ผลงานภาพถ่ายชุด Super Dad เป็นการหยิบเอาเรื่องราวจริงในอดีตที่พ่อเคยเล่าให้ฟัง แล้วเรามองว่าเป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ น่าตื่นเต้น มาสร้างเป็นภาพถ่ายที่เปรียบพ่อเป็นซูเปอร์ฮีโร่ผ่านภาพและเรื่องราวที่เหมือนจะธรรมดา
RELATED POSTS
ปูบนพื้น มุงหลังคา ใช้ในงานก่อสร้าง ตีความสังคมผ่านผืนผ้าใบสีฟ้า-ขาว ในนิทรรศการภาพถ่าย The Fabric of Society
เรื่อง
Urban Creature
เคยสังเกตตัวเองมั้ย เวลาเจอผืนผ้าใบสีฟ้า-ขาว แล้วสมองจะนึกโยงไปถึงอะไรก่อน ไซต์ก่อสร้าง หลังคาชั่วคราวของคนไร้บ้าน หรือเครื่องมือคลุมของของร้านรวงริมถนน ฯลฯ ที่เป็นแบบนั้นเพราะไม่ว่าจะเป็นของเล็กน้อยหรือใหญ่โต ล้วนมีบริบทการใช้งานและชนชั้นผูกอยู่ด้วยเสมอ เหมือนที่ Barry Macdonald ช่างภาพอิสระชาวอังกฤษ มีมุมมองต่อเจ้าผืนผ้าใบนี้ในหลากหลายมิติ นำมาสู่นิทรรศการภาพถ่าย ‘The Fabric of Society’ หรือ ‘ผืนผ้าของสังคม’ ที่จะจัดแสดงระหว่างวันที่ 21 กันยายน ถึง 13 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.30 – 19.00 น. ณ Front Lobby ชั้น 1 TCDC กรุงเทพฯ เพราะอย่างที่ทราบกันว่าผ้าใบมีคุณสมบัติที่ตอบโจทย์การใช้งานอันหลากหลาย ตั้งแต่ความคงทน ราคาย่อมเยา เข้าถึงง่าย ทำให้เราเชื่อมโยงกับผ้าใบนี้แม้ว่าจะไม่ได้เป็นคนใช้งานโดยตรงก็ตาม เนื่องจากยังไงเราก็ต้องเคยเดินผ่านเห็นมันบ้างอยู่แล้ว ไม่ว่าจะใช้ในงานก่อสร้าง การขนส่ง หรือการนำมาดัดแปลงสร้างสรรค์ให้เป็นของดีไซน์แบบไทยๆ แบบที่จะอยู่ในคอลัมน์ดีไซน์-เค้าเจอของ Urban Creature เช่น […]
‘อยู่กันดีๆ ให้ได้ได้ไหม’ จะใช้ชีวิตร่วมกับครอบครัวใหญ่อย่างไรให้สงบสุข ในยุคที่ใครก็ไม่เข้าใจกัน
เรื่อง
มะเฟือง
เวลาพูดถึงจุดร่วมของ ‘สังคมไทย’ หลายครั้งภาพที่ฉายออกมาคือการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ ภายในรั้วบ้านหลังคาเดียวกันจะมีสมาชิกอยู่หลากรุ่น หลายเครือญาติ ใครที่มีรูปแบบครอบครัวเช่นนี้ คงจะคุ้นเคยกับความสนุกสนาน การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และความสนิทสนมอย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ความบาดหมางและความเจ็บปวดใจที่เกิดขึ้นจากการสื่อสารในครอบครัวใหญ่ ก็เป็นความทุกข์ที่หลายครั้งเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเปี่ยมไปด้วยความรู้สึกมากมายที่ซับซ้อนและตีกันวุ่นไปหมด ยิ่งในช่วงที่ประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ และเงื่อนไขชีวิตที่หลายคนเลือกมีพื้นที่ของตัวเองด้วยการย้ายออกมาอยู่คนเดียวไม่ได้ จะมีวิธีไหนบ้างที่ช่วยจัดการสภาพจิตใจต่อความกระอักกระอ่วนที่อาจเกิดขึ้นบ่อยๆ ภายในครอบครัว ไม่มีใครเป็นตัวเอก ไม่มีใครเป็นตัวร้าย แต่เราแค่มาจากหนังคนละเรื่องกัน หลายครั้ง ความไม่ลงรอยกันภายในครอบครัวใหญ่ มักเกิดจากความไม่เข้าใจและความไม่พร้อมเปิดใจรับฟัง ทำให้ต่างฝ่ายต่างไม่รู้สึกได้รับการเห็นค่าจากคนที่รัก โดยเฉพาะญาติอาวุโสที่ยิ่งใช้ชีวิตอยู่ในโลกนี้มานานเท่าไหร่ ยิ่งง่ายที่จะยึดมั่นทั้งความเชื่อและแบบแผนการใช้ชีวิตที่พวกเขาเชื่อว่าถูก ผ่านการเลี้ยงดูและคำสอนจากคนรุ่นอาวุโสกว่าพวกเขามาอีกที