หากคุณกำลังวางแผนที่จะปาร์ตี้ในสวนหลังบ้านหรือออกไปตั้งแคมป์ นอกจากจะเข้าแอปฯ เช็กพยากรณ์อากาศ ตอนนี้ก็สามารถเข้าไปเช็กพยากรณ์ยุงได้เช่นกัน เครื่องมือชิ้นใหม่นี้จะทำหน้าที่ทำนายความชุกชุมของยุงในพื้นที่เป็นระยะเวลา 7 วัน โดยใช้อัลกอริทึมที่ประมวลผลข้อมูลสภาพอากาศโดยละเอียดจาก Google Earth Engine ซึ่งเป็นฐานข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมขนาดใหญ่
http://mirziamov.ru/zaym-onlayn
Jamie Herring ประธานบริษัท Climate Engine ที่ร่วมมือกับ SC Johnson ผู้ผลิตยากันยุงแบรนด์ OFF! และ Google Cloud ในการคิดค้นเครื่องมือพยากรณ์ยุงบอกว่า การเติบโตของยุงตั้งแต่เป็นไข่จนถึงตัวเต็มวัยสัมพันธ์กับอุณหภูมิและความชื้นซึ่งต้องใช้เวลาหลายวันในแต่ละขั้น ดังนั้น หากสามารถกำหนดแผนที่อุณหภูมิและความชื้น ก็สามารถใช้คาดเดาปริมาณการเติบโตของยุงได้
“โมเดลนี้แม่นยำมาก” Maude Meier นักกีฏวิทยาที่ SC Johnson กล่าวว่า การใช้ข้อมูลสภาพอากาศหลายพันล้านจุดจาก Google Earth Engine พร้อมกับข้อมูลของจำนวนยุงในอดีตจากสถานที่หลายพันแห่ง ร่วมกับความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับวงจรชีวิตของยุงทำให้มีความถูกต้องสูงมาก
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังเพิ่มจำนวนประชากรยุงในหลายพื้นที่ เนื่องจากอากาศที่ร้อนขึ้นทำให้ยุงแพร่กระจายและผสมพันธุ์ได้นานกว่า 1 ปี นั่นหมายความว่าจะมีผู้ป่วยมากขึ้น และยังมีงานวิจัยที่คาดการณ์ว่า ผู้คนจำนวนมากถึงหนึ่งพันล้านคนทั่วโลกสามารถสัมผัสกับโรคที่มียุงเป็นพาหะ เช่น ซิกาหรือมาลาเรีย ในศตวรรษนี้
Source : Fast Company
RELATED POSTS
เทคโนโลยีสำหรับคนขี้เกียจอาบน้ำ ญี่ปุ่นเปิดตัว ‘เครื่องซักคน’ แค่เข้าไปนอนนิ่งๆ ก็สะอาดหมดจด
เรื่อง
Urban Creature
ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศแห่งเทคโนโลยีก็ต้องมีของใหม่ๆ ที่น่าสนใจมาให้เราได้ตื่นตาตื่นใจกันอยู่เสมอ ล่าสุดประเทศญี่ปุ่นได้เล็งเห็นปัญหาในชีวิตประจำวันอย่างอาการขี้เกียจอาบน้ำ และเปิดตัวโปรเจกต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้คนขี้เกียจทำความสะอาดร่างกายด้วย ‘เครื่องซักคน’ หรือเครื่องอาบน้ำอัตโนมัตินั่นเอง เครื่องซักคนที่ว่านี้คือ ‘Project Usoyaro’ โปรเจกต์ของ Science Co., Ltd. บริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านการพัฒนานวัตกรรมห้องน้ำและห้องครัว โดยเจ้า Project Usoyaro นี้ทำงานและควบคุมด้วยระบบ AI ที่จะช่วยทำความสะอาดร่างกายเพียงแค่เข้าเครื่องไปนอนแช่น้ำเฉยๆ แถมวิธีนี้ยังช่วยปลอบประโลมผู้ใช้งานจากวันที่เหนื่อยล้าอีกด้วย เพราะเมื่อเราเข้าไปในนวัตกรรมนี้แล้ว