
“ที่ใดมีน้ำ…ที่นั่นมีชีวิต” การค้นพบสารประกอบที่สำคัญในการใช้ชีวิตบนโลกอย่าง ‘น้ำ’ ที่กระจายในส่วนต่างๆ บนพื้นผิวดวงจันทร์ของ NASA หรือ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ ทำให้มนุษย์อย่างเราอดคิดตามไม่ได้ ว่าทำไมน้ำถึงไปอยู่บนดวงจันทร์ได้ล่ะ !
การค้นพบครั้งนี้เป็นผลงานจาก ‘SOFIA’ (Stratospheric Observatory for Infrared Astronomy) หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในบรรยากาศโลกชั้นสตราโตสเฟียร์ของ NASA โดยเครื่องบินจัมโบ้เจ็ท Boeing 747SP ที่บินขึ้นไปบนระดับความสูงมากกว่า 45,000 ฟุต โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์รังสีอินฟราเรดส่องพื้นผิวบนดวงจันทร์ด้านพื้นผิวที่มีแสงแดดส่อง จนพบความยาวคลื่นเฉพาะของน้ำ 6.1 ไมครอน และใกล้สารเคมีอย่าง ไฮดรอกซิล
โมเลกุลน้ำเหล่านี้อยู่บนพื้นผิวของแอ่งหลุมคลาเวียส (Clavius Crater) ที่เป็นหลุมขนาดใหญ่บนซีกโลกใต้ของดวงจันทร์ ที่น้ำมีความเข้มข้น 100-412 หนึ่งส่วนในล้านส่วน และมีปริมาณน้ำในเนื้อดินทุก 1 ลูกบาศก์เมตร โดยเฉลี่ย 12 ออนซ์ เท่ากับน้ำดื่ม 1 ขวดเล็ก หรือพูดกันง่ายๆ ก็แก้วสตาบัคส์ไซซ์เล็กนั่นแหละ
“บางสิ่งกำลังก่อกำเนิดน้ำ และต้องมีบางสิ่งดักจับมันไว้ที่นั่น” Casey Honniball ผู้นำในการศึกษาครั้งนี้กล่าว