวนทั่วประเทศ ส่วนประชากรแฝงกลางคืน (ผู้ที่อาศัยอยู่ประจำในจังหวัดหนึ่ง โดยไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่อาศัยอยู่ประจำ) ในกรุงเทพฯ ก็มีจำนวนถึง 2.35 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 33.4 ของจำนวนทั้งประเทศ ภาพที่เห็นในช่วงวันหยุดยาวและสถิติเหล่านี้ ล้วนสะท้อนถึงความเจริญที่กระจุกตัวอยู่ไม่กี่ที่ ทำไมสถานศึกษาที่มีคุณภาพ งานดีๆ สาธารณูปโภคที่ครบครัน และความสร้างสรรค์ถึงไม่อยู่ใกล้บ้านเราบ้าง นี่น่าจะเป็นคำถามที่คนต่างจังหวัดเฝ้าสงสัยตลอดมา แม้ว่าเราจะมีการเลือกตั้งท้องถิ่นอย่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และเทศบาล ไปในปี 2564 แล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบาย หรือทิศทางของงบประมาณยังอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐบาลส่วนกลาง ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือตำแหน่งอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางหรือส่วนราชการอยู่ดี เมื่อวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายนที่ผ่านมา ‘คณะก้าวหน้า’ จึงเริ่มต้นผลักดันแคมเปญ […]

ประเทศฮาบ่ใจ่ของคิง : ฮ่องเต้ ธนาธร ผู้เรียกร้องความเท่าเทียมจากล้านนาสะเทือนกรุงเทพฯ 

นัดพบฮ่องเต้ ผู้ประสบภัย 112 ในเชียงใหม่ ขณะที่หลายประเทศเตรียมพร้อมรับมือวิกฤตโลกร้อนด้วยนวัตกรรม เพราะแผ่นทวีปที่กำลังจะจมน้ำจากธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า แต่สิ่งที่รัฐไทยกำลังเลือกทำในปัจจุบัน คือการไล่ทุบกำราบคนเห็นต่างให้สยบยอมอยู่ใต้ตีนอย่างแข็งขัน  นี่คือข้อบ่งชี้ว่า ประเทศเรากำลังหมดหวังและถอยหลังลงคลองในสายตาคนรุ่นใหม่ แต่ขั้วอนุรักษนิยมกลับมองว่า นี่คือการรักษาความมั่นคงอันดีงามของชาติที่แสนสงบและดีพร้อมกว่าชาติใดใดในโลก และนี่คือสาเหตุที่ช่วงเกือบปลายปี 2564 เราตัดสินใจเดินทางไปพบนักกิจกรรมอย่าง ฮ่องเต้-ธนาธร วิทยเบญจางค์ ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หลังจากเขาถูกแจ้งจับคดีมาตรา 112 ก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานนัก ฮ่องเต้ตั้งใจนัดให้เราไปพบที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ไม่ไกลจากคณะสังคมศาสตร์ คณะที่เขากำลังศึกษาวิชาปรัชญา ชั้นปีที่ 3 ในปัจจุบัน นี่คืออาคารที่ผู้บริหารมหา’ลัยตัดสินใจสั่งริบเอาพื้นที่จอดรถของนักศึกษามาสร้างอาคารที่ผู้เรียนแทบไม่ได้ใช้งาน เราถามฮ่องเต้ถึงจำนวนคดีความที่เขาได้รับ หลังการลุกขึ้นมาเรียกร้องความเท่าเทียมบนพื้นที่สาธารณะ “เกินสิบ (หัวเราะขื่นๆ) ส่วนใหญ่เป็นคดี พ.ร.บ.ชุมนุม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ร.บ.ควบคุมโรค และจะโดน 116 จำนวนหนึ่งหรือสองคดีนี่แหละ แล้วก็มี 112 อีกจำนวนหนึ่งคดี ผมคิดอยู่ว่า อีกหน่อยอาจจะมีคดีแปลกๆ โผล่ขึ้นมาอีก” เด็กหนุ่มยิ้มขื่นบางๆ หลังพูดจบ “หน้าที่ของเราคือยิ้ม และขัดขืนมัน เพื่อทำให้ประเทศนี้เปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นกว่านี้ให้ได้ ผมไม่คิดว่าเราต้องกลัวกฎหมายฉบับนี้ แค่ต้องทำงานของตัวเองต่อไป […]

