‘Bangkok Pains’ บอร์ดเกมที่จำลองการใช้ชีวิตหนึ่งปีบนความเจ็บปวดของการอยู่กรุงเทพฯ

การใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ แต่ละวันแทบไม่ต่างอะไรจากการเล่นเกม เพราะมักมีอะไรเซอร์ไพรส์เราอยู่เสมอ วันดีคืนดีก็ดวงดีแบบสุดๆ หรือวันไหนใส่เสื้อผิดสีก็อาจโชคร้ายไปตลอดทั้งวัน ซึ่งทั้งหมดนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดวงทั้งหมดด้วยซ้ำ แต่อาจเป็นเพราะการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ นั้นเดาได้ยากจนเหมือนกับว่ามีคนเล่นเกมกับชีวิตเราทุกวัน หลายคนคงคิดไม่ต่างกันในแง่ที่เราเหมือนตัวละครในเกมที่โดนควบคุม เช่นเดียวกับเอเจนซีโฆษณา ‘Invisible Ink’ ที่หยิบเอาคอนเซปต์การใช้ชีวิตอย่างยากลำบากในกรุงเทพฯ มาออกแบบเป็นบอร์ดเกมขำๆ ในวัน April Fool’s Day แต่กลับได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้แนวคิดนี้ถูกนำไปต่อยอดและพัฒนา ด้วยการนำความโกลาหลและเสน่ห์เฉพาะตัวของกรุงเทพฯ มาเป็นแรงบันดาลใจ จนได้ออกมาเป็นบอร์ดเกม ‘Bangkok Pains’ ให้ทุกคนได้เล่นกันจริงๆ โดยเนื้อหาของเกมจะมุ่งเน้นไปยังการเอาตัวรอดจากอุปสรรค ซึ่งเป็นความเจ็บปวดในกรุงเทพฯ เช่น การเปลี่ยนอาชีพ การเดินทาง หรือแม้แต่สิ่งไม่คาดคิดต่างๆ ที่เราจะได้เจอในเมืองนี้ เกมนี้เล่นได้ตั้งแต่ 2 – 6 คน วิธีการเล่นก็ไม่ยากแค่แต่ละคนต้องเลือกอาชีพที่คิดว่าสามารถอยู่รอดได้ในกรุงเทพฯ ตลอดระยะเวลาหนึ่งปี ผ่านการจั่วการ์ด ‘Pain or Gain’ และลุ้นว่าในแต่ละตานั้นจะต้องเจออะไรบ้าง เช่น ค่าปรับที่ต้องเสีย ค่ารักษาพยาบาลจากอาหารข้างทาง หรือโบนัสที่ได้มาแบบเซอร์ไพรส์ เพื่อหาผู้ชนะที่เอาชีวิตรอดมาได้พร้อมกับเงินที่เหลือมากที่สุด ใครที่เผชิญหน้ากับความลำบากในการใช้ชีวิตที่กรุงเทพฯ แล้วยังไม่หนำใจ ยังอยากลำบากได้อีก และอยากลองท้าทายชะตาชีวิตในรูปแบบของเกมบ้าง กดสั่งซื้อบอร์ดเกมแบบพรีออเดอร์ในราคา […]

กทม.แจ้งเฝ้าระวัง ‘พิษสุนัขบ้า’ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์จรจัด และสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยง

หลังจากที่พบสัตว์ป่วยด้วยอาการโรคพิษสุนัขบ้า บริเวณสำนักงานศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช ในซอยอ่อนนุช 86 ทางกรุงเทพมหานครได้ขอความร่วมมือในการเลี่ยงการสัมผัสสัตว์จรจัดในพื้นที่ รวมถึงแจ้งการเฝ้าระวังประชาชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงในรัศมี 5 กิโลเมตร คือ – แขวงสะพานสูง เขตสะพานสูง กรุงเทพมหานคร – แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร – แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร – ตำบลราชาเทวะ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โดยในตอนนี้ทางเขตประเวศเองได้มีการให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า สำหรับคนและสัตว์เลี้ยงฟรี ตั้งแต่วันที่ 23 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 22 วัดปากบ่อ และให้สังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงในบ้านด้วยว่าผิดปกติหรือพบสัตว์ที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปหรือไม่ แต่แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในพื้นที่เฝ้าระวัง เราก็ต้องคอยสังเกตและระวังทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์จรจัดที่เจอให้ดีว่ามีอาการเข้าข่ายว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าหรือไม่ เช่น หงุดหงิด กระวนกระวาย ไล่กัดคนหรือสัตว์อื่นๆ ไม่เลือก ขากรรไกรค้าง เป็นต้น โรคพิษสุนัขบ้าคือโรคติดเชื้อในระบบประสาทที่ติดจากสัตว์สู่คน เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มียารักษา จึงทำให้ผู้ติดเชื้ออันตรายถึงชีวิตได้ อย่างไรก็ตาม สามารถป้องกันเบื้องต้นเพื่อลดการเสียชีวิตได้ด้วยการฉีดวัคซีน แม้จะชื่อว่าพิษสุนัขบ้า แต่ก็พบโรคนี้ได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด […]

‘Data Driven EV- ชักลาก’ นวัตกรรมแก้ปัญหาขยะตกค้างด้วย Waste Tech ในชุมชนและพื้นที่ที่รถเก็บขยะเข้าไปไม่ถึง

แม้ว่าทางภาครัฐจะมีการจัดเก็บขยะอยู่เป็นประจำทุกๆ สัปดาห์ แต่ด้วยข้อจำกัดของผังเมืองกรุงเทพฯ ทำให้มีพื้นที่เส้นเลือดฝอยจำนวนมากที่การจัดเก็บขยะไม่สามารถเข้าถึงได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ด้วยพื้นที่ที่แคบและอยู่ลึก รถขยะจึงเข้าไปไม่ถึง รวมถึงพนักงานเก็บขยะก็ไม่สามารถรวบรวมขยะทั้งหมดออกมาได้ ทำให้เกิดขยะตกค้างในหลายพื้นที่ ก่อให้เกิดความสกปรกและส่งผลกระทบอื่นๆ ตามมา จากปัญหานี้ ทำให้ทาง ‘กรุงเทพมหานคร’ ร่วมมือกับ ‘GEPP Sa-Ard’ สตาร์ทอัปที่พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการขยะ จัดทำนวัตกรรมแก้ปัญหาการจัดเก็บขยะตกค้างในพื้นที่เล็กๆ และอยู่ลึกในชุมชนต่างๆ ที่รถขยะคันใหญ่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ‘โดม บุญญานุรักษ์’ CMO และผู้ร่วมก่อตั้ง GEPP Sa-Ard บอกกับเราว่า นอกจากจะมีปัญหาขยะตกค้างแล้ว พนักงานชักลากขยะของทางกรุงเทพมหานครที่ต้องเข้าไปจัดการขยะในพื้นที่เล็กๆ เหล่านั้น ต้องใช้เวลาในการชักลากขยะวันละ 3 – 4 รอบ รอบละ 100 – 200 กิโลกรัม นับเป็นการเสียเวลาในการทำงานไปอย่างน่าเสียดาย เพนพอยต์นี้นำมาสู่ไอเดียการนำ ‘EV-Bike’ มาพัฒนาเข้ากับส่วนพ่วงลาก เพื่อช่วยทุ่นแรงและเวลาในการชักลาก รวมถึงยังมีการทดลองติดตั้งระบบการจัดเก็บข้อมูล เช่น น้ำหนักหรือรายละเอียดขยะแบบแยกชนิดลงไปในตัวพ่วงด้วย โดยทางทีมจะนำปัญหาที่เจอในระยะทดลองช่วงแรกไปพัฒนาประสิทธิภาพการชักลากขยะ และจัดเก็บข้อมูล เพื่อนำไปศึกษาพัฒนานวัตกรรมต่อไปในอนาคต ที่ผ่านมารถชักลากขยะ EV-Bike ถูกนำมาใช้งานนำร่องทดลองในสองพื้นที่ คือ […]

‘Bangkok-Error’ Illustrated Zine ซีนที่พาไปสำรวจกรุงเทพฯ เมืองพิกล จนพาคนไปเจอเรื่องประหลาด

