Robarts Library ความอบอุ่นสบายตาในสเปซที่แข็งกร้าว โซนอ่านหนังสือรีโนเวตใหม่ในห้องสมุดสไตล์ Brutalist

ห้องสมุดมหาวิทยาลัย คือหนึ่งในสถานที่พักผ่อนและใช้ประโยชน์มากมายของนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นทั้งพื้นที่เรียน อ่านหนังสือ ติว นั่งเรื่อยเปื่อย หรือกระทั่งที่สร้างแรงบันดาลใจ ทำให้นอกจากพื้นที่ใช้สอยที่ตอบโจทย์การเรียนรู้ของนักศึกษาแล้ว ดีไซน์และการออกแบบภายในก็เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้ เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยโทรอนโต ในประเทศแคนาดา ได้มีการปรับปรุงโซนห้องอ่านหนังสือในห้องสมุด ‘Robarts’ ของมหาวิทยาลัย ซึ่งที่นี่ถือเป็นตัวอย่างงานสถาปัตยกรรมแนว Brutalist ที่โดดเด่น สถาปัตยกรรมแนว Brutalist คือสิ่งก่อสร้างที่มีภาพจำเป็นคอนกรีตเปลือย กระจก เหล็ก ที่ให้ภาพลักษณ์แข็งกร้าวทะมึนขึงขัง โดยโปรเจกต์รีโนเวตห้องอ่านหนังสือเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูห้องสมุดที่สำคัญของมหาวิทยาลัยโทรอนโต และอาคารห้องสมุดวิชาการที่ใหญ่ที่สุดในแคนาดา ‘Superkül’ สตูดิโอผู้รับผิดชอบโปรเจกต์นี้ได้ปรับปรุงพื้นที่เพื่อตอบโจทย์การเรียนรู้แบบร่วมสมัยของนักศึกษาและคณาจารย์ ในขณะเดียวกันก็ยังให้ความเคารพกับสถาปัตยกรรมที่ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดก นอกจากการเชื่อมต่อโครงสร้างแนว Brutalist ที่มีอยู่ดั้งเดิมกับส่วนต่อขยายของโถงห้องสมุดที่อยู่ติดกันแล้ว ยังมีการเพิ่มมุมเรียนรู้ในพื้นที่ห้องขนาด 1,886 ตารางเมตรที่เพดานสูงสองชั้น ซึ่งให้ความรู้สึกโปร่งโล่ง สบาย ภายในสเปซนั้นประกอบไปด้วยพื้นที่เรียนรู้ส่วนบุคคล สถานีการเรียนรู้แบบดิจิทัล ห้องให้คำปรึกษา และโซนแสงบำบัด (Light Therapy) อีกสองโซน อีกทั้งยังมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้งานเพื่อสร้างความอบอุ่นให้กับอาคารคอนกรีต รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการเรียนรู้ ผ่านมุมเรียนรู้ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับความสูงโต๊ะ กำหนดค่าที่นั่ง และปรับแสงตามต้องการได้ นอกจากนี้ ตัวสตูดิโอยังทำงานกับทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความรู้เรื่องเสียงในการสร้างระบบลดเสียง โดยใช้แผ่นไม้เจาะรูและแผ่นโลหะที่ออกแบบมาอย่างกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมภายใน ช่วยให้เสียงของกลุ่มคนที่ต้องสนทนากันไม่ไปรบกวนนักศึกษาคนอื่นๆ “เพื่อเป็นเกียรติแก่รูปทรงเรขาคณิตและวัสดุอันโดดเด่นที่ทำให้ห้องสมุด Robarts […]

12 โปรแกรมไฮไลต์ภายใต้ธีม ‘เมือง-มิตร-ดี’ จากเทศกาล Bangkok Design Week 2023

สุดสัปดาห์นี้จะเข้าสู่สัปดาห์ของ ‘เทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2566’ หรือ ‘Bangkok Design Week 2023 (BKKDW2023)’ เทศกาลสุดสร้างสรรค์ระดับโลกที่นำเสนอผลงานสุดครีเอทีฟและขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาให้กรุงเทพฯ เติบโตและกลายเป็นเมืองที่ดีขึ้น Bangkok Design Week ครั้งที่ 6 มาในธีม ‘urban‘NICE’zation เมือง-มิตร-ดี’ ที่เน้น ‘การออกแบบ’ เพื่อพัฒนา ‘คุณภาพชีวิต’ ของผู้คน โดยอาศัยหลักการสร้างเมืองที่เป็นมิตรต่อคน และสร้างคนที่เป็นมิตรต่อเมือง ผ่าน 6 มิติ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ความหลากหลาย คนเดินทาง ธุรกิจ และชุมชน  งานครั้งนี้จัดขึ้นใน 9 ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั่วกรุงเทพฯ พร้อมกิจกรรมสร้างสรรค์ขับเคลื่อนเมืองกว่า 550 โปรแกรม เช่น นิทรรศการ การบรรยาย เวิร์กช็อป ตลาดนัดสร้างสรรค์ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ ฯลฯ เพราะรู้ว่าผู้อ่านคงไปไม่ครบทุกกิจกรรมแน่ๆ คอลัมน์ Urban’s Pick อาสาคัดเลือก 12 […]