คุณค่าบางอย่างที่พวกเขาให้ความสำคัญ แม้ไม่ใช่ว่ามันเป็นสิ่งไม่ดี แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นสิ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันเสมอไป ยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่ผู้เขียนในฐานะนักจิตบำบัดความสัมพันธ์และครอบครัวพบบ่อยในชั่วโมงบำบัด คือการที่คนรุ่นพ่อแม่หรือบางครั้งก็เป็นรุ่นปู่ย่าตายายเลยด้วยซ้ำ พยายามพร่ำบอกให้ลูกหรือหลานตัวเองยึดแนวทางการใช้ชีวิตให้เหมือนเขา เพราะการใช้ชีวิตในรูปแบบนั้นนำพาความสำเร็จและชีวิตที่สุขสบายมาให้ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ว่า หนึ่งในนั้นคือ ‘ความอดทน’ ไม่ว่าจะทั้งทางกายหรือใจ การพร่ำบอกให้อดทนต่องานที่ทำ ทำไมถึงบ่นกับเรื่องแค่นี้ ทำไมถึงไม่หาข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพิ่มในเวลาว่าง ทำไมหยุดงานหรือเปลี่ยนงานบ่อยจัง หรือการบอกให้อดทนต่อความรู้สึก เช่น เรื่องแค่นี้ทำไมต้องร้องไห้ เรื่องมันเกิดมานานแล้ว ทำไมยังคิดเล็กคิดน้อยอยู่ได้ ทะเลาะกันแค่นี้ ทำไมเลือกที่จะหย่า ฯลฯ แน่นอนว่าความเจ็บปวดเป็นเรื่องปัจเจก สิ่งที่ทำให้อารมณ์แต่ละคนสั่นสะเทือนล้วนมีหน้าตาต่างกันออกไป ไม่ว่าจะด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ก็ตาม การปฏิเสธความรู้สึกของใครคนหนึ่งยิ่งสร้างความห่างเหินในใจ […]
‘National Geographic Photo Ark’ เปิดบันทึกภาพถ่ายสัตว์กว่า 15,000 สปีชีส์ ในสวนสัตว์ทั่วโลกมากกว่า 50 ประเทศ วันที่ 11 – 29 ก.ค. 67 ที่ชั้น 3 โซน Living Hall สยามพารากอน
เรื่อง
Urban Creature
ปี 2006 คือปีแรกที่โจเอล ซาร์ทอรี (Joel Sartore) เริ่มต้นภารกิจ ‘Photo Ark’ ถ่ายภาพสัตว์ทุกสายพันธุ์ในสวนสัตว์ โดยเริ่มต้นที่สวนสัตว์บ้านเกิดของเขาในเมืองลิงคอล์น (Lincoln) รัฐเนแบรสกา (Nebraska) สหรัฐอเมริกา หลังจากนั้นเขาก็ออกเดินทางไปมากกว่า 50 ประเทศ และเก็บบันทึกภาพสิ่งมีชีวิตตามสวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าไปมากกว่า 15,000 สปีชีส์ เพื่อกักเก็บภาพความทรงจำของสัตว์ต่างๆ ก่อนที่มันจะสูญพันธุ์ สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนปกปักรักษามันให้อยู่ต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน และในวันที่ 11 – 29 กรกฎาคมนี้ ชาวกรุงเทพฯ ก็จะได้ชื่นชมกับภาพถ่ายของซาร์ทอรีกันกับตา ในนิทรรศการ ‘National Geographic Photo Ark’ ซึ่งงานนี้จะมีภาพสัตว์ประจำถิ่นของไทยและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้ามาร่วมแสดง รวมถึงมีกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์สัตว์ป่าให้เพลิดเพลินโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ถ้าอยากทำความรู้จักกับโครงการ Photo Ark ให้มากขึ้น ไปเรียนรู้เพิ่มเติมกันได้ที่ www.natgeophotoark.org แล้วอย่าลืมไปเยี่ยมชมนิทรรศการกันในช่วงวันที่ 11 – 29 ก.ค. นี้ กันล่ะ
Cannes for the First Time มองคานส์ เมื่อได้ไปเทศกาลหนังเมืองคานส์ครั้งแรก
เรื่อง
วัลลภ รุ่งกำจัด
Cannes for the First Time มองคานส์ เมื่อได้ไปเทศกาลหนังเมืองคานส์ครั้งแรก