.นักอ่านคนไหนที่ชอบทั้งสิ่งพิมพ์และเรื่องเมือง น่าจะถูกใจ ‘Bangkok-Error (กรุงเทพฯ เมืองพิกล)’ นิตยสารภาพประกอบ (Illustrated Zine) ลายเส้นสุดน่ารักสีสันสะดุดตา โดย ‘พุดชมพู เส็งหลวง’ เจ้าของนามปากกา ‘phutchomphu’ ที่ภายในประกอบด้วยเรื่องราวการใช้ชีวิตของชาวกรุงเทพฯ อันแวดล้อมไปด้วยความพิกลของพื้นที่สาธารณะและระบบสาธารณูปโภคสุดเพี้ยน แต่ยังคงแทรกความหวังถึงการออกแบบที่คิดถึงคนเมืองมากขึ้นในอนาคต เพราะเราต่างรู้กันดีว่าการใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ นั้นเหมือนต้องผจญภัยตลอดเวลา เห็นได้ง่ายๆ จากการใช้ทางเท้าที่เราไม่มีทางรู้เลยว่าจะเจอกระเบื้องแตก น้ำขัง หรืออึหมา จนเหมือนเรากำลังเล่นเกม ‘Minesweeper’ ในชีวิตจริง นี่ยังไม่นับการเผชิญหน้ากับภาวะน้ำท่วมขังหลังฝนตกหนัก และท่อระบายน้ำที่เป็นศูนย์รวมสิ่งไม่น่าภิรมย์ ทั้งไขมันและเศษอาหาร ซากใบไม้ ซากหนู สิ่งปฏิกูลอื่นๆ หรือฟูกที่นอน เรียกได้ว่าหากใครผ่านด่านนี้ไปได้ ก็สมควรจะได้รับรางวัลเป็นยารักษาโรคน้ำกัดเท้าไปด้วยเป็นของแถม แม้เนื้อหาของ Bangkok-Error จะดูตลกร้าย ด้วยการเสียดสีการใช้ชีวิตของคนกรุงเทพฯ ออกมาได้ฉูดฉาดเจ็บแสบ แต่ขณะเดียวกัน นิตยสารเล่มนี้ก็ชวนผู้อ่านตั้งคำถามว่า เรากำลังถูกทำให้ชินชากับเมืองและพื้นที่สาธารณะที่ออกแบบมาไม่ดีหรือเปล่า อีกทั้งซีนเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเข้าถึงและปริมาณพื้นที่สีเขียวที่ควรจะเป็น การออกแบบทางเท้าที่สอดคล้องไปกับ Universal Design เพื่อให้ผู้อ่านสามารถจินตนาการถึงเมืองที่ดี และจุดประกายความหวังถึงการมีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการอาศัยอยู่ในเมืองที่เหมาะกับการใช้ชีวิตของคนทุกกลุ่ม ใครที่สนใจ Illustrated Zine ‘Bangkok-Error (กรุงเทพฯ เมืองพิกล)’ […]

กรุงเทพฯ เมืองซับซ้อน

ผมพกกล้อง Compact ตัวเล็กติดตัวออกจากบ้านเสมอไม่ว่าจะไปที่ไหน เพราะระหว่างทางอาจเจอสิ่งที่น่าสนใจ จะได้มีเครื่องเอาไว้บันทึกเรื่องราวได้ หลังจากที่ได้เดินทางไปในหลายพื้นที่ ผมว่ากรุงเทพฯ เป็นเมืองที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน ทั้งในแง่อาคารสิ่งก่อสร้าง สีสัน ชีวิต ผู้คน และเรื่องราว ผมจึงรวบรวมภาพถ่ายกรุงเทพฯ ที่มีการซ้อนทับสลับซับซ้อน ผสมผสานกับองค์ประกอบที่มีความเป็นไทย เพื่อนำเสนอเมืองหลวงแห่งนี้ผ่านมุมมองของผม หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

คุยเรื่องเมืองและอุตสาหกรรมดนตรีกับเจ้าของค่ายเพลง ‘บอล – What The Duck’