ซื้อหนึ่ง ได้บริจาคอีกหนึ่งให้เด็กๆ เฟอร์นิเจอร์โต๊ะ-เก้าอี้ จาก ‘บริ-บุญ’ พร้อมสลักชื่อหรือข้อความได้ด้วย

หลังจากเปิดตัวและให้บริการขายพวงหรีดกับบริจาคโลงศพที่ทำหน้าที่เป็นสะพานบุญให้คนทั่วไป ‘บริ-บุญ’ ธุรกิจใหม่ในเครือสุริยาหีบศพ (สาขาศิริราช) ก็มีโปรเจกต์น่ารักๆ ออกมาให้คนเข้าถึงง่ายมากขึ้น นั่นคือ ซื้อเฟอร์นิเจอร์โต๊ะหรือเก้าอี้ 1 ตัว = บริจาคโต๊ะหรือเก้าอี้อีก 1 ตัว เฟอร์นิเจอร์ที่ว่านั้นประกอบด้วยโต๊ะกับเก้าอี้รูปทรงต่างๆ ที่รับรองว่าถูกใจเด็กๆ (และผู้ใหญ่) แน่นอน ตั้งแต่เก้าอี้พี่ยีราฟ โต๊ะเขียนหนังสือน้องสุนัขพันธุ์ชเนาเซอร์ เก้าอี้น้องสุนัขพันธุ์พุดเดิล โต๊ะและเก้าอี้น้องแมว และเฟอร์นิเจอร์ตัวเปิดปี 2023 เก้าอี้น้องเบคอน ที่ทั้งน่ารัก น่ากิน และน่านั่งสุดๆ  นอกจากหน้าตารูปทรงที่เอาใจเด็กๆ แล้ว ตัวเฟอร์นิเจอร์ยังผลิตจากวัสดุคุณภาพดี ไม่เป็นพิษต่อผิวที่บอบบางของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นไม้ปาร์ติเกิล ไม้อัด หินอ่อน ไม้สักทอง ทั้งยังปรับขนาดและความสูงได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า  โปรเจกต์นี้เกิดขึ้นจากความตั้งใจของ ‘คณกฤษ สุริยเสนีย์’ ทายาทสุริยาหีบศพ และที่ปรึกษา ‘นิธิศ บัญชากร’ ที่อยากทำเพื่อสังคม เริ่มตั้งแต่ต้นทางอย่างแนวคิดการออกแบบและผลิต จนถึงปลายทางที่เป็นการจำหน่าย “เราใช้เครื่องจักรผลิตโปรดักต์ แต่ผมดีไซน์ดีเทลให้ประกอบได้ง่าย โดยสอนสกิลการประกอบให้คนในชุมชน เพื่อสร้างงานและกระจายรายได้ให้พวกเขา เพื่อทำให้ธุรกิจนี้มีความยั่งยืนในด้านการช่วยเหลือสังคม ทั้งยังอยู่ด้วยตัวเองได้” นิธิศที่รับหน้าที่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดอธิบายให้เราฟัง […]

Teeth Time คลินิกทำฟันสุดอบอุ่นที่ใช้ดีไซน์เยียวยาความกลัวของคนไข้และจิตใจทันตแพทย์

