จิบ Humanhattan ฟังเพลงเพราะๆ คุยกับคนแปลกหน้า ฟีลบาร์ทิพย์ กับเว็บไซต์ Drinks On Me

ถึงวันทำงานทีไรก็หมดแรงทุกที ทำเอานึกถึงวันหยุดที่ได้ไปแฮงเอาต์ จิบเครื่องดื่มอร่อยๆ รื่นรมย์กับเพลงเพราะๆ กับเสียงอันมีชีวิตชีวาในผับบาร์ ไปจนถึงได้พบปะแลกเปลี่ยนบทสนทนากับคนแปลกหน้าที่คุยกันสนุกกว่าที่คิด Drinksonme.live คือเว็บไซต์ที่ทำหน้าที่คล้ายๆ บาร์ทิพย์ นั่นก็คือเป็นพื้นที่ฟังเพลงเพราะๆ ให้บรรยากาศเหมือนอยู่บาร์ ด้วยเสียงพูดคุยของผู้คนและเสียงการเตรียมเครื่องดื่ม แถมถ้าเจอคนที่เข้ามาฟังเพลงพร้อมกันก็แชตคุยกับเขาได้ด้วย เพราะชอบบาร์ค็อกเทลที่ชิลและเสียงไม่ดังจนเกินไป รวมถึงเสียงอื่นๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของสถานที่ทำนองนี้ WasinWatt และ NamoTotae จึงทำโปรเจกต์สนุกๆ ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเว็บไซต์ imissmycafe.com ขึ้นมาในช่วงเวลาหนึ่งเดือนที่ WasinWatt ผู้รับบทเขียนโค้ดเว็บไซต์มีเหตุจำเป็นต้องอยู่แต่ที่บ้าน โดยได้ลายเส้นกับลายมือน่ารักๆ ฝีมือของ NamoTotae มาแต่งแต้มให้บาร์ออนไลน์นี้ดูมีชีวิตจิตใจขึ้นมา นอกจากไอเดียบาร์ทิพย์ที่ทำให้เราเข้าไปแชตคุยกับคนแปลกหน้าเคล้าเสียงเพลงแก้เหงาระหว่างทำงานแล้ว ความน่ารักอีกอย่างของเว็บไซต์นี้คือ เราสามารถเลือกเครื่องดื่มที่บ่งบอกอารมณ์ตอนนี้ เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นบทสนทนาได้ด้วย (หรือถ้าคุยไม่เก่งจริงๆ จะเลือกให้บาร์เทนเดอร์โยนคำถามให้ก็ได้นะ) โดยเครื่องดื่มมีให้เลือกถึง 6 เมนู เช่น Blue Period ที่บ่งบอกว่าเราชิลและผ่อนคลายสุดๆ, Solopolitan ค็อกเทลแทนใจคนเหงาแสนว่างเปล่า หรือ Humanhattan เครื่องดื่มสีแดงแทนความเศร้าความขมระทมชีวิต เป็นต้น  แม้ Drinks On Me เวอร์ชันนี้จะยังเป็น Prototype […]

นักวิจัยเมืองชี้วิกฤตเมืองในอนาคตจากปัญหามลพิษและภาวะโลกร้อน จะทำให้คนอยู่ยาก-ลำบาก-เครียด

เมื่อไม่นานนี้ มีการจัดเสวนา ‘MQDC Sustainnovation Forum 2022 เมืองเปลี่ยน คนต้องปรับ รับมือวิกฤตอย่างไร’ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่าง 4 องค์กรสำคัญด้านการพัฒนาเมือง ได้แก่ FutureTales LAB, RISC, Creative Lab และ Unisus-EEC โดยได้เปิดเผยข้อมูลวิจัยสภาพเมืองแห่งอนาคตที่มีแนวโน้มน่าเป็นห่วง พร้อมระดมวิธีการแก้ปัญหาจากหลายภาคส่วนเพื่อเตรียมรับมือวิกฤตต่างๆ และร่วมกันขับเคลื่อนกรุงเทพมหานคร ในฐานะ Resilient City ไปสู่ทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืนมากที่สุด  ดร.การดี เลียวไพโรจน์ ผู้อำนวยการบริหาร ศูนย์วิจัยอนาคตศึกษา FutureTales LAB ได้นำเสนอการคาดการณ์อนาคตเมืองปี 2050 โดยพิจารณาจากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก อัตราการใช้พลังงาน และพฤติกรรมของผู้คน พบว่า โลกในอนาคตจะเต็มไปด้วยมลภาวะที่ทำให้การอยู่อาศัยของมนุษย์ยากกว่าในปัจจุบันอย่างเทียบไม่ติด เนื่องจากอุณหภูมิทุกแห่งจะสูงขึ้นเฉลี่ย 1.5 องศาเซลเซียส ทำให้น้ำทะเลหนุนสูงขึ้นมากกว่า 1 เมตร ผู้คนมากกว่า 200 ล้านคนต้องย้ายถิ่นฐาน และกว่า 400 ล้านคนต้องประสบภัยพิบัติจากการขาดแคลนน้ำและอาหาร รวมถึงภัยแล้งสุดขั้ว ซึ่งประเทศไทยเองก็หนีวิกฤตเหล่านี้ไม่พ้นแน่นอน เพราะการอพยพเคลื่อนย้ายประชากรและการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในปัจจุบันล้วนเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก […]