ชวนดู ลุงดร เกตุเผือก สื่อประชาชน ไลฟ์สดเพื่อประชาธิปไตย สารคดีเชิงข่าวรางวัล Amnesty จาก Urban Creature 

“เราต้องการที่จะให้ประชาชนได้รู้ ใครจะไม่ถ่ายไม่ว่า แต่เราต้องการถ่าย”  นี่คือคำพูดง่ายๆ จากน้ำเสียงอันเป็นมิตรของ ‘ลุงดร เกตุเผือก’ เจ้าของเพจชื่อเสียงเรียงนามเดียวกับตัวเอง ลุงดรคือตัวอย่างของคนธรรมดาที่ผันตัวมาเป็นสื่อประชาชนติดตามถ่ายทอดสดเหตุการณ์ร้อน เพื่อส่งสารความจริงจากแทบทุกพื้นที่ที่มีการจัดม็อบประชาธิปไตย และติดตามไปยังพื้นที่ศาลต่างๆ ที่กำลังมีการดำเนินคดีกับประชาชนที่ออกมาชุมนุม เพื่อให้ทุกคนได้รับรู้ถึงความเป็นไปแบบวินาทีต่อวินาทีอย่างถึงลูกถึงคน  จากประชาชนที่ใช้โทรศัพท์ไม่ค่อยเป็น ผุดลุกขึ้นมาเรียนรู้ฟังก์ชันการใช้งานของมือถือใหม่ทั้งหมด และตะลุยถ่ายทอดภาพการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยบนท้องถนน ผ่าน ‘ไลฟ์สด’ แบบฉบับง่ายๆ และซื่อตรงของตัวเอง ในยุคที่สื่อถูกบงการ ถูกเซนเซอร์ และถูกบิดเบือน จนผู้ชมตามหาชุดความจริงได้อย่างจำกัด ลุงดรเป็นหนึ่งในคนไทยที่เลือกเป็นสื่อด้วยตัวเอง เมื่อไม่ต้องทำตามคำสั่งใคร การไลฟ์สดของเขา จึงเปรียบเสมือนความหวังเล็กๆ ของคนดูที่ต้องการเสพสื่อและตัดสินเหตุการณ์นั้นจากมุมมองของประชาชนจริงๆ  สารคดีสั้นจาก Urban Creature ชิ้นนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า ‘ลุงดร เกตุเผือก : สื่อ – ชาวบ้าน – ประชาธิปไตย I เมื่อชีวิตอุทิศเป็นสื่อประชาชน’ กำกับโดย ‘แทนชนก มุสิกธรรม’ และสร้างสรรค์โดยทีมโปรดักชันทั้งทีม ด้วยตั้งใจและเห็นว่าความจริงเป็นสิ่งสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้สังคมเราก้าวไปสู่ความยุติธรรม และแทนชนกยังเชื่ออีกว่า ถ้าเรามีใจ ใครๆ ก็เป็นกระบอกเสียงเพื่อขับเคลื่อนสังคมได้ ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ […]

ไม่เชื่อมาดูมิจิ เพื่อไทยจัด นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้านำร่องนโยบายและทลายอคติต่อผู้มีประจำเดือน