ฟาซาดขนาดมหึมาโดดเด่นเห็นมาแต่ไกล มองเข้าไปด้านในเจอเฟอร์นิเจอร์ไม้สไตล์นอร์ดิกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ลึกเข้าไปหน่อยคือสวนสวยที่มีต้นเสม็ดแดงชูยอดรับแดดจากช่องหลังคาทรงกลม แวบแรกดูเหมือนห้างฯ มองดีๆ แล้วคล้ายคาเฟ่ แต่นาฬิกาเรือนใหญ่ที่มีเข็มหน้าปัดเป็นรูปแปรงสีฟันบนฟาซาดก็ยืนยันว่า เรากำลังยืนอยู่หน้าคลินิกทำฟัน Teeth Time ไม่ผิดแน่ พูดตามตรง ใครจะคิดว่าริมถนนพุทธมณฑล สาย 4 ที่เสียงรถเร่งเครื่องขึ้นสะพานเป็นแบ็กกราวนด์จะมีคลินิกทำฟันมาตั้งอยู่ตรงนี้ แถมยังเป็นคลินิกที่หน้าตาและบรรยากาศแตกต่างจากคลินิกที่เราเคยคุ้น ยามสายที่แดดอ่อนๆ ทอแสงในสวน เราจึงนัดสนทนากับเจ้าของคลินิกอย่าง ปฐวี นวลพลับ, ทันตแพทย์หญิงอัญชลี สุจิวโรดม ภรรยาของปฐวี และ กาจวิศว์ ริเริ่มวนิชย์ ผู้ก่อตั้งและดีไซน์ไดเรกเตอร์ของสตูดิโอ Physicalist ผู้เปลี่ยนพื้นที่ว่างเปล่าริมถนนให้กลายเป็นคลินิกทำฟัน ซึ่งลบภาพจำเก่าๆ ไปจนไม่เหลือเค้าโครงเดิม Spooky Time ตึกแถวที่ดูลึกลับ แบ่งห้องอย่างไม่ซับซ้อน มีส่วนต้อนรับขนาดเล็กซึ่งมองเข้าไปจะเห็นลูกค้าแออัดเนืองแน่น และแน่นอนว่าต้องเปิดโทรทัศน์ทิ้งไว้ตลอดเวลา ภาพจำของคลินิกทำฟันของหลายคนน่าจะเป็นแบบนั้น ปฐวีก็เช่นกัน มากกว่านั้นคือเขารู้สึกอยู่ตลอดว่าคลินิกทำฟัน ‘น่ากลัว’ “ตั้งแต่จำความได้ ผมมองคลินิกทำฟันว่าเป็นสถานที่ที่ไปแล้วทุกข์ทรมาน ไปเจอความเจ็บปวด มีเสียงเหมือนอยู่ในห้องเชือดตลอดเวลา หมอฟันก็ดูเป็นคนใจร้ายไปโดยปริยาย” เขาเล่าขำๆ แต่สีหน้าจริงจัง ยืนยันว่าหมายความตามนั้นจริง  ก่อนที่อัญชลีจะเสริมต่อว่า ในฐานะหมอฟันผู้เคยทำงานทั้งในโรงพยาบาลรัฐและคลินิกเอกชน แพตเทิร์นเดิมๆ ของห้องทำฟันส่งผลให้คนทำงานอย่างเธอรู้สึกเบื่อหน่าย […]

ห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรม ชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ

เราเชื่อว่าต้องมีคนจำนวนไม่น้อยที่เวลาไปร้านอาหาร เข้าคาเฟ่ หรือแฮงเอาต์ตามสถานที่เก๋ๆ แล้วชอบเข้าห้องน้ำไปถ่ายภาพเซลฟี่หน้ากระจก ตัวเองสวยเป็นหนึ่งเหตุผล แต่อีกเหตุผลคือห้องน้ำเองก็สวยมากจนอยากมีแบบนี้ที่บ้าน เพราะน่าจะอยากแบ่งปันห้องน้ำสวย บอกต่อด้วย ถึงมีคนทำ toiletness แอ็กเคานต์อินสตาแกรมที่มาชี้เป้าห้องน้ำสวยตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะร้านอาหาร คาเฟ่ บาร์ ห้างสรรพสินค้า แกลเลอรี หรือกระทั่งสถานที่งงๆ ก็ยังมี “เวลาไปสถานที่ต่างๆ เรามักชอบสังเกตการออกแบบและการตกแต่งอยู่แล้ว เพราะพื้นฐานเคยเป็นนักเรียนออกแบบ และคิดว่าอีกหนึ่งจุดสร้างประสบการณ์ที่สำคัญ (Touchpoint) ภายในสถานที่คือ ‘ห้องน้ำ’ “เราเริ่มถ่ายรูปห้องน้ำจากสถานที่ต่างๆ มาสักพักแล้ว จนมีเพื่อนบอกให้ลองสร้างเป็น คลังไว้แชร์กับคนอื่นด้วย ก็เลยเริ่มมีแรงจูงใจอยากเก็บภาพห้องน้ำที่มีสไตล์การออกแบบเฉพาะตัว เปิดเป็นแอ็กเคานต์อินสตาแกรมขึ้นมา ความรู้สึกตอนนั้นคือถึงไม่มีคนเห็นหรือสนใจ แอ็กเคานต์นี้ก็ถือเป็น Journal ส่วนตัวของเราแล้วกัน แต่สรุปว่ามีเพื่อนหลายคนทักมาบอกว่าชอบสะสมภาพถ่ายห้องน้ำเหมือนกัน เวลาไปไหนแล้วต้องแวะไปดู เราก็รู้สึกว่าเราไม่ได้บ้าห้องน้ำไปคนเดียว” เจ้าของแอ็กเคานต์ toiletness เล่าให้เราฟัง ห้องน้ำไฟสีแดงซาบซ่านใน Mod Kaew Wine Bar ห้องน้ำสไตล์ปูนเปลือยใน Nangloeng Shophouse ห้องน้ำดาร์กๆ อย่างกับห้องน้ำในภาพยนตร์ที่ Eat Me Restaurant ฯลฯ […]