We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่อยากให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทยเติบโตได้ โดยไม่ต้องง้ออีเวนต์

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากสภาพเศรษฐกิจและโรคระบาดมากที่สุดคือธุรกิจ F&B (Food and Beverage) ความพยายามเอาตัวรอดในยุคโควิดทำให้เราได้เห็นการมาถึงของนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ Disrupt ธุรกิจอาหารแบบเดิมๆ เจ้าของร้านที่สร้างรายได้จากของกินต้องปรับตัวไปสู่โลกใหม่เพื่อให้ตัวเองอยู่รอดได้ และหนึ่งในการปรับตัวที่น่าจับตามองไม่น้อย คือธุรกิจรถเข็นอาหารหรือ Food Truck  ด้วยเงินลงทุนที่น้อยกว่าการเปิดร้านอาหาร และความสามารถในการย้ายร้านไปทดลองขายได้หลายพื้นที่ ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนหันมาเอาดีทางนี้มากขึ้น เห็นได้ชัดจากจำนวนธุรกิจอาหารบนฟู้ดทรักที่เปิดใหม่ไปทั่วมุมเมือง แต่เมื่อมีผู้เข้าแข่งขันหน้าใหม่เข้ามาในตลาด หนึ่งในปัญหาสำคัญที่เห็นได้ชัดไม่แพ้กันคือตลาดฟู้ดทรักมีความเป็นคอขวด เติบโตช้า เพราะชีวิตของผู้ประกอบการฟู้ดทรักมักฝากไว้กับอีเวนต์ ถ้าไม่มีออร์แกไนเซอร์ชวนไปออกอีเวนต์ที่ไหน พวกเขาก็ไม่มีรายได้ มากกว่านั้น ตลาดฟู้ดทรักในไทยยังขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ ไม่มีคนแจกแจงงานและสร้างพื้นที่ใหม่ๆ ในการทำธุรกิจ ‘วินิจ ลิ่มเจริญ’ มองเห็น Pain Point นี้ จึงก่อตั้ง We Chef Thailand แพลตฟอร์มที่ช่วยบริหาร จัดคิว และบอกต่อพื้นที่การขายให้ผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ที่น่าสนใจคือแพลตฟอร์มของเขาไม่ได้ช่วยประชาสัมพันธ์พื้นที่ขายของเท่านั้น แต่ยังมุ่งสร้างพื้นที่ใหม่ๆ จากพื้นที่ที่ใครหลายคนไม่เหลียวแล เพราะคิดว่าไม่เหมาะกับการขายของ เช่น ปั๊มน้ำมันหรือสวนสาธารณะในหมู่บ้าน โดยมีเป้าหมายใหญ่คือการสร้างระบบนิเวศที่ดีให้กับแวดวงผู้ประกอบการฟู้ดทรักไทย ให้ ‘อยู่ได้’ โดยชีวิตไม่ต้องขึ้นอยู่กับอีเวนต์เลย เรานัดพบวินิจในวันฝนพรำ ท่ามกลางฟู้ดทรักนับสิบที่จอดเรียงรายกันอยู่ในลานกว้างริมน้ำของห้างฯ ICONSIAM […]