ไม่มีประจำเดือนก็ทำความเข้าใจเรื่องนี้ได้ ‘นิทรรศกี เพื่อผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า’ คือนิทรรศการจากพรรคเพื่อไทยที่จัดในโอกาสวันสตรีสากล  นิทรรศกีคือ งานแสดงศิลปะและข้อมูลสำคัญที่ว่าด้วยเรื่องผ้าอนามัยและค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง ซึ่งมาพร้อมกับประกาศการศึกษาความเป็นไปได้ด้านนโยบายผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า ด้วยการเริ่มต้นนำร่องโปรเจกต์ในตึกเพื่อไทยเป็นที่แรก นิทรรศการนี้จะจัดวันที่ 8 มีนาคม ซึ่งตรงกับวันสตรีสากล ในปีนี้วันสตรีสากลใช้แคมเปญ #breakthebias หรือการทำลายอคติ ตั้งแต่มายาคติเรื่องเพศ การเหมารวม (stereotype) การเลือกปฏิบัติ และอื่นๆ ที่มาพร้อมกับอคติทางเพศ  นิทรรศกีจึงนำแคมเปญ #breakthebias #IWD2022 มาประกาศการศึกษาความเป็นไปได้ของนโยบายผ้าอนามัยฟรีถ้วนหน้า ประกาศนำร่องโครงการในพรรคเพื่อไทย และจัดนิทรรศการเรื่องผ้าอนามัย จิ๋ม และความเป็นผู้หญิง เพื่อศึกษานโยบายที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง และฝ่าอคติทางเพศไปพร้อมๆ กัน  ชานันท์ ยอดหงษ์ ผู้รับผิดชอบนโยบายด้านอัตลักษณ์และความหลากหลายของพรรค เล่าที่มาของความตั้งใจว่า การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ นิทรรศการที่จะเกิดขึ้น ไม่เพียงพยายามฝ่าอคติทางเพศอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังใส่ใจเรื่องค่าใช้จ่ายที่เลี่ยงไม่ได้ของผู้หญิง  “หากค่าแรงขั้นต่ำเรายังอยู่ที่ราว 331 บาท/วัน แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคกลับสูงขึ้นเรื่อยๆ ค่าใช้จ่ายประจำเดือนของผู้หญิงอย่าง ‘ผ้าอนามัย’ อยู่ที่ 350 – 400 บาท/เดือน โดยตัวเลขนี้คำนวณจากจำนวนผ้าอนามัยที่ควรเปลี่ยนทุก 4 ชั่วโมง และผู้หญิงเป็นประจำเดือนที่ […]

เสวนาทบทวน 10 ปี มาตรา 112 ชมนิทรรศการพิพิธภัณฑ์สามัญชน วันนี้ – 20 มี.ค. ที่ Kinjai Contemporary

สำหรับผู้ที่มีจุดยืนในประชาธิปไตย และติดตามมูฟเมนต์การเมืองอยู่เป็นประจำ พิพิธภัณฑ์สามัญชน (Museum of Popular History) น่าจะเป็นชื่อหนึ่งที่หลายคนได้ยินบ่อยๆ แต่ใครที่ไม่รู้จัก เราขอแนะนำถึง พิพิธภัณฑ์สามัญชน อย่างสั้นๆ พิพิธภัณฑ์สามัญชนคือพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ที่ทำการเก็บสะสมของที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุม และการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในหลากหลายประเด็นและชุดความคิดหรืออุดมการณ์ ภายใต้ปรัชญาขององค์กรว่า ทุกประเด็น ทุกความเชื่อ มีพื้นที่ในพิพิธภัณฑ์นี้ ตั้งแต่ปี 2561 เป็นต้นมา พิพิธภัณฑ์สามัญชน ได้ร่วมมือกับหลายหน่วยงานในการจัดนิทรรศการออนไซต์ให้คนเข้ามาเยี่ยมชมและสัมผัสประวัติศาสตร์การเมืองผ่านสิ่งของ ทั้งในรูปแบบนิทรรศการขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ ล่าสุด พิพิธภัณฑ์ฯ ได้ร่วมกับ คินใจ คอนเทมโพรารี (Kinjai Contemporary) นำเสนอประวัติศาสตร์ฉบับย่อผ่านของสะสมจากการต่อสู้ของคนตัวเล็กตัวน้อย เพื่อสร้างสังคมที่ดีกว่าเดิม ในนิทรรศการเต็มรูปแบบและของสะสมกว่า 300 ชิ้น จากช่วงเวลาต่างๆ ในหน้าประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวของการเมืองไทย เช่น ของสะสมจากเหตุการณ์ปราบกบฏบวรเดชในพุทธศักราช 2476, ของสะสมจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 รวมไปถึงของสะสมจากการเคลื่อนไหวในปัจจุบันอย่างม็อบราษฎร 2563 – ปัจจุบัน โดยนิทรรศการจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ – 20 มีนาคม […]