หลายคนคงรู้จัก ‘บอล Scrubb’ หนึ่งในนักดนตรีไทยที่มีผลงานเพลงติดหูมามากมายกว่า 20 ปี แต่ในฐานะเจ้าของค่ายเพลง ‘What The Duck, MILK! BKK Music Label และ MILK! Artist Service Platform’ อาจมีบางคนที่ยังไม่รู้ว่ามีเขาเป็นเบื้องหลังกำลังหลักคอยขับเคลื่อนอยู่ “เมืองหมายถึงความเจริญ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน ขนส่ง น้ำ ไฟ ประปา ถ้าสิ่งที่จับต้องได้จริงๆ มันไม่ดีพอ เดินทางมาไม่ถึงหรือเข้าถึงยาก คนก็จะรู้สึกเข้าไม่ถึง เพราะความสุขหรือศิลปะมันไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐาน เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักมันต้องดีก่อน คนถึงจะมีเวลาไปมองหาอะไรที่เป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มความสุขส่วนตัว” Urban Creature คุยกับ ‘บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา’ เนื่องในโอกาสครบรอบ 10 ปีของค่าย What The Duck กับความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมดนตรีไทย และเมืองในฝันที่จะน่ารักกับดนตรีได้อย่างแท้จริง

‘Bangkok 21xx Olympics’ จะเป็นอย่างไร ถ้ากรุงเทพฯ เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาระดับโลก และใช้พื้นที่เมืองเป็นสเตเดียมแข่งขัน

ในที่สุดก็มาถึงช่วงเวลาที่ทุกคนตั้งตาคอยกับมหกรรมกีฬาระดับโลก ‘Paris 2024 Olympics’ ที่ฝรั่งเศสกลับมาเป็นเจ้าภาพในรอบ 100 ปี ความน่าสนใจของโอลิมปิกครั้งนี้คือ การกำหนดสถานที่สำคัญของฝรั่งเศสให้เป็นสนามกีฬา เช่น หอไอเฟล พระราชวังแวร์ซาย แม่น้ำแซน เป็นต้น นอกจากเป็นฉากหลังที่สวยงามระหว่างการแข่งขันแล้ว ยังอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจท่องเที่ยวได้อีกด้วย แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าประเทศไทยของเราได้เป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมกีฬาสุดยิ่งใหญ่นี้บ้าง โดยใช้คอนเซปต์เดียวกันกับฝรั่งเศสอย่างการใช้สถานที่สำคัญสำหรับการแข่งขันในกรุงเทพมหานคร คอลัมน์ Urban Sketch ขอเสนอสถานที่ต่างๆ ในกรุงเทพฯ สำหรับจัดการแข่งขัน ‘Bangkok 21xx Olympics’ ให้พิจารณา เผื่อถึงเวลาเกิดเป็นเจ้าภาพจริงๆ เราอาจจะได้เห็นการแข่งกีฬาตามสถานที่เหล่านี้ก็ได้นะ ตีเทนนิส ตบวอลเลย์บอลชายหาด กลางท้องสนามหลวง ‘ท้องสนามหลวง’ เป็นพื้นที่ลานโล่งใกล้กำแพงพระบรมมหาราชวังและสถานที่สำคัญใจกลางพระนคร ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นพื้นที่สาธารณะให้ผู้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ หากจะนำกลับมาใช้งานอีกครั้ง ก็ดูจะเป็นพื้นที่ที่เหมาะแก่การจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง โดยจะสร้างสเตเดียมชั่วคราวให้การแข่งขัน ‘เทนนิส’ หรือจะปูสนามทรายสำหรับ ‘วอลเลย์บอลชายหาด’ ก็ได้เหมือนกัน รวมไปถึงการมีฉากหลังเป็นวัดพระแก้วยังช่วยสร้างภาพบรรยากาศที่สวยงามระหว่างการแข่งขันและการถ่ายทอดสดได้อีกด้วย เปิดศึกสังเวียนที่สนามมวยเวทีราชดำเนิน แม้ ‘มวยไทย’ จะยังไม่ถูกบรรจุเป็นกีฬาที่จัดแข่งในโอลิมปิกอย่างเป็นทางการ แต่โอลิมปิกปีนี้เริ่มมีการจัดแข่งขันสาธิตในโปรแกรมเสริมที่กรุงปารีส จึงเป็นไปได้ว่าในอนาคต เราอาจได้เห็นการแข่งกีฬามวยไทยในโอลิมปิกก็เป็นได้ แน่นอนว่าสถานที่ที่เหมาะสำหรับจัดการแข่งมวยไทยในกรุงเทพฯ คงหนีไม่พ้น ‘สนามมวยเวทีราชดำเนิน’ […]