กทม.เปิดโครงการ #ไม่เทรวม ชวนแยกขยะก่อนทิ้งแบบง่ายๆ แค่แยกขยะทั่วไปและเศษอาหาร

การแยกขยะไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็ทำเองได้ไม่ยาก กับนโยบายใหม่ของกรุงเทพมหานครอย่าง #ไม่เทรวม โครงการที่ชวนประชาชนทุกคนเริ่มต้นแยกขยะแบบง่ายๆ ก่อนทิ้ง เพื่อรณรงค์การแยกและการจัดการขยะอย่างถูกวิธี มีประสิทธิภาพ รวมถึงสร้างความเคยชินกับการแยกขยะให้แก่ผู้คนด้วย  วิธีแยกขยะตามนโยบายใหม่นี้ทำได้ง่ายแสนง่าย เพียงแค่แยก ‘ขยะทั่วไปหรือขยะแห้ง’ ลงใน ‘ถุงดำ’ และ ‘ขยะเศษอาหาร’ ลงใน ‘ถุงใสหรือถุงเขียว’ ซึ่งบนรถขยะเองก็จะติดตั้งถังขยะสำหรับใส่ขยะเศษอาหารแยกไว้ด้วย มั่นใจได้เลยว่าขยะที่ทุกคนช่วยกันแยกเอาไว้จะไม่ถูกเทรวมกันที่ปลายทาง  การแยกขยะแบบนี้จะช่วยให้จัดการกับขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการส่งขยะไปรีไซเคิล, ทำปุ๋ยหมัก หรือทำเชื้อเพลิง RDF (Refuse Derived Fuel) และช่วยลดการฝังกลบขยะที่จะก่อให้เกิดปัญหาทางสภาวะแวดล้อมอื่นๆ ตามมา โดยโครงการ #ไม่เทรวม นี้จะเริ่มเส้นทางทดลองใน 3 เขตนำร่อง ได้แก่ เขตหนองแขม เขตปทุมวัน และเขตพญาไท แต่ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่เขตไหนหรือจังหวัดใด ทุกคนสามารถเริ่มแยกขยะแบบง่ายๆ ตามแนวทางของ กทม. ได้ทันที ไม่แน่ว่าในอนาคต ประเทศไทยอาจเปลี่ยนให้การแยกขยะกลายเป็นความรับผิดชอบและวิถีชีวิตของประชาชนอย่างที่เกิดขึ้นในญี่ปุ่นหรือประเทศอื่นๆ ก็เป็นได้ ที่สำคัญ กรุงเทพมหานครยังมีคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจการแยกขยะฉบับมือใหม่กันด้วย ใครสนใจเข้าไปดูได้ที่ bit.ly/3x0qPdJ และ bit.ly/3CWuoW2 ติดตามรายละเอียดโครงการ #ไม่เทรวม และกิจกรรมอื่นๆ […]

‘กัลชนา เนตรวิจิตร’ พนักงานกวาดถนน ผู้เป็นฟันเฟืองของเมืองที่มากกว่าแค่ทำความสะอาด

หากพูดถึงฟันเฟืองเล็กๆ ที่ทำให้เมืองของเราน่าอยู่ขึ้น คุณจะคิดถึงอะไร คำตอบแรกสำหรับเราที่ผุดขึ้นมาในหัวคงเป็นบรรดาพี่ๆ ที่ทำงานบริการใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ยิ่งในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยขยะจากใบไม้กับเศษกิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ไปจนถึงเศษซากอาหาร ถุงขนม กระดาษ ขวดพลาสติก หรือขยะชิ้นเล็กๆ อย่างก้นบุหรี่กับหมากฝรั่งที่เคี้ยวแล้วจากฝีมือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง ยิ่งทำให้ ‘พนักงานกวาดถนน’ ทวีความสำคัญขึ้นไปอีก วันนี้เราจึงเดินทางมายังเขตจตุจักรเพื่อพูดคุยถึงเรื่องราวชีวิตของ ‘แก้ว-กัลชนา เนตรวิจิตร’ ลูกจ้างชั่วคราวพนักงานทั่วไป (กวาด) ที่ก่อนหน้านี้เธอออกสื่อมาแล้วมากมาย เนื่องจากมีโอกาสได้รับประทานอาหารกับผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หลังจากเหตุการณ์ช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนหอวังที่โดนโจรจี้  เราหวังว่าถ้อยคำต่อจากนี้จะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการทำงาน ความเป็นอยู่ ทั้งในเรื่องของรายได้และรัฐสวัสดิการของอาชีพพนักงานกวาดถนนมากขึ้นอีกหน่อย แล้วทุกคนจะรู้ว่าคนทำงานตัวเล็กๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันมีความสำคัญต่อเมือง และต้องการคุณภาพในการใช้ชีวิตไม่ได้ยิ่งหย่อนไปจากอาชีพอื่นๆ เลย พนักงานกวาด ที่ไม่ได้มีหน้าที่แค่กวาด ในขณะที่ชีวิตของใครหลายคนเริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้า แต่ชีวิตทุกวันของแก้วกลับเริ่มต้นขึ้นในยามที่ดวงจันทร์กำลังลาลับไป “เราตื่นนอนออกจากบ้านประมาณตีสี่ครึ่ง มาถึงก็ไปเอาไม้กวาดกับบุ้งกี๋มากวาดตรงจุดรับผิดชอบที่เขากำหนด จากนั้นมีเวลาพักช่วงแปดถึงเก้าโมงหนึ่งครั้ง ก่อนกลับมากวาดรอบสอง และนั่งอยู่บริเวณที่รับผิดชอบเผื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน” ‘เหตุการณ์ฉุกเฉิน’ ที่ว่ารวมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ อย่างขยะปลิว ไปจนถึงต้นไม้หัก น้ำท่วม หรือรถยนต์ที่ผ่านไปมาทำน้ำมันหก ทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของพนักงานกวาดถนนทั้งนั้น  แม้ขึ้นชื่อว่าเป็นพนักงานกวาดถนน แต่หน้าที่การงานไม่ได้ทำแค่กวาดอย่างที่ใครหลายคนเข้าใจ เพราะควบรวมไปถึงการดูแลความเรียบร้อยทุกอย่างในพื้นที่นั้นๆ ด้วย […]