สองมหาเศรษฐีระดับท็อปของรัสเซียแสดงจุดยืนต่อต้านสงคราม

ไม่นานมานี้ สองมหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทั้ง Oleg Deripaska และ Mikhail Fridman ได้ออกมาแสดงจุดยืน เพื่อเรียกร้องให้เกิดสันติภาพ เนื่องจากปัจจุบันกิจการต่างๆ ในประเทศอยู่ภายใต้การคว่ำบาตร ปัจจุบัน พวกเขาถือเป็นสองนักธุรกิจชั้นนำกลุ่มแรกของประเทศที่ออกมาต่อต้านการรุกรานยูเครนของรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ Fridman เป็นหนึ่งในชายที่ร่ำรวยที่สุดของประเทศ เขาเป็นผู้ดูแลบริษัทหลักทรัพย์เอกชน LetterOne และเป็นผู้ก่อตั้ง Alfa Bank ธนาคารเอกชนรายใหญ่ที่สุดของรัสเซีย สื่ออย่าง Financial Times รายงานว่า ในอีเมลที่เขาส่งให้บรรดาพนักงานของตัวเอง มีข้อความเรียกร้องให้ยุติการนองเลือดที่กำลังเกิดขึ้น และกล่าวยืนยันว่าสงครามไม่ใช่คำตอบ Fridman อธิบายที่มารากเหง้าของเขาว่ามาจากเมืองโอวีฟ ประเทศยูเครน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พ่อแม่ของเขายังใช้ชีวิตอยู่ในปัจจุบัน และเปิดเผยด้วยว่า ตนเองยังใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในฐานะพลเมืองของรัสเซีย ทั้งในแง่การทำงานสร้างและการขยับขยายธุรกิจเรื่อยๆ จึงทำให้เขาผูกพันกับทั้งชาวยูเครนและชาวรัสเซียอย่างลึกซึ้ง และเห็นว่าความขัดแย้งในปัจจุบันเป็นโศกนาฏกรรมสำหรับคนทั้งสองประเทศ ส่วน Deripaska มหาเศรษฐีอีกคนเรียกร้องให้รัฐบาลรัสเซีย เริ่มการเจรจาสันติภาพ อย่างเร่งด่วน ทั้งนี้เขาได้สื่อสารข้อความผ่านแอปพลิเคชัน Telegram ว่า “สันติภาพเป็นสิ่งสำคัญมาก” Deripaska เป็นผู้ก่อตั้ง Rusal บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอะลูมิเนียมของรัสเซีย ปัจจุบัน เขายังคงถือหุ้นผ่าน EN+ Group […]

‘สหภาพคนทำงาน’ เปิดตัวสู้เผด็จการ และอำนาจผูกขาด เพราะแรงงาน และเศรษฐกิจต้องอยู่ได้ดีทั้งโครงสร้าง