ชวนดูการออกแบบ Wayfinding ของ Totetsu Training Institute ที่ทั้งเก๋ไก๋ สื่อถึงรางรถไฟ และตอบโจทย์การนำทาง

Motive Inc. สตูดิโอสัญชาติญี่ปุ่นได้ออกแบบระบบการบอกเส้นทาง (Wayfinding) สำหรับสถาบันฝึกอบรมของบริษัทซ่อมบำรุงทางรถไฟ Totetsu Kogyo โดยใช้เครื่องหมายที่เก๋ไก๋แต่เรียบง่าย เพื่อนำทางผู้มาเยี่ยมชมอาคาร สถาบันแห่งนี้ตั้งอยู่ในเมือง Tsukubamirai จังหวัด Ibaraki ก่อตั้งขึ้นตามความต้องการของอดีตกระทรวงการรถไฟที่ทำหน้าที่บำรุงรักษาและพัฒนาระบบรางของญี่ปุ่น Wayfinding ของที่นี่มีลักษณะเป็นเส้นทางที่ชวนให้นึกถึงรางรถไฟที่ฝังอยู่ในพื้น มุ่งนำไปสู่ห้องต่างๆ โดยอ้างอิงการออกแบบจากเอกลักษณ์ของ Totetsu Kogyo ในฐานะบริษัทให้บริการระบบรางของญี่ปุ่น และเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เข้ารับการอบรมที่ต้องมาใช้อาคารอยู่บ่อยครั้ง ทางสตูดิโอออกแบบเล่าว่า พวกเขาต้องการให้การออกแบบทำงานโดยเป็นไปตามสัญชาตญาณของผู้ใช้งาน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมที่จะช่วยกระตุ้นการตอบสนอง และพึ่งพาข้อความน้อยที่สุด นอกเหนือจากการใช้เส้นสีบริเวณชั้นล่างไกด์ผู้คนอย่างมีประสิทธิภาพ Takuya Wakizaki ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการ Motive Inc. ยังต้องการให้การออกแบบสร้างอิมแพกต์เมื่อมองจากด้านบนด้วย เนื่องจากอาคารมีเพดานที่เปิดโล่ง เส้นสีรางรถไฟที่ยึดโยงกันอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งพื้นที่สองส่วนในอาคาร กระเบื้องเคลือบใกล้กับทางเข้าฝังด้วยเหล็กเส้นที่ใช้ในอุตสาหกรรม ส่วนบนทางเดินก็มีการใช้พื้นไวนิลสองสีเพื่อสร้างแพตเทิร์น เหล่านี้คือการออกแบบ Wayfinding ที่สื่อสารถึงความเป็นบริษัทที่ทำงานเกี่ยวกับรางรถไฟได้เป็นอย่างดี ความน่าสนใจคือ บนพื้นที่ตีเส้นราวกับรางรถไฟนั้นมีการใช้สีแดงสนิมเพื่อให้นึกถึงรางรถไฟจริงๆ และมีข้อความสีขาวเป็นภาษาญี่ปุ่นกับภาษาอังกฤษ ระบุถึงปลายทางที่เส้นทางนำไป นอกจากนี้ยังมีการใช้เศษโลหะจากอุตสาหกรรมมาทำแผ่นป้ายหลักของอาคาร และระบบรหัสสีในคีย์การ์ดสำหรับเปิดประตูห้องต่างๆ บนชั้นสอง ก็มีการออกแบบเป็นคล้ายๆ ปริศนา อ้างอิงจากแผนที่เส้นทางรถไฟที่บริษัท Totetsu Kogyo ให้บริการ ถ้าใครได้ไปอบรมงานที่นี่ คงได้แรงบันดาลใจและสนุกกับการดูแลพัฒนารางรถไฟขึ้นแน่ๆ  […]