ภายในก็จะมีหน้าจอกันน้ำที่นอกจากจะแสดงสถานะต่างๆ ของร่างกายแล้ว ยังเปิดเป็นภาพพร้อมกับเสียงเพลง ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศเพื่อความผ่อนคลายและทำให้รู้สึกสบายตลอดการอาบน้ำอีกด้วย ทั้งนี้ Project Usoyaro ไม่ใช่เครื่องช่วยอาบน้ำแรกที่ญี่ปุ่นคิดค้นขึ้น เพราะย้อนไปในงาน Osaka Expo 1970 บริษัท Sanyo Electronics เคยเปิดตัวแนวคิด ‘อ่างอัลตราโซนิก’ ที่จะช่วยทั้งทำความสะอาดร่างกาย นวดเพื่อผ่อนคลาย และทำให้ผู้ใช้งานตัวแห้งภายใน 15 นาที แต่เป็นเพียงไอเดียเท่านั้น ยังไม่ถูกพัฒนาเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ได้ในชีวิตจริง ซึ่งในตอนนั้นทาง Yasuaki Aoyama ประธานบริษัท Science Co., Ltd. ได้ไปร่วมงาน Osaka […]
เครื่องวัดคุณภาพอากาศแบบเข้าใจง่าย นกตั้งขึ้นแปลว่าอากาศดี
เรื่อง
Urban Creature
นกสีเหลืองที่ดูคล้ายกับนาฬิกาชิ้นนี้คือเครื่องวัดคุณภาพอากาศ ซึ่งไม่ได้มีหน้าที่บอกเวลาแต่มีการทำงานที่สุดแสนจะเข้าใจง่ายคือ เมื่อคุณภาพอากาศดี หัวของนกก็จะชี้ขึ้นข้างบน แต่เมื่อคุณภาพอากาศเลวร้ายและมีมลพิษ หัวนกก็จะตกลงมาข้างล่างโดยอัตโนมัติ http://webbanki.ru Canairi เป็นเครื่องตรวจสอบอากาศบริสุทธิ์ที่เป็นส่วนผสมที่ลงตัวระหว่างการสื่อสารและเทคโนโลยีสำหรับการตรวจสอบอากาศภายในอาคาร ซึ่งได้เปิดตัวใน Kickstarter โดย Andreas Sørensen และ Hans Augustenborg โดยเครื่องวัดคุณภาพอากาศชิ้นนี้ได้ลบภาพจำของเครื่องมือแบบดั้งเดิม ทั้งไฟกะพริบหรือเสียงแจ้งเตือน เปลี่ยนมาเป็นการบอกเล่าที่แสนเรียบง่ายและเข้าใจได้ทันทีด้วยสัญชาตญาณไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ สองผู้คิดค้นกล่าวถึงที่มาของแรงบันดาลใจไว้ว่า ในสมัยก่อน คนงานเหมืองจะนำนกคีรีบูนติดตัวไปด้วยตอนเข้าไปทำงานในเหมืองถ่านหินเพื่อตรวจหาก๊าซพิษ และเมื่อใดก็ตามที่นกหมดสตินั่นหมายถึงความอันตรายที่ต้องรีบออกจากเหมืองในทันที ด้วยเซนเซอร์ตรวจจับคาร์บอนไดออกไซด์ในตัว Canairi ก็ทำงานในลักษณะเดียวกัน Canairi ประดิษฐ์ขึ้นมาจากพลาสติกรีไซเคิล มาพร้อมกับตัวยึดติดผนังและแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ถึงสามเดือนและชาร์จซ้ำได้ผ่าน USB เมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์พุ่งขึ้นมาสูงกว่า 1.000 ppm ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่หน่วยงานด้านสุขภาพแนะนำว่าไม่ควรเกิน เป็นเวลานานกว่า 10 นาที นกก็จะหมดสติโดยการตกลงมา เป็นสัญญาณเตือนให้เจ้าของบ้านเติมอากาศเข้าภายในอาคาร เมื่อระดับคาร์บอนไดออกไซด์กลับมาในระดับที่ต่ำกว่า 1.000 ppm นกสีเหลืองตัวนี้ถึงจะกลับมาฟื้นคืนชีพอีกครั้ง Source : Designboom