เพราะทุกคนคือแรงงานผู้ขับเคลื่อนประเทศ แรงงานทุกคนจึงสำคัญและจำเป็นกับสังคมของเราอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ประเทศไทยเป็นประเทศทุนนิยม ปัญหาแรงงานและปัญหาของคนทำงานภายใต้ระบบทุน จึงเป็นประเด็นที่สำคัญ ควรต้องได้รับการแก้ไข และยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างใส่ใจในทุกรายละเอียด Movement การขับไล่รัฐบาลเผด็จการ และการเรียกร้องให้มีประชาธิปไตยเต็มใบในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมานี้ นักสหภาพแรงงาน และนักเคลื่อนไหวทางการเมืองทุกรุ่น ต่างมองเห็นและตระหนักถึงปัญหาแรงงานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ และความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในสังคมทุกเมื่อเชื่อวัน ทำให้เกิดการจัดตั้งสหภาพแรงงานระดับชาติขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ซึ่งอีกขาหนึ่งเพื่อเป็นแนวร่วมสำคัญต่อการเรียกร้องประชาธิปไตย และการขับไล่เผด็จการร่วมกับแนวร่วมอื่นๆ ด้วย นอกจากการเรียกร้องความยุติธรรมในระดับสิทธิของคนทุกคนแล้ว สหภาพยังหวังว่า เศรษฐกิจควรดีไปพร้อมกันทั้งโครงสร้างและระบบ ซึ่งหมายถึงการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำและช่องว่างระหว่างชนชั้นด้วย ‘สหภาพคนทำงาน’ หรือ ‘Workers’ Union’ จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2565 โดยรวมตัวผู้คนที่ตระหนักถึงปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นมานาน และกำหนดเป้าหมายขององค์กรไว้จำนวนหกข้อด้วยกัน 1. เพื่อสร้างสำนึกร่วมทางชนชั้นให้เกิดกับทุกคนภายใต้แนวความคิด “เราทุกคนคือแรงงาน” 2. เพื่อสร้างอำนาจต่อรองให้กับแรงงานในการต่อสู้กับอำนาจของฝ่ายทุนและรัฐ 3. เพื่อสร้างและส่งเสริมพรรคการเมืองของชนชั้นแรงงาน ผลักดันให้เกิดรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าที่ครอบคลุมทุกคน 4. เพื่อเป็นองค์กรนำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองทั้งเชิงโครงสร้างและนโยบาย 5. เพื่อเป็นองค์กรนำให้การต่อสู้เพื่อให้ได้มา และรักษาไว้ซึ่งประชาธิปไตยที่อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม 6. เฉพาะหน้าเราจะเข้าร่วมต่อสู้เคียงบ่าเคียงไหล่กับเยาวชนและราษฎรที่เรียกร้องประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการอยู่ขณะนี้ สำหรับงานเปิดตัวที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ สมาชิกทุกคนสามารถเข้าร่วมประชุมใหญ่ ได้ตั้งแต่เวลา 10.00 – […]

ตามติด #ม็อบชาวนา เสียงสะท้อนปัญหาภาระหนี้สิน และราคาข้าวตกต่ำของเกษตรกรไทย

คนไทยถูกพร่ำสอนให้สำนึกบุญคุณของชาวนาที่ปลูกข้าวให้ทุกคนกินเสมอมา เพราะข้าวแต่ละเม็ดได้มาอย่างยากลำบาก จึงมีการยกย่องให้เกษตรกรเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ถ้าไม่มีชาวไร่ชาวนาประเทศเราจะอยู่ไม่ได้ แต่ในความเป็นจริง กระดูกสันหลังของไทยกลับถูกละเลยให้ทุกข์ยากและลำบากเพียงลำพัง ทำนามากี่ปีๆ ก็ลืมตาอ้าปากไม่ได้สักที ใครที่ติดตามมูฟเมนต์ม็อบการเมืองในช่วงไม่กี่สัปดาห์นี้ จะเห็นได้ว่าเกษตรกรหลายร้อยคนจากกว่า 36 จังหวัด ได้เดินทางมาปักหลักชุมนุม ‘ม็อบชาวนา’ ที่หน้ากระทรวงการคลัง บริเวณถนนพระราม 6 ตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม 2565 เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งช่วยแก้ไขและบรรเทาปัญหาหนี้ ผ่านกระบวนการจัดการหนี้สินของสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่มีมติเห็นชอบโครงการดังกล่าว ทั้งที่ค้างคามาเป็นเวลานานกว่า 2 ปีแล้ว นอกจากปัญหาต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นสวนทางกับราคาผลผลิตที่ตกต่ำลงมาตลอด บวกกับสถานการณ์โควิด-19 และการผันผวนของการเมืองไทยที่มีการรัฐประหารและเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีอยู่บ่อยครั้ง ทำให้นโยบายและการจัดการปัญหาฝั่งเกษตรกรรมไม่จริงจังและไม่ต่อเนื่อง เพราะเอาเข้าจริงก็มีเครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทยที่เคลื่อนไหวเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 นับเป็นเวลาเกือบยี่สิบปีแล้ว แต่สถานการณ์ไม่คืบหน้าเท่าที่ควร ผู้ชุมนุมยืนยันว่าจะปักหลักชุมนุมต่อไป หากยังไม่มีมติจาก ครม. เพื่อให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้ามาช่วยจัดการหนี้สินของเกษตรกรจากธนาคารของรัฐ ด้วยการตัดดอกเบี้ย ลดเงินต้นลง รวมถึงการลดข้อจำกัดที่จะเอื้อให้เกษตรกรชำระหนี้สินได้ในระยะยาว  เพราะถ้ารัฐยังไม่มีการจัดการและแผนการรองรับที่ดี อาจทำให้ธนาคารยึดที่ดินของเกษตรกรไทย จนไม่มีที่ดินให้ทำกิน และที่เลวร้ายสุดคือการถูกยึดที่อยู่อาศัย ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของสังคมไทยในระยะยาว ล่าสุดม็อบชาวนาได้เจรจากับทางรัฐบาลแล้ว และคาดว่ามติ ครม.จะออกมาในวันที่ 15 […]