Rainy Day Mood ติดฝน

ภาพเซตนี้ได้แรงบันดาลใจจากการที่เราติดฝนหลังเลิกงานบ่อยๆ ด้วยนิสัยที่เราเป็นคนพกกล้องตลอดเวลาและชอบสังเกต ทำให้เห็นว่าซีนรอบๆ ตัวมีหลายอารมณ์ ทั้งเหงา โรแมนติก ชุลมุน และวุ่นวาย แต่ก็มีเสน่ห์ในตัวของมันไปอีกแบบ หากคุณมีชุดภาพถ่ายที่อยากจะร่วมแชร์ในคอลัมน์ Urban Eyes สามารถส่งมาได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]

‘One Day Trip with Paul Smith’ ออกท่องเที่ยวหนึ่งวันในกรุงเทพฯ กับดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ดังจากอังกฤษ

เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ดีไซเนอร์และผู้ก่อตั้งแบรนด์ดัง ‘Paul Smith’ ได้เดินทางมายังกรุงเทพฯ เพื่อร่วมงานเปิดแฟลกชิปสโตร์สาขา Central Embassy ซึ่งก็ไม่ได้มาแค่ร่วมเปิดแฟลกชิปสโตร์เท่านั้น แต่การมาครั้งนี้ Paul Smith ยังออกไปท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า พร้อมเปิดมุมต่างๆ ในกรุงเทพฯ ผ่านสายตาของเขาออกมาในรูปแบบของภาพยนตร์สั้นอีกด้วย แม้ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้มีความยาวเพียง 2 นาที แต่ภายในนั้นทำให้เราได้เห็นมุมมองต่างๆ ของกรุงเทพฯ ผ่านการเดินทางและสายตาของ Paul Smith ที่อัดแน่นไปด้วยสีสันและชีวิตของผู้คนที่เริ่มต้นกันตั้งแต่เช้า ไม่ว่าจะเป็นภาพพ่อค้าแม่ค้าที่ตื่นแต่เช้าออกมาจัดเรียงดอกไม้, ภาพคนเข็นรถ คอยบริการลูกค้าที่มาเลือกซื้อดอกไม้, ภาพเรือที่แล่นผ่านสะท้อนวิถีชีวิตของคนไทยที่เชื่อมโยงกับสายน้ำ, ภาพแสงแดดสีส้มยามเช้า นกกำลังบินเลียบแม่น้ำ คนกำลังเข็นรถข้ามสะพานพุทธฯ พระสงฆ์ออกบิณฑบาต รถเมล์ รถตุ๊กตุ๊ก ที่กำลังจอดรับผู้โดยสาร ทั้งหมดล้วนสื่อถึงการเริ่มต้นเช้าวันใหม่และวิถีชีวิตของผู้คนที่อาศัยในเมืองหลวงแห่งนี้ Paul Smith มองว่าย่านเมืองเก่าของกรุงเทพฯ เป็นเหมือนการผสมผสานระหว่างโปสเตอร์เก่าๆ ตึกแปลกๆ ที่มีสิ่งสวยงามแทรกอยู่ อย่างดอกไม้ ที่จู่ๆ ก็เหมือนผุดขึ้นมา ราวกับเป็นสถานที่ที่สอดคล้องกับสิ่งที่เขาพูดอยู่เสมอว่า เราสามารถมองหาแรงบันดาลใจได้จากทุกสิ่ง หากยังหาไม่เจอก็ลองมองใหม่อีกครั้ง ออกไปท่องเที่ยวกับ Paul Smith ผ่านภาพยนตร์สั้นได้ทาง : youtu.be/orneNpJdyXY?si=OMqC4PzXucpOG705

‘Greener Bangkok’ เว็บไซต์รวบรวมความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมสีเขียวไว้ให้คนกรุงเทพฯ Go Green ไปด้วยกัน