Dr.Back และ หมอเจี๊ยบ พาเหล่าคนนอนไม่หลับ ท้าพิสูจน์การนอนระดับดอกเตอร์กับที่นอนเพื่อคนเจนใหม่

หลายคนคงจะประสบปัญหาที่เป็นผลต่อเนื่องจากการ WFH ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเครียดสะสม หรือแม้แต่อาการปวดหลัง ปวดไหล่ ที่เราอาจจะคิดว่าหากร่างกายได้นอนพักผ่อนก็คงจะบรรเทาอาการได้ แต่หากเลือกซื้อที่นอนที่ไม่เหมาะกับสรีระร่างกายนั้น แทนที่จะช่วยให้อาการเบาลงแต่อาจทำให้ปัญหาหนักขึ้นกว่าเดิมก็ได้ ทางแบรนด์ที่นอนอย่าง Dr.Back ก็เลยหาเหล่าคนรุ่นใหม่ที่มีปัญหาการนอนไปลองสัมผัสประสบการณ์ใหม่ร่วมกับ ‘หมอเจี๊ยบ-ลลนา ก้องธรนินทร์’ ที่ประสบปัญหาเดียวกัน ทั้งนอนไม่หลับ ปวดหลังหรือปวดคอ มาร่วมสัมผัสการนอนแบบใหม่กับที่นอนเจนใหม่ ที่จะช่วยให้นอนหลับระดับดอกเตอร์ ฟื้นฟูสภาพร่างกายและเปลี่ยนเวลานอนให้เป็นช่วงที่สบายและผ่อนคลายที่สุดอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดย Dr.Back ได้พาผู้โชคดีทั้ง 3 คู่และหมอเจี๊ยบไปปรับสมดุลการนอนให้ถูกต้องและทดลองนอนที่นอนเจนใหม่ แบบ Hybrid Technology (ที่นอนพ็อกเกตสปริงเสริมเมมโมรี่โฟม) ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตคนเมืองกันที่ The Standard Hua Hin พร้อมกับกิจกรรมทั้งทาง Mental และ Physical รวมถึงการทดลองใช้เครื่องนอนอย่างหมอนและที่นอนจาก Dr.Back สำหรับการนอนหลับที่ดีกันด้วย การนอนคือช่วงเวลา 1 ใน 3 ของชีวิต ดังนั้นการเลือกที่นอนจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องใส่ใจ เพราะหากเลือกที่นอนที่แข็งเกินไปก็จะส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยช่วงหลังล่าง และจะทำให้จุดใดจุดหนึ่งของร่างกายกดทับกับที่นอนมากเกินไป เช่น ช่วงหลัง สะโพก หรือหัวไหล่ เป็นสาเหตุที่ทำให้นอนไม่สบายและตื่นขึ้นมาพร้อมกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกายนั่นเอง หรือหากเลือกใช้ที่นอนที่นิ่มเกินไป […]