คุยกับผู้อยู่เบื้องหลังการรีโนเวตศูนย์ฯ สิริกิติ์ จากผ้าไทย สู่โอกาสของไทยในเวทีโลก

เหมือนเพิ่งจะรู้สึกเศร้าเสียดายกับการปิดปรับปรุงไปไม่นาน แต่รู้ตัวอีกทีก็ผ่านไปเกือบ 3 ปี จนได้เวลาที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์จะกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้แล้ว แถมยังมีคิวงานยาวเหยียดรออยู่ ไม่ว่าจะเป็นงานหนังสือซึ่งจะกลับมาสู่บ้านหลังเดิมอีกครั้ง หรือการประชุมใหญ่อย่าง APEC Thailand 2022 ที่เราน่าจะได้เห็นการใช้งานศูนย์ประชุมใหม่แห่งนี้อย่างเต็มรูปแบบเป็นครั้งแรก ‘ความเป็นไทย’ เราเฝ้าครุ่นคิดถึงนิยามของคำคำนี้ตลอดบทสนทนากับ ‘ออ–อริศรา จักรธรานนท์’ ในห้องประชุมของ ONION บริษัทสถาปนิกผู้อยู่เบื้องหลังการออกแบบและตกแต่งภายในศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ โดยมี Frasers Property Thailand เป็นผู้บริหารงานก่อสร้าง ในโลกที่เปรียบเสมือนหม้อใบใหญ่ เคี่ยวกรำวัฒนธรรมอันหลากหลายเข้าจนบางอย่างแทบจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน อะไรคือสิ่งที่เราพอจะบอกได้ว่านี่แหละคือเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร ภาษา สถาปัตยกรรม ดนตรี หรือว่าอาหาร “สืบสาน รักษา ต่อยอด” คือสามคำที่เธอเล่าว่าเป็นแก่นของการออกแบบในครั้งนี้ สิ่งที่อริศราและทีมต่อยอดออกมานั้น ไม่ใช่ความเป็นไทยในแบบที่จับต้องไม่ได้หรือถูกยกไว้บนหิ้ง แต่เป็นสิ่งที่สามารถอยู่ร่วมกับชีวิตประจำวันของเราได้อย่างไม่ประดักประเดิด ขณะเดียวกันก็ต้องเป็นที่เชิดหน้าชูตาให้กับคนไทยได้ในฐานะศูนย์ประชุมแห่งชาติ แม้จะยังไม่สามารถเข้าไปดูศูนย์ฯ สิริกิติ์โฉมใหม่ให้เห็นกับตา แต่เราก็ขอให้อริศราช่วยพาเราไปสำรวจเบื้องหลังการรีโนเวตในครั้งนี้ ซึ่งท้าทายตั้งแต่ขนาดพื้นที่ที่รับผิดชอบ อย่างการออกแบบอย่างไรไม่ให้คนเดินแล้วหลง ที่สำคัญคือต้องคำนึงถึงการแข่งขันในระดับนานาชาติอีกต่างหาก น้อยแต่มาก ไทยแต่เท่ จากโครงสร้างเดิมของศูนย์ฯ สิริกิติ์ที่สร้างขึ้นครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 การรีโนเวตครั้งนี้ได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ไม่เพียงพอ พื้นที่อาคารแห่งใหม่จึงถูกขยายให้ครอบคลุมทั่วทั้งพื้นที่จอดรถเดิม จนได้พื้นที่ใช้สอยรวมกว่า […]

Notre Dame’s New Landscape โปรเจกต์ออกแบบพื้นที่นอกมหาวิหารนอเทรอดาม ที่เต็มไปด้วยต้นไม้และฟังก์ชันเพื่อคนเมือง