ผลนิด้าโพล ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ นำโด่งจากสำรวจอยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม. ครั้งล่าสุด

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา สำนักนิด้าโพลได้เผยผลการสำรวจประชาชนชาวกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งแล้วในหัวข้อ ‘อยากได้ใครเป็นผู้ว่าฯ กทม.’ เป็นครั้งที่ 10 ซึ่งถือเป็นครั้งล่าสุด หลังจากที่นิด้าจัดทำโพลนี้ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องในช่วงก่อนหน้า ผลลัพธ์ที่ได้ชี้ให้เห็นว่า ‘ชัชชาติ สิทธิพันธุ์’ ยังเป็นแคนดิเดตที่มีคะแนนนำลิ่วเป็นอันดับที่ 1 ทิ้งห่าง ‘สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์’ ตัวแทนจากพรรคประชาธิปัตย์ที่ตามมาเป็นอันดับที่ 2 และ อันดับที่ 3 ตามมาติดๆ คือ ‘อัศวิน ขวัญเมือง’ เจ้าของตำแหน่งผู้ว่าฯ คนล่าสุดที่ได้รับการแต่งตั้งมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) การสำรวจโพลโดยสำนักนิด้าครั้งล่าสุดนี้ เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้คนระหว่างช่วงวันที่ 31 มกราคม – 2 กุมภาพันธ์ 2565 จากกลุ่มประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ซึ่งมีสิทธิ์เลือกตั้งในเขตกรุงเทพมหานครได้ โดยมีกลุ่มคนทุกระดับชั้นการศึกษา หลากอาชีพ และมีรายได้ที่แตกต่างกัน รวมเป็นจำนวนทั้งหมดถึง 1,324 ตัวอย่าง  ครั้งนี้ Urban Creature ขอเลือกนำเสนอเพียง […]