Bangkok eyes 01/50 – เขตธนบุรี

ธนบุรีเป็นเขตหนึ่งที่เราเดินทางผ่านบ่อยๆ เพราะอยู่ละแวกบ้าน แต่เราก็ไม่ค่อยได้เดินสำรวจเขตนี้สักเท่าไหร่ มีไปจุดใหญ่ๆ มาบ้าง อย่างโบสถ์ซางตาครู้ส วัดประยุรวงศาวาสฯ สี่แยกบ้านแขก ตลาดพลู และแถววงเวียนใหญ่นิดหน่อย เท่าที่รู้สึกคุ้นเคยกับเขตนี้มา ธนบุรีดูจะเป็นเขตที่มีชุมชนบ้านเดี่ยวและตึกแถวอยู่เยอะ แต่ก็มีคอนโดฯ เกิดขึ้นบ้างเล็กน้อย เป็นย่านที่ดูน่าสนใจ แต่เรายังไม่เคยได้เดินเข้าไปในตรอกเล็กซอกซอยน้อยสักเท่าไหร่ เลยไม่ค่อยแน่ใจว่าภาพถ่ายจะออกมาเป็นอย่างไร ก่อนไปลงพื้นที่จริงจึงลองสำรวจทั้งเขตคร่าวๆ ใน Google Maps โดยหาจุดท่องเที่ยวและจุดแวะกินซะก่อน ซึ่งก็ไม่ค่อยพบอะไรมากนัก สุดท้ายก็ปักธงว่าจะลองเดินช่วงวุฒากาศไปโบสถ์ซางตาครู้ส หลังจากออกเดินมาก็พบชุมชนเล็กๆ ที่มีเยอะมาก ทำให้มีช่องแสงนิดๆ หน่อยๆ เกิดเป็นเส้นสายน่าสนใจดี ในช่วงเช้าตามตลาดจะมีคนเยอะเป็นพิเศษ ใครที่อยากมาเดินเล่นแถวนี้สามารถเข้าไปตามชุมชนและพูดคุยกับคนในพื้นที่ได้ ขนาดเราถือกล้องเข้าไป เขายังค่อนข้างเป็นมิตรเลยทีเดียว น่าเสียดายที่ช่วงวันที่เราไปมีเมฆมากเกือบทุกวันและทุกเวลา ทำให้เป็นอุปสรรคนิดหน่อยกับการถ่ายภาพที่ต้องเล่นกับแสง ซีนที่เราชอบและคิดว่าน่าแวะเลยคือ สถานีรถไฟตลาดพลู เพราะถึงจะเป็นสถานีรถไฟเล็กๆ แต่สีและการออกแบบให้ความรู้สึกคลาสสิกสุดๆ ที่สำคัญมีร้านข้าวหมูแดงชื่อดังอยู่ตรงนั้นอีกด้วย นอกจากนี้ ช่วงตอนบนๆ ของเขตบริเวณวัดกัลยาณมิตรฯ ก็มีนักท่องเที่ยวปั่นจักรยานแวะเวียนเข้า-ออกกันเป็นระลอก ถือว่าเป็นเขตที่มีอะไรให้เซอร์ไพรส์ได้ตลอดทางอยู่เหมือนกัน

ออสเตรเลียผลิตนมสังเคราะห์ ลดการปล่อยก๊าซมีเทนจากโคนม เพื่อแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน

หลังจากซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งได้เพิ่มพื้นที่ชั้นวางสินค้าให้กับนมจากพืชอย่างข้าวโอ๊ต ถั่วเหลือง หรืออัลมอนด์ ซึ่งได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่อีกไม่นานบรรดาห้างสรรพสินค้าอาจต้องจัดสรรพื้นที่อีกส่วนให้กับเครื่องดื่มทางเลือกใหม่แห่งอนาคตอย่าง ‘นมสังเคราะห์’ ก็เป็นได้ เพราะล่าสุด ‘Eden Brew’ บริษัทสตาร์ทอัปสัญชาติออสเตรเลีย ร่วมมือกับหน่วยงานวิจัยอิสระ CSIRO และสหกรณ์โคนมที่เก่าแก่ที่สุดของออสเตรเลีย Norco เพื่อพัฒนานมสังเคราะห์ขึ้นมาผ่านการใช้เทคนิคทางเทคโนโลยีชีวภาพที่เรียกว่า ‘Precision Fermentation’ ซึ่งเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์สังเคราะห์ขึ้นด้วยการเพาะเซลล์ในห้องแล็บ ที่ผู้ผลิตอ้างว่าทำให้นมสังเคราะห์มีรสชาติ รูปลักษณ์ และเนื้อสัมผัสเหมือนกับนมวัวทั่วไป ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกดื่มนมสังเคราะห์นี้แทนนมวัวได้โดยที่รสชาติไม่แตกต่างไปจากเดิม Eden Brew คาดว่านมชนิดนี้จะวางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วออสเตรเลียได้ภายในกลางปี 2023 ผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Eden Brew น่าจะตอบโจทย์กลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่ที่ให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนได้ไม่น้อย เพราะคาดว่าจะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนของฟาร์มโคนม ซึ่งเป็นปัจจัยอันดับสองที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกรองลงมาจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากนมสังเคราะห์นี้ไม่ได้เกิดจากวัวภายในฟาร์ม แต่เกิดจากเทคโนโลยีชีวภาพ จึงไม่ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนในกระบวนการผลิต นมสังเคราะห์จึงอาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ไม่แน่ว่าในอนาคต การดื่มนมประเภทใหม่นี้อาจกลายเป็นเทรนด์ที่มาแทนการดื่มนมวัวแบบเดิมๆ ก็เป็นได้ Sources : ABC News | t.ly/yG6nDaily Mail Online | t.ly/cPZWScienceAlert | t.ly/q67l

Smart Farmer ที่ผลิตนมโคด้วยเทคโนโลยี l Urban Journey เจอ ฟาร์มนมโฮมเมด

เราเคยตั้งข้อสงสัยกันไหมว่า ทำไมมนุษย์ต้องดื่มนมวัวทั้งๆ ที่ตอนเกิดเราดื่มนมแม่ แล้วแบบนี้นมวัวที่เรากินอยู่ทุกวันนี้เป็นการที่เราฝืนธรรมชาติหรือเปล่า ในบางครั้งเราก็มักจะเจอบทความที่เขียนถึงอันตรายหรือข้อเสียกับการดื่มนม  ทำให้เกิดความเข้าใจผิดมากมายว่าสรุปแล้ว มนุษย์อย่างเราควรดื่มนมวัวหรือไม่ Urban journey  ในตอนนี้เราจึงจะพาทุกคนไปหาคำตอบด้วยกันว่ามนุษย์อย่างเราควรกินนมวัวต่อไปหรือไม่ กับฟาร์มที่ได้ชื่อว่าผลิตนมวัวที่มีคุณภาพมากที่สุดในตอนนี้อย่าง ก้าวแรกฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มที่อยู่เบื้องหลังแบรนด์โคนมคุณภาพอย่าง Mellow Milk   อีกทั้งความน่าสนใจของ ก้าวแรกฟาร์ม อยู่ที่วิธีการดูแลแม่โคนม ที่ใส่ใจทุกรายละเอียดและยังเป็นฟาร์มที่นมเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการพัฒนาคุณภาพนมวัวให้เทียบเท่าระดับโลกอีกด้วย

nan dialogue เปิดพื้นที่ให้เยาวชน เข้าค่ายฝึกเขียน กับคนทำงานสื่อตัวจริง 15 – 17 ก.ย. 65 ที่ ห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ

nan dialogue เปิดพื้นที่ให้เยาวชนเข้าค่ายฝึกเขียน กับคนทำงานสื่อตัวจริง 15 – 17 ก.ย. 65 ที่ ห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ ‘nan dialogue’ คือ สื่อรายสัปดาห์ที่สัมภาษณ์คนทุกสาขาอาชีพในจังหวัดน่าน โดยมีบรรณาธิการเป็นนักเขียนนักสัมภาษณ์ ‘หนึ่ง-วรพจน์ พันธุ์พงศ์’ ผู้ยังคงเดินหน้า เปิดน่านฟ้า สร้างบทสนทนาเสรี ซึ่งครบรอบหนึ่งปีไปเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เพื่อการกระจายอำนาจและโอกาสที่ไม่ได้กระจุกแค่ในกรุงเทพฯ นอกจากการเป็นสื่อที่ส่งต่อเสียงของผู้คนในเมืองน่านแล้ว เดือนกันยายนนี้ nan dialogue ยังเตรียมเปิดพื้นที่ทางความคิดให้เยาวชน อายุ 18 – 25 ปี ผู้มีใจรักในงานอ่านเขียนหรือสนใจการทำงานด้านสื่อสารมวลชนอีกด้วย กิจกรรมในครั้งนี้มีชื่อว่า ‘ค่ายฝึกเขียน น่านไดอะล็อก’ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 17 กันยายน นอกจากเรียนฟรี ยังมีอาหารและได้พักที่ห้องสมุดบ้านๆ น่านๆ ในจังหวัดน่านอีกด้วย  นำทีมพี่เลี้ยงฝึกเขียนโดยเจ้าสำนักนักสัมภาษณ์ พบปะกับ ‘ธิติ มีแต้ม’ บรรณาธิการข่าวจาก Voice TV, ‘อินทรชัย […]