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2562 เกิดเหตุไฟไหม้มหาวิหารนอเทรอดาม (Notre Dame) ศาสนสถานอายุ 850 ปีในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ที่สร้างความตกใจและความเสียดายให้คนทั่วโลก เพราะเพลิงที่ลุกไหม้สร้างความเสียหายให้ศาสนสถานอายุหลายศตวรรษแห่งนี้เป็นอย่างมาก เนื่องจากโครงสร้างส่วนใหญ่ทำจากไม้ หลังจากเกิดเหตุ ฝรั่งเศสก็เริ่มแผนซ่อมแซมบูรณะตัวอาคาร ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้เวลาฟื้นฟูนานถึง 5 ปี ควบคู่ไปกับการเปิดประกวดแข่งขันด้านการออกแบบเพื่อพัฒนาสภาพแวดล้อมหรือบริเวณโดยรอบมหาวิหารขึ้นมาใหม่ โดยเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการได้ประกาศรางวัลผู้ชนะเลิศอันดับหนึ่งคือ โปรเจกต์การออกแบบที่พัฒนาโดยภูมิสถาปนิก Bas Smets, บริษัทออกแบบสถาปัตยกรรมและผังเมือง GRAU และบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านมรดกทางสถาปัตยกรรม Neufville-Gayet  การออกแบบพื้นที่โดยรอบมหาวิหารนอเทรอดามของทีมนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อเชื่อมโยงสถานที่ทางประวัติศาสตร์ กับแม่น้ำแซนที่โอบล้อมมหาวิหารให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น จัตุรัสที่อยู่หน้ามหาวิหารถูกออกแบบให้เป็นพื้นที่เปิดโล่ง ช่วยให้ด้านหน้าของอาคารสูงเด่นเป็นสง่ากว่าเดิม และเพิ่มต้นไม้สีเขียวขจีที่รายล้อมอาคารและให้ร่มเงาแก่พื้นที่นั่งเล่น  ส่วนบริเวณด้านหลังของมหาวิหารจะถูกรวมเข้ากับสวนที่อยู่ติดกัน เปลี่ยนเป็นสวนสาธารณะริมแม่น้ำขนาดใหญ่ที่ทอดยาว 400 เมตร และจะมีการปลูกต้นไม้ใหม่เพิ่มถึง 131 ต้น กลายเป็นพื้นที่สีเขียวที่เหมาะแก่การเดินเล่นหรือนั่งพักผ่อนหย่อนใจเป็นที่สุด นอกจากนี้ ผู้ออกแบบยังติดตั้งระบบระบายความร้อนให้แก่พื้นด้วยการใช้ม่านน้ำความหนาเพียง 5 มิลลิเมตร ซึ่งจะช่วยลดอุณหภูมิได้หลายองศาฯ อีกทั้งยังทำให้กำแพงโดยรอบมหาวิหารสะท้อนแสงแวววับ และกลายเป็นจุดถ่ายรูปสวยๆ สำหรับนักท่องเที่ยวด้วย อีกหนึ่งการออกแบบที่น่าสนใจคือ การเปลี่ยนลานจอดรถที่อยู่ใต้จัตุรัสด้านหน้ามหาวิหารให้เป็นสถานที่ต้อนรับแขกขนาดใหญ่กว่า […]

กชกร วรอาคม กับปณิธานการออกแบบพื้นที่สาธารณะเพื่อผู้คนในยุคนี้และยุคหน้า

“Can we fix the climate problem in one generation?” เป็นคำถามที่กชกร วรอาคม ถามกับตัวเอง เป็นคำถามที่ทำให้เธอที่เป็นมนุษย์ตัวเล็กๆ บนโลก เริ่ม ‘ลงมือทำ’ หลายสิ่งหลายอย่าง เป็นคำถามที่เธอพูดในคลิป ที่ท่านเซอร์ เดวิด แอทเทนเบอเรอห์ นักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญ นำไปเปิดประกอบสปีชที่ COP26 หรือการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ณ เมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ เมื่อเดือนที่ผ่านมา ซึ่งกชกรได้เข้าร่วมเพื่อรับรางวัลด้านการออกแบบจาก UN เป็นคำถามที่เธอถามกับผู้คนที่มาร่วมงานประกาศเดินหน้าธุรกิจควบคู่กับการกู้วิกฤตโลกของ SCG หรือ SCG ESG Pathway เริ่มด้วยกัน เพื่อเรา เพื่อโลก ในครั้งนี้ และ My answer would be yes. We have to. เป็นประโยคที่เธอตอบคำถามของตัวเอง ‘กชกร วรอาคม’ หรือที่หลายคนเรียกว่า ‘อาจารย์กช’ ตามบทบาทภูมิสถาปนิก พ่วงด้วยอาจารย์พิเศษด้านภูมิสถาปัตยกรรมศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ เป็นทีมงานออกแบบโปรเจกต์พื้นที่สาธารณะเด่นๆ หลายที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอุทยาน 100 ปี จุฬาฯ, สวนหลังคาอุทยานเรียนรู้ป๋วย 100 ปี ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต, Siam Green Sky สวนเกษตรลอยฟ้า สยามสแควร์, สวนบำบัดลอยฟ้าที่โรงพยาบาลรามาธิบดี, ทางเดินคนข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา สวนลอยฟ้าเจ้าพระยา ที่ดัดแปลงจากโครงสร้างเดิมของโครงการรถไฟฟ้าลาวาลิน, สวนสาธารณะเลียบคลองช่องนนทรี และงานอื่นๆ อีกมากมาย สาวแพสชันสูงคนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกต่างๆ เธอเป็นคนไทย 1 ใน 3 คน ที่ติดอยู่ในลิสต์ ‘TIME 100 […]