โซล เมืองคนเดินเท้าเป็นใหญ่ รัฐเพิ่มทางม้าลายซัปพอร์ตประชาชน

ถ้าเคยไปเยือนโซล ประเทศเกาหลีใต้ คุณน่าจะเคยได้สัมผัสทางเท้าที่มีคุณภาพ และการข้ามถนนที่แสนสะดวกสบาย แถมยิ่งนานวัน ระบบการสัญจรของเมืองก็ยิ่งพัฒนาขึ้น ล่าสุด ทางรัฐบาลกรุงโซล (The Seoul Metropolitan Government) รายงานว่า ได้ขยายการติดตั้งทางม้าลายใหม่ๆ ทั่วเมืองทั้งสิ้น 28 แห่งในปี 2021 โดยคำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมของทางเท้าที่ปลอดภัยต่อไป ยิ่งไปกว่านั้นยังมีแผนการที่จะติดตั้งทางม้าลายอีก 31 แห่งในปี 2022 ก่อนหน้านี้ รัฐบาลกรุงโซลดำเนินหลายๆ โปรเจกต์ เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ด้านนโยบายการจราจรบนยานพาหนะ จนกระทั่งนำมาสู่นโยบายการสัญจรทางเท้า โดยส่วนสำคัญของโครงการ คือการติดตั้งและขยายทางม้าลาย ซึ่งสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนเดินถนนได้อย่างมาก และด้วยประสบการณ์ด้านบวก ที่ชาวเมืองได้รับจากการใช้งานได้ดีจริงๆ จึงทำให้โปรเจกต์นี้ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนในวงกว้าง ทั้งนี้ รัฐบาลกรุงโซลได้ติดตั้งทางม้าลายแนวทแยงบริเวณทางแยก 14 ทาง ในจุดที่มีการจราจรคับคั่ง เช่น ย่านสถานี Itaewon หน้าห้างสรรพสินค้าชื่อ Shinsegae ใกล้ๆ โรงเรียนประถมฯ หลายแห่ง เพื่อบรรเทาความไม่สะดวกของคนเดินเท้า ที่เคยต้องเดินอ้อมเส้นทางไกลๆ ในช่วงก่อนหน้า ขณะเดียวกันก็สร้างสภาพแวดล้อมของทางข้ามที่ปลอดภัยสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว และยังมีการอำนวยความสะดวกด้วยการติดตั้งทางม้าลายต่างๆ เพิ่มเติมในส่วนทางเดินเท้าที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับทางเดินอื่นๆ ด้วย สำหรับการขยายทางม้าลายอย่างต่อเนื่องในปี […]

นายกฯ ต้องมาจากประชาชนเท่านั้น ชวนลงชื่อแก้ไข ม.272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี

คุณรู้หรือไม่ว่าการเลือกตั้งครั้งล่าสุดปี 2562 ที่ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นไม่ได้มาจากเสียงของประชาชน แต่มาจากการเห็นชอบของ 250 ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา ที่ประยุทธ์มีส่วนร่วมในการคัดเลือกเข้ามา โดยทั่วไปแล้วอำนาจหน้าที่ขององค์กรนี้ที่คนอาจจะนึกถึงคือ การกลั่นกรองและตรวจสอบกฎหมายที่ผ่านมาจากสภาผู้แทนราษฎรอีกชั้นหนึ่ง ทว่ารัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 ได้กำหนดให้ ส.ว. มีอำนาจอื่นที่สำคัญเพิ่มขึ้นมาด้วย เช่น อำนาจให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ อำนาจตั้งกระทู้ตรวจสอบฝ่ายบริหาร ไปจนถึงอำนาจในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังคงมีอำนาจในประเทศไทยมาจนถึงตอนนี้ เพราะอำนาจนี้ไม่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยตามที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ที่กำหนดให้นายกฯ ต้องมาจากการเลือกด้วยเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร อีกทั้งการให้ ส.ว. มีอำนาจในการเลือกนายกฯ นั้นทำให้ ส.ว. ขาดความเป็นกลางทางการเมือง จึงทำให้เกิดแคมเปญ ‘ลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ ม.272 ตัดอำนาจ ส.ว. ในการเลือกนายกรัฐมนตรี’ เพื่อคืนอำนาจนี้กลับสู่มือประชาชน หลักการของแคมเปญคือ ยกเลิกอำนาจ ส.ว. เลือกนายกรัฐมนตรี และให้นายกรัฐมนตรีมาจากเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว โดยกลุ่มผู้จัดทำแคมเปญได้ให้เหตุผลถึงการแก้ ม.272 ว่าถ้ามีการเลือกตั้งครั้งหน้า รัฐบาลชุดต่อไปจะทำหน้าที่ได้อย่างภาคภูมิตามวิถีประชาธิปไตย ส.ว. เองก็ทำงานได้อย่างมีศักดิ์ศรี ไม่ถูกมองเป็นนั่งร้าน สืบทอดอำนาจ อีกทั้งยังเป็นการลดปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง รัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น […]

1 2 3 4

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.