ปัจจุบัน ‘กรุงเทพมหานคร’ กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาสิ่งแวดล้อม เพราะคนในเมืองขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จากการที่ไม่มีแหล่งข้อมูลที่เข้าถึงง่ายหรือรวมเป็นหลักเป็นแหล่ง แต่หลังจากนี้ชีวิตคนกรุงเทพฯ จะง่ายขึ้น เพราะ ‘Greener Bangkok’ เว็บไซต์ที่ออกแบบมาเพื่อปลูกความรู้สีเขียวให้กับคนในเมืองกรุงโดยเฉพาะ จากการร่วมมือกันระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภายในเว็บไซต์ได้รวบรวมข้อมูลสิ่งแวดล้อมในหมวดต่างๆ ไว้มากมาย ตั้งแต่ให้ความรู้เรื่องความยั่งยืน การจัดการขยะและรีไซเคิล ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไปจนถึงการให้บริการข้อมูลพื้นที่สีเขียวที่บอกเลยว่า ใครที่ได้เข้าไปเยี่ยมชมในเว็บไซต์นี้จะต้องได้ความรู้ติดตัวออกไปอย่างแน่นอน อีกทั้งภายในเว็บไซต์ยังมีฟังก์ชันน่าสนใจมากมายให้ทุกคนได้เข้าไปดูด้วย ไม่ว่าจะเป็นคู่มือการทิ้งขยะที่แนะนำให้เราจัดการกับขยะแต่ละชนิดได้อย่างถูกจุด วิธีการกำจัดขยะในสถานที่ต่างๆ หรือจะเรียกดูข้อมูลการวัดค่าฝุ่น PM 2.5 แบบเรียลไทม์ทุกพื้นที่ก็มีให้เช็กแบบหายห่วง แถมพลาดไม่ได้กับ ‘มินิเกม’ ที่จะทำให้เราเรียนรู้เรื่องกรีนๆ ได้อย่างสนุกสนานขึ้น ยกตัวอย่าง เกมที่เราจะได้ลองแยกขยะแต่ละชนิดด้วยตัวเอง เพราะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้แน่นอน ใครที่อ่านมาขนาดนี้แล้วสนใจอยากลองดูข้อมูลสีเขียวในกรุงเทพฯ เข้าไปเล่นเกมสนุกๆ หรืออยากนำเสนอไอเดียเรื่องสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ เข้าไปใช้งานเว็บไซต์ได้ที่ greenerbangkok.com