“เซ็นทรัล อยุธยา” โครงการที่ใช้ Kyoto Model ส่องสปอตไลต์ให้เมืองเก่ามรดกโลก

แพลนท่องเที่ยวอยุธยาในหนึ่งวันของคุณมีอะไรบ้าง กินกุ้งแม่น้ำตัวโตและโรตีสายไหมหวานฉ่ำ แต่งชุดไทยเป็นออเจ้ากับพี่หมื่น แวะชมวัดและโบราณสถาน แล้วจากนั้นล่ะ จะทำอะไรต่อดี เพราะระยะทางที่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่มาก ทำให้หลายๆ คนมักจัดอยุธยาให้เป็นจังหวัดสำหรับไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจในเวลาสั้นๆ อาจมาเพียงไปเช้าเย็นกลับ แวะกินกุ้ง เดินชมวัด มีแพลนไว้เพียงหลวมๆ ท่องเที่ยวเพียงไม่กี่ที่ จากนั้นก็เดินทางกลับเข้าเมืองแต่เพื่อให้การท่องเที่ยวอยุธยาของทุกคนครบขึ้น สนุกขึ้น ศูนย์การค้า เซ็นทรัล อยุธยา จึงจับเอาแนวคิด ‘อัศจรรย์อยุธยา’ มาเป็นธีมหลัก ผสมผสานเอาของดีอยุธยามาจับคู่กันกับความโมเดิร์นของศูนย์การค้า ให้ที่แห่งนี้เป็นเสมือนจุดเช็กอินแห่งใหม่ของแขกเมืองผู้มาเยือน ซึ่งนี่เป็นแนวคิดแบบเดียวกันกับ Kyoto Model ที่ไม่เพียงแต่มีเมืองเก่าให้เดินชม แต่ยังมีแหล่งช้อปปิ้งที่ทันสมัยไว้รับรอง โครงการเซ็นทรัล อยุธยา จึงถือเป็นโครงการมิกซ์ยูสที่ครบครันทั้งศูนย์การค้า Tourist Attraction โรงแรม ที่พักอาศัย และคอนเวนชันฮอลล์ ที่ไม่เพียงแต่ต้อนรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือน แต่คนในจังหวัดเองก็ยังใช้พื้นที่นี้รองรับการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วย มาดูกันว่าหากเราปักหมุดที่เซ็นทรัล อยุธยา เป็นที่แรก ซึ่งใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ที่นี่จะมีอะไรให้ทำบ้าง Capital of Histagram เพียงแรกเห็นตัวอาคารสีขาวทอง ที่ภายนอกดูเรียบหรูผิดตาไปจากศูนย์การค้าเซ็นทรัลในจังหวัดอื่นๆ ที่เราเคยเห็น ก็พนันได้เลยว่าศูนย์การค้าแห่งนี้จะตรึงใจผู้คนที่ผ่านไปผ่านมาให้สนใจอยากเข้ามาสัมผัสประสบการณ์ความเป็นอยุธยาในรูปแบบใหม่เช่นเดียวกันกับเราได้ไม่ยาก ยิ่งเมื่อรู้ว่าผู้หนึ่งในทีมผู้ออกแบบศูนย์การค้าแห่งนี้คือผู้ออกแบบศาลาอยุธยา โรงแรมที่นำเสนอความสวยงามของอยุธยาให้คนตะลึงมาแล้วก่อนหน้าก็ยิ่งไม่แปลกใจ เพราะตั้งใจจะนำความเรืองรองของเมืองที่เป็น Unesco […]