เปลี่ยนร้านซักรีด เป็นห้องตรวจคนไข้ สตาร์ทอัปแก้ปัญหาคนไม่มีเวลาว่าง ให้มนุษย์เงินเดือนเข้าถึงหมอง่ายขึ้น
เรื่อง
Urban Creature
สตาร์ทอัปเปลี่ยนร้านซักรีดให้กลายเป็นห้องตรวจสุขภาพ เพราะอยากให้บริการด้านสุขภาพเข้าถึงผู้คนได้ง่ายขึ้นในยุคที่พวกเขาแทบไม่มีเวลาเพียงพอ และสถานที่ที่ผู้คนมีเวลาว่างก็คือระหว่างการรอซักและอบผ้านั่นเอง ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ร้านซักรีดในนอร์ท ฟิลาเดลเฟีย ขณะที่ผู้คนรอเสื้อผ้าให้แห้ง แทนที่จะใช้เวลาไปกับการไถฟีดโทรศัพท์ หรือนั่งจมปลักอย่างเหนื่อยหน่าย พวกเขาสามารถเลือกที่จะตรวจคัดกรองมะเร็ง ตรวจความดันโลหิต หรือเลือกสมัครประกันสุขภาพแทน ประชาชนที่ต้องดิ้นรนให้อยู่รอดแทบไม่มีเวลาสำหรับครอบครัว ไม่ต้องพูดถึงการถ่อไปโรงพยาบาล Allister Chang ผู้ร่วมก่อตั้ง Fabric Health บอกว่าปัญหาเรื่องสุขภาพอาจจะแก้ได้ด้วยการเข้าไปหาผู้คนที่มีงานล้นมือในที่ที่พวกเขาอยู่ภายใต้เวลาที่พวกเขามีอยู่ โดยเฉลี่ยผู้ที่ไปยังร้านซักรีดมักจะใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง บนเก้าอี้พลาสติกขณะที่รอผ้าจำนวนมากกำลังผ่านกระบวนการซักและอบ และจากภารกิจที่รัดตัวในช่วงสุดสัปดาห์เวลาสำหรับการไปพบแพทย์ในวันหยุดจึงแทบเป็นไปไม่ได้ การตรวจแมมโมแกรมเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้หญิงในวัย 40 – 65 ปี สำหรับวันธรรมดาการปลีกตัวไปพบแพทย์เป็นเรื่องยากมาก ตารางเวลาและงานของพวกเธอไม่อนุญาตให้ทำแบบนั้น และช่วงพักเที่ยงก็ไม่เพียงพอ รวมถึงการนัดหมายบางครั้งต้องทำล่วงหน้าถึง 6 เดือน ซึ่งบางครั้งคุณอาจจะเจอแจ็กพอตที่ต้องเข้ากะในวันหยุดสุดสัปดาห์ นั่นหมายความว่าอาจจะต้องรอถึงครึ่งปีกว่าจะได้ตรวจสุขภาพที่เป็นสิ่งสำคัญแทบจะมากที่สุดสำหรับตัวเอง Fabric Health จึงร่วมมือกับโรงพยาบาลในพื้นที่นำเครื่องตรวจแมมโมแกรมเคลื่อนที่ไปที่ลานจอดรถในช่วงสุดสัปดาห์ ซึ่งช่วยได้มาก พวกเขายังทำงานร่วมกับบริษัทประกันสุขภาพเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า ในหลายกรณีบริษัทประกันไม่มีแม้แต่ข้อมูลในการติดต่อ Fabric Health จึงเดินหน้าเข้าไปยังร้านซักรีดในช่วงไพรม์ไทม์เพื่อเสนอความช่วยเหลือ ในเคสหนึ่งพวกเขาได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิงที่เกษียณแล้วและไม่มีเงินสำหรับจ่ายค่ารักษาโรคเบาหวานของตนเอง ปัญหาของเธอคือแผนประกันสุขภาพมีความสับสน และเข้าถึงยากจนเกินไป การมีเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือถึงที่ ในช่วงเวลาที่เธอไม่ได้เร่งรีบไปไหน ก็ช่วยจัดเก็บข้อมูลและนำมาซึ่งแผนประกันสุขภาพที่สามารถเข้าถึงยารักษาโรคเบาหวานที่จับต้องได้ ปัจจุบัน Fabric Health […]