‘ตรอกสลักหิน’ ย่านชาวจีนหลังหัวลำโพงที่ขับเคลื่อนชุมชนด้วยวัฒนธรรมและศิลปะ

ระยะนี้ชื่อของ ‘ชุมชนตรอกสลักหิน’ ในโซเชียลมีเดียน่าจะผ่านตาของใครหลายคน เมื่อสปอตไลต์ฉายไปยังชุมชนกลางเมืองที่บางคนอาจยังไม่รู้จัก จนเป็นเหมือนแม่เหล็กดูดคนจากต่างถิ่นให้ปักหมุดมายังตรอกเล็กๆ หลังสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) แห่งนี้ ถัดจากด่านเก็บเงินทางพิเศษศรีรัช ขนาบข้างด้วยทางรถไฟ เดินไปตามถนนรองเมือง ไม่ทันไรก็มาถึงใต้ชายคาบ้านไม้สองชั้นที่แปรเปลี่ยนหน้าที่เป็นมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก สถานที่พักใจของเด็กๆ ในวันหยุดด้านหลังวัดดวงแข วันนี้เป็นวันธรรมดา มูลนิธิไร้เงาเด็กน้อยเพราะไปเรียนหนังสือ เสียงจอแจเงียบหายไปเหมือนเสียงหวีดรถไฟที่ซาลงไปไม่กี่ปีมานี้ แต่จุดประสงค์ของเราไม่ใช่เยาวชนชาวตรอกสลักหิน ทว่าเป็นเบื้องหลังของกลุ่มเด็ก เพื่อฟังเรื่องราวจากปากชาวชุมชนที่ผลักดันให้เกิดทริปนี้ขึ้นมา แหล่งอโคจรยุคอันธพาลครองเมือง “ผมเห็นตั้งแต่ชุมชนไม่มีอะไร จนมูลนิธิฯ เข้ามาพัฒนา เอาศิลปะมาลง” ‘ปีโป้-เศรษฐศักดิ์ จตุปัญญาโชติกุล’ เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ เริ่มต้นเล่าถึงตรอกสลักหินที่เขารู้จัก “เมื่อก่อนใครจะเข้าชุมชนก็โดนตี ในช่วงอันธพาลครองเมือง ยาเสพติด การพนัน ค้าประเวณี” ในช่วงปี 2499 ยุคอันธพาลครองเมือง บริเวณตรอกสลักหินและพื้นที่รอบๆ มีกลุ่มเจ้าถิ่นดูแลอยู่ตลอด เป็นพื้นที่อโคจรที่เต็มไปด้วยสิ่งผิดกฎหมาย ชื่อของตรอกเป็นที่รู้จักของคนวัยเก๋าในฐานะบ้านเกิดของ แดง ไบเลย์ หนึ่งในอันธพาลตัวเอ้ของพระนคร ย้อนไปในอดีต ด้วยระยะทางที่ใกล้กับขนส่งมวลชนสำคัญในขณะนั้น ทำให้ผู้คนจากหลากที่มาต่างเข้ามาจับจองพื้นที่ในตรอกสลักหินเพื่อพักผ่อน เช้าก็ออกไปประกอบอาชีพรองรับผู้เดินทาง เช่น แม่ค้าส้มตำที่หาบจากในตรอกไปนั่งรอลูกค้าด้านหน้าสถานีหัวลำโพง จนเป็นเหมือนสัญลักษณ์ในวันวานที่หลายคนคุ้นตา “บางคนก็อาศัยอยู่ในนี้ บางคนก็อาศัยในชุมชนวัดดวงแข มีห้องเช่าทั้งรายวัน รายเดือน […]

‘Urban Common Source’ แพลตฟอร์มรวมข้อมูลของกรุงเทพฯ ที่จะทำให้การแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาเมืองเป็นเรื่องง่ายแค่ปลายนิ้ว

การหาข้อมูลต่างๆ ในปัจจุบัน เราทุกคนต่างเชื่อว่าสามารถค้นหาทุกอย่างได้บนอินเทอร์เน็ต แต่บางครั้งการหาข้อมูลทั่วๆ ไปของเมืองที่เราอาศัยอยู่ กลับต้องใช้เวลาในการยื่นคำร้องสู่หน่วยงานอีกหลายขั้นตอนกว่าจะได้รับข้อมูลนั้นมา และไม่ใช่แค่ประชาชนทั่วไปที่ต้องการข้อมูลเหล่านี้ไปทำงานหรือทำวิจัย แต่เชื่อหรือไม่ว่า แม้แต่หน่วยงานรัฐเองบางครั้งก็ประสบปัญหาการสืบค้นข้อมูลเมือง ทำให้การพัฒนาพื้นที่บางจุดในเมืองเป็นไปอย่างล่าช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น คอลัมน์ Trouble Solver พาไปทำความรู้จักกับ urbancommonsource.com แพลตฟอร์มฐานข้อมูลเมือง ที่เกิดจากการทำงานของ Urban Studies Lab ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และการร่วมมือกับกรุงเทพมหานครและหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ เพื่อสร้างพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บบันทึกและแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้การทำงานของหน่วยงานรัฐ รวมถึงภาคส่วนอื่นๆ ที่ต้องการใช้ข้อมูลเมืองมีความสะดวกสบายและง่ายขึ้น Urban Studies Lab กับการเป็นตัวกลางเชื่อมรัฐและชุมชน ‘ศูนย์วิจัยชุมชนเมือง’ หรือ ‘Urban Studies Lab (USL)’ คือศูนย์วิจัยอิสระด้านการศึกษาเมือง ที่เน้นการพัฒนาเมืองในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านสังคม คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงกลุ่มเปราะบาง ผ่านการวิจัยเชิงปฏิบัติและการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบมีข้อมูลเป็นหลักฐาน การทำงานของ Urban Studies Lab จะเป็นการพัฒนาชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ ภายในเมือง เช่น ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษาหรืองานวิจัย และภาคประชาสังคม […]

1 2 3

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.