สี Pantone แห่งปี 2022 PANTONE 17-3938 Very Peri

พอถึงช่วงสิ้นปีทีไร ราวกับธรรมเนียมที่แวดวงออกแบบทั่วโลกเป็นต้องได้ตื่นเต้นกันทุกครั้ง เพราะทุกปีจะมีการประกาศสีแห่งปีสีใหม่ล่าสุดจากทาง Pantone ออกมาอย่างสม่ำเสมอ และเป็นเหมือนการบอกเล่าเทรนด์สีที่จะได้รับความนิยมต่อไปด้วย ซึ่งในปีนี้ Pantone Color of the Year 2022 ก็คือ… PANTONE 17-3938 Very Peri  หน่วยงานผู้เชี่ยวชาญด้านสีระดับโลกอย่าง PANTONE ได้ประกาศว่านี่คือสี Blue-ish สีใหม่ เจ้าสีล่าสุดนี้เป็น ‘สี Periwinkle Blue ที่มีไดนามิกและมีอันเดอร์โทนสีม่วงแดงแสนมีชีวิตชีวา’ ซึ่งแพนโทนได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า ‘เฉดสีฟ้าเปี่ยมความสุขและอบอุ่นที่สุดนี้เป็นการผสมผสานพลังของสิ่งใหม่ๆ เข้าด้วยกัน’  ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 23 ปี นับตั้งแต่เปิดตัวโปรแกรม Color of the Year Pantone ขึ้นมา Laurie Pressman รองประธาน Pantone Color Institute กล่าว ถึงการสร้างสรรค์สีใหม่ล่าสุดอย่าง Very Peri ว่า “สีนี้สะท้อนถึงนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระดับโลก” “เมื่อเราทุกคนก้าวเข้าสู่โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง การเลือก […]

Wuhan City Pavilion & Kindergarten อาคารในอู่ฮั่นที่เป็นทั้งพาวิลเลียน โรงเรียนอนุบาล และที่จัดนิทรรศการ

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมสตูดิโอสถาปนิกสัญชาติจีนชื่อ ATELIER XI ได้ออกแบบสร้างอาคารพาวิลเลียนและโรงเรียนอนุบาลเมืองอู่ฮั่น (Wuhan City Pavilion & Kindergarten) จนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งตัวอาคารแห่งนี้ตั้งอย่างโดดเด่นอยู่ใน Hankou ซึ่งห่างจากจุดที่เคยมีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งแรกเพียง 1 กิโลเมตร สถาปัตยกรรมนี้เพิ่งสร้างเสร็จแบบสดๆ ร้อนๆ หลังแผนการสร้างได้ถูกระงับไปในช่วงครึ่งหลังของปี 2019 เพราะเชื้อโควิดที่ปะทุขึ้นมาทั่วทั้งเมือง ทว่าเมื่อเมืองกลับมาเปิดได้ใหม่อีกครั้ง โครงการก็สามารถดำเนินการต่อได้อย่างราบรื่นดี ในปี 2019 ทีมสถาปนิก ATELIER XI ได้รับการว่าจ้างให้ดีไซน์โรงเรียนอนุบาลที่มีขนาด 6 ห้องเรียนมาตรฐานในเมืองอู่ฮั่น นอกจากความท้าทายด้านงานก่อสร้างตึกในช่วงวิกฤติเชื้อไวรัสแพร่ระบาด โจทย์แสนยากต่อมา ก็คือการสร้างอาคารที่รับบทบาทเป็นทั้งพาวิลเลียนขายสินค้าชั่วคราว เป็นห้องโถงจัดแสดงนิทรรศการในปีแรกที่สร้างแล้วเสร็จ และจะเป็นโรงเรียนอนุบาลสำหรับเด็กๆ ในภายหลัง โดยทำให้อาคารมีความพร้อมต่อการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันได้ในช่วงเวลาต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ โครงการนี้จึงตั้งใจสร้างด้วยแนวคิดการประหยัดต้นทุน เพื่อให้ใช้สอยพื้นที่ได้อย่างคุ้มค่าและอรรถประโยชน์ โดยหลีกเลี่ยงการรื้อถอนตึกซึ่งจะสร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมได้ในอนาคต ทีมออกแบบ ATELIER XI พยายามจะแบ่งย่อยอาคารนี้ให้เป็นยูนิตต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนได้ ฟังก์ชันเชิงพื้นที่จึงสามารถเปลี่ยนแปลงได้เรื่อยๆ โดยตัวโครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์ของอาคารจะมี ‘ช่องว่าง’ ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกันด้วยช่องว่างภายในที่มีรอยพับอันซับซ้อน ซึ่งเราสังเกตเห็นได้ทั้งในบริเวณด้านหน้าและหลังคาที่อยู่ภายนอกอาคาร ช่วงเริ่มต้นของการออกแบบ […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.