วิพากษ์ศิลปะจากดินโคกหนองนากับ UN-EARTH Provenience Unfold ที่นัวโรว์อาร์ตสเปซ อุดรฯ วันนี้ – 15 ต.ค. 65

เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินชื่อ ‘โครงการโคกหนองนา’ และ ‘โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง’ โมเดลของภาครัฐที่มุ่งพัฒนาที่ดินให้เหมาะสมกับการทำเกษตรกรรมผ่านการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญา เพื่อให้เกษตรกรพึ่งพาตัวเองได้และมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน แต่โครงการเหล่านี้อาจไม่ได้สวยงามอย่างที่ภาพวาดไว้ เพราะ ‘โคกหนองนา’ ถูกตั้งคำถามจากหลายฝ่ายเกี่ยวกับความโปร่งใสในการดำเนินงาน การใช้ พ.ร.บ.เงินกู้หลายพันล้านบาทเร่งทำโครงการในช่วงที่ประเทศเผชิญวิกฤตโรคระบาดอย่างหนัก ไปจนถึงปัญหาที่ชาวบ้านในพื้นที่จำนวนไม่น้อยต้องพบเจออย่างผู้รับเหมาขุดปรับพื้นที่ไม่ตรงแบบหรือทิ้งงาน ความซับซ้อนของโมเดลเกษตรกรรมนี้ทำให้ ‘ส้มผัก-สุรสิทธิ์ มั่นคง’ ศิลปินจากอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จัดทำนิทรรศการศิลปะที่ชื่อว่า ‘UN-EARTH Provenience Unfold’ เพื่อถ่ายทอดมุมมองของเขาในฐานะคนท้องถิ่นที่ได้ใกล้ชิดกับโครงการเหล่านี้ “ย้อนกลับไปเมื่อสองปีที่แล้ว เรามีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตที่บ้านเกิดในอำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี ทำให้ได้เห็นวิธีการจัดการดินของชาวบ้านและคนในพื้นที่ที่เปลี่ยนไป อย่างเช่นการขุดหน้าดินขาย เอาโฉนดที่ดินไปจำนำ หรือแม้แต่ปล่อยเช่าพื้นที่เพื่อเพิ่มรายได้และเอาตัวรอดในช่วงที่โรคระบาดรุนแรง เหล่านี้ล้วนแตกต่างจากการจัดการพื้นที่ในสมัยก่อนที่มักใช้เพื่อผลิตพืชผลทางการเกษตร และกักเก็บน้ำไว้ใช้เลี้ยงสัตว์เป็นหลัก “ในช่วงเวลาเดียวกัน เราก็ได้เห็นรัฐนำโครงการต่างๆ เข้ามาในพื้นที่ ทั้งโครงการโคกหนองนาและการจัดการปัญหาภัยแล้ง ซึ่งเกิดจากการใช้ พ.ร.บ.เงินกู้ประมาณ 4,800 ล้านบาท ทำให้เราตั้งคำถามว่าแทนที่จะเอาเงินมาให้ชาวบ้านขุดพื้นที่ทำโคกหนองนา รัฐควรนำงบประมาณเหล่านี้ไปแก้ปัญหาที่เร่งด่วนอย่างโรคระบาดให้เสร็จก่อนดีมั้ย นี่คือจุดเริ่มต้นของนิทรรศการศิลปะเชิงการเมืองครั้งนี้” ส้มผักได้ลงพื้นที่ทั่วภาคอีสานด้วยตัวเองเพื่อรวบรวมดินและวัสดุจากโครงการโคกหนองนาและโครงการอื่นๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน ก่อนจะนำมารังสรรค์ชิ้นงานศิลปะเชิงเปรียบเปรยทั้งหมด 12 ชุด โดยแต่ละชุดใช้วัสดุและมีรูปแบบที่ต่างกันไป เช่น ป้ายเหล็กของโคกหนองนา แผ่นดินสลักพิกัดโครงการต่างๆ แท่งยางมะตอย แปลนโคกหนองนาในมุมมองของศิลปิน รวมไปถึงศิลปะผ้าใบที่เขียนด้วยดิน  […]