ฟาร์มแนวตั้งใหญ่ที่สุดในโลก ใช้ปุ๋ยจากปลาเพิ่มผลผลิต 2 เท่า ความหวังสู้วิกฤตอาหารในภาวะโลกร้อน
เรื่อง
Urban Creature
Upward Farms วางแผนสร้างฟาร์มแนวตั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกในรัฐเพนซิลเวเนีย โดยจะใช้ของเสียจากปลามาเป็นปุ๋ย เพิ่มกำลังผลิตได้นับเท่าตัว และกลายเป็นความหวังในวิกฤตการณ์ด้านอาหาร เมื่อการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศรุนแรงขึ้น ฟาร์มแนวตั้งคือการปลูกพืชในรูปแบบวางซ้อนกัน และใช้พลังงานจากแสงไฟประดิษฐ์แก่พืชในการสังเคราะห์แสง รูปแบบการจัดวางแนวตั้งทำให้สามารถปลูกพืชได้มากขึ้นในพื้นที่เท่ากัน และนั่นเป็นเพียงข้อดีข้อแรกเท่านั้น ฟาร์มแนวตั้งยังมีการควบคุมด้วยระบบ AI ทำให้กำหนดทุกอย่างได้แม่นยำตั้งแต่อุณหภูมิไปจนถึงความชื้น ประหยัดทรัพยากรด้วยรูปแบบฟาร์มที่ไม่ต้องกังวลถึงการสูญเสียน้ำที่ไม่จำเป็น และทำให้ผลผลิตออกดอกออกผลอย่างสม่ำเสมอกว่าเกษตรกรรมดั้งเดิม ข้อเสียของฟาร์มแนวตั้งคือราคา แสงแดดจากธรรมชาติที่ไม่มีบิลค่าไฟมีราคาถูกกว่าแสงไฟประดิษฐ์แบบไม่ต้องเปรียบเทียบ ฟาร์มแนวตั้งส่วนใหญ่ยังต้องใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศ ระบบน้ำ และเทคโนโลยีอื่นๆ ทำให้การปลูกพืชรูปแบบนี้เต็มไปด้วยต้นทุนที่สูงกว่าเดิม เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่าย ฟาร์มแนวตั้ง 2 แห่ง ของ Upward ในบรูกลิน ไม่ได้ปลูกพืชเพียงอย่างเดียวแต่มีฟาร์มปลาในตัวด้วย ซึ่งของเสียจากปลาจะถูกกรองออกจากถังและใช้แทนปุ๋ยสังเคราะห์ บริษัทฟาร์มแนวตั้งแดนลุงแซมเปิดเผยว่าวิธีการนี้ทำให้ผลผลิตของพืชเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า และมีผลอย่างมากต่อการตั้งราคาให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Upward ได้ประกาศแผนการสร้างฟาร์มแนวตั้งขนาด 250,000 ตารางฟุต ในรัฐเพนซิลเวเนีย ที่จะพร้อมเดินเครื่องผลิตพืชออกมาในปี 2023 และกลายเป็นฟาร์มแนวตั้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และเช่นเดียวกับฟาร์มที่อื่นของบริษัท ฟาร์มแห่งนี้จะผลิตทั้งพืชผักและปลา ซึ่งตำแหน่งที่ตั้งของฟาร์มจะช่วยกระจายสินค้าไปยังผู้คนได้เร็วมากขึ้นด้วย “ฟาร์มแห่งนี้จะทำให้เราเข้าถึงแหล่งที่อยู่อาศัยยอดนิยมในสหรัฐอเมริกา ที่มีประชากรอาศัยอยู่ราวหนึ่งร้อยล้านคนได้ภายในวันเดียว จากที่เคยใช้เวลาราวหนึ่งสัปดาห์จากการจัดจำหน่ายจากฟาร์มในแถบชายฝั่งตะวันตก” Jason Green ซีอีโอของ Upward ตั้งเป้ากระจายสินค้าให้เข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น แม้พืชผลส่วนใหญ่ของโลกยังคงปลูกในฟาร์มแบบดั้งเดิม แต่การทำฟาร์มแนวตั้งอาจกลายเป็นผู้เล่นคนสำคัญที่จะเลี้ยงปากท้องผู้คนในอนาคต […]