เยือนย่านสามเสน บ้านเขมร บ้านญวน ชุมชนชาวคริสต์ในกรุงเทพฯ

ถ้าค้นเรื่องสืบรากไปในพื้นที่บางกอกที่ตั้งของเมืองหลวงในปัจจุบัน จะพบว่าก่อร่างมาจากการผสมปนเปของกลุ่มคนหลากเชื้อชาติหลายศาสนาที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่อาศัยในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ยังไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองเสียด้วยซ้ำ เห็นได้จากหลักฐานมากมายทั้งอาคารสถาปัตยกรรมต่างๆ อาหารการกินนานาชาติ หรือเชื้อสายบรรพบุรุษของหลายๆ คน ที่เชื่อแน่ว่าจริงๆ แล้ว ต้นตอแทบไม่มีอะไรเป็นไทยแท้ ‘สามเสน’ เป็นอีกย่านหนึ่งที่เราอยากชวนมาสำรวจด้วยกัน เพราะถ้ามองผิวเผินแล้วอาจเห็นเป็นเพียงย่านที่เต็มไปด้วยส่วนราชการ ชุมชนเมือง และโรงเรียนชื่อดัง แต่ความจริงแล้วที่นี่เป็นอีกชุมชนริมแม่น้ำของกรุงเทพฯ ซึ่งรุ่มรวยไปด้วยประวัติศาสตร์และภาพความหลากหลายของกลุ่มคนที่อพยพมาจากภายนอกหลายช่วงเวลา ทั้งบ้านเขมร บ้านญวน แถมมีโบสถ์คริสต์เก่าที่ตั้งอยู่เคียงกันถึง 2 หลัง แวดล้อมด้วยชุมชนชาวคริสต์ขนาดใหญ่ที่มีประวัติความเป็นมายาวนานและอัตลักษณ์น่าสนใจ ที่มาของชื่อบ้านนามเมืองตรงนี้มีการกล่าวถึงอยู่ในนิราศพระบาทของสุนทรภู่ ที่บอกเล่าว่าสามเสนนี้เพี้ยนมาจากคำว่าสามแสน ตามตำนานที่เล่าขานมาแต่อดีต ถึงเหตุการณ์ที่มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ลอยน้ำมา จนต้องใช้กำลังคนถึงสามแสนคนมาช่วยกันฉุดชักลากขึ้นฝั่ง จนกลายเป็นชื่อย่านสามแสนและเพี้ยนมาเป็นสามเสนในปัจจุบัน อาจจริงหรือไม่จริงก็ได้ เพราะข้อสรุปในเรื่องคำว่า ‘สามเสน’ นี้ยังไม่เป็นอันยุติ มาถึงย่านสามเสนทั้งที เราขอเริ่มรูตนี้ที่วัดสำคัญประจำย่านอย่างวัดราชาธิวาสวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่ ‘ภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ’ หรือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ เคยจำพรรษาอยู่ในขณะที่ทรงผนวช และก่อนหน้าพระองค์ ก็เคยมีพระมหากษัตริย์อีกพระองค์คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ที่เคยจำพรรษาที่วัดแห่งนี้เช่นกัน ปัจจุบันวัดที่เป็นเสมือนจุดกำเนิดของธรรมยุติกนิกาย ก็ยังคงความเป็นพื้นที่วัดอรัญวาสี (อรัญวาสี แปลว่าป่า) ที่มีความสงบผ่านบรรยากาศครึ้มด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดูแล้วคล้ายวัดป่าตามต่างจังหวัดไม่น้อย เมื่อสืบประวัติลึกลงไป จะพบว่าจริงๆ แล้ว วัดแห่งนี้ไม่ได้เพิ่งเฟื่องฟูในสมัยรัตนโกสินทร์ แต่ก่อนหน้านี้ วัดราชาธิวาสฯ […]

1 129 130 131 132 133 355

SEND YOUR STORY

REQUEST INTERVIEW

ติดตามอ่าน “Urban Creature”
นิตยสารออนไลน์ที่จะทำให้คุณรักเมืองที่คุณอยู่ รักตัวเองมากขึ้นด้วยการเปิดมุมมองและนำเสนอแนวทางการใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ ในการใช้ชีวิต
Better Life. Better Living.

Max. file size: 256 MB.